ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

3. มาเริ่มใส่ข้อมูลสำคัญกันเลย ข้อมูลที่เราต้องกรอกก็มีเพียงแค่ไม่กี่ช่องเท่านั้นครับ ผมได้ทำช่องให้เป็นสีเหลือไว้ให้แล้ว ถ้าช่องไหนไม่ใช่สีเหลืองก็ปล่อยเลยไม่ต้องไปทำอะไรทั้งนั้นครับ ไปเร่ิมใส่ข้อมูลพร้อมกันเลยครับ!

Sheet : สรุป

ส่วนที่ 1 ใส่ยอดหนี้คงเหลือปัจจุบัน ซึ่งสามารถดูจาก สลิปผ่อนบ้านเดือนล่าสุด ในแอพพลิเคชั่นของธนาคาร หรือสอบถามทางธนาคารก็ได้

ส่วนที่ 2 อัตราดอกเบี้ยหลังครบ 3 ปี ของสินเชื่อเดิม อันนี้ถ้าผ่อนมาเกิน 3 ปีแล้ว หลายธนาคารก็สามารถดูได้ในแอพพลิเคชั่นของธนาคารที่เราผ่อนบ้านอยู่ได้เลยครับ หรือดูจากใบเสร็จได้เลยครับว่าธนาคารคิดดอกเบี้ยเท่าไหร่ (ถ้าในสลิปไม่ได้บอก หรือคนที่ยังไม่ครบ 3 ปี ดูจากสัญญากู้ก็ได้ครับ)

ในส่วนที่ 2 นี้ผมขอเน้นนะครับว่าให้ดูดอกเบี้ยหลังครบสัญญา 3 ปี แล้ว บางคนยังไม่ครบสัญญาแล้วนำดอกเบี้ยปัจจุบันมาเทียบแบบนี้จะไม่ถูกต้องครับ หากเราต้องการคำนวณว่าจะประหยัดได้เท่าไรถ้าเราครบกำหนดแล้วรีไฟแนนซ์

ส่วนที่ 3 ในส่วนนี้จะเป็นข้อมูลของธนาคารใหม่ที่เราสนใจจะย้ายไปครับ โดยให้เราเอาดอกเบี้ย ปีที่ 1, 2, 3 และ ดอกเบี้ยบ้าานหลังจากปีที่ 3 เป็นต้นไป ซึ่งโดยปกติแต่ละธนาคารจะมีเขียนชี้แจ้งรายละเอียดดอกเบี้ยไว้อยู่แล้วครับ แต่จุดนี้ก็มีหลายคนที่หลงอยู่เยอะครับ บางคนมองแค่โปรดอกเบี้ยที่เขาเอามาโปรโมท ดอกเบี้ยน้อยๆ เพราะเอาแค่ดอกเบี้ยปีแรกมาโชว์ จนรู้สึกว่าถูกและไม่ได้มาดูดอกเบี้ยแยกแต่ละปี ก็ทำให้พลาดกันมาหลายคนแล้วครับ

หากใครยังงงๆ ให้ดูภาพประกอบได้เลยครับ ?

ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

Sheet : ดอกเบี้ยบ้านธนาคารปัจจุบัน

หลังจากที่เรากรอกหน้าสรุปเสร็จแล้วเราก็มาต่อกันที่ ชีทดอกเบี้ยบบ้านธนาคารปัจจุบัน กันครับ โดยในหน้านี้กรอกข้อมูลเพียงช่องเดียวเท่านั้นครับนั้นก็คือ ยอดผ่อนต่อเดือนของธนาคารปัจจุบัน

แต่คุณจำเป็นต้องดูข้อมูลช่องนี้ดี ๆ นะครับ ยอดผ่อนนี้จะต้องเป็นยอดผ่อนหลังจากครบ 3 ปีแล้วนะครับ เพราะบางธนาคารที่เราผ่อนมา 3 ปีแรกจะให้เราผ่อนถู หลังจากปีที่ 3 เป็นต้นไปจะเป็นยอดผ่อนที่แท้จริงครับ ซึ่งยอดผ่อนนี้สามารถดูได้จากตัวสัญญากู้ซื้อบ้านเลยครับ และหลังจากกรอกข้อมูลแล้วเราจะเห็นดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายไปแต่ละเดือนเลยครับ เห็นดอกเบี้ยแล้วน้ำตาอาจจะไหลได้เลยครับ (T-T)

ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

Sheet : ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้าน

มาถึงชีทสุดท้ายกันแล้วครับ นี้ก็กรอกข้อมูลอีกนิดเดียวโดยข้อมูลที่ต้องกรอก คือ ยอดผ่อนต่อเดือน แต่ในชีทนี้จะแยกละเอียดกว่าชีทดอกเบี้ยบ้านธนาคารปัจจุบันครับ เพราะเวลาที่เรารีไฟแนนซ์ไปที่ใหม่ ยอดผ่อนก็อาอจจะมีปรับลดลงตามยอดหนี้บ้านที่ลดลง หรือบางคนอาจจะเลือกผ่อนน้อย 3 ปีแรกได้เช่นกันซึ่งแต่ละปีก็อาจทำให้ยอดผ่อนนั้นไม่เท่ากันครับ

ทีนี้หากเราต้องการที่จะทำการเปรียบเทียบระหว่าง 2 โปรโมชั่น ผมก็แนะนำให้เรายึดเลขผ่อนเดียวกับหน้าชีทดอกเบี้ยบ้านธนาคารปัจจจุบันเลยครับ ใส่ไปทั้ง 4 ปี เลย เพราะถ้าเรากรอกยอดผ่อนที่ต่างกันก็อาจจะทำการการคำนวณเรื่องความประหยัดคลาดเคลื่อนได้ครับ

ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

แล้วดูยังไง ว่ารีไฟแนนซ์บ้านที่ไหนคุ้มที่สุด? ??

หลังจากที่เรากรอกข้อมูลครบทุก Sheet แล้วก็ให้กลับมาที่หน้าสรุปครับ ผมได้ผูกสูตรคำนวณไว้ให้แล้วตรงที่ผมวงกลมสีแดงไว้ให้ตามภาพด้านล่างเลยครับ อันนี้จะเป็นการบอกว่าถ้าเรารีไฟแนนซ์ไปแล้วจะช่วยให้เราประหยัดเงินได้กี่บาท แล้วเราก็ค่อย ๆ ทำเปรียบเทียบไปทีละธนาคารครับ และขอย้ำว่ายอดเงินที่ประหยัดตรงนี้เป็นยอดประหยัด 3 ปี เท่านั้นนะครับ

ข้อมูลในชีทนี้ทั้งหมดก็คำนวณเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้นครับ เพราะผมมองว่าเราควรทำการลดดอกเบี้ยบ้านทุก 3 ปี ครับเพื่อที่เราจะสามารถประหยัดได้เยอะที่สุด

ในที่สุดวันนี้ก็มาถึง วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564 ปิดบัญชีเงินกู้บ้าน ธ.ออมสิน หลังจากผ่อนมาราธอน 12 ปีด้วยกัน!

ไปชมคลิปด้านล่างครับ

หรือคลิกที่ Link นี้ https://bit.ly/3xCjvUh 



หมดยุคเว็บเพจแล้ว! เจอกันที่ youtube ในคลิป http://bit.ly/2lXimGI สอบถามมาในคอมเม้นท์ ถ้ามีเวลาผมจะพยายามไปตอบนะครับ อ้อ รบกวนกดติดตามช่องให้ด้วยนะครับ ถือว่า Take แล้ว ก็ต้อง Give ด้วย


ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

What's New?   New version V.5.0G is available now !! <Latest updated on Sep 9, 2019 at 02.18 a.m.>

  • ใช้ตาราง excel คำนวณผ่อนบ้าน ---> แบบออนไลน์ <--- ผ่าน google document ได้แล้วครับ  (ถ้าจะ download file มี link อยู่ด้านล่างบทความครับ)



