ถ้า มี ปัญหา กับ เพื่อน ร่วม งาน ควร ทำ อย่างไร

วิธีจัดการเพื่อนร่วมงานเจ้าอารมณ์

             ความฝัน “ทีมดี ชีวิตดี” สำหรับชีวิตการทำงานของใครหลาย ๆ คนอาจจะไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่านี้ เพราะถ้าทีมดี การทำงานก็จะเป็นไปได้อย่างราบรื่น แก้ปัญหาได้ง่าย พัฒนากันได้ไว เติบโตกันได้เร็ว และที่สำคัญก็คือทีมที่ดีจะดูแลสุขภาพจิตของกันและกันอีกด้วย ลองนึกภาพตามดูว่าถ้าคุณอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่คุณสามารถสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เสียสุขภาพจิต สื่อสารกันตรง ๆ ได้ แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดกันได้ เกิดปัญหาก็แก้ไขได้เร็ว

             แต่แน่นอนว่าโลกแห่งความเป็นจริงไม่ได้สวยงามเสมอไป ซึ่งสภาพแวดล้อมของการทำงาน หรือแม้แต่กลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่อยู่ในชีวิตเรา เราทุกคนอยากจะมีเพื่อนคนสนิทที่เป็นเหมือนพื้นที่ปลอดภัย สามารถสื่อสารได้ รับฟังได้ และแลกเปลี่ยนกันได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีลักษณะแบบนี้ เพราะความเป็นจริงแล้ว เราจะต้องเจอกับคนเจ้าอารมณ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และความเจ้าอารมณ์นี้แหล่ะ ที่ทำให้การทำงานหรือการอยู่ร่วมกันเกิดอุปสรรคขึ้น

             คำจำกัดความของคำว่า “เจ้าอารมณ์” ง่าย ๆ เลยก็คือ อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย และฉุนเฉียวง่าย ซึ่งอาการเจ้าอารมณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นได้ทั้งคนอื่นเจ้าอารมณ์ใส่คุณ โมโหคุณ โกรธคุณ ฯลฯ อาจจะเป็นคนตรงหน้าเกิดอารมณ์ลบกับคนอื่น แล้วเลือกจะระบายให้คุณฟัง หรือแม้แต่คุณเองก็อาจจะเป็นคนเจ้าอารมณ์เช่นกัน ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามหากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น หน้าที่ของคุณก็คือ หาวิธีรับมือกับสถานการณ์ตรงหน้าให้ดีที่สุด ไม่เช่นนั้นคุณจะไม่สามารถรับมือได้ ถ้าเป็นสถานการณ์ในที่ทำงาน เจ้านายอารมณ์เสียใส่คุณ รุ่นพี่ที่ทำงานไม่พอใจ เพื่อนร่วมงานโกรธหรือโมโห คุณไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์และปล่อยให้อารมณ์ของตัวเองไหลไป ตามเหตุการณ์นั้นด้วย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ คุณก็จะกลายเป็นคนเจ้าอารมณ์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 คน และถ้าคุณคิดว่าการทำงานกับคนเจ้าอารมณ์เหนื่อยแล้ว การเป็นคนเจ้าอารมณ์ที่จะต้องมานั่งมีปัญหากับคนเจ้าอารมณ์อีกคนหนึ่ง เหนื่อยกว่าที่คุณคิดเสียอีก และที่สำคัญคือ แทนที่คุณจะมีส่วนในการช่วยรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงาน กลายเป็นว่าคุณคือส่วนหนึ่งที่ทำให้บรรยากาศการทำงานแย่ลงอีกด้วย

             แต่อย่าเพิ่งตัดสินคุณค่าของคนเจ้าอารมณ์ไป เพราะว่าการเป็นคนเจ้าอารมณ์ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นคนไม่ดี หรือเป็นคนไม่น่าคบหา คุณแค่ต้องเข้าใจว่าสถานการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้น ทำให้พวกเขาเหล่านั้นควบคุมตัวเอง และรับมือการสถานการณ์แบบนั้นได้ไม่ดีสักเท่าไหร่ ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาจึงอยู่ในรูปของการใช้อารมณ์กำหนดการกระทำโดยที่ตัวเขาเองควบคุมไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นข้างต้นไม่ได้หมายความว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนไม่มีคุณภาพ ถ้าพวกเขาอยู่ในที่ทำงานเดียวกับคุณ พวกเขาจะต้องมีความสามารถบางอย่างที่จำเป็นสำหรับทีมของคุณและองค์กรของคุณอยู่แล้วจริงไหม ? หรือถ้าเกิดว่าเพื่อนของคุณเป็นคนเจ้าอารมณ์ นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเพื่อนของคุณเป็นคนไม่ดี เพราะถ้าเพื่อนคุณไม่ได้เป็นคนดี คุณก็คงจะไม่เอาตัวเองไปอยู่กับเพื่อนคนนี้ หรือเพื่อนกลุ่มนี้อยู่แล้ว จริงไหม ?

