ไม่เก่งอังกฤษ เรียนนิเทศ ได้ไหม

น้องๆที่กำลังจะขึ้นม.ปลายอาจจะสับสนว่าตัวเองนั้นเหมาะกับการเรียนสายไหนดี สายวิทย์ก็น่าสน สายศิลป์ก็น่าเรียน ก่อนที่น้องๆจะเลือกสาย พี่อยากให้น้องๆอ่านข้อมูลกันก่อนนะครับ เพื่อที่น้องๆจะได้นำไปวิเคราะห์ว่าตัวเองชอบเรียนอะไร อยากเรียนคณะไหน อยากเป็นอะไร เพราะข้อมูลเหล่านี้จะมีผลต่อการตัดสินใจของน้องๆว่าจะเลือกเรียนแผนไหนนั่นเอง

เรียนสายไหนดี

พี่จะแบ่งแผนการเรียนออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ นั่นก็คือ สายวิทย์-คณิต สายศิลป์-คำนวณ และสายศิลป์-ภาษา ตามที่น้องๆหลายคนรู้จักกันดี ซึ่งหลังๆน้องๆอาจจะได้ยินสายศิลป์-สังคม ศิลป์-ธุรกิจ ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนว่ามีหรือไม่

สายวิทย์คณิต สายวิทย์คณิตเรียนอะไรบ้าง? สายนี้จะค่อนข้างเรียนหนักกว่าสายศิลป์ทีเดียวนะครับ เพราะมีทั้งวิชาวิทยาศาสต์ที่รวมวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา แน่นอนว่าจะต้องลงรายละเอียดเนื้อหาที่ลึกกว่าตอนม.ต้น เพราะต้องมีการทำการทดลอง ทำโครงงาน การวิเคราะห์ผลต่างๆ และอีกวิชาซึ่งก็คือคณิตศาสตร์ที่มีเนื้อหาเข้มข้นมากขึ้น ส่วนวิชาอื่นๆได้แก่สังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ นั้นเรียนปกติแต่ไม่สัดส่วนไม่เยอะเท่าวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ศิลป์คำนวณ สายศิลป์คำนวณเรียนอะไรบ้าง? ขึ้นชื่อว่าศิลป์-คำนวณ ก็ต้องเน้นวิชาภาษาอังกฤษกับคณิตศาสตร์เป็นหลัก ใครที่รู้สึกว่าตัวเองชอบสองวิชานี้ ถือว่ามาถูกสายแล้วครับ เพราะสายนี้ภาษาอังกฤษจะเรียนตั้งแต่ระดับง่ายไปยาก เรียนว่าฟัง พูด อ่าน เขียน มาครบเลยทีเดียว ส่วนความยากของวิชาคณิตศาสตร์ก็ยากพอๆกับสายวิทย์-คณิตเลยครับ แต่ถามว่าต้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์มั้ย สายศิลป์-คำนวณก็ยังต้องเจอ แต่ระดับความยากจะไม่เท่าสายวิทย์-คณิต

ศิลป์ภาษา สายศิลป์ภาษาเรียนอะไรบ้าง? สายนี้จะเน้นหนักไปทางภาษาอังกฤษและอีกภาษาที่น้องเลือกเรียน หรือเรียกง่ายๆว่าภาษาที่ 3 ครับ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วนวิชาภาษาไทย สังคม ก็จะเน้นรองลงมา และน้องๆยังต้องเรียนวิทย์พื้นฐานแต่จะเรียนแบบรวมๆไม่เจาะแยกรายวิชา

เรียนสายไหนดี”เรียนต่อคณะอะไรได้บ้าง – เมื่อเราเลือกแล้วว่าเรียนสายไหนดี เรามาดูกันว่าหากน้องๆเลือกเรียนสายวิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, ศิลป์-ภาษา น้องๆจะเลือกเข้าศึกษาต่อคณะอะไรได้บ้าง เพื่อที่น้องๆจะได้ศึกษาข้อมูลล่วงหน้า ว่าแต่ละคณะเรียนอะไรบ้าง และวิชานั้นๆเหมาะกับเราหรือไม่

“เรียนสายไหนดี” 

  1. คณะทางสายสุขศาสตร์ : คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์
  2. คณะทางสายวิทยาสาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะประมง คณะเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรม
  3. คณะทางสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะนิเทศศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นต้น

สายวิทย์-คณิต เลือกเข้าคณะอะไรได้บ้าง ?

