รัฐบาลใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในด้านใด

กล่าวโดยสรุป  การศึกษาภูมิศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยวิธีการและเครื่องมือต่างๆ  ซึ่งเครื่องมือที่มีการใช้อย่างแพร่หลายมาก  คือ  แผนที่  และยังมีเครื่องมืออีกหลายชนิดที่มีการนำมาใช้รวบรวม  วิเคราะห์  และนำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์  เช่น  รูปถ่ายทางอากาศ  ภาพจากดาวเทียม  เป็นต้น  ซึ่งให้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว  นอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ  ได้แก่  การรับรู้จากระยะไกล  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  และระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  เพื่อบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่  ซึ่งหน่วยงานต่างๆ  ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้นำมาพัฒนา  และประยุกต์ใช้ในหลายด้าน  เช่น  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  การเตือนภัยธรรมชาติ  การวางผังเมืองและชุมชน  เป็นต้น  และนับวันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจะมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน  และการวางแผนในอนาคตมากขึ้น  ดังนั้น  เราจึงควรศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจวิชาภูมิศาสตร์มากขึ้น

ในปัจจุบันหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการในด้านต่างๆ ให้งานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด หน่วยงานในภาครัฐและรัฐวิสาหกิจได้นำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมทรัพยากรธรณี กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานจังหวัด กรมวิชาการการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมป่าไม้ กรมชลประทาน สถาบันการศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปาภูมิภาคและนครหลวง และองค์การโทรศัพท์ เป็นต้น นอกจากนี้ในภาคเอกชนที่ได้มีการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทน้ำมัน บริษัทที่ปรึกษาด้านการทำแผนที่ และสิ่งแวดล้อม การประเมินโครงการวิศวกรรม และการประเมินผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ และรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีความทันสมัย สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

ที่ผ่านมารัฐบาลได้เน้นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาประเทศ จึงได้จัดตั้งสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ขึ้นในปี พ.ศ.2543 เป็นหน่วยงานของรัฐในรูปแบบองค์การมหาชน ภายในกำกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นการบริหารและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบริการข้อมูลจากดาวเทียม ข้อมูลภูมิสารสนเทศ และบริการวิชาการต่างๆ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน

ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นในการสืบค้นข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผู้ใช้สามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลทางภูมิศาสตร์และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้สะดวกและมีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จอย่างสูงในอนาคต นอกจากนี้ยังมีโครงการดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ในการให้บริการการศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ด้านอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศไทย ได้รับการพัฒนาโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ร่วมกับกรมแผนที่ทหาร และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและจัดเตรียมข้อมูลการสำรวจโลกผ่านซอฟต์แวร์รหัสต้นฉบับ NASA World Wind ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดได้ มีข้อมูลภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่ปรับให้ทันต่อเหตุการณ์ประกอบด้วย ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT ปี พ.ศ. 2549 ทั่วประเทศไทย ข้อมูลแนวแบ่งเขตการปกครองระดับจังหวัดและอำเภอ ข้อมูลที่ตั้งอำเภอ เส้นทางคมนาคม และสถานที่สำคัญอื่นๆ ลักษณะเด่นของดิจิทัลไทยแลนด์คือ สามารถทำงานแบบออฟไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจเรียนรู้ได้เข้าถึงเทคโนโลยีสำรวจโลกจากห้วงอวกาศทุกที่ ทุกเวลาโดยไร้ข้อจำกัดทางอินเทอร์เน็ต ผลที่คาดว่าจะได้รับในระยะแรกคือการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ภูมิสารสนเทศในระดับนักเรียน รวมทั้งเผยแพร่เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศที่ทันสมัย โดยดำเนินการแจกจ่ายโปรแกรมในรูปแบบดีวีดีแก่ครู นักเรียน และประชาชนที่สนใจ ในระยะที่สองจะทำการพัฒนาบริการแบบออนไลน์สู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในหลายด้าน ซึ่งงานด้านหลักๆ ได้แก่ด้านเกษตร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ และระบาดวิทยา เป็นต้น

