ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

การวางช้อน – ส้อม กับความหมายที่เราควรรู้

     หลายๆท่าน อาจจะถูกสอนมาตั้งแต่เด็กๆ ว่าเวลาทานอาหารเสร็จให้เอาช้อนมารวมกันไว้นะ เวลาออกไปทานข้าวข้างนอกจะได้ดูดี และมีมารยาท จนทำมาเลื่อยๆ ก็ไม่ได้สนใจอะไรใช้ไหมละครับ เพียงแค่เรารวมช้อนเมื่อทานอาหารเสร็จ คว่ำช้อนบ้าง หงายช้อนบ้าง เอาช้อนทับกันบ้าง เราก็จะดูเป็นเด็กมีมารยาทขึ้นมาทันที   

     แต่...หลายๆท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า การวางช้อน,ส้อม หรือ มีด,ส้อม บนจานอาหาร สามารถบ่งบอกความหมายได้หลากหลายโดยที่เราไม่ต้องเอ่ยปากบอกบริกรที่กำลังบริการเราได้เลยทีเดียวล่ะครับ ถือได้ว่าเป็นมารยาทบนโต๊ะอาหารระดับสากลที่หลายๆท่านอาจจะยังไม่รู้ หรือไม่ได้สนใจก็แล้วแต่

     งั้นวันนี้ ทาง Kitchen Form จึงได้รวมเอาลักษณะการวางช้อนที่สามารถบ่งบอกได้ถึงความต้องการของเราบนโต๊ะอาหาร มาให้ทุกท่านได้ทราบกันครับ ว่ามีแบบไหนบ้าง และความหมายของแต่ละลักษณะการวางนั้นหมายความว่าอย่างไร

1.พักทานอาหาร (Pause)

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

     เมื่อเราวางช้อน,ส้อม ในลักษณะเฉียงประมาณ 30-45 องศา หันปลายช้อนและปลายส้อมเข้าหากัน นั้นหมายความว่าเราต้องการที่จะหยุดทานอาหารสักครู่หนึ่ง ใช้ในกรณีที่เราต้องการที่จะไปเข้าห้องน้ำ หรือไปยิบของสักครู่ เป็นการบอกบริกรว่าอย่าเพิ่งเก็บจานของฉันนะ เดี๋ยวกลับมาทานต่อ
 

2.เตรียมพร้อมสำหรับจานต่อไป (Ready For Second Plate)

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

     เมื่อคุณต้องให้บริกรเสริฟอาหารจานต่อไปได้เลยนั้น คุณสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการนำช้อนและส้อมมาวางไว้บนจานในลักษณะไขว้เป็นรูปกากบาท

3.อาหารอร่อยมาก (Excellent)

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

     เมื่อทานอาหารเสร็จแล้ว แล้วรู้สึกว่าอาหารของที่นี้นั้นอร่อยสะเหลือเกิน หรือบริกรให้การบริการดีมากๆ แต่ไม่กล้าบอก ท่านสามารถวางช้อน,ส้อม ในลักษณะแนวนอนหันปลายช้อน,ส้อม หรือ ปลายมีด ไปทางขวา ถ้าเป็นมีดให้หันใบมีดขึ้นด้านบน จะเป็นการสื่อว่าอาหารที่นี้ อร่อยมาก บริการได้เยียมไปเลย ไว้จะมาใหม่นะ

4.ฉันอิ่มแล้ว (Finished)

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

     เมื่อคุณรู้สึกว่าคุณอิ่มแล้ว พอแล้วสำหรับอาหารมื้อนี้ คุณก็แค่วาง ช้อน,ส้อม เป็นแนวตั้งหงายช้อน,ส้อมขึ้น หันปลายช้อนขึ้นด้านบน จะเป็นการสื่อว่า OK...ฉันอิ่มแล้วล่ะ เก็บจานตรงนี้ไปได้เลย

5.ฉันไม่ชอบ,อาหารไม่อร่อย(Do Not Like)