ไม่ว่าจะเป็นสายศิลป์-คำนวณ หรือศิลป์-ภาษา น้องๆก็สามารถเลือกเข้าคณะเหล่านี้ได้นะครับ

คณะอักษรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะสถาปัตกรรมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะวารสารศาสตร์

“เรียนสายไหนดี” 

จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญมาก การเลือกว่าจะเรียนสายไหนดีนั้นเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในชีวิตของน้องๆ เพราะเมื่อเลือกเรียนแล้วมันจะเป็นตัวกำหนดทิศทางและอนาคตของน้องๆสู่อาชีพในสายนั้นๆ ดังนั้นพี่อยากให้น้องๆคิดทบทวนกันให้ดีๆนะครับว่า เราชอบเรียนอะไร และอยากเรียนต่อคณะไหน มหาวิทยาลัยไหน บางคนคิดไปถึงอาชีพที่อยากเป็นในอนาคต อันนี้ถือเป็นเรื่องดีครับ ยิ่งถ้าน้องๆรู้ความชอบและความถนัดของตัวเองเร็ว ก็สามารถเลือกเรียนได้ตรงสายและน้องๆจะไม่เสียเวลาด้วยครับ

ถ้าเรายังไม่แน่ใจว่าเราอยากเลือกเรียนสายไหนดี น้องๆสามารถทำแบบทดสอบค้นหาตัวเอง เพื่อดูว่าเราถนัดอะไร ชอบและสนใจในวิชาไหน หรือเราลองสังเกตตัวเองว่าเวลาเราเรียนที่โรงเรียน หากเราไม่ชอบการทดลอง ไม่ชอบการคำนวณ สายศิลป์ก็อาจจะเหมาะกับเราครับ หรือเวลาเรียน เราชอบวิชาไหนมากที่สุด ทำคะแนนวิชาไหนได้ดีอันดับต้นๆ น้องๆสามารถคิดไปถึงอนาคตได้ว่าอยากเป็นอะไร ทำอาชีพไหน ก็กลับมาดูว่าสายอาชีพนั้นต้องเรียนด้านไหน เช่นถ้าอยากเป็นหมอหรือพยาบาลก็เลือกวิทย์-คณิตเลยคร้าบ ที่สำคัญเราไม่ควรเลือกสายเรียนตามพื่อน เพราะมันเป็นสิ่งที่เพื่อนชอบเรียน แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราชอบเรียนก็ได้ ดังนั้นการตัดสินใจเลือกสายที่เรียนควรขึ้นอยู่กับตัวเรา น้องๆบางคนถ้าคิดไม่ออกจริงๆ พี่ก็แนะนำว่าลองปรึกษาคนในครอบครัว  ปรึกษาคุณครู ปรึกษารุ่นพี่ที่ผ่านการเรียน ม.ปลายมาแล้ว เผื่อการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นครับ

“สำหรับในคณะเรารู้สึกว่ามีสิ่งนึงที่โดดเด่นมาก ๆ คือทุกคนมีความเป็นตัวของตัวเองมาก ๆ
หมายถึงมีสไตล์ มีคาแรคเตอร์ของตัวเอง และมันหลากหลายมากก ทำให้เราเจอคนหลายแบบ
เพื่อน ๆ พี่ ๆ หลายแบบ แต่ทุกคนค่อนข้าง support กันดีมาก”

