ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โล จิ สติ ก ส์

โลจิสติกส์

Logistics

เสนอ

อาจารย์  กิตติพงษ์     ชินสุข

จัดทำโดย

สมาชิกกลุ่มที่ 2

โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  ปี  3 หมู่ 2

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ 4123507

ภาคเรียนที่  2     ปีการศึกษา   2552    

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี      มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำนำ

โลจิสติกส์ได้เป็นที่แพร่หลายและเป็นกระแสในปัจจุบัน ก็เนื่องจากกลไกการค้าโลกได้มีการเปลี่ยนแปลง โลกตกอยู่ภายใต้การครอบงำของ Globalization ทำให้การค้าในปัจจุบันเป็นการค้าแบบไร้พรมแดน การแข่งขันจึงมีความเข้มข้นและเป็นการแข่งขันกันในระดับโลก ผนวกกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นตัวกระตุ้นให้มีการเชื่อมต่อทั้งด้านข้อมูลข่าวสารและการเคลื่อนย้ายสินค้าที่รวดเร็ว จึงทำให้ต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าไปอย่างมีระบบ ซึ่งเป็นที่มาของ โลจิสติกส์

วัตถุประสงค์ของรายงานฉบับนี้คือ  ให้ผู้ที่มีความสนใจในการบริหารธุรกิจแบบ

โลจิสติกส์  ได้นำความรู้จานรายงานนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตประจำวันได้

ซึ่งรายงานฉบับนี้  มีเนื้อหาประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้  ประวัติและวิวัฒนาการของ

โลจิสติกส์,   ความหมายของโลจิสติกส์และการจัดการโลจิสติกส์,    ความสำคัญของการจัดการ

โลจิสติกส์,   เป้าหมายที่สำคัญของโลจิสติกส์,   ผู้เกี่ยวข้องหลักในระบบโลจิสติกส์ ,  ประเภทของการจัดการโลจิสติกส์,   กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์,    กิจกรรมสำคัญของการจัดการ

โลจิสติกส์ที่เรียกว่า “RIMS”,   บทบาทโลจิสติกส์ ,  ลักษณะของโลจิสติกส์,  การขนส่งในการจัดการโลจิสติกส์,  การพัฒนาประเทศไทย ด้วยระบบโลจิสติกส์ ,  การจัดการโลจิสติกส์ระดับโลก,  รูปแบบการดำเนินงานโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ,  กลุ่มการค้า,   ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ,  โลจิสติกส์กับสิ่งแวดล้อม และ ตัวอย่างธุรกิจของโลจิสติกส์     

คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณอาจารย์กิตติพงษ์   ชินสุข  ที่กรุณาให้ข้อเสนอแนะในการทำรายงานฉบับนี้  และผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในด้านต่างๆ  จนทำให้รายงานฉบับนี้สำเร็จได้อย่างสมบูรณ์                  

                                                                                                                     คณะผู้จัดทำ

                                                                                                                     4 มกราคม 2553

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                                                                หน้า

ประวัติและวิวัฒนาการของโลจิสติกส์ (Evolution of Logistics)                                                                        1

ความหมายของโลจิสติกส์และการจัดการโลจิสติกส์                                                                                   2

ความสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์                                                                                                                             2

เป้าหมายที่สำคัญของ Logistics                                                                                                                                       2

ผู้เกี่ยวข้องหลักในระบบโลจิสติกส์                                                                                                                                 3

ประเภทของการจัดการโลจิสติกส์                                                                                                                                   3

กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์                                                                                                                             4

กิจกรรมสำคัญของการจัดการ Logistics ที่เรียกว่า “RIMS”                                                                                        6

บทบาทโลจิสติกส์                                                                                                                                                               8

ลักษณะของ Logistics                                                                                                                                                      10

การขนส่ง (Transportation) ในการจัดการโลจิสติกส์                                                                                               11

การพัฒนาประเทศไทย ด้วยระบบโลจิสติกส์ (Logistics)                                                                                         13

การจัดการโลจิสติกส์ระดับโลก                                                                                                                                     15

รูปแบบการดำเนินงานโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ                                                                                                   16

กลุ่มการค้า                                                                                                                                                                         19

ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ                                                                                      21

โลจิสติกส์กับสิ่งแวดล้อม                                                                                                                                               22

ตัวอย่างธุรกิจของโลจิสติกส์                                                                                                                                          22

สรุป                                                                                                                                                                                    23

บรรณานุกรม                                                                                                                                                                    24

Logistic (โลจีสติกส์)

ประวัติและวิวัฒนาการของโลจิสติกส์ (Evolution of Logistics)

ประวัติความเป็นมาของโลจิสติกส์ อาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นมาพร้อมกับการอุบัติขึ้นของมนุษย์บนโลกนี้ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่กันเป็นกลุ่ม ชุมชน สังคม ประชาคมโลก ต่างต้องทำมาหากิน ไปมาหาสู่กัน แลกเปลี่ยนสินค้า วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งมีการต่อสู้ศึกสงคราม เพื่อแย่งชิงการครอบครองทรัพยากรตามความปรารถนาของตน กิจกรรมการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บทรัพยากรของมนุษย์ล้วนแล้ว แต่เป็นงานการจัดการโลจิสติกส์ทั้งสิ้น

Logistics ในปัจจุบันดูจะเป็นคำยอดฮิตที่เป็นที่รู้จักกันทั้งในระดับผู้ประกอบภาคเอกชนและภาครัฐ รวมไปถึงที่แพร่หลายในระดับการศึกษาโดยมีการเรียนการสอนอยู่ทั้งในระดับที่ต่ำกว่าปริญญาจนถึงปริญญาเอก โดยหน่วยงานของรัฐรวมไปถึงหน่วยงานเอกชนต่างๆล้วนแต่มีการกำหนดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับ Logistics   ทั้งสิ้น  อันที่จริง Logistics มีมานานแล้ว บ้างกล่าวว่า  รากศัพท์มาจาก LOG ซึ่งแปลว่า ซุง หรือ ท่อนไม้ และกลายเป็น Logistics ทั้งนี้ ก็เนื่องจากการขนส่งของและคนในยุคโบราณใช้ไม้ซุงมาทำเป็นเกวียน อย่างไรก็ดี อาจกล่าวได้ว่ามีตั้งแต่สมัยเส้นทางสายไหมทางบกซึ่งเชื่อมตะวันตกกับจีนหรือการค้นพบโลกใหม่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16-17 โดยโคลัมบัสผู้ค้นพบทวีปอเมริกาใต้ และวอสโดดากามา นักสำรวจชาวโปรตุเกสผู้ค้นพบเส้นทางสายไหมทางทะเลของเครื่องเทศ ในศตวรรษที่ 18 การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมในยุโรปได้ปรับเปลี่ยนจากการค้าแบบพานิชนิยม (Merchantinism) เศรษฐกิจมีการขยายตัวทำให้ต้องการวัตถุดิบราคาถูกและการขยายตลาดในการระบายสินค้า ทำให้พัฒนามาสู่เป็นแบบทุนนิยม (Capitalism) ซึ่งเน้นการแข่งขันและการค้าเสรีนิยม (Liberalism) ทำให้มีการขยายตัวทางการค้าแบบผูกขาดโดยบรรษัทข้ามชาติ มีการจัดระบบการจัดซื้อและการขนส่งวัตถุดิบจากประเทศที่เป็นอาณานิคม โดยการสร้างบริษัทต่างๆขึ้นมารองรับ เช่น บริษัทอินเดียตะวันออก อาจกล่าวได้ว่ายุคล่าอาณานิคมนั้น มีมูลเหตุจากความต้องการ วัตถุดิบราคาถูกจากประเทศในโลกที่สาม โดยภาคธุรกิจในฐานะผู้มี  อิทธิพลทางการเมืองได้เป็นผู้ผลักดัน ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงการมีระบบการจัดการด้านการขนส่งและการจัดการที่เกี่ยวกับวัตถุดิบและสินค้าจาก Place of Source Origin ไปสู่ Place of Consumer Origin ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิยามของ Logistics

การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Mannagement) มีกำเนิดมาจากกองทัพอังกฤษก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการจัดระบบการส่งกำลังบำรุงทางทหาร มีการสร้างสาธารณูปการ เช่น ถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน สถานที่จัดเก็บสินค้า รวมทั้งยานพาหนะที่ใช้ในการลำเรียงอาวุธยุทโธปกรณ์ การจัดการง

