ดอกเบี้ยจํานองที่ดิน ตามกฎหมาย

หากเอ่ยถึงการนำทรัพย์สิน ประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด  ที่ดิน หรือ รถ ไปเป็นหลักทรัพย์เพื่อแลกกับเงินก้อน คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นการทำนิติกรรมในรูปแบบของการจำนอง และบ้างก็เข้าใจว่าเป็นรูปแบบของการขายฝาก  เพราะดูเหมือนว่านิติกรรมทั้ง 2 รูปแบบนี้มีลักษณะ วิธีการ ขั้นตอนที่คล้ายคลึงกัน จนคนส่วนใหญ่แยกไม่ออก และทำให้เกิดความสับสน เมื่อถึงยามจำเป็นที่ต้องเลือกทำนิติกรรมทั้ง 2 รูปแบบ เหตุนี้จึงต้องแจกแจงให้เห็นถึงความแตกต่าง พร้อมเผยถึงจุดเด่น จุดด้อย ของนิติกรรมแต่ละรูปแบบทั้งการขายฝากและการจำนอง

เข้าใจรูปแบบของการขายฝากและการจำนอง

ก่อนจะไปหาข้อแตกต่างของการทำนิติกรรมทั้ง 2 รูปแบบ จำเป็นต้องทำความเข้าใจ รูปแบบ วิธีการ ขั้นตอนระหว่างการขายฝากและการจำนองให้ถ่องแท้ เพื่อเลือกใช้ได้ตรงจุด

ขายฝาก

การขายฝาก เป็นการทำนิติกรรมในรูปแบบของการขายทรัพย์สิน ทั้งที่เป็นทรัพย์สิน ประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินประเภท สังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ เป็นต้น ให้กับผู้รับซื้อฝาก โดยการทำสัญญาเอกสารขายฝากที่ดิน และมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ขายฝากและได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้รับซื้อฝาก

อย่างไรก็ดี ในกรณีทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นอสังหาริมทรัพย์ คู่สัญญาจะต้องนำสัญญาขายฝากไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจด้วย การขายฝากจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากผู้ขายฝากไม่ได้ไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกันดังกล่าว ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืน โดยผู้รับซื้อฝากไม่ต้องไปใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาขายฝากอีก

ดอกเบี้ยจํานองที่ดิน ตามกฎหมาย

ดอกเบี้ยจํานองที่ดิน ตามกฎหมาย

จำนอง

การจำนอง เป็นการทำนิติกรรมอีกรูปแบบหนึ่ง ในลักษณะของการนำทรัพย์สินมาเป็นประกันการชำระหนื้ โดยทรัพย์สินที่สามารถนำมาจำนอง เป็นได้ทั้งทรัพย์สิน ประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือ ทรัพย์สิน ประเภทสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียน เฉพาะที่กฎหมายกำหนดให้นำมาจำนองได้ เช่น รถยนต์ หรือ เครื่องจักร เป็นต้น โดยในการจำนองทรัพย์สินทุกประเภท จะต้องนำสัญญาจำนองไปจดทะเบียนด้วย ซึ่งในกรณีทรัพย์สินที่จำนองเป็นอสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจ และในกรณีสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียน ณ สำนักทะเบียน ซึ่งรับผิดชอบงานจดทะเบียนสังหาริมทรัพย์ชนิดนั้น ๆ

ทั้งนี้ ผู้จำนองไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองและยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่จำนอง จึงมีสิทธิใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่จำนองต่อไปได้ แต่หากมีการผิดนัดชำระหนี้ที่มีการจำนองเป็นประกันแล้ว ผู้รับจำนองมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้และบังคับคดีกับทรัพย์สินที่จำนองได้ตามกฎหมาย

นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้จำนองได้จำนองทรัพย์สินเพื่อประกันการชำระหนี้ของตนเอง และมีข้อตกลงว่าจะชำระหนี้จนครบถ้วนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่เพียงพอ ผู้จำนองมีหน้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มเติมให้แ ก่ผู้รับจำนองจนกว่าจะครบถ้วนต่อไป แม้จะถูกบังคับคดีเอากับทรัพย์สินที่จำนองแล้วก็ตาม


ทั้งส่วนของการขายฝากและการจำนอง ที่เป็นรูปแบบการทำนิติกรรม ซึ่งหลายคนยังสับสน และท้ายที่สุดอาจทำให้ตัดสินใจเลือกทำนิติกรรมผิดรูปแบบ ผิดวิธี ไม่ตรงตามเจตนาอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เหตุนี้จึงต้องแจกแจงข้อแตกต่างให้เห็นอย่างชัดเจน

ขายฝากจำนอง
  • ต้องส่งมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ผู้รับซื้อฝาก ผู้ขายฝากจึงไม่สามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินต่อไป ไม่ว่าบ้าน คอนโด ที่ดิน หรือ รถยนต์ จนกว่าจะมีการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืน
  • ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ผู้รับจำนอง ผู้จำนองจึงยังมีสิทธิใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินต่อไป ไม่ว่าบ้าน คอนโด ที่ดิน หรือ รถยนต์
  • ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาขายฝาก โดยกรณีอสังหาริมทรัพย์ กำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินคืนได้ไม่เกิน 10 ปี และ กรณีสังหาริมทรัพย์ ไม่เกิน 3 ปี นับแต่เวลาขายฝาก
  • หากผู้ขายฝากไม่มาไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด ผู้ขายฝากเพียงหมดสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนต่อไป โดยไม่ต้องชำระเงินเพิ่มเติมให้ผู้รับซื้อฝากอีก
  • กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาสูงสุดของการจำนองไว้
  • การจำนองจะสิ้นสุดลง เมื่อหนี้ที่มีการจำนองเป็นประกันสิ้นสุดลง หรือการจำนองสิ้นสุดลงด้วยเหตุอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
  • หากผู้จำนองได้นำทรัพย์สินมาจำนองเพื่อประกันหนี้ของตนเอง และมีข้อตกลงว่าจะชำระหนี้จนครบถ้วน หากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่เพียงพอ ผู้จำนองยังมีหน้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มเติมให้ผู้รับจำนองจนกว่าจะครบถ้วน
  • การขายฝากส่วนใหญ่ผู้ขายฝากจะได้วงเงินประมาณ 40-70% ของราคาประเมิน
  • การจำนองส่วนใหญ่ ผู้จำนองจะได้วงเงินประมาณ 10-30% ของราคาประเมิน
  • ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขายฝาก ในอัตรา 2% ของราคาประเมิน
  • ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ (กรณีถือครองอสังหาริมทรัพย์ยังไม่เกิน 5 ปี) ในอัตรา 3.3% หรือ ค่าอากรแสตมป์ ในอัตรา 0.5% ของราคาประเมิน หรือราคาขายฝาก แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า (ถ้าเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์อีก)
  • ค่าภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมิน ตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด
  • ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนจำนอง ในอัตรา 1% จากวงเงินจำนองสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • ค่าอากรแสตมป์ กรณีการจำนองเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ตราสารกู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่างการขายฝากและการจำนองไปแล้ว ต่อไปนี้ใครที่มีความจำเป็นต้องทำนิติกรรมทั้ง 2 รูปแบบ จะสามารถพิจารณาจุดเด่น จุดด้อย และเลือกใช้บริการได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ควรเลือกนายทุนหรือบริษัทที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อป้องกันสิทธิประโยชน์ของตัวเราเอง 


เปลี่ยนที่ดินของคุณให้เป็นเงินก้อน ด้วยบริการขายฝากที่ดิน Xspring ได้เงินไว ดอกเบี้ยถูก วงเงินสูง

ดอกเบี้ยจํานองที่ดิน ตามกฎหมาย
ดอกเบี้ยจํานองที่ดิน ตามกฎหมาย