             ดังนั้นถ้าหากว่าคุณสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่คนเจ้าอารมณ์เหล่านี้แสดงอารมณ์รุนแรงออกมาได้ดี นั่นหมายความว่าคุณสามารถใช้ศักยภาพของเขาในแง่มุมอื่น ๆ ได้ดีขึ้นด้วย และถ้าคุณจัดการกับสถานการณ์เหล่านั้นได้ดี คุณเองก็จะสร้างตัวตนที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนรอบ ๆ ตัวได้ และพื้นที่ปลอดภัยนี้ก็จะให้ประโยชน์ในการสื่อสารทั้งกับตัวคุณเอง และคนรอบตัวของคุณได้

             เมื่อคุณเข้าใจความสำคัญของการทำทักษะในการจัดการกับคนเจ้าอารมณ์แล้ว ต่อมาก็คือการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเทคนิคแต่ละอย่างที่จะนำมาเล่าให้ฟังในบทความนี้ ไม่ได้เป็นเทคนิคที่ซับซ้อนหรือยากเลย เพียงแต่ว่าคุณจะต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา บวกการกับฝึกฝนและใช้เป็นประจำ คุณก็จะสามารถพัฒนาตัวเอง และคนรอบข้างไปได้อีกระดับหนึ่งแล้ว

 1. จัดการกับตัวเองให้พร้อม ด้วยการรู้เท่าทันตัวเอง

             พื้นฐานที่สุดของการจัดการกับสถานการณ์ที่คนเจ้าอารมณ์แสดงอารมณ์รุนแรงออกมานั่น คือการจัดการตัวเองให้เรียบร้อยก่อน อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า เหตุการณ์ที่แย่กว่าการมีคนเจ้าอารมณ์ 1 คน ก็คือการมีคนเจ้าอารมณ์ 2 คน ดังนั้นการจัดการตัวเองที่ดีที่สุดก็คือการ รู้เท่าทันตัวเองนั่นเอา หรือว่าการมี Mindfulness นั่นเอง

             Mindfulness หรือการเท่าทันตัวเองอาจจะเป็นคำที่หลาย ๆ คนเคยได้ยินมาบ้างแล้ว การเท่าทันตัวเองคือการ รู้ทันความคิดที่เด้งขึ้นมาตอบสนองกับสถานการณ์ต่าง ๆ รอบตัวคุณเอง ที่เรียกกันในภาษาจิตวิทยาสื่อประประสาท Automatic thought หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า Auto – thought ซึ่งเจ้าความคิดเหล่านี้จะเป็นต้นกำเนิดของอารมณ์ทั้งหลายที่จะตามมาในภายหลัง ยกตัวอย่างเช่น

มีคนเอาเอกสารมาวางลงบนโต๊ะคุณอย่างแรง

  • “ต้องการอะไรวะ?”

  • “ฉันทำอะไรผิด?”

  • “เป็นอะไรมาอีกล่ะ”