โลจิสติกส์มีการวิวัฒนาเรื่อยมาจนถึงปลายศตวรรษที่19 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มมีการกระจายสินค้าด้านพืชผลทางการเกษตรก็มีการแลก เปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์กันอย่างแพร่หลายทั่วทวีปอเมริกา ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1870 ก็มีการจัดรูปแบบการกระจายสินค้าด้านอุตสาหกรรมมาขึ้นเป็นลำดับ และในปี ค.ศ. 1961 ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ได้แต่งตำราเรื่อง "The Economy's Dark Continent" ได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์ต่อระบบเศรษฐกิจโลกในยุคนั้น ต่อมาปี ค.ศ. 1964 ก็ได้เกิดศาสตร์ทางด้านการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management Science) อย่างเป็นทางการขึ้นที่สหรัฐอเมริกา

ความหมายของโลจิสติกส์และการจัดการโลจิสติกส์

โลจิสติกส์ หรือโลจิสติกส์ Logistics หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บสินค้า วัสดุ วัตถุดิบ เอกสาร จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ในระยะเวลาชั่วคราวหรือระยะเวลายาวนาน โดยมีความพยายามในการจัดการกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ ให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมต่ำที่สุด

การจัดการโลจิสติกส์ธุรกิจ หมายถึง กระบวนการวางแผน การปฏิบัติการและการควบคุม การเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการให้บริการและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่จุดกำเนิดจนถึงจุดการบริโภคสินค้า เพื่อวัตถุประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ความสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์

"กองทัพเดินด้วยท้อง" เป็นคำพูดของแม่ทัพนโปเลียน โบนาปาร์ต แห่งฝรั่งเศส ระหว่างปี พ.ศ. 2312-2364 นับว่าเป็นคำกล่าวที่ยังใช้ได้อยู่ในโลกโลกาภิวัฒน์ปัจจุบัน ถ้าจะมองให้ลึกลงไปแล้ว การทำธุรกิจก็เปรียบเสมือนกับการทำสงคราม แต่เป็นสงครามเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายต้องการเป็นผู้ชนะ เพื่อจะได้มาซึ่งสิทธิการครอบครองทรัพยากรที่มากขึ้นและมากกว่าผู้อื่น การทำธุรกิจในยุคแห่งการแข่งขันที่ไร้พรมแดนนี้ไม่เพียงแต่จะต้องต่อสู้กับ ภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจที่กำลังโหมกระหนำเข้ามาทุกสารทิศ เรายังต้องต่อสู้กับคู่แข่งขันที่แข็งแกร่งทั้งในประเทศและต่างประเทศอีก ด้วย และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ จะต้องสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้เองจึงต้องมีระบบการจัดส่งกำลังบำรุง (Logistics System) ที่ทรงประสิทธิภาพไว้คอยสนับสนุนธุรกรรมขององค์การเพื่อตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าด้วยสินค้าแปลกใหม่ คุณภาพดี ราคายุติธรรม และบริการที่เป็นเลิศ

เป้าหมายที่สำคัญของ Logistics

1) ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้า (Speed Delivery)

2) การไหลลื่นของสินค้า (Physical Flow)

3) การไหลลื่นของข้อมูลข่าวสาร (Information Flow)

4) การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของตลาด (Market Demand)

5) ลดต้นทุนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าและการดูแลและขนส่งสินค้า (Cargoes Handling & Carriage Cost)

6) เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของการแข่งขัน (Core Competitiveness)

ผู้เกี่ยวข้องหลักในระบบโลจิสติกส์

                ระบบโลจิสติกส์มีผู้เกี่ยวข้องหลักแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ผู้จัดส่งสินค้า ผู้ผลิต และลูกค้า

โดยทั้ง 3 ฝ่ายจะมีการติดต่อซึ่งกันและกัน ซึ่งจะทำให้สินค้า หรือบริการเกิดการไหล หรือเคลื่อนย้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ               

ประเภทของการจัดการโลจิสติกส์

การจัดการโลจิสติกส์สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของบทบาทหน้าที่มหภาคของประเทศได้ดังนี้

1.  การจัดการโลจิสติกส์ด้านการทหาร (Military Logistics Management) หมายถึงการจัดการการจัดส่งกำลังบำรุงด้านการทหาร เช่น ยุทโธปกรณ์ ปัจจัยสี่ การรักษาพยาบาลและสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังชัยชนะทางทหารเป็นสำคัญ

2.  การจัดการโลจิสติกส์ด้านวิศวกรรม (Engineering Logistics Management) หมายถึงการจัดการด้านการวิศวกรรมจัดส่งลำเรียง อันได้แก่การสร้าง การบูรณาการและการบำรุงรักษาสาธารณูปการ ทั้งระบบขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางท่อ ระบบการจัดเก็บและระบบสารสนเทศ เพื่อมุ่งหวังความพร้อมในระบบการจัดเก็บและการจัดส่งลำเรียงทั้งระบบเป็น สำคัญ

                3.  การจัดการโลจิสติกด้านธุรกิจ (Business Logistics Management) หมายถึงการจัดการด้านการจัดเก็บและจัดส่งสินค้า คน สัตว์ สิ่งของ จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตามที่มนุษย์ต้องการ เพื่อมุ่งหวังความสำเร็จทางธุรกิจเป็นสำคัญ

กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์

กิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในขอบข่ายการกระบวนการโลจิสติกส์ ประกอบด้วย

งานบริการลูกค้า

การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า

การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์

การจัดซื้อจัดหา

การจัดการสินค้าคงคลัง

การจัดการวัตถุดิบ

การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ

การบรรจุหีบห่อ

การดำเนินการกับคำสั่งซื้อ

การขนของและการจัดส่ง

โลจิสติกส์ย้อนกลับ (อาทิเช่น การจัดการสินค้าคืน)

การจัดการกับช่องทางจัดจำหน่าย

การกระจายสินค้า

คลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง

การจราจรและการขนส่ง

กิจกรรมการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

การรักษาความปลอดภัย

กิจกรรมของ Logistics   

                กิจกรรมของโลจิสติกส์นั้นจะมีลักษณะที่ประกอบไปด้วยกระบวนการต่างๆมากมาย ซึ่งต่างทำหน้าที่ในการสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมของการผลิตและการตลาดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่งได้กล่าวไว้ข้างต้น กิจกรรมของโลจิสติกส์ อาจประกอบด้วย

1)  การขนส่งและการเคลื่อนย้ายสินค้า (Transportation & Moving) รวมทั้งที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

2)  ตัวแทนการบริหารการจัดส่งและขนส่ง ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ (Domestic & International Transportation)

3)  กระบวนการ Clearing สินค้า และพิธีการทางศุลกากร (Customs Broker)

4)  การบริหารจัดการคลังสินค้าภายใน(Inventory Management)และงานที่เกี่ยวข้องกับ Flowของสินค้า,แรงงานและให้บริการอุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็นในการเก็บรักษาสินค้า

5)  การบริการคลังสินค้าสาธารณะ (Public Warehouse Provider) และ การกระจายสินค้า (Distribution Center)

6)  การบริหารท่าเรือ ,การจัดการสถานที่บรรจุสินค้า , การจัดการสถานีขนส่ง ICD , การได้สัมปทานที่เกี่ยวกับการขนส่ง

7)  กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าเพิ่มทางการตลาดให้กับลูกค้า (Market Value Added)     ได้แก่ การส่งเสริมการตลาด , การเป็นตัวแทนในการจัดจำหน่าย , การกำหนดความต้องการของตลาดและจัดการคำสั่งซื้อ (Market Ordering) การให้ข้อมูลเพื่อคาดคะเนและพยากรณ์การขาย (Sale Forcasting) ,การแบ่งบรรจุสินค้าและ Packaging, การจัดเรียงสินค้าในห้างสรรพสินค้า ฯลฯ

8)  การประสานงานกับฝ่ายผลิต (Cooperate with Production) เพื่อประโยชน์ในการจัดการระบบโลจิสติกส์ของกระบวนการผลิตสินค้า หรืองานสนับสนุนการผลิตอื่นๆ เช่น การป้อนวัตถุดิบ ,การบริการงานเกี่ยวกับการ   ควบคุมคุณภาพสินค้าหรือ QC ฯลฯ

9)  การจัดการข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ

กิจกรรมในระบบโลจิสติกส์

                ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นระบบสินค้าและข้อมูลที่ไหลเข้ามายังบริษัทเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตสินค้าเรียกว่า การจัดการพัสดุหรือวัตถุดิบ และ ส่วนที่ 2 จะขึ้นเมื่อผู้ผลิตผลิตสินค้าเสร็จแล้วและสินค้าจะถูกส่งไปยังลูกค้าเรียกว่า การจัดการการกระจายสินค้า

