การติดตั้งฮาร์ดดิสก์แบบ sata

โหมดควบคุม Serial ATA (SATA) จะกำหนดวิธีการที่ฮาร์ดไดรฟ์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ คุณสามารถเลือกตั้งฮาร์ดไดร์ฟ SATA ให้ทำงานในโหมดควบคุมสามโหมดดังนี้: IDE, AHCI หรือ RAID นอกจากนั้น การเปิดใช้งานโหมด RAID ยังเป็นการเปิดใช้งานคุณสมบัติ AHCI อีกด้วย

โหมด IDE เป็นโหมดอย่างง่าย ในโหมด IDE ฮาร์ดไดร์ฟถูกตั้งให้ใช้เป็นฮาร์ดไดร์ฟ IDE หรือ Parallel ATA (PATA)

โหมด Advanced Host Controller Interface (AHCI) ช่วยให้สามารถใช้คุณสมบัติขั้นสูงในไดร์ฟ SATA เช่น hot swapping และ Native Command Queuing (NCQ)

โหมด RAID ช่วยให้ฮาร์ดดิสก์หลายตัวทำงานเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลชุดเดียวกัน (array) เพื่อใช้ในการทำสำเนาข้อมูล (สำรองข้อมูลเพื่อความปลอดภัย) หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เร็วขึ้น (การอ่าน/เขียนข้อมูลเป็นแถบบนฮาร์ดไดรฟ์)

บันทึก

HP ขอแนะนำให้ตั้งค่าโหมดตัวควบคุม SATAก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ การเปลี่ยนแปลงโหมดหลังจากติดตั้งระบบปฏิบัติการไปแล้ว อาจทำให้ระบบไม่สามารถบู๊ตได้

หัวข้อต่อไปนี้จะอธิบายโหมดตัวควบคุม SATA แบบต่างๆ

IDE

โหมด IDE เป็นโหมดอย่างง่าย ในโหมด IDE ฮาร์ดไดร์ฟถูกตั้งให้ใช้เป็นฮาร์ดไดร์ฟ IDE หรือ Parallel ATA (PATA) ฮาร์ดไดรฟ์ในโหมด IDE จะมีคุณสมบัติการใช้งานน้อยที่สุด โดยทั่วไป ฮาร์ดไดรฟ์ในโหมด IDE จะทำงานช้ากว่าโหมดอื่นๆ โหมด IDE สามารถทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์รุ่นเก่าบางรุ่นได้ดีกว่า หากคุณต้องการติดตั้งฮาร์ดไดร์ฟเพียงตัวเดียว และไม่ต้องการใช้คุณสมบัติ SATA (AHCI) ขั้นสูง (เช่น hot swapping และ Native Command Queuing) ให้เลือกโหมด IDE ขณะติดตั้งฮาร์ดไดร์ฟ

Advanced Host Controller Interface (AHCI)

โหมด Advanced Host Controller Interface (AHCI) ช่วยให้สามารถใช้คุณสมบัติขั้นสูงในไดร์ฟ SATA เช่น hot swapping และ Native Command Queuing (NCQ) นอกจากนั้น AHCI ยังช่วยให้ฮาร์ดไดรฟ์ทำงานที่ความเร็วสูงกว่าในโหมด IDE

บันทึก

หากคุณกำลังติดตั้ง Windows XP คุณอาจต้องใช้ไดร์เวอร์ตัวควบคุม SATA ขณะติดตั้งฮาร์ดไดร์ฟที่ใช้โหมด AHCI

RAID

ใช้โหมด RAID (Redundant Array of Independent Disks) หากต้องการใช้มากกว่าหนึ่งฮาร์ดไดรฟ์เพื่อเพิ่มเนื้อที่จัดเก็บหรือเพื่อสร้างดิสก์สำรองข้อมูล เทคโนโลยี RAID ช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์หลายตัวทำงานเป็นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลชุดเดียวกัน (array) เพื่อใช้ในการทำสำเนาข้อมูล (สำรองข้อมูลเพื่อความปลอดภัย) หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เร็วขึ้น (การอ่าน/เขียนข้อมูลเป็นแถบบนฮาร์ดไดรฟ์)

ในโหมด RAID ตัวควบคุม SATA จะเปิดใช้ทั้งฟังก์ชั่น AHCI และ RAID เมื่อคอมพิวเตอร์บู๊ต

หากคุณติดตั้งฮาร์ดไดร์ฟหลายตัว และใช้โหมด RAID ให้ต่อไดร์ฟหนึ่งตัวเข้าที่พอร์ตหมายเลขต่ำสุดบนเมนบอร์ด (SATA0 หรือ SATA1) และต่อไดรฟ์ที่เหลือเข้าที่พอร์ตบนตัวควบคุมเดียวกัน บนเมนบอร์ดบางรุ่น พอร์ต SATA จะใช้รหัสสี ต่อไดร์ฟเข้าที่พอร์ตซึ่งมีสีตรงกัน

บันทึก

หากคุณกำลังติดตั้ง Windows XP คุณอาจต้องใช้ไดร์เวอร์ตัวควบคุม SATA ขณะติดตั้งฮาร์ดไดร์ฟที่ใช้โหมด RAID

SATA คืออะไร
ซาต้า คือระบบการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม ซึ่งเร็ว และมีประสิทธิภาพมากกว่าแบบเดิม

SATA คืออะไร
           SATA ย่อมาจาก Serial Advanced Technology Attachment คือระบบการรับส่งข้อมูลแบบอนุกรม โดยจะส่งข้อมูลทีละบิตเรียงกัน ทำให้ SATA สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าเทคโนโลยีแบบขนาน (IDE) ความเร็วที่เพิ่มขึ้นของ SATA นี้ยังช่วยให้การเรียกใช้โปรแกรมและข้อมูลต่าง ๆ ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยตามท้องตลาดมี Hard disk อยู่สองรูปแบบ คือ รุ่นใหม่เรียกว่า Serial ATA หรือ SATA และอีกแบบคือ แบบ IDE ซึ่งทั้งสองแบบใช้สายสัญญาณและสายไฟในการเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน การเลือกใช้งานต้องตรวจสอบว่า เมนบอร์ดรองรับการทำงานกับฮาร์ดิสค์แบบใดด้วย
            ฮาร์ดดิสก์ SATA จะมีคุณสมบัติพิเศษอยู่ 2 อย่างนั้นคือ
            -Native Command Queuing (NCQ) เป็นการเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์แบบใหม่ทั้งในการอ่านและเขียน
            -Hot Plugging Hard Drives เป็นการช่วยในการเพิ่มหรือเอาออกของฮาร์ดดิสก์โดยที่ไม่ต้องรีสตาร์ต

Windows
            สำหรับสายของฮาร์ดดิสค์แบบ SATA นั้นจะเป็นสายเส้นเดียวที่ด้านหนึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับตัวเมนบอร์ด และปลายอีกด้านหนึ่งจะเชื่อมต่อเข้าที่ตัวฮาร์ดดิสค์แบบ SATA ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบนี้ก็คือความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตัวสายอัน เนื่องมาจากขนาดที่เล็กกว่าของสาย IDE ทำให้การจัดวางสายใช้เนื่อที่ภายในเคสน้อย

เปรียบเทียบสายแบบ IDE และสายแบบ SATA

แบบ IDE

การติดตั้งฮาร์ดดิสก์แบบ sata

การติดตั้งฮาร์ดดิสก์แบบ sata


แบบ SATA

การติดตั้งฮาร์ดดิสก์แบบ sata

การติดตั้งฮาร์ดดิสก์แบบ sata

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.adslcool.com
http://notebookspec.com