เป็นประจำเดือน แล้ว กินยาคุม

สาวๆ หลายคนที่มีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีประจำเดือนโดยไม่ได้ป้องกัน อาจมีความกังวลกลัวว่าจะตั้งครรภ์ขึ้นได้จึงหันมาป้องกันการตั้งครรภ์โดยกินยาคุมฉุกเฉิน สำหรับในส่วนของการกินยาคุมกำเนิดแบบปกติ จะต้องกินยาคุมฉุกเฉินร่วมด้วยหรือไม่ หากลืมกินยาคุมจะทำอย่างไร? และข้อควรรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่มีประจำเดือน เพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์อย่างถูกต้อง ปลอดภัย วันนี้เรามีคำแนะนำเรื่องดังกล่าวมาฝากค่ะ

กินยาคุมฉุกเฉินตอนมีประจำเดือนได้หรือไม่?

กินได้ค่ะ แต่อาจมีผลทำให้รอบเดือนเกิดความคลาดเคลื่อนออกไป เช่น ทำให้ประจำเดือนในรอบถัดไปมาช้าหรือเร็วขึ้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ และจะมีเลือดที่ไหลออกมาหลังจากกินยาคุมฉุกเฉินไปแล้ว 1 สัปดาห์ ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เลือดประจำเดือน หากแต่เป็นผลข้างเคียงจากยาคุมฉุกเฉินนั่นเอง

แต่การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันในระหว่างที่มีประจำเดือน ไม่ว่าจะเป็นวันใดก็ตาม แท้จริงแล้ว โอกาสในการตั้งครรภ์มีน้อยอย่างมากทีเดียว โดยเฉพาะในสาวๆ ที่มีรอบเดือนมาปกติทุกเดือน โอกาสในการตั้งครรภ์ก็ยิ่งมีน้อยแน่นอน เพราะฉะนั้น จึงไม่จำเป็นที่จะต้องกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์เลยก็ว่าได้

เป็นประจำเดือน แล้ว กินยาคุม

ไขข้อข้องใจกับการใช้ยาคุมฉุกเฉินระหว่างมีประจำเดือน ป้องกันยังไงไม่ให้พลาด !

ขอบคุณภาพประกอบจาก : istock

ไม่จำเป็นต้องกินยาคุมฉุกเฉิน หากยังกินยาคุมแบบปกติอยู่

สำหรับสาวๆ คนไหนที่คุมกำเนิดด้วยการกินยาคุมแบบปกติอยู่ โดยเฉพาะผู้ที่กินยาคุมแบบ 21 เม็ด ในช่วงของการหยุดยาจะมีประจำเดือนมา และหากมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวโดยไม่ได้ป้องกัน ก็ไม่จำเป็นจะต้องกินยาคุมฉุกเฉินให้ได้รับผลข้างเคียงจากยาคุมหรอกค่ะ เพราะช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเป็นช่วงที่ผ่านพ้นวันไข่ตกแล้ว โอกาสในการตั้งครรภ์เกิดขึ้นน้อยมาก ควรรอให้ครบ 7 วันหลังช่วงหยุดยาแล้วกลับมากินยาคุมแบบปกติในแผงใหม่ต่อไปก็พอแล้ว เพียงเท่านี้ก็ถือเป็นวิธีการคุมกำเนิดอย่างปลอดภัยและเหมาะสมแล้วค่ะ

เป็นประจำเดือน แล้ว กินยาคุม

ไขข้อข้องใจกับการใช้ยาคุมฉุกเฉินระหว่างมีประจำเดือน ป้องกันยังไงไม่ให้พลาด !

ลืมกินยาคุมควรทำอย่างไร?