การจัดการพัสดุหรือวัตถุดิบ (Material Management) ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆดังนี้

                                การจัดหา (Sourcing)

                                การจัดซื้อ (Purchasing Management)

                                การขนส่งขาเข้า (Inbound Transportation)

                                การรับและการเก็บรักษาสินค้า (Receiving & Storage)

                                การจัดการสินค้าวัตถุดิบคงคลัง (Raw Material Inventory Management)

การจัดการการกระจายสินค้า (Physical Distribution Management) ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆดังนี้

                                การประมวลคำสั่งซื้อ (Order Processing)

                                การจัดการสินค้าคงคลัง (Finished Goods Inventory Management)

                                คลังสินค้า (warehousing)

                                การเคลื่อนย้ายวัสดุ (Material Handling)

                                การบรรจุหีบห่อ (Packaging)

                                การขนส่งสินค้าขาออก (Outbound Transport)

                                การบริการลูกค้า (Customer Service)

กิจกรรมสำคัญของการจัดการ Logistics ที่เรียกว่า “RIMS”

1. การจัดการความสัมพันธ์ (Relation Management) เป็นการจัดการความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า ก็คือ เป็นการจัดความปฏิสัมพันธ์ของกิจกรรมที่อยู่แวดล้อมอยู่ในบริเวณของ Logistics ซึ่งอาจได้แก่

1)  การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ Customer Relationship Management : CRM เนื่องจาก Logistics จะเป็นกระบวนการซึ่งอยู่ในอาณาบริเวณของการตลาด (ยุคใหม่) ซึ่ง Logistics จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ทั้งที่เป็นลูกค้าโดยตรง (Direct Customers) และลูกค้าทางอ้อม (Indirect Customers) คือ     ลูกค้าของลูกค้า

2)  การจัดการในเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (Suppliers Value) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของ Logistics เช่น การจัดหาสินค้า ,การเก็บสินค้า (Storage) ฯลฯ

3)  การจัดการเกี่ยวกับการผลิต (Manufacturing Management)

4)  การจัดการเกี่ยวกับการกระจายสินค้า (Distribution Management) ซึ่งรวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวกับการ Packaging คือ บรรจุภัณฑ์ต่างๆ และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ Packaging Desire

5)  ผู้ให้บริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการของการขนส่ง และจะรวมถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ Cargoes Clearing ซึ่งรวมถึงพิธีการศุลกากร , กิจกรรมที่เกี่ยวกับกฎหมายและการค้าทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

6)  ผู้ให้บริการเครือข่าย Information  Technology Network เช่น ผู้ให้บริการ Web Site เพื่อธุรกิจ

7)  ผู้ให้บริการในการจัดซื้อ-จัดหา และหรือผู้ให้บริการ Vender Management ในรูปแบบต่างๆ

2.  การจัดการข้อมูลข่าวสาร (Information Technology) เนื่องจาก Logistics นั้น ได้ครอบคลุมถึงกระบวนการตลาด ดังนั้นการจัดการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร จึงมีความสำคัญต่อ Logistics ซึ่งจะตั้งอยู่บน Platform  ของ Information Technology โดยจะมีกิจกรรม ดังนี้

1)  การจัดการเกี่ยวกับข้อมูลในฐานะที่ Logistics เป็นกระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมทั้งที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบและลูกค้า ซึ่งข้อมูลจะต้องมีความแม่นยำ (Accuracy) ในฐานะที่จะนำไปใช้ในประมาณการในการจัดซื้อและประมาณการยอดขาย (Sale Forecasting) และการกระจาย สินค้าแบบ Just in Time (แบบทันเวลา)

2)  การจัดการเครือข่าย (Network Management) ในฐานะที่ Logistics ที่มีประสิทธิภาพจะต้องอยู่บนเครือข่าย Platform ของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการจัดการในการเลือกสรรระบบ IT ที่มีความสอดคล้องกับองค์กร

3.  การจัดการวัตถุดิบและสินค้า (Material Management) เนื่องจาก Logistics จะเกี่ยวกับส่วนที่เป็นกายภาพ (Physical Part) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การออกแบบ (Desire) รูปแบบผลิตภัณฑ์วิธีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ของสินค้า , วิธีการที่จะเก็บรักษา และทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการผลิตต่างๆ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตโดยตรง

4.  การจัดการกิจกรรมผู้ให้บริการ Third – Party Logistics Service Providers ซึ่งผู้เขียนชอบใช้คำว่า Outsources เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคัดสรร เลือกสรร Outsources ซึ่งให้บริการธุรกิจเกี่ยวกับ Logistics ซึ่งหมายถึง ธุรกิจผู้ให้บริการในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Logistics เช่น ผู้ให้บริการคลังสินค้า , ผู้ให้บริการขนส่งต่างๆ ทั้งการขนส่งทางบก , ทางน้ำ และทางอากาศ หรือทางท่อ , ผู้ให้บริการ Packing สินค้า ฯลฯ ซึ่งผู้ประกอบการที่จะเข้าสู่ Logistics ที่มีประสิทธิภาพได้จะต้องเข้าใจถึงวิธีการบริหารจัดการ Subcontractors หรือ การจ้างบุคคลภายนอกที่เรียกว่า Outsourcing ซึ่งจะต้องมีวิธีการและการจัดการ Outsources (ซึ่งอาจเป็นผู้ให้บริการ Logistics Provider เช่น คลังสินค้า , ขนส่ง หรือ DC) ให้กลายเป็น Business Partners (หุ้นส่วนทางธุรกิจ) และใช้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำธุรกิจให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน (Competitioness)

 การจัดการ “RIMS” ทั้ง 4 ปัจจัยนั้น การจัดการความสัมพันธ์ (Relation Management) จึงเป็นงานที่มีความสำคัญสูงสุด ซึ่งจะต้องศึกษาถึง CRM หรือการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customers Relationship Management) ซึ่งปัจจุบันถือเป็นหัวใจของการจัดการทางการตลาดสมัยใหม่ ถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน    การจัดการ “RIMS” ก็จะง่ายขึ้นอย่างมาก ในบางทฤษฎี อาจจะเรียกว่า 5 FIRMS คือเพิ่มปัจจัย Fund คือรายได้หรือทุน ซึ่งใช้ในการดำเนินการใน Logistics & Supply แต่ผู้เขียนเห็นว่า Fund ควรจัดอยู่ใน Finance Function ซึ่งจะมีรายละเอียดที่มาก โดยเอกสารนี้มุ่งทำความเข้าใจกับผู้ศึกษาในฐานะเป็นตำราพื้นฐานของโลจิสติกส์ เท่านั้น จะเห็นได้ว่าโลจิสติกส์เป็น Cost Centers คือ เป็นการใช้ระบบที่เรียกว่าต้นทุนรวมศูนย์ แต่ก็อย่าไปสนจนเหมาเอาว่าค่าใช้จ่ายทั้งหลายทั้งปวง ทั้งในด้านบริหารและการผลิตเหมาะสมเป็นค่าใช้จ่ายของ Logistics ไปเสียทั้งหมด อาจกล่าวได้ว่ากระแสที่เกิดจากการตลาดยุคใหม่ที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์ (Market Globalization) ซึ่งเป็นตลาดในยุคโลกไร้พรมแดน โดยมีกลไกการค้า World Trade Organization หรือ WTO เป็นองค์กรโลกในการกำหนดกติกาของการค้าโลกโดยโลจิสติกส์จะมีส่วนผลักดันให้เกิด Value Chain เพิ่ม Productivity และความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายในลักษณะเป็น Total Integrated Marketing นำไปสู่การวางตำแหน่งของธุรกิจบนการค้าของโลก เพื่อที่จะให้สามารถตอบสนองต่อกลไกของโลกที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย ดังต่อไปนี้

1)  World Class Marketing    การตลาดและการแข่งขันระดับโลก

2)  International Transport     การขนส่งระหว่างประเทศ

3)  Globalization Rule & Trading Systems                  กฎเกณฑ์การค้าโลก

4)  Territory Procedure    กระบวนการที่เกี่ยวกับเขตแดน

5)  International Law        กฎหมายระหว่างประเทศ

6)  Global Change Management     การบริหารการเปลี่ยนแปลงของโลก

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า Logistics นั้นประกอบด้วยกระบวนการหลายอย่าง ซึ่งแต่ละกระบวนการนับเป็นองค์ประกอบของระบบที่ต้องมีการประสานให้แต่ละกิจกรรมสามารถทำงานสอดคล้องกันอย่างบูรณาการ (Intergration) โดย Key Factor หรือองค์ประกอบที่เป็นกุญแจของ Logistics จะต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บสินค้า (Storage) และการเคลื่อนย้าย กระจายสินค้า (Moving & Distribution) จาก Point of Origin ไปสู่ Point of Consumption ของปัจจัยอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