ความคิดระดับจิตใต้สำนึกที่พุ่งขึ้นมาเหล่านี้ บ่อยครั้งจะไม่ได้ออกมาในรูปแบบที่ชัดเจนจนเราตามทัน เพราะความคิดเหล่านี้จะพุ่งขึ้นมาและผ่านไปเร็วมาก ทิ้งไว้แต่อารมณ์ที่เกิดจากความคิดเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ โกรธ เศร้า กลัว เจ็บปวด หรือรู้สึกผิดก็ตาม ซึ่งอารมณ์เหล่านี้จะมีผลกับความคิดระดับจิตสำนึกของคุณโดยตรง ถ้าคุณโกรธ จิตสำนึกของคุณจะเต็มไปด้วยความคิดที่ทำให้อารมณ์ของคุณฉุนเฉียวขึ้นเรื่อย ๆ และมีความคิดลบๆ ในหัว เช่น “เอาอารมณ์มาลงกับฉันอีกแล้ว จัดการตัวเองไม่ได้เลยรึไง?”  “จะเข้ามาสื่อสารกันดี ๆ โดยที่ไม่ต้องแสดงอาการแบบนี้ไม่ได้เลยหรอ?” หรือ “การกระทำแย่แบบนี้เป็นหัวหน้าได้ยังไง?” ซึ่งถ้าจิตสำนึกของคุณเต็มไปด้วยความคิดเหล่านี้ พฤติกรรมและการแสดงออกทางสีหน้าและร่างกายของคุณก็จะเปลี่ยนไปด้วย เช่นกัน

             ซึ่งการทันความคิดตัวเองที่ดีที่สุดก็คือ หมั่นถามตัวเองบ่อย ๆ ว่า “ฉันคิดอะไรอยู่” คำถามง่าย ๆ ที่ทรงพลังข้อนี้ จะทำให้คุณสามารถเข้าถึงความคิดของตัวเองได้เร็วและเฉียบคมมากขึ้น เพราะส่วนใหญ่ที่ความคิดบางอย่างที่เกิดขึ้นและผ่านไปอย่างรวดเร็ว เป็นเพราะว่าเราไม่เคยตั้งใจถามตัวเองอย่างจริงจังสักทีว่า ฉันคิดอะไรอยู่ ทำให้จิตสำนึกของเราไม่เคยชินกับการหาคำตอบเหล่านี้

ลองตั้งข้อสังเกตกับตัวเองดูว่า สมมติถ้าเราเกิดอารมณ์ลบขึ้นมา หรือเราโกรธเรื่องอะไรบางอย่าง เราเคยมานั่งถามตัวเองไหมว่า ฉันคิดอะไร ฉันรู้สึกอะไร และความคิดกับความรู้สึกนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร ? ซึ่งกระบวนการนี้ต้องใช้เวลาในการถามตอบกับตัวเองพอสมควร อาจจะดูไม่เข้ากับสถานการณ์ที่คุณจะต้องจัดการตรงหน้าสักเท่าไหร่ ถ้าหากว่าคุณโดนเจ้านายเอาเอกสารมาฟาดลงบนโต๊ะแรง ๆ แล้วคุณนั่งนิ่ง ๆ เพราะคุณกำลังถามตัวเองอยู่ว่าฉันคิดอะไร นั่งหาคำตอบอยู่นานสองนาน อาจจะไม่ทันจัดการกับเหตุการณ์ปัจจุบัน แต่ถ้าเกิดว่าคุณถามตัวเองอย่างสม่ำเสมอ คุณจะไม่ต้องใช้เวลานานในการรู้ทันตัวเองเลย ทันทีที่มีความคิดหรือมีอารมณ์บางอย่าง การมีสติของคุณจะทำให้คุณรับรู้ได้ทันทีว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นอยู่ภายในตัวเอง ซึ่งคุณก็อาจจะเจออุปสรรคอีกอย่างหนึ่งในการวิเคราะห์ตัวเอง คือ คุณอาจจะมีสติไม่มากพอ ณ สถานการณ์ตอนนั้น และนั่นนำมาถึงเทคนิคข้อต่อไป

2. หายใจลึก ๆ

             เหมือนกับที่อธิบายไปในเทคนิคข้อที่แล้วว่า ความคิดมีผลกระทบต่อร่างกายและพฤติกรรมของเราโดยตรง เพราะฉะนั้นการจัดการความคิดของเรา ก็ทำให้ร่างกายเราอยู่ในสภาวะปกติหรือ “ไม่เครียด” ได้ ซึ่งความเครียดของร่างกายจะไม่เหมือนกับความจิตใจหรือความคิด เพราะความเครียดทางความคิดจะทำให้คุณมีสภาวะอารมณ์เปลี่ยนแปลง แต่ความเครียดที่เกิดขึ้นทางร่างกายจะทำให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายเกิดอาการหดเกร็ง ทำให้หลาย ๆ คนเวลาเครียดบ่อย ๆ แล้วอาจจะปวดเมื่อยคอหรือบ่า หรือจะเป็นการกำหมัด ขมวดคิ้ว สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกิดมาจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในร่างกายทั้งนั้น