“ไผ่เชื่อจริง ๆ ว่าจะอีกสิบปี ร้อยปี คนก็ยังต้องการสื่อบันเทิง ถึงคนจะดูหนังโรงน้อยลง ดูรายการน้อยลง
แต่คนดูสตรีมมิ่งก็มากขึ้น ยูทูป ติ้กต่อก อะไรพวกนี้มันอาจจะเข้ามาแทนสื่อแบบเก่าไป
แต่ไม่มีทางเลยที่มนุษย์จะใช้ชีวิตโดยปราศจากความบันเทิง
และคนที่สร้างสื่อเหล่านั้นก็คือพวกเราที่เรียนนิเทศ”
– พี่ไผ่ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-

เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงเคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนามของคณะนิเทศศาสตร์อยู่ไม่มากก็น้อย  ไม่ว่าจะเป็น เรื่องกิจกรรม ความสัมพันธ์รุ่นพี่รุ่นน้อง หรือเรื่องความสนุกต่าง ๆ  ในคณะ หรือแม้กระทั่งคำถามที่ว่า เรียนนิเทศแล้วตกงานจริงมั้ย!? จบนิเทศต้องทำงานในวงการบันเทิงรึป่าว!? วันนี้พี่ ๆ ทีมงาน TCASter จะพาน้อง ๆ มาหาคำตอบกับรุ่นพี่สายตรงจากนิเทศจุฬาฯ อย่ารอช้า! ไปดูกันเลย!

แนะนำตัวสั้น ๆ ให้น้อง ๆ รู้จักหน่อย

สวัสดีค่าา เราชื่อไผ่น้า ตอนนี้ไผ่กำลังจะขึ้นปีสองที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วก็เพิ่งเลือกภาค ABC (Advertising and Brand Communication) หรือการโฆษณาและสื่อสารตราสินค้าไปคับ

ไม่เก่งอังกฤษ เรียนนิเทศ ได้ไหม

พี่ไผ่รู้ตัวตอนไหนว่าอยากเข้าคณะนี้ แล้วอะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่เราสนใจสายนี้

จริง ๆ แล้วไผ่เพิ่งมารู้ตัวช่วงม.5 นี่เองแหละว่าอยากเข้านิเทศ คือก่อนหน้านั้นไผ่อยากเข้าอักษรมาก่อน แต่พอมาม.ปลายเรามีโอกาสได้เป็นนักเรียน Gifted English ซึ่งมันก็จะเรียนพวกการอ่าน วิเคราะห์อะไรต่าง ๆ ด้วย แล้วพอเรียนคือเราก็เอนจอยมาก ๆ เลยนะ แต่พอเราถามตัวเองว่าเราอยากเรียนอะไรแบบนี้ไปตลอด 4 ปี ทั้งวัน ทุกวัน แล้วก็เอามันมาทำเป็นอาชีพจริง ๆ เหรอ ไผ่ก็ตอบตัวเองว่าคงไม่ขนาดนั้น จุดที่ทำให้เราสนใจนิเทศขึ้นมาก็เพราะไผ่มีโอกาสได้ทำหนังสั้นในงานโรงเรียนค่ะ ตอนนั้นก็ทำกับเพื่อน ๆ แล้วเรารู้สึกสนุกมาก มีความสุขมาก รู้สึกว่าสามารถไปถ่ายแต่เช้าและกลับมาตัดต่อได้ต่อ เลยทำให้อยากเข้านิเทศขึ้นมากค่ะ 

ตอนนั้นพี่ไผ่ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง แล้วมีวิธีเตรียมตัวยังไงบ้าง ลองแชร์ให้น้อง ๆหน่อย

ตอนนั้นไผ่ใช้ Pat 7.1 กับ Gat เพราะเราเข้ารอบ 3 แล้วด้วยความที่จริง ๆ ตอนม.6 ไผ่ก็ยังคงทำกิจกรรมและแอบยุ่งมาก ๆ เลยรู้สึกว่าทุก ๆ วินาทีที่ว่างมันสำคัญมาก และด้วยความที่เวลาว่างของไผ่มันไม่แน่นอน ไผ่เลยเน้นอ่านเองมากกว่าเรียนพิเศษ แต่ก็เรียนไม่เยอะมาก เพราะอย่างที่บอกว่าเราไม่มีเวลามาก อย่างช่วงปิดเทอมไผ่อ่านหนังสือหนักมาก ๆ เพราะเรารู้ว่าเทอมสองที่เพื่อน ๆ มีเวลาอ่านกัน เราจะต้องเอาเวลาไปเตรียมงานโรงเรียนอีกเยอะมาก