1.  วัตถุดิบ (Raw Material)

2.  สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods)

3.  การจัดการข้อมูลข่าวสาร (Information Flow)

4.  กิจกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายและขนส่งสินค้า (Moving & Transportation)

5.  กิจกรรมมูลค่าเพิ่ม (Value Added Activities)

บทบาทโลจิสติกส์

โลจิสติกส์เป็นกุญแจสำคัญในระบบเศรษฐกิจสองแนวทาง คือ

  โลจิสติกส์เป็นรายจ่ายที่สำคัญสำหรับธุรกิจต่างๆ และจะส่งผลกระทบและได้รับผลกระทบจากกิจกรรมอื่น ในระบบเศรษฐกิจ การปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการด้านโลจิสติกส์ จะส่งผลโดยตรงต่อการปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจโดยรวมให้ดีขึ้นได้

  โลจิสติกส์ได้รองรับการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการของธุรกรรมทางเศรษฐกิจ และได้กลายเป็นกิจกรรมสำคัญในด้านการสนับสนุนการขายเสมือนหนึ่งเป็นสินค้าและบริการด้วย

โลจิสติกส์เป็นการเพิ่มอรรถโยชน์ทางด้านเวลาและสถานที่ โดยให้มีการนำสินค้าที่ลูกค้าต้องการเพื่อบริโภคหรือเพื่อการผลิตไปยังสถานที่ที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ในสภาพที่ต้องการ และในต้นทุนที่ต้องการ

บทบาทของ Logistics ที่มีต่อแต่ละ Sector อาจมีได้ดังต่อไปนี้

1.  บทบาทของ Logistics ที่มีต่อภาคธุรกิจ

1)  Economy of Scale & Speed ทำให้ธุรกิจเป็นการผลิตและส่งมอบสินค้าแบบพอดีกับความต้องการของลูกค้า

2)  Cost Efficient               มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ

3)  Competitiveness           มีความสามารถทางการแข่งขันที่ดีกว่า

2.  บทบาทของ Logistics ที่มีต่อภาคการส่งออก

1)  ทำให้มีการจัดการวัตถุดิบและการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นแบบ Just In Time ได้รับความเชื่อถือจากต่างประเทศ

2)  เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน โดยลดต้นทุนด้าน Logistics ไม่น้อยกว่า 10-15% หรือประมาณ 96,000 ล้านบาทต่อปี (ปี 2547 มูลค่าส่งออกของไทย USD 80,000 ล้าน คิดเป็นต้นทุนโลจิสติกส์  640,000 ล้านบาท)

3)  ช่วยส่งเสริมให้มีการค้าชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ   ประสิทธิผล

3.  บทบาทของ Logistics ที่มีต่อภาคราชการ

1)  เพื่อให้มีการกระจายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว

2)  เป็นการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

3)  สนองนโยบายประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Center)

4.  บทบาทของ Logistics ที่มีต่อภาคเกษตร

1)  เคลื่อนย้ายผลิตผลไปสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว

2)  ลดต้นทุนรวมของผลิตผล

3)  ลดความเสียหายจากการเน่าเสีย

4)  มีการพัฒนารูปแบบ Packaging และ ศูนย์กระจายสินค้า

5)  ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ Update เพื่อกำหนดพื้นที่การเกษตร

6)  เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดี

5.  บทบาทของ Logistics ที่มีต่อภาคสังคม

1)  ช่วยกระจายสินค้าของธุรกิจรากหญ้า และ OTOP ได้อย่างรวดเร็ว

2)  ลดต้นทุน Logistics ของ SMEs โดยวิธี Cost Sharing

3)  ประชาชนได้บริโภคสินค้าที่ดีและมีต้นทุนต่ำ

4)  ลดอุบัติภัยที่เกิดจากการขนส่ง

5)  เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม

ลักษณะของ Logistics แยกออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

1. ลักษณะกิจกรรมเคลื่อนย้ายสินค้าแบบแยกส่วน เป็นลักษณะการดำเนินงาน โดยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า จะแยกออกเป็นส่วนๆ โดยไม่มีการสอดประสานกัน ต่างกิจกรรมก็จะดำเนินไปตามภาระกิจหรือหน้าที่ของตนเอง เช่น หน่วยงานจัดซื้อ ก็จะซื้อสินค้าไปตามรูปแบบที่เคยปฏิบัติมาในอดีต โดยไม่ได้ซื้อไปตามการคาดคะเนความต้องการของฝ่ายการตลาด การขนส่งสินค้า ก็เน้นไปที่ความสะดวกของตนเองไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของลูกค้า ส่วนการจัดการด้านคลังสินค้าก็เน้นที่เป็นแบบเก็บ Stock ไว้เผื่อเหลือเผื่อขาดหรือเป็น Buffer Stock ที่มาก เพื่อป้อนฝ่ายผลิต ขณะที่ฝ่ายผลิตเอง ก็ยังเน้นการผลิตที่เป็น Economic of Scale คือ ผลิตเอามากเข้าว่า เพื่อที่จะได้มีอำนาจในการต่อรองราคาวัตถุดิบ ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ให้เห็นว่าในแต่ละกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้า การเคลื่อนย้ายสินค้า และลูกค้าไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์เชิงระบบที่จะสอดประสานกัน โดยกิจการมีการลงทุนในต้นทุนคงที่หรือ Fix Asset และในสินค้าคงคลังที่สูง ทำให้มีต้นทุนสูง ก็จะทำให้ความได้เปรียบทางด้านต้นทุนที่ไม่อาจแข่งขันกับธุรกิจที่มีระบบการจัดการกับธุรกิจแบบ Logistics เนื่องจากมีความเสียเปรียบทั้งในส่วนที่เป็น Cost และในส่วนที่เป็น Speed ในการผลิตและการส่งมอบและมีต้นทุนรวมที่สูงกว่า (โปรดดูภาพที่ 1)

การแข่งขันจากภายนอกประเทศ

กฎเกณฑ์และอุปสรรคจากภาครัฐ

ภาพที่ 1 กิจกรรม Logistics แบบแยกส่วน


2. ลักษณะการเคลื่อนย้ายสินค้าแบบบูรณาการ (Integration Logistics) จะเป็นรูปแบบที่มีกระบวนการในการเคลื่อนย้ายสินค้าที่เป็นองค์รวมในการจัดการ วัตถุดิบ Raw Material และสินค้า (Goods) จาก Supply Source จนไปถึง Demand Source คือไปถึงผู้บริโภคหรือผู้ซื้อในลักษณะแบบ Just In Time  โดยแต่ละกิจกรรมจะมีปฏิสัมพันธ์เชิงระบบในการสอดประสานกัน โดยอาศัยข้อมูลข่าวสาร (Information Flow) การคาดคะเนความต้องการของลูกค้า (Demand Predictive) และการลดต้นทุนที่เกิดจากการลงทุนในทรัพย์สิน Fixed Asset  และใน Stock     สินค้า โดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม Value Added ในตัวสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าการจัดการแบบ Logistics ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนรวมที่ดีกว่า ก่อให้เกิดมีความได้เปรียบในการแข่งขัน (โปรดดูภาพที่ 2) ทั้งนี้ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการจัดการเคลื่อนย้ายสินค้าที่จะเป็น Logistics ได้นั้น จะต้องมีการจัดการให้ทุกกระบวนการมีความเป็นปฏิสัมพันธ์ต่อกัน และต้องเป็นแบบเชิงระบบ (Systems) คือมีกฎเกณฑ์ มีการวางแผนที่เป็นระบบเชิงวิทยาศาสตร์

ภัยคุกคาม

ปัญหา อุปสรรค และกฎเกณฑ์จากภาครัฐ

ภาพที่ 2 ภาพกิจกรรม Logistics แบบบูรณาการ

การขนส่ง (Transportation) ในการจัดการโลจิสติกส์

                การเคลื่อนย้ายสินค้าจากสถานที่หนึ่งเช่นสถานที่ผลิตไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่งและทำให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ถ้าในความหมายของโลจิสติกส์การขนส่ง หมายถึง การวางแผนและบริหารจัดการเพื่อลำเลียงสิ่งของจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งการขนส่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนิน การทางตลาดทำให้ความเจริญขึ้นอย่าง รวดเร็ว มีการขายอย่างกว้างขวาง