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : GIS (ย่อมาจาก Geographic Information System) คือ ระบบที่รวบรวม จัดการ และวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เช่น ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม และข้อมูลอื่นๆที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำมาใช้นำเสนอให้เข้าใจและเห็นภาพได้ทั้งในรูปแบบแผนที่ แผนภูมิ ภาพสามมิติ โดยการนำ GIS มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทำให้พบข้อมูลเชิงลึกเช่น รูปแบบการเปลี่ยนแปลง ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้

รัฐบาลใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในด้านใด
รัฐบาลใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในด้านใด

GIS ทำงานยังไง

  • ใช้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ และการออกแบบเพื่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล การคำนวณ และการวิเคราะห์ข้อมูล
  • สมรรถนะของคอมพิวเตอร์ ช่วยเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆเข้าด้วยกัน
  • กล้องดาวเทียมมีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบ GIS

ประโยชน์

สามารถนำมาประยุกต์ใช้และเป็นประโยชน์ต่อหลายหน่วยงาน เช่น

  • การตรวจสอบพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึง เพื่อลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง
  • มีประโยชน์ต่อการวางผังเมือง
  • ช่วยในการวางแผนล่วงหน้า ทั้งระบบไฟฟ้า ประปา ท่อน้ำทิ้ง บ่อบำบัดน้ำเสีย

องค์ประกอบของ GIS

  1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (hardware) เพื่อใช้นำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผลการทำงาน เช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์
  2. โปรแกรม (Software) เพื่อใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ตามที่ออกแบบไว้ เรียกค้นวิเคราะห์ จำลองภาพ นำเข้าและปรับแต่งข้อมูล เช่น AutoCAD, PAMAP, ARC/INFO ซึ่งติดตั้งบน Window หรือ Unix
  3. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีที่องค์กรต่างๆจะนำระบบ GIS ไปใช้งานเพื่อจัดการกับปัญหาต่างๆ ให้เหมาะกับองค์กรของตน การกำหนดขั้นตอนการทำงานทำให้เกิดการทำงานที่เป็นขั้นตอน และน่าเชื่อถือ
  4. บุคคลากร ผู้ที่ใช้งานระบบเพื่อนำประสิทธิภาพของระบบ GIS ไปใช้เช่น พนักงานภาคสนาม พนักงานวิเคราะห์ข้อมูล และพนักงานออกแบบแผนที่ เป็นต้น โดยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเนื่องจากหากไม่มีผู้ใช้งานก็เท่ากับว่าระบบไม่มีคุณค่าอันใด
  5. ข้อมูล แหล้งข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อใช้ในระบบ เช่น แผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photographs) หรือ ภาพถ่ายดาวเทียม (Satellite Imagery) รวมถึงข้อมูลที่สามารถใช้ในการบรรยายเช่น ชื่อของหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากรชาย-หญิง

ขั้นตอนการทำงานของ GIS

  1. การนำเข้าข้อมูล (Input) การแปลงข้อมูลให้เข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การแปลงจากแผนที่กระดาษไปเป็นข้อมูลรูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูล ผ่านการใช้งานอุปกรณ์เครื่องสแกนเนอร์ หรือการพิมพ์ข้อมูลเป็นต้น
  2. การปรับแต่งข้อมูล (Manupulation) การที่ปรับแต่งข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบไปปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การแปลงหน่วยของข้อมูลให้เป็นหน่วยเดียวกัน แปลงสเกลแผนที่ให้เท่ากัน การปรับระบบพิกัดแผนที่ให้เป็นระบบเดียวกัน เป็นต้น
  3. การบริหารข้อมูล (Management) ระบบจัดการข้อมูลจะถูกนำมาใช้บริหารจัดการฐานข้อมูลเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
  4. การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis)  เมื่อข้อมูลมีความพร้อมในการใช้งานแล้ว การเรียกค้นข้อมูลจากผู้ใช้งานจะทำให้ระบบ GIS ใช้ประโยชน์ได้ เช่น ที่ดินผืนนี้มีขนาดเท่าไหร่ ใครเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่ติดกับโรงเรียน
  5. การนำเสนอข้อมูล (Visualization) เป็นการนำเสนอผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียกค้นข้อมูล โดยสามารถนำเสนอได้ทั้งในรูปแบบของแผนภาพ 2 มิติ, ภาพ 3 มิติ, รูปถ่ายดาวเทียม, รูปสถานที่จริง, แผนที่ หรือการผสมผสานระหว่างแผนที่และภาพถ่ายดาวเทียมเป็นต้น

