ดอกเบี้ยบัตรเครดิต แพง ไหม

รูดบัตรแค่ไม่กี่บาท ดอกเบี้ยจะสักเท่าไหร่กันเชียว… บอกเลยว่าคิดผิด ถ้าใครเคยผ่อนหนี้บ้านมาก่อน น่าจะพอเข้าใจได้ว่าดอกเบี้ยที่จ่ายแต่ละเดือนไม่ใช่เรื่องสนุกเลย

แล้วรู้ไหมว่าอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตแพงกว่าบ้านอีก เช่น ดอกเบี้ยบ้านอาจอยู่ที่ 6% ต่อปี ในขณะที่ดอกเบี้ยบัตรเครดิตอยู่ที่ 18% ต่อปี หรือสูงถึง 3 เท่าของดอกเบี้ยบ้านเลย

วันที่เริ่มคิดดอกเบี้ย

หลายคนเข้าใจผิดว่า หากชำระล่าช้าหรือชำระไม่เต็ม ดอกเบี้ยจะเริ่มคิดตั้งแต่หลัง “วันสรุปยอด” หรือ “วันกำหนดชำระเงิน” แต่ในความจริงแล้วดอกเบี้ยจะเริ่มคิดตั้งแต่ “วันที่รูดใช้บัตร” ไปจนถึงวันที่เรานำเงินไปชำระหนี้ส่วนนี้

เช่น รูดบัตร วันที่ 1 ม.ค. สรุปยอดวันที่ 15 ม.ค. ครบกำหนดชำระเงินวันที่ 30 ม.ค. หากนำเงินไปชำระค่าบัตรวันที่ 20 ม.ค. (กรณีเข้าเงื่อนไขเสียดอกเบี้ย เช่น ชำระไม่เต็มจำนวน) จะถูกคิดดอกเบี้ยเป็นจำนวน 20 วัน (1 – 20 ม.ค.) ไม่ใช่ 6 วัน (15 – 20 ม.ค.) อย่างที่หลายคนเข้าใจ ซึ่งจากตัวอย่างนี้ ดอกเบี้ยที่คำนวณได้ จะต่างกันถึงกว่า 3 เท่าตัวเลย

ยอดเงินที่คิดดอกเบี้ย

อีกเรื่องที่คนมักเข้าใจผิด คือ รูดบัตรไปก่อนเดี๋ยวพอครบกำหนดก็ชำระบางส่วน ที่เหลือค่อยเสียดอกเบี้ย แต่ในความจริงแล้ว ดอกเบี้ยจะถูกคิดตามยอดเงินที่รูด (เต็มจำนวน) ไม่ใช่ส่วนที่เหลือหลังชำระแล้ว

เช่น รูดบัตร 100,000 บาท เมื่อถึงกำหนดมีการชำระเงิน 70,000 บาท ดอกเบี้ยจะถูกคิดจากยอดเงินที่รูดไป 100,000 บาท ไม่ใช่ส่วนที่เหลือ 30,000 บาท

แบงก์ใจดี มีโปรผ่อน

ดอกเบี้ยบัตรเครดิตปกติอยู่ที่ 18% ต่อปี แต่หากใช้โปรโมชันเปลี่ยนยอดบัตรเป็นยอดผ่อน เช่น 0.83% ต่อเดือน ผ่อน 12 เดือน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอาจดูเหมือนต่ำกว่าปกติ แต่ในความจริงแล้ว ดอกเบี้ยที่ว่าอาจไม่ได้ต่ำกว่า 18%ต่อปี เสมอไป

นั่นเพราะ 18% ต่อปี หรือ 1.5% ต่อเดือน (18%ต่อปี ÷ 12 เดือน) เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบ Effective Rate (ลดต้นลดดอก) ส่วน 0.83% ต่อเดือน เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบ Flat Rate (เงินต้นคงที่) ซึ่งการเปรียบเทียบความถูกหรือแพง ต้องอาศัยการคำนวณหรือใช้ตารางด้านล่าง เพื่อดูว่า Effective Rate 18% ต่อปี เทียบเท่ากับ Flat Rate กี่ % ที่ระยะเวลาการผ่อนต่างๆ ดังนี้