             ในทางกลับกัน ถ้าสภาวะอารมณ์ของเรามีผลกับร่างกาย การขยับหรือการเคลื่อนไหวของร่างกาย ก็มีผลกับความเครียดของเราเหมือนกัน จึงเกิดเป็นคำแนะนำของแพทย์-จิตแพทย์ที่แนะให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อซึ่งมีผลกับการคลายความเครียดด้วยเช่นกัน

             แต่บางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จะมีอารมณ์พุ่งขึ้นมา มีความเครียดเกิดขึ้นในตัวคุณ ทำให้คุณไม่มีสติวิเคราะห์สถานการณ์ ตัวคุณ และคู่กรณีของคุณได้เต็มที่ การเปลี่ยนบริบทของร่างกายในเชิงการขยับร่างกาย หรือการออกกำลังกายอาจจะไม่เหมาะเท่าไหร่นัก ลองคิดดูว่าถ้าเจ้านายคุณวางเอกสารใส่คุณแรง ๆ แล้วคุณเลือกที่จะเปลี่ยน posture ของตัวเองเพื่อลดความเครียด ด้วยการยืนชึ้นและชูมือสองข้างเหยียดไปสุดแขน การกระทำของคุณอาจจะถูกตีความไปเป็นอย่างอื่นก็ได้

             ดังนั้น ทางออกที่ง่ายที่สุดของการตั้งสติให้ตัวเอง ก็คือการหายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกเบา ๆการหายใจในลักษณะนี้จะทำให้กล้ามเนื้อของคุณคลายตัว และที่สำคัญคือจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจคุณช้าลงเล็กน้อยด้วย ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจที่ช้าลงนี่ก็ไม่ได้จะทำให้คุณเป็นความดันต่ำแค่อย่างใด แต่การลดลงเล็กน้อยนี่จะทำให้คุณตั้งสติกับตัวเองได้ง่ายขึ้นมาก เพราะคนที่กำลังอยู่ในอารมณ์รุนแรง ฉุนฉียว เครียด มักจะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงขึ้นกว่าปกติ ดังนั้นการหายใจลักษณะนี้จึงมีผลกับการควบคุมสติของตัวคุณเองในสถานการณ์ที่ต้องจัดการกับคนเจ้าอารมณ์ได้อย่างดี

             เน้นย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ควรจะหายใจเข้าช่องท้องลึก ๆ และหายใจออกช้า ๆ เบา ๆ เพราะถ้าคุณเผลอหายใจออกมาแรง ๆ จะดูเหมือนคุณถอนหายใจใส่คนตรงหน้า และนั่นอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับสถานการณ์ที่คุณกำลังเจออยู่แน่ ๆ เพราะฉะนั้น หายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกเบา ๆ

 

3. ทวนคำพูด Paraphase / Reflect

             เมื่อคุณตั้งสติกับตัวเองได้แล้ว ควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้แล้ว วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้สถานการณ์เบาลงเร็วที่สุดก็คือ การสะท้อน และทวนคำพูด

ยกตัวอย่าง : เจ้านายคุณเอาเอกสารมาฟาดลงบนโต๊ะคุณแล้วบอกว่า “งานคุณไม่เรียบร้อยเลย ผิดเยอะมาก” ให้คุณตอบกลับเลยว่า ผมได้ยินเจ้านายพูดว่า “งานผมไม่เรียบร้อย และงานผมผิดเยอะมาก ใช่ไหมครับ ?”

             อาจจะดูแปลก ๆ แต่การทวนคำพูดลักษณะนี้ทำหน้าที่หลายอย่างในบทสนทนาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ อย่างแรกก็คือ การยืนยันว่าคุณกำลังเข้าใจสารที่เขากำลังสื่อ และกำลังตั้งใจฟังในทุก ๆ คำพูด โดยที่คุณไมได้พยายามแก้ตัว หรือพูดอย่างอื่นเพื่อปัดให้เหตุการณ์นั้นผ่าน ๆ ไป แต่คุณกำลังพยายามรับฟัง และตั้งตัวเองให้อยู่ในสถานะที่พรัอมจะเข้าใจสิ่งที่คนตรงหน้ากำลังจะสื่อสารอย่างเต็มที่ ลองเปรียบเทียบดูว่า ถ้าเป็นปกติแล้ว เวลาโดนตำหนิในลักษณะนี้หลาย ๆ คนก็น่าจะตอบสนองกลับไปว่า