รูปแบบการขนส่ง

                รูปแบบการขนส่งนั้นมีให้เลือกมากมายไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ การที่จะเลือกใช้การขนส่งในแต่ละแบบนั้นจะต้องคำนึงถึงข้อดี ข้อเสียของแต่ละรูปแบบการขนส่งก่อนจึงจะตัดสินใจ

การขนส่งทางบก

                การขนส่งในเกือบทุกกรณีจะต้องอาศัยการขนส่งทางถนนเพราะเป็นการขนส่งที่สามารถจะเข้าถึงต้นทางและปลายทางได้และสะดวกรวดเร็วส่วนมากใช้การขนส่งทางบก

ข้อดีของการขนส่งทางบก

                                1.ไม่ต้องมีการขนถ่ายซ้ำ (ในกรณีที่ขนส่งทางถนนตลอดเส้นทาง)

                                2.ให้บริการได้อย่างรวดเร็ว เพราะค่อนข้างเดินทางได้เร็ว

                                3.สามารถรักษาต้นทุนบรรจุภัณฑ์ให้ต่ำได้

ข้อเสียของการขนส่งทางบก

                                1.ต้นทุนค่อนข้างสูง เพราะขนส่งได้ทีละไม่มาก

                                2.ข้อจำกัดด้านถนน ไปได้เท่าที่ถนนจะไปถึง เช่นไม่สามารถจะข้ามทวีป                           

การขนส่งทางน้ำ

การขนส่งทางน้ำจะใช้เรือสินค้าที่มีขนาดใหญ่ขนส่งสินค้าได้ทีละมากๆ

ข้อดีการขนส่งทางน้ำ

                                1.ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ เพราะเรือมีขนาดใหญ่และใช่พลังงานขับเคลื่อนต่อน้ำหนักต่ำ

                                2.ขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ได้ สามารถรองรับสินค้าได้เกือบทุกชนิด

                                3.มีความปลอดภัยมากเพราะใช้ความเร็วต่ำ

ข้อเสียการขนส่งทางน้ำ

                                1.ใช้ระยะเวลายาวนาน

                                2.ต้องให้มีปริมาณมากเพียงพอ ไม่มีความคุ้มค่าหากต้องขนส่งทีละน้อย

                                3.ต้องมีการขนถ่ายซ้ำ โดยทั่วไปเรือไม่สามารถเข้าถึงจุดรับส่งสินค้าได้

                                4.ความเสียหายจากการขนถ่ายสินค้าซ้ำ

การขนส่งทางรถไฟ

                การขนส่งเส้นทางตายตัวดังนั้นจึงต้องมีปริมาณการใช้ที่สูงจึงจะเกิดความคุ้มค่าในการสร้างเส้นทางหนึ่งๆขึ้นมาเหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าปริมาณมากและในระยะทางไกล

ข้อดีการขนส่งทางรถไฟ

                                1.ต้นทุนค่อนข้างต่ำ สามารถขนส่งได้ทีละมากๆ

                                2.ขนส่งได้ทุกสภาพดินฟ้าอากาศ

                                3.สะดวก เพราะมีตู้หลายชนิดให้เลือกเพื่อความเหมาะสมกับสินค้าและมีความปลอดภัยสูง 

ข้อเสียการขนส่งทางรถไฟ

                                1.ใช้ระยะเวลานานต้องมีการขนถ่ายซ้ำ เพราะต้องมีการขนส่งจากสถานีรถไฟไปยังจุดปลายทาง

                                2.ต้นทุนบรรจุภัณฑ์สูงเพราะว่าระวางสินค้าจำเป็นต้องทนแรงกระแทกสูง

                                3.ความยืดหยุ่นมีน้อย เพราะมีเส้นทางตายตัว

การขนส่งทางอากาศ

                การขนส่งโดยใช้เครื่องบินการขนส่งในรูปแบบนี้จึงมักจำกัดอยู่ในรูปแบบของหีบห่อ

ข้อดีการขนส่งทางอากาศ

                                1.ความรวดเร็วสูง และมีเวลาที่ชัดเจน

                                2.สามารถรักษาต้นทุนบรรจุภัณฑ์ให้ต่ำได้

ข้อเสียการขนส่งทางอากาศ

                                1.ราคาที่สูงมาก จนทำให้ไม่สามารถนำมาใช้กับสินค้าที่มีต้นทุนต่ำได้

                                2.ข้อจำกัดของขนาดของสินค้า ขนาดบรรจุของเครื่องบินจำกัดเมื่อเทียบกับเรือ

                                3.ต้องมีการขนถ่ายซ้ำ ต้องมีการขนส่งจากสนามบินไปยังจุดส่งปลายทาง

การพัฒนาประเทศไทย ด้วยระบบโลจิสติกส์ (Logistics)       

                การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องหลายองค์กรที่ร่วมกันประชุมหารือประสานงานระดมสมองแก้ปัญหา  เพื่อเปิดมิติใหม่ให้กับระบบการขนส่งสินค้า อาทิ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ  กรมศุลกากร  การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อร่วมกันทำให้ระบบโลจิสติกส์เป็นรูปธรรม  อย่างเช่น  บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการขนส่ง (Port - to - Door )  และ Door - to - Port  ข้อตกลงเพิ่มประสิทธิภาพของขนส่งสินค้า และข้อตกลง  การนำส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ด่วนถึงมือผู้รับส่วนยุทธศาสตร์ทางอากาศนั้น  มี 3 ยุทธศาสตร์หลัก คือ

-    Global  Distination  Network  โดยขยายเครือข่ายเส้นทางบินครอบคลุมทั่งโลก  เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของสินค้า ในกลุ่มประเทศจีเอ็มเอส และเอเซียใต้

-    พัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติให้เป็นประตูระดับโลกโดยให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นประตูสู่ระดับโลก  โดยให้สนามบินเชียงใหม่และภูเก็ตเป็นประตูสู่ภูมิภาค

-   เป็นศูนย์กลางของโลจิสติกส์ของโลกด้านอาหาร ผัก ผลไม้สด ดอกไม้ แฟชั่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  อะไหล่รถยนต์  และเครื่องประดับ  การแข่งขันในตลาดโลกนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆความรวมเร็ว และต้นทุนที่ถูกลงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ  เพราะประเทศไทยมีต้นทุนการขนส่งสินค้าสูงถึง 25-30 %  จึงต้องเร่งแก้ปัญหา  นอกเหนือจากการร่วมมือกับประทรวงการคลัง    เพื่อวางแผนในการกำหนดแผนพัฒนา           โลจิสติกส์  ระดับประเทศแล้ว  ส่วนของกระทรวงคมนาคมจะดูว่ามีศูนย์กระจายสินค้าคลังสินค้าที่รวบรวมสินค้าแล้วดูว่าจะส่งไปถึงปลายทางได้อย่างไร  แต่เดิมเคยคิดว่าจะให้มีคลังสินค้า  4  มุมเมือง  แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  ขณะนี้กำลังดูรูปแบบที่เหมาะสมแล้วจะนำมาผสมผสานกับการขนส่งในหลายรูปแบบ  ทั้งทางรถยนต์  รถไฟ  เรือ  มาเชื่อมโยงกัน  เพื่อให้สินค้าขนส่งได้เร็วที่สุดในราคาถูกที่สุด              

หากเป็นการขนส่งทางอากาศต้องเป็นสินค้าที่มีราคาแพง  บรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม  ต้องการความรวดเร็วหรือเป็นสินค้าเทกอง  โดยเฉพาะสินค้าเกษตรต่างๆ ก็ต้องขนส่งทางเรือ  การบริหารจัดการเพื่อความรวดเร็วนั้นสำคัญ  แต่ว่าการขนส่งให้ต้นทุนถูกก็สำคัญเช่นกันแล้วแต่สินค้าแบบไหน  แต่ต้องมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง  เพราะโลจิสติกส์  คือการควบคุมทุกอย่าง  ซึ่งเรามีข้อมูลแล้วว่าสินค้าแต่ประเภทจะขนส่งทางไหนบ้างจึงจะคุ้มค่าที่สุด

กระทรวงคมนาคมได้วางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไว้ทั้งทางภาคพื้น  และทางอากาศโดยในทางภาคพื้นนั้น  มี  4  ยุทธศาสตร์หลัก  คือ

1.              พัฒนาท่าเรือไทยให้เป็นประตูไปสู่ภูมิภาคโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ( ร.พ.ท . )   