ยาคุมกำเนิดแบบปกติ เราจะต้องกินเป็นประจำทุกวัน แต่ก็มีบ้างที่สาวๆ อาจจะลืมกินยาคุมได้ และสำหรับใครที่ลืมกินยาคุม 2 เม็ด ในกรณีนี้แนะนำว่าต้องใช้วิธีคุมกำเนิดในแบบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น สวมถุงยางอนามัย ใช้ห่วงอนามัยหรือกินยาคุมฉุกเฉิน เนื่องจากยาคุมกำเนิดแบบปกติที่เรากินเข้าไปไม่ต่อเนื่องมันหมดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไปแล้วนั่นเอง จนกว่าจะต้องรอให้ประจำเดือนมาใหม่อีกครั้ง คุณถึงจะสามารถกินยาคุมได้ตามปกติ

เป็นประจำเดือน แล้ว กินยาคุม

ไขข้อข้องใจกับการใช้ยาคุมฉุกเฉินระหว่างมีประจำเดือน ป้องกันยังไงไม่ให้พลาด !

ระวัง! มีเพศสัมพันธ์ระหว่างที่มีประจำเดือน อันตรายใกล้ตัวอย่างที่ไม่ควรมองข้าม

คนรักกัน การมีเซ็กส์เป็นการแสดงออกในด้านความรักอย่างหนึ่ง เป็นบทบาทที่คนรักกันต่างก็ปรารถนา เซ็กส์จึงกลายเป็นช่วงเวลาที่หอมหวานและทุกคู่รักก็อยากจะมีเซ็กส์กันอยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใด แม้กระทั่งที่มีประจำเดือนมาก็ตาม แต่กระนั้น การมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างที่มีประจำเดือนเป็นสิ่งที่ไม่ขอแนะนำค่ะ เพราะอวัยวะภายในของผู้หญิงค่อนข้างบอบบางอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว และยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายกว่าปกติอีกด้วย ดังนั้น ควรรอให้ประจำเดือนหมดไปก่อนแล้วค่อยมีเพศสัมพันธ์กันจะดีกว่า

รู้กันแล้วนะคะว่าวิธีใช้ยาคุมฉุกเฉินในระหว่างที่มีประจำเดือนควรใช้หรือไม่ และควรใช้ในเวลาใดจึงจะเหมาะสม นอกจากนี้ หากใครไม่มั่นใจและเพื่อการมีเซ็กส์กันในระหว่างที่มีประจำเดือนอย่างปลอดภัย หากไม่สามารถหักห้ามความต้องการได้ แนะนำให้สวมถุงยางอนามัยและทำความสะอาดอวัยวะเพศของกันและกัน ทั้งก่อนและหลังมีเพศสันพันธ์เป็นอย่างดีทุกครั้งจะดีที่สุด

ผู้หญิงทุกๆ คนที่ถึงวัยเจริญพันธุ์จะมีเลือดออกจากช่องคลอดหรือประจำเดือน ในทุกๆ 28-30 วัน โดยหลังจากมีประจำเดือนแล้วกระบวนการในร่างกายจะทำการคัดไข่เตรียมไว้จนไปถึงกลางรอบเดือน สำหรับผู้ที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอ 28-30 วัน ประมาณวันที่ 14-15 นับจากการมีประจำเดือนวันแรก จะเป็นวันตกไข่ ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) ขึ้นมา ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้นเพื่อรองรับตัวอ่อน  ประมาณ 2 สัปดาห์  หากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น สมองจะสั่งให้หยุดสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาก็จะหลุดออกมาเป็นประจำเดือน

ยาเลื่อนประจำเดือน คืออะไร

ยาเลื่อนประจำเดือน หรือ ยาเลื่อนเมนส์ เป็นฮอร์โมนกลุ่มโปรเจสเตอโรน จึงช่วยทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตัวนั้นไม่หลุดออกมา  สำหรับผู้ที่ต้องการเลื่อนประจำเดือน ต้องรู้วันที่มีประจำเดือนของตนเองที่แน่นอน เช่น ประจำเดือนมาทุกๆ วันที่ 29 และมาเป็นประจำ 2-3 วัน แสดงว่าไข่ตกประมาณวันที่ 14-15  ดังนั้นหากอยากเลื่อนประจำเดือนออกไปก็ต้องทำให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนยังคงอยู่ โดยการบังคับธรรมชาติให้สร้างฮอร์โมนมาในช่วงกลางรอบเดือน  ซึ่งทำได้ด้วยการกินฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเข้าไป ตามจำนวนวันที่ต้องการเลื่อน จากนั้นจึงค่อยหยุดกินยา ซึ่งทันทีที่หยุดยา เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหลุดออกมาเป็นประจำเดือน  