“ผิดตรงไหนครับ ผมว่าผมตรวจแล้วนะ” ถ้าตอบแบบนี้ไปก็อาจจะโดนตอกกลับมาอีกก็ได้ว่า ตรวจยังไงให้ผิดอยู่

“ขอโทษครับ” ถ้าตอบแบบนี้ครั้งแรก ๆ อาจจะดี แต่ถ้าซ้ำซากก็จะทำให้คำขอโทษไม่มีน้ำหนักเหมือนเดิม เพราะถ้าขอโทษไปเรื่อย ๆ โดยที่ไม่พัฒนา คนพูดก็เอื้อมระอาที่จะพูดเหมือนกัน

             นอกจากนั้นการตอบแบบทวนประโยคลักษณะนี้ ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้พูดตรงหน้า สามารถพูดและอธิบายต่อได้อีกด้วยว่า คุณควรจะทำอย่างไรต่อดี ซึ่งถ้าการสื่อสารสามารถจบลงได้ก็เท่ากับว่า คุณประสบความสำเร็จในการจัดการสถานการณ์ตรงหน้าแล้ว คนอื่นสื่อสาร คุณเป็นผู้ฟัง ความเข้าใจตรงกัน จบที่พัฒนาต่อไปได้ แต่ถ้าหากว่าผู้พูดตรงหน้ายังไม่ได้สื่อสารกับคุณตรง ๆ แต่พูดวกไปวนมา จนทำให้คุณไม่ได้ข้อมูลที่คุณควรจะได้ แนะนำให้คุณลองใช้เทคนิคตามข้อต่อไปนี้

ถ้าเรามีปัญหากับเพื่อนควรทำยังไง

มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน เคลียร์กันยังไงให้สัมพันธ์กลับมาดีดังเดิม ไม่กระทบงานให้เสีย.
1. เก็บข้อมูล หาสาเหตุที่ทำให้ผิดใจกัน ... .
2. มีคนกลางคอยไกล่เกลี่ย ... .
3. กล่าวขอโทษเมื่อทำความผิด ... .
4. ให้โอกาสฝั่งตรงข้ามถ้าเขาเป็นคนผิด ... .
5. สื่อสารอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา แต่ต้องระวังทุกคำพูด.

คุณจะจัดการกับความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานอย่างไร

แนะนำ 5 วิธีรับมือกับปัญหา “ความขัดแย้งในที่ทำงาน” ให้ได้ผล แถมสร้างมิตรภาพใหม่!!.
1. จงเป็นคนที่โตขึ้นกว่าเดิม ... .
2. จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างสุภาพ ... .
3. อย่าพูดถึงเพื่อนร่วมงานของคุณลับหลังเป็นอันขาด ... .
4. หากมีข้อสงสัย ให้นึกถึงบุคคลที่เป็นกลาง ... .
5. คุณต้องแน่ใจว่าปัญหาได้ถูกแก้แล้วจริงๆ.

รับมือยังไงกับเพื่อนร่วมงาน

4 วิธีรับมือกับเพื่อนร่วมงาน แต่ละแบบ เริ่มต้นสัปดาห์อย่างแฮปปี้!.
สังเกตอารมณ์โมโหของเขาว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่บ้าง.
หลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยว ปฏิสัมพันธ์ ในช่วงเวลาที่เพื่อนร่วมงานคนนี้ดูเริ่มอยู่ในอารมณ์คุกรุ่น.
พูดคุยเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาให้น้อยที่สุด หลีกเลี่ยงการพูดถึงประเด็นที่อ่อนไหว.

คนแบบไหนที่คุณไม่อยากร่วมงานด้วย

1. โมโหร้าย ความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ ... .
2. มาจากดาว “ช่างแซะ” ... .
3. ไม่รู้จัก “ยืดหยุ่น” ... .
4. สัญญาไม่เป็นสัญญา ... .
5. ไม่รู้จักอดทนเอาเสียเลย ... .
6. มนุษย์เพอร์เฟคชั่นนิสต์ ยอมไม่ได้ ถ้าเห็นอะไรไม่เป็นอย่างที่คิด ... .
7. ใจเขาใจเราคืออะไร.. ... .
8. ใจแคบเท่าพุงมด.