คลิปสอนการใช้งานโปรแกรมนี้(รบกวนกดติดตามช่อง Youtube ให้ด้วยครับ)


1. เปลี่ยนไฟล์ให้อยู่ในเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด Microsoft Office 2016, เพิ่มกราฟเพื่อแสดงยอดเงินต้นคงเหลือ, ดอกเบี้ยและเงินต้นที่จ่ายในแต่ละเดือน, กราฟเปรียบเทียบหลายสถาบันการเงินกรณีรีไฟแนนซ์ (Updated at 02.18 a.m. on Sep 9, 2019)


ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip
แผนภูมิแสดง เงินต้น ดอกเบี้ย และเงินต้นคงเหลือ เพื่อเห็นภาพรวมการผ่อนบ้านของเราได้มากขึ้น


2.ได้ปรับปรุงวิธีคำนวณผ่อนบ้านแบบธอส. โดยตัวโปรแกรมสามารถคำนวณแบบมีการเปลี่ยนแปลง 
อัตราดอกเบี้ยในวันที่ไม่ตรงกับวันที่ชำระเงินงวดก็ได้(เพิ่มคอลัมน์สีเหลืองมาให้ใส่วันที่มีการเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย)รบกวนเพื่อนๆที่ผ่อนกับธอส. ทดสอบว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ โดยสามารถลองตัวโปรแกรมใหม่ในแท็บ 2 "คำนวณผ่อนบ้านแบบ ธอส.(Updated)" ตามรูปที่แนบมานี้ด้านบน** (Updated at 10.41 p.m. on Sunday October 19, 2014!!)

3.ดูการอัพเดทสถานะการชำระเงินงวด ผ่อนบ้าน ธ.ออมสิน เป็นตัวอย่าง เทียบกับโปรแกรม Excel ที่ทำขึ้นมา ได้ทุกๆงวด

ขอถือฤกษ์เปลี่ยนชื่อบทความเพื่อให้ทันสมัยและช่วยเหลือคนที่เป็นหนี้บ้านกันต่อไปครับ (ชื่อบทความเก่า : ถือฤกษ์งามยามดี ในวันได้บ้านใหม่ & วันปลดหนี้ เลยมอบโปรแกรมคำนวณเงินกู้ผ่อนบ้านมาให้เพื่อน)**

**เพิ่มขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้านและตัวอย่างเอกสารของจริง ณ วันทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดิน คลิก link นี้ -> http://athlons.blogspot.com/p/blog-page_50.html **

โปรแกรมคำนวณเงินกู้ผ่อนบ้าน (New version is available now Ver.5.0G)
เกริ่นนำกันก่อนครับ ผมได้เข้ามาอยู่ในวังวนของการเป็นหนี้บ้านตั้งแต่เดือนเมษายน 2548 ถึงวันนี้(30 พย. 2556) ก็ 9 ปีแล้วครับ ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา ผ่านการกู้เงินซื้อบ้าน 2 หลัง(หลังที่ 2 ไม่ได้ตั้งใจแต่เป็นเพราะต้องช่วยเหลือทางครอบครัว), เคยรีไฟแนนซ์ 2 ครั้ง หลังละ 1 ครั้ง, ขายบ้านหลังแรกไป 1 หลัง เคยจ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะเนื่องจากถือครองไม่ครบ 5 ปี, เป็นลูกหนี้ทั้ง ธอส. และ ธ.ออมสิน หลังละ 1 ธนาคาร แบบเริ่มกู้ครั้งแรกจากธอส. และมารีไฟแนนซ์ไปธ.ออมสิน, เดินเข้าออกธนาคารมากกว่า 5 ธนาคารเพื่อขอสินเชื่อสำหรับบ้านครั้งที่ 2, เจอธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดและ TMB ปฏิเสธสินเชื่อของบ้านหลังที่ 2, ประเมินบ้านหลายธนาคารพร้อมกัน, ไปสำนักงานที่ดิน 5 ครั้งด้วยกันจากการทำนิติกรรมซื้อขายจำนองที่ดิน ฯลฯจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้ได้ทราบได้รู้ในหลายๆเรื่อง และได้สงสัยการคิดดอกเบี้ยจนได้สอบถามการคำนวณจากเจ้าหน้าที่อย่างลึกซึ้ง จนเป็นที่มาของโปอรแกรมการคิดคำนวณดังกล่าวนี้ แต่การได้สัมผัสทั้ง 2 ธนาคาร ทำให้ทราบว่าแต่ละธนาคารนั้น มีการคิดคำนวณดอกเบี้ยไม่เหมือนกันอย่างมีนัยยะทีเดียว จึงเป็นที่มาให้ผม update หน้าเพจอีกครั้ง โดยจะมีการแยกการคำนวณดอกเบี้ยของแบบธอส. และแบบธนาคารออมสินไว้