สาวๆหลายคน มีความวิตกกังวลว่า ประจำเดือนไม่มาทั้ง ๆ ที่ก็กินยาเม็ดคุมกำเนิดไม่เคยขาด ตรงเวลาเป๊ะๆ แต่แท้ที่จริงแล้ว การที่ประจำเดือนไมามานั้นมีหลายสาเหตุ

ผลข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิด

ยาเม็ดคุมกำเนิด บางยี่ห้อแล้วก็อาจเกิดผลข้างเคียง เช่น ทำให้ประจำเดือนขาด โดยเฉพาะคนที่มีประวัติประจำเดือนมาน้อย หรือมาไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นหากในช่วงหยุดกินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มาพร้อมกับทดสอบการตั้งครรภ์แล้วปรากฏว่าไม่ท้อง แนะนำให้ปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อหาวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะกับสภาพร่างกายของเราที่สุด

เป็นประจำเดือน แล้ว กินยาคุม

กินยาที่ต่อต้านการออกฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิด

ยากันชัก หรือยารักษาวัณโรค มีฤทธิ์ต่อต้านการออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิด ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลดลง ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนปรวนแปร ประจำเดือนจึงไม่มาได้ แนะนำให้รอประจำเดือนมาสักระยะ ถ้าประจำเดือนยังไม่มา ควรทดสอบการตั้งครรภ์ หรือปรึกษาการวางแผนครอบครัวเพื่อความมั่นใจ

ระดับฮอร์โมนของยาเม็ดคุมกำเนิด

สำหรับคนที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดแล้วมีเลือดออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนมาน้อยมาก จนแทบจะเข้าข่ายกินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มา อาจเป็นผลจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในตัวยาคุมกำเนิดก็ได้ และหากมั่นใจว่าเรากินยาคุมกำเนิดอย่างถูกวิธีไม่มีบกพร่อง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดหรือยาคุมกำเนิดตัวใหม่ที่เหมาะกับร่างกาย

การปรับฮอร์โมนของร่างกาย

กินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มา มักเกิดกับคนที่เพิ่งเริ่มกินยาคุมใหม่ ๆ เนื่องจากร่างกายของผู้หญิงบางคนอาจต้องใช้ระยะเวลาในการปรับฮอร์โมน ซึ่งอาจกินเวลายาวนานไปจนถึงการรับประทานยาคุมแผงที่ 2-3 ดังนั้นหากมั่นใจว่ากินยาคุมถูกต้องแน่ ๆ แนะนำให้รอร่างกายปรับฮอร์โมนสัก 2-3 เดือน หากพ้นจากนี้แล้วประจำเดือนยังไม่มาทั้ง ๆ ที่กินยาคุมอย่างสม่ำเสมอ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์

กินยาคุมฉุกเฉิน

สาว ๆ บางคนอาจเลือกกินยาคุมฉุกเฉินในวันที่ลืมกินยาคุมกำเนิดแบบปกติ ซึ่งก็สามารถทำได้ ไม่เกิดอันตรายใด ๆ ทว่าก็อาจมีผลข้างเคียงอย่างประจำเดือนที่น่าจะมาตามรอบของยาคุมกำเนิด อาจเลื่อนออกไปทำให้ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ หรือบางคนที่ระดับฮอร์โมนในร่างกายแกว่งอยู่แล้ว ประจำเดือนอาจขาดไปเลยก็มี แต่หากกินยาคุมกำเนิดต่อไปอีก 1 แผงแล้วประจำเดือนก็ยังไม่มา แนะนำให้ตรวจสอบการตั้งครรภ์หรือปรึกษาแพทย์จะดีกว่า