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

     แต่ถ้าท่านรู้สึกว่าอาหารของที่นี้ไม่อร่อย ไม่ถูกปาก หรือการบริการของที่นี้นั้นไม่ค่อยน่าประทับใจ และอยากจะตำหนิ ติติง ท่านสามารถบอกได้ง่ายๆด้วยการวางช้อนในมุม 45 องศา หันปลายช้อนเข้าหา ให้นำปลายช้อนหรือปลายมีดเสียบเข้าไปในส้อม ในลักษณะนี้จะเป็นการบอกว่า ฉันไม่ชอบอาหารของที่นี้เลย อาหารไม่อร่อย บริการไม่ดีเลย แต่ลักษณะของการวางช้อนในลักษณะนี้จะคล้ายกับ ข้อ1. ให้ทุกท่านระวังกันให้ดีๆด้วยครับ เพียงแค่ท่านจะบอกว่าอย่าเพิ่งเก็บจานนะ จะกลายเป็นการบอกว่าอาหารที่นี้แย่มากๆ บริการที่ห่วยจริงๆ

     เป็นอย่างไรกันบ้างครับ หวังว่าบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์ให้แก่ทุกท่านได้ไม่มากก็น้อยนะครับ เพื่อการสื่อสารที่ดีจะได้ไม่เกิดการเข้าใจผิดตามมา ขอให้ทุกท่านทานอาหารกันอย่างมีความสุขครับ

สนใจสั่งซื้อ หรือ สั่งทำชุดครัวบิ้วอิน

หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โทร. 021022187

ดูแลห้องครัวอย่างครบวงจร

                                                           คิทเช่นฟอร์ม


ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

Written by : Nattapol Klanwari

การพบปะสังสรรค์ การฉลอง การแสดงความยินดี มักจะหนีไม่พ้นเรื่องการกิน การดื่ม ที่จะได้ใช้เวลาด้วยกันในการแสดงความยินดีดังกล่าว การแสดงออกที่เหมาะสมตลอดจนมารยาทในการร่วมงานเลี้ยงดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

การอยู่หรือรวมตัวหรือพบปะเป็นสังคม เป็นธรรมชาติของมนุษย์เรา และสิ่งที่ใช้เป็นตัวเชื่อมของชีวิตประจำวันคือเรื่องการกิน การดื่ม หรือพูดรวมไปเลยว่า "การรับประทานอาหาร" การแสดงการต้อนรับ เลี้ยงฉลองในโอกาสต่างๆ โดยมากก็จะใช้การเลี้ยงอาหารเป็นกิจกรรมหลัก แต่ละสังคมก็จะมีธรรมเนียมปฏิบัติหรือมารยาทที่แตกต่างกันออกไป อาจคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันออกไป แต่ในเมื่อผู้คนจากสังคมที่แตกต่างกันมาพบปะ เข้างานเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มก็ต้องมีหลักปฏิบัติแบบเป็นกลางหรือเป็นสากลที่เป็นที่ยอมรับของคนหมู่มาก ซึ่งก็หนีไม่พ้นแนวทางปฏิบัติของตะวันตก (Western) จนเป็นตัวแทนของความเป็นสากล (International)

เมื่อเรายึดหลักปฏิบัติในการรับประทานอาหารแบบตะวันตกเป็นแบบสากล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรต้องทราบหลักการปฏิบัติต่างๆ หรือมารยาทในการร่วมรับประทานอาหารแบบสากล (Internation Dining Etiquette) เพราะเป็นการให้เกียรติและเป็นการแสดงออกถึงความเหมาะสมของการร่วมสังคมดังกล่าว

การจัดเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มมีทั้งที่เป็นแบบที่เป็นทางการ (Formal Banqueting) ที่มีการเชิญแขกโดยเฉพาะ มีการจัดที่นั่งเฉพาะว่าใครนั่งที่ใดติดกับใคร และที่ไม่เป็นทางการ (Inforamal Banqueting) ที่เป็นแบบไม่เป็นทางการ เช่น การจัดเลี้ยงแบบบุฟเฟ่ (Buffet) ที่แขกต่างคนต่างเดินตักอาหารมารับประทานเอง ในบทความนี้จะกล่าวคลุมทั้งสองกรณีโดยจะชี้ประเด็นตัวอย่างเฉพาะของแต่ละแบบ สำหรับเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เช่น เครื่องมือของใช้บนโต๊ะอาหาร เช่น มีด ช้อน ส้อม แก้วประเภทต่างๆ การจัดโต๊ะอาหาร ขอให้อ่านได้ที่บทความที่ผมได้เขียนไว้แล้วในเว็บไซท์นี้