ที่มาที่ทำให้เกิดโปรแกรม excel นี้


ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

ผมเองก็จ่ายเงินงวดผ่อนบ้านไปตามปกติแหล่ะครับ แต่ผ่านไปแต่ละปี เงินงวดมันเพิ่มขึ้นเพราะว่า ดอกเบี้ยที่ทำการตกลงกับธอส.ไว้นั้นเป็นแบบขั้นบันได คือ 3, 4, 5 % ต่อปี ใน 3 ปีแรก และพอหมด 3 ปีก็จะเป็นดอกเบี้ยลอยตัว คราวนี้มีการขอลดดอกเบี้ยด้วย พอเดือน 8 ได้รับใบเสร็จมาเช็คดูความถูกต้อง ถึงกับอึ้งเลยครับ เพราะใบเสร็จในเดือน 8 ระบุวันที่จ่ายคือวันที่ 25-08-51 จ่ายเงินงวดไปทั้งสิ้น 20,200 บาท(ผมตัดบัญชีเงินเดือนและได้ใบเสร็จส่งมาทีหลังที่บ้าน ส่งมาช้ากว่า 1 สัปดาห์หลังจากจ่ายไปแล้ว) แต่ในใบเสร็จบอกว่า ตัดส่วนที่เป็นดอกเบี้ยไป 20,200 บาท ไม่มีเงินเหลือไปตัดเงินต้นเลย มิหนำซ้ำยังมีดอกเบี้ยคงเหลืออีก 8,751.60 บาท!!!(ตามกรอบสีแดง) ผมก็เลยไม่นิ่งนอนใจ โทรไปแจ้งจนท.ทางสาขาถึงสิ่งผิดปกติ เขารับเรื่องไว้ และจะส่งเรื่องต่อไป ผมก็สบายใจมานิดหนึ่ง แต่พอเวลาผ่านไป 1 เดือน มาดูใบเสร็จเดือน 9 ซึ่งมันก็เป็นเหมือนเดิม!!! คือเงินงวดทั้ง 19,000 บาท(ผมทำเรื่องขอลดดอกเบี้ยเงินงวดเลยลดลง) ไปตัดดอกเบี้ยทั้ง 19,000 บาท!!! ไม่มีเงินเหลือไปตัดเงินต้นเลย และก็ยังมีดอกเบี้ยคงค้างอยู่อีก 3,394.88 บาท!!! และอีกเดือนคือเดือน 10 แม้ว่าจะมีเงินไปตัดเงินต้น แต่ก็ยังไม่ถูกอยู่ดี ความผิดพลาดจากธนาคารทั้งหมดนี้ ทำให้ผมตัดสินใจลองทำโปรแกรม excel ขึ้นมาดู เพื่อที่จะตรวจสอบการคำนวณดอกเบี้ยว่าถูกต้องหรือไม่ ผมจะไม่เชื่อการคำนวณจากฝั่งของธนาคารแต่เพียงอย่างเดียวแล้ว เพราะแม้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คำนวณออกมา มันก็เกิด error ความผิดพลาดขึ้นได้ จึงเป็นที่มาของการทำโปรแกรมนี้ครับ