วิธีการอ่านหนังสือของไผ่ คือ ระยะแรกไผ่จะอ่านเนื้อหาให้หมดก่อนสักรอบหนึ่ง ย้ำเนื้อหาส่วนที่เราไม่ถนัดหลาย ๆ รอบ ไผ่จะ schedule ตัวเองไว้ว่าก่อนเริ่มอ่านในแต่ละวัน ไผ่ต้องมาดูเรื่องนี้ ๆ ที่เราไม่แม่นก่อน แล้วก็เริ่มอ่านต่อตามแพลน  คือ ไผ่จะเขียนแพลนทุกเช้า เขียนว่าวันนี้เราจะอ่านถึงตรงไหน เรื่องอะไรบ้าง ถ้าได้มากกว่านั้นก็เป็นถือว่ากำไร ระยะต่อมาก็คือการทำโจทย์ ซึ่งไผ่ค่อนข้างให้เวลากับส่วนนี้มากกว่า ทั้งหนังสือโจทย์ ข้อสอบเก่า ทำให้หมดดดด ระหว่างทำไผ่ก็จะมาร์คข้อที่รู้สึกว่าน่าสนใจเอาไว้ด้วย โดยที่อาจจะเป็นข้อที่เราทำถูกก็ได้ แต่รู้สึกว่า tricky อะไรแบบนั้น แล้วพอหลังตรวจเสร็จ ไผ่จะกลับมาดูข้อผิดกับข้อที่มาร์คไว้ แล้วจดคำอธิบายข้อเหล่านั้นไว้ค่ะ

พอถึงช่วงโค้งสุดท้ายที่รู้สึกว่าเริ่มไม่มีอะไรจะอ่าน ก็จะเอาสมุดที่จดข้อผิดนี่แหละค่ะมานั่งอ่านอีกทีให้ไม่พลาดด แล้วอีกอย่างก็คือเรื่องการให้ความสำคัญกับวิชาที่เราจะใช้สอบ อย่างส่วนตัวไผ่ค่อนข้างถนัดภาษาอังกฤษอยู่แล้ว แต่ค่อนข้างกังวลกับภาษาฝรั่งเศส เวลาในการอ่านหนังสือก็เลยจะเทให้ฝรั่งเศสซะเป็นส่วนใหญ่ค่ะ แต่ยังไงทุกคนก็ลองดูตามความเหมาะสมของตัวเองนะ อีกอย่างคืออยากแนะนำแอพ quizlet มากก มันช่วยให้จำศัพท์ได้ดีมาก ๆ  คือมันเป็น flash card แล้วก็มีเกมจับคู่ เกมเติมคำ อะไรแบบนี้จากศัพท์ที่เราใส่ไป ไผ่จะเล่นช่วงว่าง ๆ เช่นตอนอยู่บนรถไฟฟ้า ตอนนั่งรอนู่นนี่ อะไรแบบนี้ค่ะ

ไม่เก่งอังกฤษ เรียนนิเทศ ได้ไหม

หลายคนมีความเข้าใจว่านิเทศ คือ เรียนเพื่อเป็นหน้ากล้องซะส่วนใหญ่ อยากให้เล่าให้ฟังหน่อยว่าจริง ๆ นิเทศมีเรียนอะไรบ้าง 

หลายคนอาจจะมีภาพจำกับคณะนิเทศว่าเป็นคณะที่เรียนแค่การผลิตสื่อ เป็นคนอยู่ในสตูดิโอรายการ กองถ่ายหนัง หรืออะไรทำนองนั้น ยอมรับว่าไผ่เองในตอนแรกก็คิดแค่นั้นเหมือนกันค่ะ (อาจจะเพราะตอนแรกเราสนใจจะเรียนสาขา Film หรือภาพยนตร์และภาพนิ่งด้วย ภาพที่เราเห็นคณะถึงเป็นแบบนั้น)