ประโยชน์

การใช้งานระบบ GIS ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ในหลากหลายองค์กร

  • อนุรักษ์และจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การควบคุมมลภาวะ ฝุ่น PM2.5, การจำลองนิเวศวิทยา
  • จัดการทรัพยากร การเกษตร เช่น การจัดการระบบชลประทาน, การอนุรักษ์ดินและน้ำ
  • วางแผนด้านสาธารณะภัย เช่น การจำลองน้ำท่วม, แก้ปัญหาไฟป่าภาคเหนือ
  • ผังเมือง เช่น การตรวจสอบการย้ายถิ่นฐานของประชากร การบุกรุกที่ป่า ระบบระบายน้ำเสีย
  • จัดการสาธารณูปโภค เช่น การจัดการไฟฟ้า การแสดงแผนที่ท่อส่งก๊าซ ดับเพลิง
  • วิเคราะห์การตลาด การหาที่ตั้งที่เหมาะสมกับการขยายสาขา
  • การเดินทาง แสดงแผนที่และจุดท่องเที่ยวสำคัญ
  • การทหาร
  • สาธารณสุข ดูการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
  • โบราณคดี

จะเห็นได้ว่าระบบ GIS มีประโยชน์ค่อนข้างมากในการวางแผนและประกอบการตัดสินใจ ซึ่งทำให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ต่างๆ สามารถใช้ในการวางกลยุทธ แนวทางการรับมือ ป้องกัน ตัดสินใจ รวมถึงยังเป็นการให้ข้อมูลกับประชาชนได้ด้วย

รัฐบาลใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทางด้านใด

ประโยชน์ของ GIS 1. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การกำหนดพื้นที่ป่าไม้ แหล่งน้ำ ทั้งบนผิวดินและใต้ดิน ธรณีวิทยาหินและแร่ ชายฝั่งทะเลและภูมิอากาศ 2. ด้านการจัดการทรัพยากรเกษตร เช่น การแบ่งชั้นคุณภาพพื้นที่เกษตร ดินเค็มและดินปัญหาอื่น ความเหมาะสมของพืชในแต่ละพื้นที่ การจัดระบบน้ำชลประทาน การจัดการด้านธาตุอาหารพืช

รัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในด้านใดมากที่สุด

จะเห็นได้ว่าระบบ GIS มีประโยชน์ค่อนข้างมากในการวางแผนและประกอบการตัดสินใจ ซึ่งทำให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ต่างๆ สามารถใช้ในการวางกลยุทธ แนวทางการรับมือ ป้องกัน ตัดสินใจ รวมถึงยังเป็นการให้ข้อมูลกับประชาชนได้ด้วย

ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร

. เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสามารถประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการจัดการภัยพิบัติในทุกขั้นตอน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ การเตรียมการก่อนเกิดเหตุ การวางแผนและบรรเทาลดผลกระทบ การรับมือในภาวะฉุกเฉิน และสุดท้ายคือการฟื้นฟูหลังเหตุการณ์ .

นักเรียนสามารถนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันในด้านใดได้บ้าง

ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ที่นำมาประยุกต์ใช้ในไทยมีอะไรบ้าง ?.
ด้านคมนาคมขนส่ง → การลดอุบัติเหตุในการจราจร เพิ่มประสิทธิผลทางด้านการคมนาคมขนส่ง.
ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน → การสร้างถนน การเดินสายไฟฟ้า ท่อ ประปารวมถึงการวางแผนในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคพื้นฐานเหล่านี้.

รัฐบาลใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทางด้านใด รัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในด้านใดมากที่สุด ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร นักเรียนสามารถนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันในด้านใดได้บ้าง ข้อดีของระบบภูมิสารสนเทศที่นํามาใช้ประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรของประเทศ มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งใด เราสามารถนํา gis มาใช้ประโยชน์ในงานด้านใดบ้าง ทุกข้อคือประโยชน์ของ gps ยกเว้นข้อใด บทบาทของภูมิสารสนเทศในปัจจุบัน จะปรากฏให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายบนเทคโนโลยีใด ถ้านักเรียนต้องการศึกษาซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก จะต้องเริ่มศึกษาจากเมริเดียนใด วัตถุประสงค์ของการใช้แผนที่ คือข้อใด