วิธีการใช้งานโปรแกรม excel นี้
โปรแกรมนี้จะแบ่งออกเป็น 4 sheets ด้วยกัน แยกได้ดังนี้
1.คำนวณเงินงวด
2.คำนวณผ่อนบ้านแบบ ธอส.
3.คำนวณผ่อนบ้านแบบ ธ.ออมสิน
4.เปรียบเทียบหลายธนาคาร
  • 1.คำนวณเงินงวด
เป็น sheet ที่ใช้สูตรการคิดคำนวณเงินงวดที่เราจะต้องจ่ายให้กับธนาคารในแต่ละเดือนเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ โดยใช้สูตรตามที่อ้างอิงจากธอส. ตามด้านล่างที่แนบมานี้ พอดีผมมีตัวอย่างทั้ง 2 วิธีในการคิดเงินงวดคือ บ้านหลังแรกผมได้อัตราดอกเบี้ยคงที่แบบขั้นบันได 3, 4, 5 % ต่อปี
    • วิธีดอกเบี้ยคงที่ : ปีแรกคือ 3% แบบคงที่
      • ข้อมูลที่ต้องป้อนคือ
      • 1.วงเงินกู้ = 3,000,000 บาท
      • 2.อัตราดอกเบี้ย = 3 %
      • 3.ระยะเวลาผ่อนส่ง = 30 ปี

ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

  • ดังนั้น เงินงวดในปีแรกจึงออกมาเป็น 12,700 บาท/เดือน ซึ่งตรงตามความเป็นจริง
    • วิธีดอกเบี้ยลอยตัว : บ้านหลังที่ 2 ผมได้ดอกเบี้ยลอยตัวตั้งแต่ปีแรกเลย คือ MRR-2.00 ต่อปี โดย MRR = 6.75 ณ ตอนนั้น ทำให้ได้ดอกเบี้ยในปีแรก = 6.75-2.00 = 4.75 % ต่อปี
      • ข้อมูลที่ต้องป้อนคือ
      • 1.วงเงินกู้ = 700,000 บาท
      • 2.อัตราดอกเบี้ย = 5.75 % (บวก 1 จาก 4.75 เนื่องจากเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัว)
      • 3.ระยะเวลาผ่อนส่ง = 30 ปี

ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

ดังนั้น เงินงวดในปีแรกจึงออกมาเป็น 4,100 บาท/เดือน ซึ่งตรงตามความเป็นจริงตามใบเสร็จของจริงด้านล่าง


ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

ใบเสร็จรับเงิน แจ้งเงินงวดหรือยอดชำระต่อเดือน 4,100 บาท


  • 2.คำนวณผ่อนบ้านแบบ ธอส.
การคำนวณดอกเบี้ยของธอส.นั้น อย่างที่เคยตอบคำถามไว้ในเว็บพันทิปว่า ธอส.จะคิดดอกเบี้ย lag หรือล่าช้าไป 1 เดือน กล่าวคือธอส.จะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวันสะสมไปเรื่อยๆจากยอดเงินต้นตั้งแต่วันแรกของเดือนจนถึงวันสุดท้ายของเดือนนั้นๆ ตามปฏิทิน แล้วนำดอกเบี้ยที่คิดได้ ไปโยนใส่ไว้ในเดือนถัดไป ทำให้ในเดือนถัดไปนั้น แม้ว่าเราจะจ่ายเงินงวดไปวันไหนของเดือนก็ตาม เราจะพบว่าดอกเบี้ยนั้นไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะมีผลกับดอกเบี้ยในอีก 1 เดือนต่างหาก

ข้อมูลที่ต้องป้อนคือ
1.วันที่เริ่มทำสัญญา = 3 เม.ย. 52
2.อัตราดอกเบี้ย = 4.75 % (ตามความเป็นจริงไม่ต้องบวก 1 เพิ่มแต่อย่างใด)
3.วันที่ชำระงวดแรก = วันที่ 25 พ.ค. 52
4.เงินส่งต่องวด = 4,100 บาท

ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

เมื่อใส่ข้อมูลจนครบ จะพบว่า ในวันที่ 25 พ.ค. 52 จะต้องจ่ายเป็นดอกเบี้ย = 2,459.59 บาท


ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

และได้กราฟดังข้างบน กล่าวคือ ถ้าผ่อนชำระด้วยอัตราแบบนี้ทั้งเงินงวดและดอกเบี้ย ก็จะไปสิ้นสุดที่เดือนที่ 274 ครับ


เรามาลองดูข้อมูลในใบเสร็จจริงๆว่า ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในเดือนพ.ค. 52 นั้นเท่ากับในตัวโปรแกรมที่คำนวณมาหรือไม่



ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

จากใบเสร็จที่ผมไปชำระด้านบน แม้ว่าไปชำระเพียง 713 บาท และชำระวันที่ 23 พ.ค. 52 ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยที่ต้องชำระก็เท่ากับ 713 + 1746.59 = 2,459.59 บาท ซึ่งเท่ากันเป๊ะๆกับโปรแกรมด้านบนที่คำนวณให้ไว้ครับ


  • 3.คำนวณผ่อนบ้านแบบ ธ.ออมสิน
ดอกเบี้ยแบบธนาคารออมสินจะ simple และตรงไปตรงมาที่สุดครับ ไม่ได้คำนวณในเดือนนั้นๆค้างไว้แล้วไปใส่ในเดือนถัดไปแบบธอส.ครับ กล่าวคือ ดอกเบี้ยเริ่มนับหรือเดินจากวันที่ทำสัญญา(เหมือนทุกธนาคาร) แล้วต่อจากนั้น ถ้าใครไปชำระเงินงวดในวันไหนก็ตาม

สมมติว่าชำระไม่เกินวันที่ทำสัญญาในแต่ละเดือนนะครับ ยกตัวอย่างของจริงสำหรับบ้านหลังที่ 2 ที่ผมรีไฟแนนซ์ไปธนาคารออมสินดังนี้ครับ

ทำสัญญาในวันที่ 17 เม.ย. 55 แล้วพอสิ้นเดือนเม.ย. 55 คือวันที่ 28 เม.ย. 55 ก็ไปชำระแล้ว(ในที่นี้ชำระตรงกับเงื่อนไขคือ ชำระก่อนวันที่ 17 ของเดือนถัดไปคือเดือนพ.ค. 55) ดอกเบี้ยก็จะคิดจากวันที่ 17 เม.ย. 55 ถึงวันที่ 28 เม.ย. 55 รวมเป็น 11 วัน ก็จะต้องชำระดอกเบี้ย
= อัตราดอกเบี้ย / 100 * 11 วัน / 365 * ยอดเงินต้นจากวันที่ 17 เม.ย. 55
= 3.45 / 100 * 11 / 365 * 579,000 = 602 บาท ตามโปรแกรมที่คำนวณออกมาด้านล่าง

ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

เมื่อใส่ข้อมูลจนครบ จะพบว่า ในวันที่ 28 เม.ย. 55, 25 พ.ค. 55, 22 มิ.ย. 55 และ 25 ก.ค. 55 จะต้องจ่ายเป็นดอกเบี้ย = 602 บาท, 1,466.93 บาท, 1,512.44 บาท และ 1,772.26 บาท ตามลำดับ


ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

และได้กราฟดังข้างบน กล่าวคือ ถ้าผ่อนชำระด้วยอัตราแบบนี้ทั้งเงินงวดและดอกเบี้ย ก็จะไปสิ้นสุดที่เดือนที่ 148 ครับ


เรามาลองดูข้อมูลในใบเสร็จจริงๆว่า ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในเดือน เม.ย., พ.ค., มิ.ย. และ ก.ค. 55  นั้นเท่ากับในตัวโปรแกรมที่คำนวณมาหรือไม่  ซึ่งผมแสดง 4 ใบเสร็จด้วยกัน