การจัดเลี้ยงอาหารก็ต้องมีทั้งฝ่ายผู้จัดหรือเจ้าภาพ (Host) และผู้ที่เป็นแขก (Guest) ผู้ที่เป็นเจ้าภาพก็ต้องจัดให้เหมาะสมในฐานะผู้เชิญต้องทราบธรรมเนียมและวิธีการของการเป็นเจ้าภาพที่ดี ขณะเดียวกันผู้ที่เป็นแขกก็ต้องทราบธรรมเนียมปฏิบัติและมารยาทในการไปร่วมเป็นแขกที่ดีด้วยเช่นกัน พูดง่ายๆ ว่าต่างคนต่างต้องมีมารยาทตามบทบาทที่เป็นอยู่ เพื่อความสะดวกในปัจจุบันเจ้าภาพก็มักเลือกที่จะไปจัดงานเลี้ยงอาหารที่โรงแรม เพราะมีความสะดวกและมีเจ้าหน้าที่ที่ทราบและสามารถจัดงานเลี้ยงอาหารนั้นให้เป็นไปตามหลักสากลแบบมืออาชีพ (Professional)

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

The Athenee Hotel, a Luxury Collection Hotel, Bangkok

ผมจะไล่เรียงตามลำดับของแต่ละกิจกรรมดังนี้

1. การเชิญ (Invitation)

เจ้าภาพจะต้องออกบัตรเชิญ (Invitation Card) ถึงแขกที่จะเชิญเข้ามาร่วมรับประทานอาหาร โดยในบัตรเชิญก็จะระบุประเภทของงานเนื่องในโอกาสใด วัน เวลา สถานที่ ประเภทของงานเลี้ยง รวมถึงการแต่งการที่เหมาะสม

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

ตัวอย่างบัตรเชิญการร่วมงานเลี้ยง

แขกที่ได้รับเชิญจะต้องตอบกลับว่าสามารถเข้าร่วมงานได้หรือไม่ การจัดเลี้ยงแบบสากลโดยเฉพาะที่จัดอย่างเป็นทางการที่โรงแรม จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ต้องทราบจำนวนแขกที่แน่นอน ไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่รอไว้ตัดสินใจใกล้ๆ โดยมากในบัตรเชิญจะระบุว่าให้ตอบยืนยันภายในวันที่เท่าไร

ข้อควรฏิบัติ

  • เจ้าภาพต้องเชิญ
  • แขกต้องได้รับการเชิญ และตอบรับหรือตอบปฏิเสธการร่วมงานภายในวันที่กำหนด

2. การเดินทางถึงสถานที่จัดเลี้ยง (Arrival)

แขกควรเดินทางไปถึงสถานที่ที่จัดเลี้ยงก่อนเวลาสัก 20 นาทีเป็นอย่างน้อย เช่นถ้าในบัตรเชิญระบุว่าอาหารเย็นเริ่มเวลา 18.00 น. แขกควรเดินทางไปถึงสถานที่ก่อน 17.40 น. โดยมากเจ้าภาพจะมีการจัดเครื่องดื่ม (Cocktail Reception) ไว้ต้อนรับก่อนเวลาอาหารเริ่มบริเวณหน้าห้องที่จัดเลี้ยง เจ้าภาพต้องเตรียมตัวมายืนให้การต้อนรับหน้างานอย่างน้อย 30 นาที

ถ้าต่างประเทศที่หนาวต้องใส่เสื้อกันหนาว (Overcoat) นำไปฝากไว้ที่ห้องฝากของและเสื้อ (Cloakroom) โดยทางเจ้าหน้าที่จะให้บัตรหรือ Tag ที่มีหมายเลขให้เพื่อการนำมายื่นแลกคืน ไม่ควรนำติดตัวเข้าไปยังโต๊ะอาหารเพราะจะเกะกะรุงรังมาก เจ้าหน้าที่เสิร์ฟก็จะทำงานลำบาก

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

ตัวอย่างห้องฝากเสื้อผ้าและสิ่งของ (Cloakroom)