 จะต้องขยายขีดความสามารถของสถานะบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ( ไอซีดี  )  ให้มากขึ้น  ขณะที่องค์กรขนส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)  ต้องตั้งสถานีบรรจุและขนถ่ายตู้สินค้า  เพื่อการนำเข้าและส่งออกย่านพหลโยธิน  ส่วน  กทท.  ก็ต้องปรับปรุงท่าเทียบเรือให้รองรับเรือ Roll on-Roll  off  ระหว่างประเทศได้ควบคู่ไปกับพัฒนาท่าเทียบเรือภูมิภาคให้เข็มแข็งมากขึ้น

2.              พัฒนาศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า

  โดยตั้งฮับประจำภาค  เพื่อประสานระบบขนส่งให้สมบรูณ์โดยมีโครงการที่จะพัฒนาย่านคอนเทนเนอร์ในภูมิภาคไปยังปลายทาง

3.              พัฒนาวิธีการขนส่งไปสู่ระบบรางทางน้ำ และทางท่อ

 เพื่อให้การขนส่งมีปริมาณมากขึ้น  แต่สามารถลดต้นทุนการขนส่ง  และประหยัดพลังงาน  ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร      (สนข.)  ได้เริ่มศึกษา เพื่อพัฒนาระบบรางน้ำ  และท่อให้เกิดความเชื่อมโยงกันแล้ว  ส่วน ร.ฟ.ท.  นั้น  ก็ต้องเร่งก่อสร้างทางคู่ในช่วงชุมทางเส้นทางขนส่งสินค้ามายังท่าเรือแหลมฉบังให้มากขึ้นด้าน บทด. ต้องเร่งส่งเสริมใช้เรือ Roll on-Roll  off  ให้มากขึ้นเช่นกัน

4.              พัฒนาระบบเกี่ยวข้องกับการจัดการด้านโลจิสติกส์ 

สำหรับระบบการขนส่งทางภาคพื้น  เพื่อให้บริการแบบ  Door - to - Door   ซึ่งได้ตั้งคณะกรรมการโลจิสติกส์แห่งชาติขึ้นมาแล้ว  เพื่อให้เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการทั้งหมด  พร้อมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีขั้นตอนมากๆ ให้น้อยลงนำระบบไอทีเข้ามาใช้มากขึ้น  การสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากขึ้น  สำหรับการขนส่งคนโดยเฉพาะระบบรางมีเพียง  42  ก.ม. เท่านั้น  โดยรัฐบาลมีโครงการที่จะก่อสร้างการขนส่งด้วยระบบรางให้ครบ   200 ก.ม.  ภายใน  6  ปี  โดยมีวงเงินลงทุน 400,000  ล้านบาท  การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทยจะก้าวหน้าไกลเทียบเท่ากับนานาอารยประเทศได้หรือไม่นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาล  หรือกระทรวงคมนาคมเท่านั้น  แต่ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน  และปัจจัยต่างๆที่เป็นตัวแปลของต้นทุนในการขนส่ง  ระบบการจัดเก็บ  และคลังสินค้าที่กลายเป็นอุปสรรค  แต่ถึงอย่างไรเพื่อประเทศไทยแล้ว     รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง  สนข.  ไม่ได้นิ่งนอนใจ  ยังคงระดมสมองคิดหาวิธีวางแผนพัฒนา ระบบโลจิสติกส์ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง  เพื่อให้ระบบการขนส่งและคมนาคมมีความสะดวกรวดเร็ว  ถูกที่ มีต้นทุนต่ำ           

การจัดการโลจิสติกส์ระดับโลก

เหตุใดจึงต้องมีการจัดการโลจิสติกส์ระดับโลก

                 บริษัทต่างๆ ทั้งเล็ก กลางใหญ่ต่างมีความต้องการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ

                 ศักยภาพของตลาดต่างประเทศมีมาก

                 กำลังการผลิตในปัจจุบันเหลืออยู่ ต้องการระบายสินค้าสู่ต่างประเทศ

                 สินค้าในประเทศเริ่มเสื่อมคลาย แต่ยังเติบโตได้ในต่างประเทศ

                 หลบเลี่ยงการแข่งขันภายในประเทศจากบริษัทข้ามชาติ

                 การขยายการลงทุนสู่ต่างประเทศ ช่วยลดค่าแรงงาน ลดภาษี

                 ลดความเสี่ยงเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

เหตุผลเหล่านี้ทำให้ธุรกิจต้องหันมาให้ความสำคัญกับโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

ร้อยละยอดขายภายนอกประเทศของบริษัทข้ามชาติชั้นนำ

มูลค่าโลจิสติกส์ในแต่ละประเทศ

รูปแบบการดำเนินงานโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

International business

  กิจกรรมการตลาดที่ดำเนินข้ามเขตของประเทศ หรือค้าข้ามพรมแดน

                 ตัวอย่าง การส่งออกทั่วๆไป  การจัดกิจกรรมการตลาดในต่างประเทศ

  กิจกรรมและความรับผิดชอบ

                 จัดเตรียมกิจกรรมทางการตลาดที่มีความสะดวกและความเคยชินที่ต้องการไปยังประเทศอื่นๆ โดยขึ้นอยู่กับความแตกต่างของสภาวะแวดล้อม เช่น ภาษา  เวลา

                 การสนับสนุนและการประเมินความพยายามทางการตลาด

Multinational corporation

  กลุ่มความร่วมมือทางธุรกิจหลายประเทศ มีการขยายจากธุรกิจระหว่างประเทศ  ลงทุนและควบคุมมากกว่า 1 ประเทศ

  กิจกรรมการตลาดที่ดำเนินอยู่ในต่างประเทศโดยบริษัทในประเทศที่มีความแตกต่างจากกิจกรรมภายในประเทศ

                 ตัวอย่าง เช่น  บริษัท CP ดำเนินกิจการอยู่ในประเทศจีน

กิจกรรมและความรับผิดชอบ

   การสร้าง  ปฏิบัติการและควบคุมกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ

                 ต้องเผชิญกับความต้องการและความจำเป็นของตลาดเป้าหมายหรือส่วนตลาด

Global company

การประสานงาน  การประสมประสาน การควบคุมกิจกรรมการตลาดที่มีความแน่นอน  โดยมีเป้าหมายของกิจการเพื่อให้ได้รับพร้อมกันทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ

มีการบูรณาการการตลาดที่แตกต่างกันให้เป็นหนึ่งเดียว โดยมองโลกเป็นตลาดเดียวกัน

                 ตัวอย่าง เช่น  การพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์  หรือผลิตภัณฑ์ที่มี Brand ระดับโลก เช่น Coca Cola , Gillette , 3M

กิจกรรมและความรับผิดชอบ

                 พยายามประสานความพยายามทางการตลาดทั้งการตลาดระหว่างประเทศและการตลาดต่างประเทศ  โดยการรักษายอดขายและตำแหน่งทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างสอดคล้อง

Transnational company

 บริษัทที่โอนความรับผิดชอบไปยังประเทศที่ลงทุน มีด้วยกันหลายลักษณะ

Export

การส่งออก คือ การขายสินค้าจากประเทศตนเองไปยังประเทศอื่น    โดยมากมักใช้บริการตัวกลางในการขนส่ง เรียกว่าผู้รับจัดการขนส่ง (Freight Forwarder) ผู้กระจายสินค้า (Distributor) และบริษัทซื้อมาขายไป (Trading Company)

ข้อดี คือ ลดความเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศ  แต่มี

ข้อเสีย คือ มีความยุ่งยากในการเข้าแข่งขันกับเจ้าของประเทศ และอาจถูกกีดกันทางการค้า การตั้งกำแพงภาษี จำกัดโควตานำเข้า และความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทางการเงิน  ไม่สามรถควบคุมทางการตลาดได้ 

Licensing

การให้สิทธิทางการค้า  คือ การที่ผู้เป็นเจ้าของสิทธิ (Licensor) ให้ผู้รับสิทธิ (Licensee) ในประเทศใดประเทศหนึ่งใช้ทักษะ ความรู้ แนวปฏิบัติ การผลิต ตราสินค้าและความช่วยเหลือด้านเทคนิคต่างๆ ในการดำเนินการทางธุรกิจ

ข้อดี ช่วยให้กิจการสามารถควบคุมในการทำธุรกิจและกระจายสินค้าดีกว่าการส่งออก ช่วยลดความเสี่ยงจากการดำเนินงาน เพราะเป็นธุรกิจที่มีการดำเนินงานเป็นต้นแบบอยู่ก่อนหน้าแล้ว

ข้อเสีย  อาจถูกเลิกสัญญาได้และเป็นข้อผูกมัด ขาดอิสระในการดำเนินงาน   อีกประเด็นคือผู้รับสิทธิอาจกลายเป็นคู่แข่งในอนาคต