โดยชำระวันที่ 28 เม.ย. 55, 25 พ.ค. 55, 22 มิ.ย. 55 และ 25 ก.ค. 55 ตามลำดับดังนี้

ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

 ใบเสร็จวันที่ 28 เม.ย. 55 ดอกเบี้ย = 602 บาท 


ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

 ใบเสร็จวันที่ 25 พ.ค. 55 ดอกเบี้ย = 1,466.93 บาท


ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

 ใบเสร็จวันที่ 22 มิ.ย. 55 ดอกเบี้ย = 1,512.43 บาท


ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip


 ใบเสร็จวันที่ 25 ก.ค. 55 ดอกเบี้ย = 1,772.26 บาท


โดยจะพบว่า ทุกเดือนดอกเบี้ยที่คำนวณได้ ตรงกับใบเสร็จที่คิดดอกเบี้ยจริง จะมีเฉพาะวันที่ 22 มิ.ย. 55 ที่ผิดไปจากใบเสร็จจริงแค่ 0.01 บาทเท่านั้น ซึ่งเกิดจากการปัดเศษทศนิยม ดังนั้น โปรแกรมนี้แม่นยำเที่ยงตรงยอมรับได้ครับ ง่ายดายมั้ยครับ


  • 4.เปรียบเทียบหลายธนาคาร
เป็นการเปรียบเทียบความคุ้มค่าในกรณีการรีไฟแนนซ์ หรือเลือกดอกเบี้ยจากธนาคารต่างๆเพื่อขอกู้บ้านใหม่เลย  คราวนี้มาดูตัวอย่างการใช้งานจริงครับ


บ้านหลังที่ 2 ที่กำลังกู้ธอส.อยู่ ใกล้ครบ 3 ปีในช่วงเดือนเมษายน 55 ที่จะถึงแล้ว ผมเลยหาธนาคารที่จะรีไฟแนนซ์ หาหลายธนาคารแค่ดูดอกเบี้ยคร่าวๆก็รู้แล้วว่า ธ.ออมสินนั้นยังคงความคุ้มค่าอีกเช่นเคย ช่วงนั้นเขาออกดอกเบี้ย 3.45% คงที่ 3 ปี ซึ่งถือว่าคุ้มมาก ซึ่งคำนวณคร่าวก็รู้ว่าถูกอยู่แล้วไม่ต้องใส่สูตรอะไร เพราะดอกเบี้ยของธอส.ตอนนั้นมาลอยตัวมาถึง 5.25% แล้ว แพงมากๆ คราวนี้เลยลองเข้าสูตรดูครับว่าจะประหยัดไปได้กี่บาท อย่าลืมว่า นอกจากดอกเบี้ยที่ถูกลงแล้ว เราต้องดูค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรีไฟแนนซ์ด้วยนะครับ เพราะถ้ารวมไปแล้ว และดูในระยะเวลา 3 ปี บางทีผลลัพธ์อาจออกมาไม่คุ้มก็ได้ครับ งั้นลองมาดูกัน


ผมขอเริ่มจากค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์ก่อนนะครับ สำหรับกรณีผมรีฯ จากธอส.ไปธ.ออมสิน มีค่าใช้จ่าย 3 ฝ่ายหลักๆ คือ
1.ค่าธรรมเนียมจากธนาคารต้นทาง
2.ค่าธรรมเนียมจากธนาคารปลายทาง
3.ค่าธรรมเนียมจากสำนักงานที่ดิน

1.ค่าธรรมเนียมจากธนาคารต้นทาง ---> ธอส.
1.1 ค่าทำนิติกรรมจากธอส. = 800 บาท


2.ค่าธรรมเนียมจากธนาคารปลายทาง ---> ธ.ออมสิน
2.1 ค่าบริการสินเชื่อ = 1,000 บาท
2.2 ค่านิติกรรมสัญญา = 1,000 บาท
2.3 ค่าตรวจหลักประกัน = 1,000 บาท
2.4 ค่าประกันอัคคีภัย = 2,192.50 บาท
2.5 ค่าอากรแสตมป์ = 5 บาท