เมื่อแขกเดินทางไปถึงสถานที่แล้ว ควรทำธุระส่วนตัว เช่น การไปห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนการไปหน้าห้องจัดเลี้ยง เดินทางไปทักทายเจ้าภาพที่ยืนต้อนรับหน้าห้องจัดเลี้ยง กล่าวแสดงความยินดีที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ เจ้าภาพจะเชิญให้แขกดื่มเครื่องดื่มตามอัธยาศัย (Cocktail Reception) ถ้ามีผังที่เจ้าภาพจัดให้นั่งที่ใดควรตรวจดูผังที่นั่งให้แน่นอน หรืออาจมีเจ้าหน้าที่พาไปนั่งยังที่ที่จัดไว้ให้

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

Photo by Joseph Pisicchio on Unsplash

ข้อควรฏิบัติ

  • เจ้าภาพเตรียมพร้อมให้การต้อนรับหน้าห้องจัดเลี้ยง
  • แขกต้องไปทักทายเจ้าภาพก่อน
  • แขกไม่ควรคุยกับเจ้าภาพนานเกินไปเพราะเจ้าภาพต้องให้การต้อนรับแขกท่านอื่นต่อไปอีก
  • ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์จนมึนเมา ไม่ต้องเสียดายเพราะที่โต๊ะอาหารยังมีไวน์เสิร์ฟอีก

3. การเข้านั่งที่โต๊ะอาหาร (Seating)

ถ้าเจ้าภาพจัดที่นั่งเฉพาะให้นั่งที่ใดต้องนั่งที่ที่เจ้าภาพจัดให้ หรือมีเจ้าหน้าที่พาไปนั่งก็นั่งที่เจ้าหน้าที่จัดให้ ไม่เปลี่ยนที่นั่งเอง

ข้อควรปฏบัติ

  • ถ้าเจ้าภาพจัดที่นั่งเฉพาะให้ ต้องนั่งตามที่เจ้าภาพจัดให้
  • ไม่นำแก้วเครื่องดื่มที่หน้างานเข้ามายังโต๊ะอาหาร
  • ยิ้มทักทายเพื่อนร่วมโต๊ะอาหารข้างๆ ถึงแม้ไม่รู้จักกันมาก่อน แต่ถ้ารู้จักกันก็ไม่ควรคุยกันมากเกินไป หรือคุยเสียงดัง

4. ขั้นตอนการับประทานอาหารที่โต๊ะอาหาร (Dining)

4.1 ทักทายผู้ที่นั่งข้างๆ ด้วยการยิ้มให้เล็กน้อยอย่างสุภาพ ไม่จำเป็นต้องคุยกันอย่างเมามันโดยเฉพาะผู้ที่รู้จักกันมาแล้ว เพราะเมื่อเข้าโต๊ะอาหารแล้ว ก็จะเริ่มเสิร์ฟเครื่องดื่มและอาหารแล้ว

4.2 เมื่อเข้านั่งที่เก้าอี้ที่เจ้าภาพจัดให้ นำผ้าเช็ดปาก (Guest Napkin) คลี่ออกและนำพาดไว้ที่หน้าตัก อาจพับเป็นสามเหลี่ยมก็ได้ บางครั้งพนักงานอาจเป็นผู้คลี่แล้วส่งให้ ก็รับจากพนักงานมาวางที่หน้าตักของเราเอง สำหรับสุภาพสตรีที่มีกระเป๋าถือมาด้วยให้วางที่หน้าตัก ไม่ควรวางบนโต๊ะอาหาร

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

4.3 การทานขนมปัง อาหารตะวันตกจะเสิร์ฟกับขนมปัง เช่นเดียวกับที่อาหารไทยต้องทานข้าวกับกับข้าว

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

ดูรายละเอียดเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้บนโต๊ะอาหารได้ที่ https://trainingreform.com/index.php/training-blog/170-training-blog-75

จานสำหรับใส่ขนมปังจะอยู่ด้านซ้ายมือของเรา การเสิร์ฟขนมปังอาจมีด้วยกันหลายวิธี

  • ใส่ตะกร้าวางไว้ที่โต๊ะอาหาร สำหรับแขก 3-4 คนต่อหนึ่งตะกร้า ใช้มือหยิบขนมปังที่ต้องการทานมาใส่ในจานขนมปังของเราด้านซ้ายมือ (ใช้มือหยิบได้เฉพาะของเรา) ถ้าจะแสดงความเอื้อเฟื้อให้ผู้อื่น ให้ยกตะกร้าส่งให้เขาหยิบ ไม่ใช้มือหยิบให้เขา