จำนวนเดือน   :  Flat Rate ต่อเดือน   :  Flat Rate ต่อปี

      12                   0.83%                 10.02%

      36                   0.84%                 10.05%

      48                   0.85%                 10.25%

      60                   0.87%                 10.47%

      72                   0.89%                 10.70%

บัตรเครดิตเป็นสิ่งที่เข้าถึงง่าย แต่ถ้าใช้ไม่เป็น อาจเข้าสู่วังวนความเป็นหนี้และออกมาไม่ได้ง่ายๆ เหมือนตอนเข้าไป

“หนี้บัตรเครดิต” หากเราจ่ายแค่ขั้นต่ำ เราจะกลายเป็นหนี้ก้อนโต แบบคาดไม่ถึง เมื่อย้อนดูวิธีการคำนวณดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ที่คิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้คงค้าง ให้เรามีดอกเบี้ยพอกพูนไปเรื่อยๆ หากไม่ทำอะไรจะกลายเป็นหนี้ก้อนโตได้ง่ายๆ ข้อสำคัญอย่า “เบี้ยวหนี้” เพียงเพราะคิดว่าเจ้าหนี้จะตามตัวเราไม่ได้ มาดูกันว่า เมื่อเริ่มใช้บัตรเครดิตแล้วเป็นหนี้เพราะเหตุใดเราจึงไม่ควรจ่ายหนี้แบบจ่ายแค่ขั้นต่ำ 

ปรับเกณฑ์บัตรเครดิตลดหนี้ได้จริงหรือไม่ ?

เริ่มพรุ่งนี้! ธปท.คุมวงเงินบัตรเครดิต "หั่นดอกเบี้ย" เหลือ 18%

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต แพง ไหม

เมื่อเริ่มเป็นเจ้าของบัตรเครดิต สิ่งแรกที่ควรทำ คือ การศึกษาเงื่อนไขการใช้บัตร และ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึง และ ตระหนักรู้อยู่เสมอ เมื่อเราต้องเริ่มจ่ายหนี้จากการรูดปรื๊ดไป

1. จ่ายแค่ขั้นต่ำ จนกลายเป็นภาระหนี้ก้อนโต ตัวอย่างเช่น

5 มีนาคม 2564 นาย A ใช้บัตรเครดิตซื้อของ 20,000 บาท ทุกวันที่ 25 เป็นวันปิดยอดของทุกเดือน ถ้าวันที่ 27 มีนาคม 2564 จ่ายขั้นต่ำ 10% เท่ากับ 2,000 บาท ในรอบบัญชีแรกจะยังไม่คิดดอกเบี้ย แต่ในรอบบัญชีถัดไป คือ 25 เมษายน 2564 ธนาคารจะจัดส่งใบแจ้งหนี้ โดยมีรายละเอียดยอดคงค้าง และดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่ง

ทั้งนี้ ดอกเบี้ยที่ในใบแจ้งหนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน

ส่วนแรก ดอกเบี้ยที่คิดจากจำนวนเงินที่รูดซื้อสินค้า คือ 20,000 บาท โดยเริ่มนับจากวันที่รูดซื้อสินค้าจนถึงวันที่สรุปยอดรายการรวม 20 วัน (5 – 25 มีนาคม) ถ้าคิดที่อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 16% เป็นเงิน 175.34 บาท

ส่วนที่สอง ดอกเบี้ยที่คิดจากยอดเงินต้นค้างชำระ คือ 18,000 บาท (20,000 บาท หัก 2,000 บาทที่จ่ายขั้นต่ำไปแล้ว) โดยคิดจากวันที่เราชำระไปคือ 27 มีนาคม ถึงวันปิดยอดรอบล่าสุดคือ 25 เมษายน รวม 29 วัน ถ้าคิดที่อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 16% จะเป็นเงิน 228.82 บาท

หมายความว่า ในการผ่อนขั้นต่ำครั้งนี้ เราจะมีภาระหนี้จากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 404.16 บาท และถ้าไม่ทำอะไร เชื่อหรือไม่ว่า เพียงเวลาไม่กี่ปี ดอกเบี้ยส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเท่ากับเงินที่รูดซื้อของเลยทีเดียว

2. ไม่จ่ายเพราะประเมินเจ้าหนี้ผิดไป คิดว่า เจ้าหนี้มีแค่สลิปเงินเดือนเป็นหลักฐาน ตอนนี้ออกจากงาน ใครจะติดตามหนี้ได้ ถ้าไม่รับโทรศัพท์ เปลี่ยนเบอร์โทร-ชื่อ-เปลี่ยนที่อยู่ แม้มีจดหมายทวงถามหนี้ไปที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ถ้าไม่รับรู้เสียอย่าง ใครจะทำอะไรได้ ... จริงหรือ?