หยุดกินยาคุมระหว่างแผง

หากคุณหยุดกินยาคุมกลางคัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็อาจเจอกับอาการเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือประจำเดือนคลาดเคลื่อนได้ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะกินยาคุมกำเนิดมาหลายแผงแล้ว ประจำเดือนก็มาตรงกำหนดไม่คลาดเคลื่อนมาก่อนเลย และหากกังวลใจว่าหยุดกินยาคุมแล้วจะท้องไหม ให้ลองทดสอบการตั้งครรภ์และปรึกษาแพทย์

  • เป็นประจำเดือน แล้ว กินยาคุม

เปลี่ยนชนิดของยาคุม

สาว ๆ บางคนอาจเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิด เช่น จากที่กินยาคุมกำเนิด ก็อาจเปลี่ยนไปใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด หรือวิธีคุมกำเนิดชนิดอื่น ซึ่งอาจส่งผลให้ประจำเดือนคลาดเคลื่อนได้ โดยเฉพาะในระยะแรก ๆ ที่เริ่มใช้วิธีคุมกำเนิดชนิดใหม่ แต่หากเปลี่ยนมาใช้วิธีคุมกำเนิดแบบใหม่ได้เกิน 2 เดือนแล้ว แต่ประจำเดือนยังคงไม่มา อาจต้องทดสอบการตั้งครรภ์หรือปรึกษาแพทย์

อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน หรือก่อนหมดประจำเดือน

สำหรับสาวในช่วงวัยหมดประจำเดือนที่ยังกินยาคุมกำเนิดเป็นประจำ แต่ระยะหลัง ๆ ประจำเดือนเริ่มขาดหายไป นี่อาจเป็นเพราะกำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ลองปรึกษาแพทย์

ความเครียด

ความเครียดเป็นตัวการร้ายที่ทำให้ประจำเดือนเราไม่มาตามนัดได้ และความเครียดก็ไม่สนใจว่าเราจะกินยาคุมอยู่หรือไม่ด้วย เพราะความเครียดจะส่งผลกับอารมณ์และการหลั่งฮอร์โมนของเราโดยตรง ซึ่งอาจทำให้การตกไข่ และรอบเดือนของเราผิดปกติไปได้นั่นเอง

ผลข้างเคียงจากโรคบางอย่าง

แม้จะกินยาคุมกำเนิดอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ แต่หากว่าคุณมีอาการของโรคบางชนิด เช่น โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง ไทรอยด์ ถุงน้ำรังไข่ โรคเครียด โรคไตหรือโรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) อาการของโรคดังกล่าวอาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาก็ได้ ดังนั้นหากประจำเดือนขาดไป 6 เดือนหรือมากกว่านั้นก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แนะนำให้ไปตรวจเช็กร่างกายให้ละเอียดถี่ถ้วนจะดีกว่า

ตั้งครรภ์

แน่นอนว่าไม่มีวิธีคุมกำเนิดชนิดไหนที่ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% โดยเฉพาะหากคุณคุมกำเนิดไม่ถูกวิธี เช่น ลืมกินยาคุมบ้าง กินยาคุมไม่ตรงเวลาบ้าง เป็นต้น การใช้ยาคุมไม่ถูกวิธีเช่นนี้ก็อาจส่งผลให้ประจำเดือนมาแบบกะปริบกะปรอย ประจำเดือนไม่มา หรืออาจเกิดการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน และถ้าหากกินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มา พร้อมทั้งมีอาการคนท้องอื่น ๆ ร่วมด้วย ก็แปลว่าการคุมกำเนิดของเราไม่ประสบผลสำเร็จ

ภาวะกินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มายังอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน รวมถึงยี่ห้อและชนิดของยาเม็ดคุมกำเนิดที่กิน หรือวิธีคุมกำเนิดที่ใช้ หากประจำเดือนไม่มานานเกินกว่า 6 เดือนแนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วนต่อไป

ข้อมูลจากรายการ รั้วรอบครอบครอบครัว facebook/PPATBANGKOK Youtube/PPAT CHANNEL

TAGS

  • ท้องไหม ยาคุมกำเนิด

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

คลังความรู้

เป็นประจำเดือน แล้ว กินยาคุม

  • 2 พฤศจิกายน 2021

“สมองเสื่อม” ในผู้สูงอายุป้องกันยังไงดี

ภาวะสมองเสื่อม เป็นกลุ่มอาการความเสื่อมถอยของการทำงานขั้นนสูงของสมอง เช่น ความจำ ภาษา มิติสัมพันธ์ และการวางแผน ตัดสินใจ อาการเริ่มแรก เล่าเรื่องเก่าซ้ำ ๆ จำเรื…

เป็นประจำเดือน แล้ว กินยาคุม

  • 28 ตุลาคม 2021

ประจําเดือนมาเกิน 7วัน ปวดท้อง ผิดปกติหรือไม่ หมอ ประเดือนที่ปกติไม่ควรมาเกิน 5-7 วัน เต็มที่ควรอยู่ที่ 7 วัน ไม่ควรมีลักษณะเป็นลิ่มเลือด ชิ้นตับก้อนใหญ่ๆออกมา … ประจำเดือนมาต้องกินยาคุมฉุกเฉินไหม

การกินยาคุมฉุกเฉินในระหว่างที่มีประจำเดือนทำได้ไหม ตอบว่ากินได้ค่ะ แต่อาจส่งผลข้างเคียงให้รอบเดือนคลาดเคลื่อนไป เช่น ประจำเดือนในรอบถัดไปอาจมาช้าหรือเร็ว 1-2 สัปดาห์ และเลือดที่ออกมาหลังกินยาคุมฉุกเฉินไป 1 สัปดาห์ ก็ไม่ใช่ประจำเดือนด้วย แต่เป็นเลือดจากผลข้างเคียงของตัวยานั่นเอง

ทำไมกินยาคุมแล้วเป็นประจำเดือน

การมีเลือดกะปริดกะปรอยขณะกินยา สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่เพิ่งเริ่มกินยาเม็ดคุมกำเนิดใหม่ๆ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 เดือนแรก ซึ่งเป็นปัญหาข้างเคียงจากการกินยาที่พบบ่อยได้ถึง 20-30% แต่ไม่เป็นอันตรายครับ หลังจากกินไปแล้ว 3 เดือน อาการเลือดออกจะดีขึ้นได้เอง หรือพบน้อยกว่า 10%

กินยาคุมแล้วประจำเดือนมาทำไง

หากเริ่มรับประทานยาคุมภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน หรือรับประทานติดต่อกันมาเกิน 7 วันแล้วจึงจะมีเพศสัมพันธ์ มีโอกาสตั้งครรภ์ได้น้อยมาก แนะนำสังเกตอาการ หากเลือดยังออกมาก ควรหยุดยาคุมแผงนี้ แล้วไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม

ยาคุมถ้าไม่กินตอรมีประจำเดือนได้ไหม

ยาคุมกำเนิดเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์อยู่ในระดับดีมาก พบอัตราการตั้งครรภ์น้อยกว่า 0.1-3% หากรับประทานยาในช่วงที่ไม่ได้เป็นช่วงวันที่ 1-5 ของรอบเดือน ก็สามารถรับประทานยาได้เช่นกัน แต่เพื่อความปลอดภัยในการป้องกันการตั้งครรภ์แนะนำให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่น เช่น การใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยเป็นเวลาอย่าง ...