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

  • พนักงานนำมาเสนอให้โดยพนักงานจะนำตะกร้ามายื่นเสนอให้ข้างซ้าย เพราะจานขนมปังอยู่ข้างซ้าย แล้วถามให้เราเลือก มองดูแล้วแจ้งพนักงานว่าต้องการชิ้นใด แล้วพนักงานจะคีบชิ้นนั้นใส่จานขนมปังของเราให้ ไม่ทำการหยิบจากตะกร้าที่พนักงานยื่อนเสนอให้ด้วยตนเอง

การทานขนมปังใช้วิธีการบิเป็นคำต่อคำ เมื่อบิออกมาแล้วใช้มีดปาดเนยที่จัดไว้ให้ ทาลงบนขนมปังที่บิออกมาแล้วค่อยทาน ไม่ยกกัดทั้งชิ้นใหญ่ๆ (ยกเว้นขนมปังในมืออาหารเช้า ยกกัดทานได้เลย)

4.4 การดื่มไวน์

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

โดยทั่วไปในมื้ออาหารมักมีการเสิร์ฟไวน์ และมักจะเริ่มด้วยไวน์ขาว (White Wine) ก่อน แก้วไวน์จะอยู่ด้านขวามือ ยกขึ้นดื่ม วิธีการจับก็จับตามถนัด เช่น จับที่ก้านแก้ว หรือที่ตัวแก้ว การจับที่ก้านแก้วก็จะสะดวกดีและไม่มีการเปียกชื้นของไอน้ำที่เกาะข้างแก้ว

ถ้ามีการเปลี่ยนการเสิร์ฟประเภทของไวน์ เช่น เปลี่ยนจากการเสิร์ฟไวน์ขาวมาเป็นการเสิร์ฟไวน์แดง เพื่อให้เหมะสมกับอาหารจานใหม่ พนักงานจะเก็บแก้วไวน์ขาวออก ควรให้พนักงานเก็บออกไป ไม่ควรขอเก็บแก้วไวน์ขาวไว้ ถ้าจะดื่มให้หมดแก้วก็ดื่มแล้วให้พนักงานเก็บออก

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

4.5 การรับประทานอาหาร

  • ถ้าเป็นซุป (Soup) ใช้ช้อนซุปที่อยู่ด้านขวามือตักทาน ซุปอาจใส่จานซุป หรือใส่ถ้วยซุป ถ้าใส่ถ้วยก็จะมีจานรองมาด้วย ถ้าทานเสร็จแล้วก็วางช้อนซุปพาดไว้ที่จานรอง
  • ถ้าเป็นอาหารที่ต้องตัดหรือทั่นก็จะใช้มีดส้อมที่จัดไว้ให้
  • ก่อนการเสิร์ฟอาหารจานหลัก (Main Course) ห้องอาหารหรือสถานที่จัดเลี้ยงอาจเสิร์ฟเชอร์เบท (Sherbet) ลักษณะคล้ายกับไอศกรีมรสผลไม้ต่างๆ แต่จะไม่ใส่นมหรือผลิตภัณฑ์จากนม ใช้ทานเพื่อล้างลิ้นจากรสชาติต่างๆ ก่อนการทานอาหารจานหลักได้อย่างได้รสชาติเต็มที่

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

  • ขณะรับประทานอาหารอยู่และจะวางมีด ส้อม สักครู่ก็วางพาดในจานลักษณะที่กางออกพร้อมสำหรับการหยิบขึ้นมาใช้ต่อ แต่ถ้าทานเสร็จแล้วให้วางมีดและส้อม หรือช้อนและส้อมคู่กันในจาน

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

เมื่อรับประทานเสร็จแล้ว รวบมีดและส้อม หรือช้อนและส้อมไว้คู่กัน

4.6 การจัดการกับกรณีที่ไม่ปกติ ขณะรับประทานอาหารอาจเกิดสถานการณ์ที่ไมปกติเกิดขึ้นได้ เช่น