เราต้องไม่ลืมว่า เจ้าหนี้บัตรเครดิตมีฐานข้อมูลลูกหนี้ เห็นพฤติกรรมการเบี้ยวหนี้ของลูกหนี้มานับไม่ถ้วน มีนักกฎหมายและหน่วยงานติดตามทวงหนี้ และสืบทรัพย์โดยเฉพาะ สุดท้ายเมื่อเจ้าหนี้สืบทรัพย์จนเจอ นำมาสู่การฟ้องร้องและยึดบ้านในที่สุด โดยลูกหนี้อาจไม่เคยรู้ว่า มีทรัพย์ที่เป็นชื่อตัวหรือทรัพย์มรดก เช่น ที่นาของพ่อแม่ ก็ถูกยึดได้ทั้งนั้น

บทสรุปที่ไม่สวยงามย่อมไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น กลับเกิดขึ้นจนได้ ผลจากการประมาทศักยภาพเจ้าหนี้เกินไป อาจทำให้ครอบครัว คนที่รัก ได้รับความเดือดร้อน ไม่มีที่อยู่อาศัย หรือไม่มีที่ทำมาหากิน

ดังนั้นเมื่อเป็นหนี้ควรจ่ายหนี้ให้ครบถ้วน หากรู้ตัวว่าเริ่มที่จะชำระไม่ไหว ให้รีบเข้าคุยกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อเจรจาขอความช่วยเหลือและหาทางออกในการแก้ไขหนี้ร่วมกัน สุดท้ายนี้ ขอให้เชื่อมั่นว่า ทุกปัญหามีทางออก เพียงท่านมีความตั้งใจและจริงใจที่จะชำระหนี้คืน หากมีข้อสงสัย โทรไปได้ที่ 1213

บัตรเครดิตจ่ายขั้นต่ำกี่เปอร์เซ็น

หนี้บัตรเครดิตเป็นการรูดซื้อสินค้าไปก่อนแล้วผ่อนชำระกับทางธนาคาร ซึ่งปกติจะไม่แนะนำให้ชำระยอดขั้นต่ำ แต่ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีบางคนอาจจำเป็นต้องชำระขั้นต่ำ ซึ่งเดิมการชำระขั้นต่ำจะคิดที่ 5% แต่จะปรับเพิ่มเป็น 10% หลังจากมาตรการของธปท. จบลง ซึ่งตอนนี้มาตรการได้ขยายไปถึงต้นปี 2566 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง คนที่ต้องผ่อนบัตร ...

บัตรเครดิตต้องเสียค่าธรรมเนียมไหม

ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต เป็นค่าบริการที่ติดมาจากบัตรเครดิตเป็นเหมือนกับการที่คุณจ่ายเงินซื้อสิทธิประโยชน์ไปพร้อมกับการใช้บัตรเครดิต โดยผู้ถือบัตรอาจถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแบบแรกเข้าและค่าธรรมเนียมแบบรายปีตามเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตแต่ละใบ แล้วถ้ามีค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตไม่จ่ายได้ไหม คำตอบ สามารถทำได้ เพราะบัตร ...

ใช้หนี้บัตรเครดิตยังไงให้หมดเร็ว

6 วิธีปิดหนี้บัตรเครดิต ให้หมดไว เริ่มชีวิตใหม่ทางการเงิน.
1. ปิดบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้ ... .
2. เจรจากับธนาคารเจ้าของบัตร ... .
3. รวมหนี้เป็นก้อนเดียว เพื่อทยอยชำระ ... .
4. ซื้อของด้วยเงินสดและซื้อเฉพาะของที่จำเป็น ... .
5. วางแผนทางการเงินอย่างจริงจัง ... .
6. กู้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยต่ำ.

ดอกเบี้ยร้อยละต่อปี คิดยังไง

ดอกเบี้ย = [(เงินต้น x อัตราดอกเบี้ย (%) x จำนวนวันที่ฝากในงวดนั้น) / จำนวนวันทั้งปี] โดยแบ่งคำนวณเป็น 2 ส่วน คือ ดอกเบี้ยงวดครึ่งปีแรก = [(10,000 x 0.25% x 181) / 365] = 12.39 บาท ดอกเบี้ยงวดครึ่งปีหลัง = [(10,012.39 x 0.25% x 184) / 365] = 12.61 บาท