3.ค่าธรรมเนียมจากสำนักงานที่ดิน

3.1 ค่าธรรมเนียมต่างๆ(ค่าจดจำนอง + อื่นๆ) = 5,790+75+25+20+20 = 5,930 บาท

รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรีไฟแนนซ์ครั้งนี้ของผม = 11,927.50 บาท


A) นำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาใส่ช่องตรงกลางตัวอักษรสีส้ม ที่เขียนว่า "ค่าใช้จ่ายต่างๆในการรีไฟแนนซ์ไปธนาคาร 1" ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราจะไม่ทราบตัวเลขแบบนี้เป๊ะๆนะครับ ประมาณการไปก่อนครับ เพราะยังไม่ได้เสียเงินจริง แค่จะประเมินคร่าวๆก่อน


ตารางผ่อน บ้าน Excel Pantip

B) ในส่วนของเงินส่งต่องวด ให้เราใส่จำนวนเงินงวดของธนาคารเดิมไปก่อนครับ เพื่อจะได้เปรียบเทียบกันได้ ส่วนของธนาคารอื่นๆ ผมจะให้มันเท่ากับเงินงวดของธนาคารเดิมไม่งั้นถ้าไม่เท่ากันจะเปรียบเทียบกันไม่ได้ครับ ในที่นี้คือ 4,100 บาท / เดือน


C) เงินต้นคงเหลือ ให้ใส่ตัวเลขกลมๆ จากความเป็นจริงที่ใกล้เคียงที่เหลืออยู่จากธนาคารปัจจุบัน ในที่นี้ใส่ 579,000 บาท


D) อัตราดอกเบี้ย ใส่ข้อมูลดอกเบี้ยจริงของธนาคารปัจจุบัน(5.25%) ไปอีก 3 ปี และของธนาคารที่จะรีไฟแนนซ์ไปคือธนาคารออมสิน(3.45%) ไปอีก 3 ปี

สุดท้าย เราจะได้เห็นตัวเลขที่คอลัมน์ "ผลต่างดอกเบี้ย" ช่วงเดือนแรกคือเดือนที่ 1 จะติดลบ 11,070.90 บาท แต่ถ้าธนาคารที่เลือกจะรีไฟแนนซ์ไปคุ้มค่าจริง เมื่อผ่านไปหลายๆเดือนเราจะเห็นตัวเลขในคอลัมน์นี้ติดลบน้อยลง จนในที่สุดจะกลับมาเป็นตัวเลขบวกครับ ในตัวอย่างที่แสดงจะกลับมาเป็นบวกที่เดือน 14 ได้ 246.98 บาท และพอครบ 3 ปีก็จะได้ตัวเลขบวกที่ 19,359.62 บาท นั่นหมายความว่า ถ้าเลือกธนาคารออมสินด้วยอัตราดอกเบี้ยนี้ ผู้รีไฟแนนซ์จะประหยัดดอกเบี้ยไปทั้งสิ้น 19,359.62 บาท ควรเลือกรีไฟแนนซ์แทนที่จะใช้บริการธนาคารเดิมครับ!!!

โปรแกรมนี้ผมทำขึ้นมาเอง โดยมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 2 ประการคือ

1.เพื่อเป็นเครื่องมือให้เราได้บริหารเงินที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เวลาไหนควรผ่อนปกติ เวลาไหนควรโปะ และถ้าโปะด้วยเงินเท่านี้ จะเหลือระยะเวลาผ่อนอีกกี่ปี

2.เพื่อเปรียบเทียบความคุ้มค่าในหลายๆสถาบันการเงิน กรณีให้ดอกเบี้ยมาแตกต่างกัน จะได้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจว่าสถาบันการเงินแบบไหนที่เลือกกู้ หรือรีไฟแนนซ์ไปแล้วจะคุ้มค่าสุด

สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกท่านได้ประโยชน์จากโปรแกรมชุดนี้นะครับ ข้อสำคัญ การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐรองจากการไม่มีโรคภัยใดๆนะครับ