  • อุปกรณ์ มีดหรือส้อม ตกลงพื้น ไม่ต้องก้มลงเก็บ หันหาพนักงานเพื่อให้นำชิ้นใหม่มาให้ พนักงานที่ชำนาญจะสังเกตเหตุการเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน
  • อาหารหรือเครื่องดื่มหกใส่ ก่อนอื่นต้องป้องกันไว้ก่อน พนักงานจะแจ้งเตือนก่อนการเสิร์ฟหากเราไม่เห็นหรือไม่ทราบ และไม่ควรยื่นมือช่วยรับแก้วเครื่องดื่มหรือจานอาหารจากพนักงาน ปล่อยให้พนักงานวางที่โต๊ะให้ เพราะการรับต่อจะเกิดความผิดพลาดในการับต่อที่จะทำให้อาหารและเครื่องดื่มหกได้ เพียงแค่หลบตัวให้พนักงานเสิร์ฟได้อย่างสะดวกก็พอเพียงแล้ว

4.7 มารยาทต่างๆ ขณะรับประทานอาหารที่โต๊ะอาหาร

  • ถ้าจะคุยกันต้องระวังไม่ให้เสียงดังจนเกินไป
  • ไม่ย้ายแก้วเครื่องดื่มหรือเครื่อมือต่างๆ บนโต๊ะอาหาร เช่น แก้วไวน์หรือเครื่องมือในการรับประทานอาหารบนโต๊ะ ถ้าจะต้องเลื่อนอะไรพนักงานจะเป็นผู้มาจัดการให้
  • ถ้าจะยกแก้วแบบชนเพื่อแสดงน้ำใจต่อก้น เพียงแค่ยกแก้วขึ้นแล้วสบตากับผู้ที่จะชวนดื่มก็พอ ไม่ต้องพยายามเอื้อมแขนไปชนแก้วกัน
  • ในโต๊ะอาหารที่เป็นงานเลี้ยงแบบเป็นทางการไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือขึ้นมาถ่ายภาพอาหาร
  • ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือขณะรับประทานอาหาร
  • ควรรอให้เจ้าภาพหรือประธานในโต๊ะได้อาหารแล้ว และเริ่มลงมือทานก่อนหรือเชิญให้ทาน จะไม่ทานก่อนเจ้าภาพ
  • ไม่คุยเรื่องที่อาจก่อให้เกิดความบาดหมางกันได้ โดยเฉพาะเรื่อง การเมือง ศาสนา หรือความเชื่อต่างๆ
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากจนควบคุมสติไม่อยู่
  • ไม่ควรขอซ๊อสอื่นมาใส่อาหารเพิ่มเติมจากที่พ่อครัวจัดไว้ให้แล้ว เช่น Steak ที่เสิร์ฟกับ Red Wine Sauce ถือว่ามีซ๊อสแล้ว จะเติมก็เพียงเกลือหรือพริกไทยเท่านั้น
  • ถ้าเจ้าภาพหรือประธานในโต๊ะอาหาร กล่าวหรือขอพูดอะไรที่โต๊ะอาหาร ต้องหยุดกิจกรรมในการรับประทานหรือดื่มชั่วขณะ หันหน้าไปแสดงความตั้งใจฟังการพูดนั้น
  • ถ้าเจ้าภาพกล่าวขอบคุณ และลุกออกจากโต๊ะหลังการทานเสร็จแล้ว ต้องลุกออกจากโต๊ะ ตามไปเลย ไม่นั่งดื่มเครื่องดื่มต่อ
  • หากมีสิ่งใดที่ผิดไปจากประสบการณ์การบริการที่เคยได้รับ ไม่ควรติหรือสอนพนักงานระหว่างการบริการ ปล่อยไปก่อน ถ้าต้องการจะพูดหรือบอกหลังเสร็จงานแล้วค่อยไปคุยกับผู้จัดการ

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

Steak ที่เสิร์ฟมาพร้อมซ๊อสเรียบร้อยแล้ว

4.8 มารยาทการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ (Buffet)

ถึงแม้การจัดเลี้ยงแบบบุฟเฟ่จะไม่เน้นความเป็นทางการมากนักแต่ผู้ใช้บริการก็ควรต้องระมัดระวังเรื่องมารยาทด้วยเช่นกัน