แต่พอเข้ามาจริง ๆ แล้ว มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของคณะนิเทศเท่านั้นเอง ที่จริงแล้ว นิเทศศาสตร์เป็นการเรียนเกี่ยวกับ “ทุก ๆ วิธีในการสื่อสาร” เรียนตั้งแต่การสื่อสารโดยการพูด บุคลิกภาพ การสื่อสารผ่านแสดง โดยเป็นสิ่งที่ใช้ตัวเราเองเป็นสื่อ และการสื่อสารโดยใช้สื่อต่าง ๆ ทั้งการเขียนแบบใช้บทความ เรื่องสั้น ข่าว สารคดี หนังสือพิมพ์เป็นสื่อกลาง การสร้างสื่อภาพและเสียง อย่างรายการ ภาพยนตร์ หรือภาพนิ่งที่เราเห็นกัน ไปจนถึงการสื่อสารสำหรับองค์กร อย่างการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารในองค์กร และการสื่อสารตราสินค้า ดูเยอะไหมนะ 55555

พอเข้ามาปีหนึ่ง เราก็จะได้เรียนวิชาพื้นฐานของการสื่อสารแต่ละแบบที่ไผ่เขียนไปด้านบนเลย ทั้งการพูด การเขียน การผลิตสื่อภาพและเสียง แล้วก็จะมีเรียนวิชาเกี่ยวกับจริยธรรมในการเป็นสื่อ และประวัติของการสื่อสารมวลชนด้วย ซึ่งถือว่าสำคัญมาก ๆ สำหรับการทำงานในวงการสื่อ และเพราะการสื่อสารมีหลากหลายรูปแบบมาก ๆ และมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันด้วย ในคณะของเราเลยมีแบ่งเป็น 7 สาขา ที่เรียนเจาะลึกการสื่อสารแต่ละแบบที่แตกต่างกันไปเลยค่ะ 

แล้วอย่างนี้เราเลือกภาคตอนปีไหนนะ แล้วตอนนี้พี่ไผ่เรียนภาคอะไร มีความน่าสนใจยังไงบ้าง 

เราจะได้เลือกสาขากันตอนขึ้นปี 2 หลังจากที่เรียนวิชาพื้นฐานของทุก ๆ สาขาไปแล้ว ซึ่งอย่างที่บอกว่าตอนแรกไผ่สนใจ Film แต่สุดท้ายพอมาเรียนจริง ๆ กลับเลือก ABC ไป เพราะว่าพอเราได้เรียน ได้ทำกิจกรรมอะไรต่าง ๆ ไป แล้วมาตกตะกอนกับตัวเองอีกที เรารู้สึกว่าภาคนี้ตอบโจทย์เรามากกว่า ไผ่ยังไม่ได้เริ่มเรียนในภาคนะะ

แต่วิชาของภาคส่วนใหญ่ก็จะเรียนทุกอย่างเลยในการสื่อสารตัวแบรนด์ จะมีวิชาในฝั่ง Marketing ที่เรียนในเรื่องการวิเคราะห์ผู้บริโภค การวางแผนการตลาดของสินค้าหรือตัวแบรนด์ การสำรวจตลาดและเก็บข้อมูล และวิธีการในการสื่อสารองค์กรในแบบต่าง ๆ

ฝั่ง Creative ที่เรียนเรื่องการสร้างงานออกมาที่ตอบโจทย์การสื่อสารตราสินค้า ทั้งแคมเปญ สโลแกน งานอาร์ตเวิร์ค และหนังโฆษณาด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ไผ่สนใจทั้งหมดเลยยย แค่ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีเรียนในนิเทศ 55555

ดังนั้นอยากให้ทุกคนลบภาพจำเดิม ๆ ว่านิเทศต้องทำงานแค่ในกองถ่าย สตูดิโอ หรือเป็นดาราไปได้เลยย เพราะจริง ๆ เรามีอะไรให้เลือกเรียนหลากหลายมากก!