Joint Venture

ในกรณีที่ผู้บริหารต้องการควบคุมกิจการที่อยู่ในต่างประเทศมากกว่าที่อยู่ในข้อตกลง  และไม่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในประเทศนั้นๆ

ข้อเสีย มีความเสี่ยงสูงเพราะต้องลงทุนกับผู้ประกอบการในประเทศเจ้าของ มีโอกาสเข้าร่วมบริหารในสัดส่วนที่น้อยกว่าเจ้าของประเทศ และอาจพบปัญหาจากการลงทุน ติดระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมายของประเทศนั้น

Ownership

การเข้าไปดำเนินงานในต่างประเทศโดยเป็นเจ้าของกิจการเองโดยตรง หรือเข้าไปถือหุ้นบริษัทลูกในต่างประเทศ  อาจอยู่ในลักษณะซื้อกิจการในต่างประเทศ  ควบรวมกิจการหรือ ขยายธุรกิจเข้าไป

ข้อดี ลดปัญหาเรื่องการนำเข้าต่างๆ เช่น มาตรการภาษี โควตานำเข้า ระเบียบศุลกากร

ข้อเสีย อาจประสบความผันผวนทางเศรษฐกิจ การเมืองในประเทศนั้นๆ การเลิกกิจการทำได้ยากและไม่สามารถถ่ายโอนหรือเปลี่ยนมือได้อย่างรวดเร็ว  เพราะมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมาก

Import

การนำเข้า เป็นการทำธุรกิจต่างแดนอีกลักษณะ โดยมากเป็นการนำเข้าสินค้าที่ไม่มีจำหน่ายในประเทศตนเอง  เป็นการซื้อและจัดส่งสินค้าจากต่างประเทศ ส่วนมากมักมีนายหน้าเจรจาการนำเข้า  มักเป็นผู้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังในฐานะตัวแทนจากกรมศุลกากร

Counter trade

การแลกเปลี่ยนสินค้า คือ การนำเข้าสินค้าบางชนิดจากประเทศที่กิจการได้มีการขายสินค้าบางชนิดไปให้  โดยใช้สินค้าแลกเปลี่ยนกันแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน

นอกจากนี้ยังมีระบบการขอคืนภาษี  หากสินค้าที่ขายไปนั้นใช้เพื่อการผลิตหรือส่งออกเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศนั้นๆ จะได้รับการคืนภาษี

กลุ่มการค้า

    กลุ่มการค้า หมายถึง กลุ่มประเทศต่างๆ ในแต่ละภูมิภาคของโลกที่จับมือกันภายใต้ข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน ในเรื่องการเจรจาการค้า  ภาษีต่างๆ  การส่งมอบสินค้า เพื่อสร้างความสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างกันเฉพาะกลุ่มประเทศนั้นๆ

    ภูมิภาคหลักที่มีข้อตกลงทางการค้าในกลุ่ม ได้แก่ อเมริกาเหนือ  ยุโรปตะวันตกและ เอเชียแปซิฟิค ซึ่งรวมกันแล้วมีผลผลิตทางด้านเศรษฐกิจรวม 80% ของโลก

กลุ่มการค้าที่สำคัญในโลก

ข้อตกลงในกลุ่มการค้าต่างๆ ที่สำคัญ

  Free Trade Area (FTA)

                 NAFTA (North America Free Trade Agreement)

      การยกเลิกกำแพงภาษีศุลกากรในปี 2004

      การยกระดับความสามารถของผู้นำโลจิสติกส์สินค้าข้ามพรมแดน

      เปิดเสรีการลงทุนจากต่างประเทศ  สามารถเข้าไปทำธุรกิจต่างประเทศในกลุ่มได้

      สร้างมาตรฐานพิกัดภาษีศุลกากร ระเบียบท้องถิ่น ข้อบังคับเรื่องบรรจุภัณฑ์

      ข้อตกลงเรื่องราคาค่าขนส่ง  มาตรฐานขนาดตู้คอนเทนเนอร์ และการใช้ EDI

                 EU (European Union)

      ข้อตกลงในการใช้สกุลเงินร่วมกัน (เงิน ECU)

      ข้อตกลงการใช้อัตราภาษีที่เท่ากัน

      ข้อตกลงในการนำมาตรฐาน ISO เข้ามาใช้ทุกรูปแบบ

      การกำหนดจำนวนทำเลที่ตั้งโลจิสติกส์ที่ให้ผลดีที่สุด

      การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในระบบโลจิสติกส์ร่วมกันในเขตการค้า เช่น EURO Tunnel

      Free Trade Area (FTA)

           ASEAN (เขตการค้าเสรีอาเซียน : ASEAN Free Trade Area ; AFTA )

ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม เน้นเศรษฐกิจและปกป้องการค้าในภูมิภาคในปี 2532 ได้มีการตั้งกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งเอเชียแปซิฟิค (Asia Pacific Economic Cooperation ; APEC) โดยรวมประเทศใน ASEAN และ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง เกาหลี ไต้หวัน แคนาดา และ สหรัฐ รวม 18 ประเทศ มีเป้าหมายขจัดการปกป้องทางการค้า ส่งเสริมการค้าเสรี ขจัดความขัดแย้งทางการค้า กิจการที่นำสินค้าเข้าออกยังกลุ่มประเทศชายฝั่งแปซิฟิค  ต้องตระหนัก  ถึงความแตกต่างทางเศรษฐกิจ  การเมือง

ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ

  ผู้ขายในประเทศ (Exporter)

  ผู้อำนวยความสะดวกในการส่งออก (Freight forwarder)

  หน่วยงานภาครัฐในประเทศ (Domestic Government)

  หน่วยงานภาครัฐในต่างประเทศ (Foreign Government)

  ธนาคารในต่างประเทศ (Foreign Bank)

  ธนาคารในประเทศไทย (Domestic Bank)

  ผู้ขนส่งในประเทศ (Domestic Carrier)

  ผู้ขนส่งระหว่างประเทศ (Freight forwarder)

  ท่าขนส่งในประเทศ (Thai port and airport)

  ท่าขนส่งในต่างประเทศ (Foreign port and airport)

  ผู้ขนส่งในต่างประเทศ (Foreign Carrier)

  ผู้ซื้อในต่างประเทศ (Importer)

แนวโน้มธุรกิจระหว่างประเทศ

  เน้นความเร็วในการตอบสนองด้านการตลาด (Market driven policy)

  Vendor Managed Inventory (VMI)

  E-Business

                 E-Commerce

                 CRM

                 E-Advertising

                 E- Marketplace

โลจิสติกส์กับสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสำคัญ ดังนั้น โลจิสติกส์จึงต้องเป็น “Green Logistics” ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับมลภาวะในอากาศที่เกิดจากการขนส่ง , การประหยัดพลังงาน และการใช้วัสดุด้านบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (Recycle) การบริหารงานด้านโลจิสติกส์ จึงต้องให้ความสำคัญต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมทั้งของจำกัดของน้ำหนักสินค้าที่สามารถจะบรรทุก หรือบรรจุตู้          คอนเทนเนอร์ (Container) ซึ่งในแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน นอกจากนี้การจัดการโลจิสติกส์จะต้องให้ความสำคัญต่อปัญหาอุบัติภัยที่จะมีต่อสังคมและการทำงานที่ปลอดภัย (Safety First) ของบุคคลที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่โลจิสติกส์และที่สำคัญจะต้องคำนึงถึงศีลธรรมและบรรษัทภิบาล (Good Corporate)

ตัวอย่างของโลจิสติกส์

 ร้านขายหนังสือ คอมพิวเตอร์

1. บริษัทส่งหนังสือ เข้ามาทางศูนย์กระจายสินค้า หรือตัวกลางรับหนังสือคอมพิวเตอร์ เช่น หนังสือซ่อมคอมพิวเตอร์ , หนังสือตกแต่งภาพ , หนังสือสอนพิมพ์ดีด มีหนังสือรวมทั้งหมด 3 เล่ม ถือเป็นกิจกรรมการนำสินค้า นับเป็น กิจกรรมการขนส่งสินค้า

2. ศูนย์กระจายสินค้า หรือตัวกลางได้รับหนังสือคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 3 เล่ม จัดเก็บไว้สต๊อกสินค้า หรือคลังสินค้าของศูนย์กระจายสินค้า โดยแยกประเภทของแต่หมวดเอาไว้ ถือเป็น กิจกรรมคลังสินค้า