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

  • เข้าแถวต่อคิวในการตักอาหาร
  • ตักอาหารเท่าที่จะทานหมด
  • ใช้อุปกรณ์ในการตักที่สถานที่จัดไว้ให้
  • ไม่ตักอาหารหวานก่อนอาหารคาว เช่น เห็นว่าคิวการตักอาหารคาวยาวก็เลยตักอาหารหวานไว้ก่อน
  • ถ้าจะตักอาหารแทนกันต้องพูดคุยบอกกล่าวกันก่อน ไม่ใช่ต่างคนต่างตักให้กันและกันโดยไม่ได้นัดกันก่อน ทำให้อาหารเหลือที่โต๊ะอาหาร
  • ขณะที่เดินไปตักอาหารหรือกลับมาที่โต๊ะไม่ควรแวะทักทายคนที่รู้จักนาน หรือนั่งคุยกันเลย เพราะเจ้าของที่นั่งกลับมาจะดูไม่เหมาะสม
  • เมื่อพนักงานเดินมาบริการเครื่องเป็นแก้ว รับมาดื่มแก้วต่อแก้ว หมดแล้วค่อยรับแก้วใหม่ ไม่รับไว้ครั้งและหลายแก้ว

4.9 การดื่มและทานในงานเลี้ยงแบบค๊อกเทลปาร์ตี้ (Cocktail Party)

ถ้า ช้อน ส้อม ของผู้รับประทานอาหาร ตกลง พื้น ผู้บริการอาหาร ควรทำ อย่างไร

https://victoriapark.com.au/

Cocktail Party เป็นงานเลี้ยงที่ไม่มีที่นั่ง แขกจะยืนดื่มและทานอาหารแบบขบเดี้ยวเท่านั้น อาจเป็นการจัดเครื่องดื่มและอาหารไว้ที่เคาน์เตอร์แล้วแขกเดินไปรับเองหรือมีพนักงานเดินคอยให้บริการ แต่สภาพสังคมปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนเป็นกึ่งมีของทานอื่มเลย มีที่นั่งส่วนหนึ่งให็ผู้สูงอายุ มารยาทที่พึงระมัดระวังคือ

  • ถ้าเป็นเครื่องดื่มและอาหารที่จัดไว้ที่เคาน์เตอร์ ควรรับอาหารและเครื่องดื่มแล้วเดินออกมา ไม่ยืนขวางหรือเกะกะแขกท่านอื่นที่ต้องเข้ามารับอาหารและเครื่องดื่ม
  • ถ้าเป็นอาหารที่จัดเป็นคำๆ แล้วมีไม้จิ้มให้ใช้จิ้มทาน ต้องใช้ไม้จิ้มที่จัดไว้ให้ และทิ้งในภาชนะที่จัดไว้ให้ (อย่าเผลอนำไม้จิ้มที่ใช้แล้วจึมไว้ที่อาหารในถาดนั้นอย่างเด็ดขาด)
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจนควบคุมสติไม่อยู่
  • ถ้ามีที่นั่งควรเอื้อเฟื้อให้ผู้ที่จำเป็นต้องนั่งจริงๆ เช่น ผู้สูงอายุ
  • ถ้ามีการพูดหรือกล่าวอะไรจากภาพ ต้องหยุดกิจกรรมต่างๆ แล้วหันไปตั้งใจฟัง
  • เมื่อเจ้าภาพกล่าวขอบคุณและอำลา นั่นเป็นสัญญานที่ควรออกจากงานเลี้ยง เพราะโดยส่วนใหญ่ถ้าจัดในโรงแรมจะมีกำหนดเวลาการเลิกที่แน่นอน

สามารถอ่านบทความที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้จาก

การใช้เครื่องมือบนโต๊ะอาหารแบบสากล https://trainingreform.com/index.php/training-blog/170-training-blog-75

มีด ช้อน ส้อม ที่ใช้บนโต๊ะอาหารตะวันตก (Flatware) https://trainingreform.com/index.php/training-blog/161-training-blog-70

แก้วเครื่องดื่ม (Glassware) https://trainingreform.com/index.php/training-blog/173-training-blog-78

ประเภทของรายการอาหาร (Types of Menu) https://trainingreform.com/index.php/training-blog/191-training-blog-95

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านคงได้ประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย หากท่านใดมีประสบการณ์ต่างๆ ที่พบเจอมาแลกเปลี่ยนกันก็ยินดีครับ