ถ้านึกถึงคณะนิเทศ พี่ไผ่นึกถึงอะไรเป็นอย่างแรก

พูดถึงนิเทศก็ต้องนึกถึงกิจกรรมไหมนะะ 55555 ซึ่งใช่แล้วว เราว่ามันเป็นจุดเด่นมาก ๆ จริง ๆ ของคณะเรา ด้วยกิจกรรมที่มีมาตลอดเวลา มีอะไรใหม่ ๆ ให้คนในขณะเข้าร่วมเยอะมาก ๆ ตลอดทั้งปีเลย ช่วงที่เป็นเฟรชชี่ใหม่ ๆ ก็คือมีกิจกรรมให้เข้าร่วมตลอด แต่ก็ไม่ได้มีบังคับนะะ ถ้าไม่อยากเข้าก็ไม่เป็นไรเลย

เรารู้สึกว่ามีหลาย ๆ อย่างที่เปิดโอกาสให้คนในคณะมีส่วนร่วมเยอะมาก ๆ อย่างล่าสุดก็มีการเปิดรับผลงานอะไรก็ได้ ของใครก็ได้ในคณะ เพื่อเอามาจัดเป็นนิทรรศการให้ทุกคนได้ดูกัน (แอบขาย ติดตามได้ที่ ig: nitade.exhibition) และคือมันจะมี “มวล” ของคณะที่เป็นจุดเด่น 5555 เหมือนบรรยากาศ vibe ในคณะ ความกระตือรือร้น ความที่อยู่ ๆ ใครอยากทำอะไรก็ทำ เช่นเปิดเพลงแล้วเดินแบบที่ใต้ถุน พร้อมกองเชียร์กรี๊ดข้างรันเวย์ แต่ข้าง ๆ มีคนเล่นสเก็ตบอร์ด อีกมุมนึงร้องเพลงเล่นกีต้าร์ อีกมุมนึงหมากรุก เป็นมวลของนิเทศจริง ๆ 5555 

ไม่เก่งอังกฤษ เรียนนิเทศ ได้ไหม

พูดถึง “มวล”คณะแล้ว อยากให้พีไผ่ขยายความซะหน่อยว่าสังคมในคณะเป็นยังไง

สำหรับในคณะเรารู้สึกว่ามีสิ่งนึงที่โดดเด่นมาก ๆ คือทุกคนมีความเป็นตัวของตัวเองมาก ๆ หมายถึงมีสไตล์ มีคาแรคเตอร์ของตัวเอง และมันหลากหลายมากก ทำให้เราเจอคนหลายแบบ เพื่อน ๆ พี่ ๆ หลายแบบ แต่ทุกคนค่อนข้าง support กันดีมากกก อย่างที่เราบอกไปว่ามันจะมีกิจกรรมลากหลายมากมาเรื่อย ๆ เลย แล้วคนในคณะก็จะชวน ๆ กันไปทำตลอด ทั้งงานในคณะนอกคณะเลย คนในคณะก็จะมี  bound ที่เข้มแข็งมากประมาณนึงเลย อีกอย่างคือเรารู้สึกว่านิเทศก็คือสังคมนึงที่มีคนหลายแบบ ดังนั้นไม่ต้องกังวลเลยว่าถ้าเราไม่ได้เป็นคน extrovert หรือเข้าสังคมเก่งจะอยู่ในคณะเสียงดังแบบนิเทศได้ไหม เราคิดว่าทุกคนจะเจอกลุ่มคนที่เข้ากันได้แน่นอนน