3. ทางศูนย์กระจายสิค้าได้รับคำสั่งซื้อจาก ร้านขายหนังสือที่ต่างๆ เช่น ร้าน A , ร้าน B , ร้าน C เป็นต้น ทางศูนย์กระจายสินค้าติดต่อกับคลังสินค้า นำหนังสือคอมพิวเตอร์ขึ้นรถบรรทุก เตรียมจัดส่งสินค้าต่อไป ถือเป็น กิจกรรมคลังสินค้า กิจกรรมการขนส่ง การรับคำสั่งซื้อ

4. เมื่อหนังสือมาถึงยังร้านขาย หรือจำหน่ายหนังสือ ทำการขนสินค้าลงจากรถขนสินค้า และจัดเข้าร้านขายหนังสือ ถือเป็น กิจกรรมการกระจายสินค้า ช่องทางการกระจาย

5. เมื่อหนังสือถูกจำหน่ายออกไปนั้น ข้อมูลของหนังสือจะถูกบันทึกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และแจ้งกับศูนย์กระจายสินค้า ว่าสาขาไหน หรือที่ไหนบ้าง จำหน่ายหนังสือออกไปจำนวนเท่าไหร่ และหมดหรือยัง จะได้เตรียมการสั่งซื้อต่อไป ถือเป็น กิจกรรมสารสนเทศ

สรุป

สรุปแล้ว การจัดการโลจิสติกส์ คือ กระบวนการจัดการและกระบวนการสารสนเทศ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนแกนกลาง ในการแสวงหาแหล่งของวัตถุดิบและบริการ, การจัดหา, การเก็บสินค้าเข้าคลัง และการจัดส่งผลิตภัณฑ์ ที่ถูกต้องไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่พอเหมาะ โดยมีการเก็บสินค้าคงคลัง, การสิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย, ความเพียรพยาม. และเงินทุน น้อยที่สุดเพื่อที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจ อย่างมีประสิทธิผล

วัตถุประสงค์ที่มีความสำคัญอันดับแรกของการจัดการระบบโลจิสติกส์ในระบบธุรกิจ คือ การสร้างประโยชน์จากเวลาและสถานที่ หรือ การสร้างคุณค่าโดยการนำสินค้าจากต้นกำเนิดไปสู่ที่ๆ มีความต้องการ หน้าที่นี้ก็คือ การนำสินค้าจากแหล่งที่ถูกต้องในรูปแบบ จังหวะเวลา คุณภาพ ปริมาณที่ถูกต้องด้วยต้นทุนที่พอเหมาะไปสู่สถานที่ที่ถูกต้อง

พันธกิจของการบริหารโลจิสติกส์ คือ การวางแผน การดำเนินงาน และประสานการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งบรรลุผลในด้านการตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า โดยการนำเสนอบริการและคุณภาพในระดับที่เหนือกว่า ด้วยต้นทุนการดำเนินงานที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บรรณานุกรม

การขนส่ง , (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

                http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-8-28886.html

การขนส่ง 2 , (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

              http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=f241731bd26874

e0a13071a66b4f289d&pageid=1&bookID=589&read=true&count=true

การขนส่งทางน้ำ, (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

 http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

การขนส่งทางบก , (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

                 http://www.mahathai.ac.th/node/86

การขนส่งทางรถไฟ, (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

 http://www.geocities.com/vilanda26/sara9.htm

การขนส่งทางอากาศ,  (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4

-5/no17-18/d171konsonair.html

กิจกรรมหลักในโลจิสติกส์, (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

                www.technosriracha.ac.th/dln/puie/logis/targetLogis.ppt

 ความสำคัญของโลจิสติกส์, (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

            http://www.logisticsadviser.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538

765858

นฤพร ประเสริฐแสง, ต้นทุนในการตอบสนองลูกค้าต่อกิจกรรมโลจิสติกส์

กรณีศึกษาธุรกิจโทรศัพท์มือถือ,(Costs-to-Serve in Logistics : A Case

Study of BusinessMobile Product),มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

ธนบุรี

ปัทมา คุปตระกูล, ต้นทุนในการตอบสนองลูกค้าต่อกิจกรรมโลจิสติกส์ กรณีศึกษา

อุตสาหกรรมรถยนต์ (Costs to Serve in Logistics:A Case Study in

Automotive Industry),มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ประโยชน์ของการขนส่ง, (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

http://www.geocities.com/vilanda26/sara9.htm

ประโยชน์ของระบบโลจิสติกส์  , (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

                http://www.logisticsdigest.com/index.php?option=com_content&task=view&

id=861&Itemid=73

รูปแบบการขนส่ง, (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552 , จาก

http://cms.sme.go.th/files/jun51/logistic/logistic_train/course3/course3-1.pdf  

ผู้เกี่ยวข้องหลักในระบบโลจิสติกส์, (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

                http://supersambea.blogspot.com/2008/10/1.html

ลอจิสติกส์ : หนทางแห่งความเป็นเลิศของธุรกิจกับการบูรณาการหลักสูตรของสถาบันอุด

ศึกษาโดย  นางสาวนิศากร  จันทร์แก้ว ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา

 ศักดา พวงจันทร์, การประยุกต์ใช้ระบบหาพิกัดบนพื้นโลกสำหรับการตัดสินโลจิสติกส์, (2552:ออนไลน์),

                ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

(Application of Global Positioning System of resolve Logistics),

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สุฑามาศ  มนตรีบริรักษ์, การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ของการขนส่งน้ำนมดิบ,

(Logistics Management System of Raw Milk Transportation)

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

องค์ประกอบของลิจิสติกส์, (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

http://www.bestwitted.com/?p=34

            หนังสือเรื่อง การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน โดย ดร.ทวีศักด์ เทพพิทักษ์

“Logistic”, (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

                http://adviser.eduzones.com/dena/4216

Logistic คือ, (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

                http://www.logisticafe.com/2009/08/logistics/

Logistic คือ, (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

http://www.v-servegroup.com/new/upload/whatsnew/13.doc

Logistic คือ, (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

http://utcc2.utcc.ac.th/faculties/engineer/logistics/logistic.htm

Logistic คืออะไร, (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

http://www.expert2you.com/view_question2.php?q_id=8035

Logistic หมายถึง, (2552:ออนไลน์), ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก

http://www.doh.go.th/dohweb/hwyorg33100/page/Logistics.htm

ระบบสารสนเทศในงานโลจิสติกส์มีอะไรบ้าง

1. ระบบการวางแผนและการจัดตารางอย่างก้าวหน้า (APS) 2. ระบบการวางยุทธศาสตร์เครือข่ายโซ่อุปทาน 3. ระบบการจัดการคลังสินค้า 4. ระบบพยากรณ์และจัดการคลังสินค้า.
ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอีเลคโทรนิคส์ (EDI).
ระบบสารสนเทศทั่วทั้งองค์กร (ERP).
ระบบจุดขายทางอีเล็คทรอนิคส์ (EPOS).
ระบบการค้าทางอีเล็คทรอนิคส์ (E-Commerce).

ระบบสารสนเทศมีความสำคัญต่อการจัดการด้านโลจิสติกส์อย่างไรบ้าง

ซึ่งเหตุผลหลักที่ต้องนา Information Technology (IT) เข้ามาใช้ในระบบโลจิสติกส์คือ 1. โลจิสติกส์ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งอย่างถูกต้องแม่นยา 2. ระบบโลจิสติกส์ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันตลอดเวลา 3. สารสนเทศที่ถูกต้องและทันเวลาจะช่วยกิจการลดระดับสินค้าคงคลังได้ 4. IT จะช่วยเรื่องการปรับเส้นทางและตารางเวลาขนส่งให้เหมาะสม ...

การออกแบบระบบสารสนเทศโลจิสติกส์ คืออะไร

การออกแบบโลจิสติกส์ เป็นกระบวนการของแนวความคิดกระบวนทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการซับพลายเชนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและการออกแบบส่วนควบทั้งหลายในการที่จะช่วยควบคุมต้นทุนโลจิสติกส์และเพิ่มระดับขีดความสามารถในการให้บริการลูกค้าและลดต้นทุน การกำหนดมาตรฐานบรรจุภัณฑ์และการขนส่งรวมถึงลดขั้นตอนการทำงาน

ข้อใดเป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตของระบบโลจิสติกส์

เทคโนโลยีที่จ าเป็นส าหรับโลจิสติกส์ในยุคใหม่ทั้ง 7 ระบบ ในบทความนี้ประกอบด้วย 1) ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange System: EDI) 2) ระบบบาร์โค้ด (Barcode System) 3) รหัสบ่งชี้โดยใช้ความถี่ ของคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Identification: RFID) 4) ระบบ ก าหนดพิกัดที่ตั้งดาวเทียม ( ...