หลาย ๆ คนบอกว่าเรียนนิเทศแล้วตกงาน อันนี้พี่ไผ่คิดว่าไง

อืมมม ไผ่คิดว่าเรียนคณะอะไรไปก็มีสิทธิ์ตกงานได้ทั้งนั้น และในทางกลับกัน ถ้าเรามีความสามารถในสิ่งที่เราทำ ไผ่ก็คิดว่ายังไงเราก็จะหางานได้อยู่ดีนั่นแหละะ นิเทศก็เหมือนกัน ไผ่คิดว่าหลายครั้งเราอาจจะไม่ได้เอาจุดเด่นของคณะเราออกมาใช้มากพอ อย่างสาขาที่ไผ่เรียน เค้าก็บอกกันว่าเรียนเหมือนบัญชีผสมกับมัณฑนศิลป์ แต่น้อยกว่า สู้เค้าไม่ได้หรอก ถ้าไปสาย data ก็สู้วิศวะไม่ได้อะไรแบบนั้น แต่ไผ่มองว่าที่เราได้เปรียบคือเรื่องการสื่อสารนี่แหละค่ะ เหมือนเราเรียนเชิงลึกในจุดที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารมาเจอกันพอดี ซึ่งคือจุดที่สำคัญมาก ๆ ในการที่เราจะสื่อสารตัวสินค้าของเราออกไป ถ้าเราวิเคราะห์ข้อมูล หรือทำอาร์ตเวิร์คมาดีมาก ๆ แต่ส่งต่อความหมายที่แท้จริงไปไม่ได้ก็คงไม่มีความหมาย ซึ่งไผ่มองว่านิเทศเติมเต็มตรงนั้นให้กับงานได้ค่ะ

ส่วนในสายอื่น ๆ ไผ่เชื่อจริง ๆ ว่าจะอีกสิบปี ร้อยปี คนก็ยังต้องการสื่อบันเทิง ถึงคนจะดูหนังโรงน้อยลง ดูรายการน้อยลง แต่คนดูสตรีมมิ่งก็มากขึ้น ยูทูป ติ้กต่อก อะไรพวกนี้มันอาจจะเข้ามาแทนสื่อแบบเก่าไป แต่ไม่มีทางเลยค่ะที่มนุษย์จะใช้ชีวิตโดยปราศจากความบันเทิง และคนที่สร้างสื่อเหล่านั้นก็คือพวกเราที่เรียนนิเทศ ดังนั้นไผ่คิดว่าจริง ๆ คณะเราสามารถสร้างอะไรได้มากจริง ๆ สิ่งสำคัญอยู่ที่เราหาความโดดเด่นของเราให้เจอและใช้มันค่ะ

แล้วนิเทศเรียนไปจะทำงานสายไหนได้บ้าง 

จริง ๆ ก็จะแล้วแต่สาขาที่เราเรียนเลยย อย่างที่เราอธิบายไปแล้วว่านิเทศแต่ละสาขาจะเรียนแตกต่างกันไปในแต่ละแขนง เราก็สามารถทำอาชีพได้ตามสิ่งที่เราเรียนเลย แต่ในความจริงหลายคนก็ไม่ได้ทำงานตรงสาขาก็มีมากมาย 5555

อาชีพที่ทำได้ถ้าเป็นคนที่เรียนสาขาเกี่ยวกับการผลิตสื่อภาพยนตร์หรือรายการต่าง ๆ ส่วนใหญ่ก็จะทำงาน Production เป็นผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ เขียนบท หน้าที่ในกองถ่ายต่าง ๆ หรือช่างภาพ ต่อมาอีกสายนึงก็จะเป็นสายข่าวสายเขียน ก็จะทำงานพวกบรรณาธิการ นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ เขียนบทความเอย หรือจะเป็นพวก Content Creator ก็ได้ ถ้าเป็นในฝั่งโฆษณา ก็จะเป็นอาชีพที่ทำงานในแวดวงนั้น พวกอาชีพวางแผนการโฆษณา วางแผนการใช้สื่อ หรือทำสาย Marketing วิเคราะห์ตลาด หรือ Creative คิดแคมเปญงี้ไปเลยก็ได้เหมือนกัน แล้วก็อีกอย่างคืออาชีพนักประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะทำงานเรื่องการรักษาภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร งานสายพูดก็ทำได้ เช่นพวกพิธีกรรายการ MC งานอีเวนต์ต่าง ๆ หรืออาชีพอย่างนักแสดง จะจอเงินจอแก้ว หรือว่าละครเวทีก็ได้เหมือนกันน จะเห็นว่าจริง ๆ นิเทศทำงานได้หลากหลายมาก ๆ เลยย แบบอยู่ที่เราสนใจจะเรียนและศึกษา เพราะมันเปิดกว้างมาก ๆ

ไม่เก่งอังกฤษ เรียนนิเทศ ได้ไหม

สุดท้ายแล้วพี่ไผ่มีอะไรอยากฝากถึงน้อง ๆ ที่สนใจมั้ย

ไผ่ฝากเรื่องการค้นหาตัวเองแล้วกัน ไผ่ว่ามันสำคัญมาก ๆ เพราะเราคิดว่าหลายคนอาจจะสนใจนิเทศเพราะรู้ตัวว่าไม่ชอบคณะอื่น แต่ก็ไม่แน่ใจว่าชอบอะไรในนิเทศจริง ๆ หรือเปล่า ไผ่คิดว่ามันไม่เป็นไรหรอกนะที่เราอาจจะยังไม่รู้ในตอนนี้ พอเข้ามาเราจะยังมีโอกาสในการลองทำอะไรใหม่ ๆ ได้อีกเยอะมากกกกกก การเรียนมหาวิทยาลัยคือคนละเรื่องกับการเรียนมัธยมเลยเแหละ มันทำให้เรารู้ตัวเองมากกว่าจริง ๆ แต่ยังไงก็ตาม ไผ่ก็อยากให้ทุกคนลองคิดกับตัวเองอย่างรอบคอบ ว่าเราจะมีความสุขกับอะไรที่สุดและเลือกอะไรที่จะไม่เสียดายนะ

ในตอนนี้หลายคนอาจจะกังวล ไม่ว่าจะเลือกคณะ เรื่องสอบเข้า หรืออะไรก็ตาม ไผ่คิดว่าทุกคนทำได้อยู่แล้ว!!! อยากให้ทุกคนเต็มที่กับทุก ๆ อย่างที่จะทำ พอเรามองย้อนกลับมา ถึงผลอาจจะออกมาไม่ตรงกับที่อยาก แต่ก็จะได้รู้สึกว่าเราสุด ๆ แล้ว ถ้าย้อนกลับไปคงทำมากกว่านั้นไม่ไหว และอย่าดูถูกความสามารถตัวเองง พอเราไปเจอสังคมใหม่ เราจะรู้สึกกดดันตัวเองเป็นธรรมดา ว่าทำไมคนนู้นคนนี้เรียนเก่งจัง คะแนนดีจัง หาทำเยอะจัง แต่อย่าด้อยคุณค่าในตัวเองเด็ดขาด!!! ทุกคนมีสิ่งที่ตัวเองเก่ง ไผ่รู้ว่าเป็นแบบนั้น สู้ ๆ กับทุกอย่างนะทุกคนน

และทั้งหมดนี้ คือบทสัมภาษณ์ของพี่ไผ่ รุ่นพี่จากนิเทศจุฬา ถ้าน้อง ๆ คนไหนที่อยากเข้าคณะนี้ พี่เชื่อว่าถ้าอ่านบทความของพี่ไผ่ น้อง ๆ ต้องอะไรกลับไปเยอะมากแน่นอน และถ้าน้อง ๆ คนไหนที่อยากเริ่มจากการหาตัวตนของตัวเองแบบที่พี่ไผ่บอก สามารถเริ่มต้นตอนนี้ได้เลย! ค้นหาตัวเองฉบับวัยเรียน หรือน้อง ๆ คนไหนที่กำลังจะเริ่มฝึกทำโจทย์ สามารถหาโจทย์เก่า ๆ ในการฝึกทำข้อสอบได้จาก เตรียมสอบ TCAS65 แล้วมาฝึกทำโจทย์เพื่อเข้าคณะที่ต้องการไปด้วยกันนะ