การใส่ท่อช่วยหายใจอันตรายไหม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Tracheal intubation
การแทรกแซง
การใส่ท่อช่วยหายใจอันตรายไหม

Anesthesiologist using the Glidescope video laryngoscope to intubate the trachea of a morbidly obese elderly person with challenging airway anatomy

ICD-9-CM96.04
MeSHD007442
OPS-301 code:8-701
MedlinePlus003449

การใส่ท่อช่วยหายใจคือการใส่ท่อช่วยหายใจซึ่งทำจากพลาสติกหรือยางเข้าไปในหลอดลมเพื่อให้ผู้ป่วยมีทางหายใจที่เปิดตลอดเวลา หรือใช้เป็นทางในการให้ยาบางอย่าง ส่วนใหญ่ใช้กับผู้ป่วยที่ป่วยหนักเฉียบพลัน บาดเจ็บเฉียบพลัน หรือได้รับยาระงับความรู้สึก เพื่อเป็นทางในการช่วยหายใจ และป้องกันการสูดสำลัก หรือป้องกันไม่ให้ทางหายใจถูกปิดกั้น ที่ทำบ่อยที่สุดคือการใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก ซึ่งจะใส่ท่อช่วยหายใจผ่านปาก ผ่านกล่องเสียง เข้าไปยังหลอดลม ทางอื่นเช่นใส่ทางจมูก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวิธีที่ต้องผ่าตัด เช่น การผ่าเปิดช่องที่เยื่อคริโคไทรอยด์ (cricothyroidomy) ซึ่งมักใช้ในกรณีฉุกเฉิน และการผ่าเปิดช่องที่หลอดลม (tracheostomy, "การเจาะคอ") ซึ่งมักทำในกรณีที่คาดว่าจำเป็นจะต้องใส่ท่อช่วยหายใจอยู่เป็นเวลานาน วิธีใส่ท่อช่วยหายใจแบบที่ต้องผ่าตัดนี้อาจทำในกรณีฉุกเฉินหากการใส่ด้วยวิธีปกติไม่ประสบผลสำเร็จ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ของการใส่ท่อช่วยหายใจมีตั้งแต่ภาวะแทรกซ้อนเล็กน้อยเช่นฟันหัก หรือเนื้อเยื่อของทางเดินหายใจส่วนบนบาดเจ็บ หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นการสูดสำลักจากกระเพาะอาหารเข้าไปยังปอด หรือใส่ท่อช่วยหายใจไม่เข้าหลอดลมแต่ไปเข้าหลอดอาหารแทนทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ดังนั้นการประเมินว่าผู้ป่วยที่กำลังจะได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจอาจมีกายวิภาคของทางเดินหายใจที่ไม่ปกติหรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจึงมีความสำคัญอย่างมากก่อนที่จะใส่ท่อช่วยหายใจ หากเป็นไปได้จำเป็นจะต้องมีแผนทางเลือกสำหรับกรณีใส่ท่อช่วยหายใจไม่สำเร็จเอาไว้ด้วยเสมอ

Authors

Keywords:

ประสบการณ์ของผู้ป่วยสูงอายุ การใช้เครื่องช่วยหายใจ หออภิบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรม

Abstract

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหออภิบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิ โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้สูงอายุจำนวน 9 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม และแฟ้มประวัติผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่าในระยะเริ่มแรกที่พบว่ามีท่อช่วยหายใจผู้สูงอายุมีความรู้สึก 2  ลักษณะ คือ 1) ตกใจกับท่อช่วยหายใจและสายอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจากขณะใส่ท่อช่วยหายใจผู้สูงอายุไม่รู้สึกตัวจากการได้รับยาระงับความรู้สึก และไม่ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการใส่ท่อช่วยหายใจ และ 2) ไม่ตกใจคิดว่าเป็นการรักษา เนื่องจากขณะใส่ท่อช่วยหายใจผู้สูงอายุรู้สึกตัวดีและได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการใส่ท่อช่วยหายใจ ส่วนในระยะที่ใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ ผู้สูงอายุมีความรู้สึกทั้งด้านบวกและด้านลบ ความรู้สึกด้านบวก คือ 1) ทำให้หายใจได้ดีเหมือนกับการหายใจธรรมดา 2) ทำให้ไม่เหนื่อยและพักผ่อนได้ และ 3) หายใจได้ดีกว่าการหายใจปกติ ส่วนความรู้สึกด้านลบ คือ 1) ความรำคาญหรือระคายเคืองจากท่อช่วยหายใจ 2) ความเจ็บปวดจากการดูดเสมหะ 3) ความไม่เป็นอิสระจากการผูกยึด 4) อึดอัดและหงุดหงิดจากการสื่อสารไม่เข้าใจ 5) ความกระหายน้ำ และ 6) ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจของครอบครัว สำหรับการจัดการกับความรู้สึกด้านลบผู้สูงอายุใช้ 3 วิธี คือ1) ให้อดทนเพื่อตนเอง 2) ให้อดทนเพื่อลูกหลาน และ3) ให้ยึดหลักพระพุทธศาสนา ในระยะหย่าจากเครื่องช่วยหายใจผู้สูงอายุมีความรู้สึก 2 ลักษณะ คือ 1) ดีใจ ไม่กลัว คิดว่าตนเองพร้อม และ 2) ดีใจ แต่ก็ยังกลัวว่าจะหายใจไม่เพียงพอ และหลังจากถอดท่อช่วยหายใจผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่าหายใจโล่งทันที แต่หลังจากนั้นเริ่มพบอาการผิดปกติ เช่น เจ็บคอ กลืนลำบาก ไอมาก มีแผลมุมปาก และเสียงแหบ ส่วนเหตุผลของการใช้เครื่องช่วยหายใจในมุมมองของผู้สูงอายุ คือ 1) ต้องได้รับการผ่าตัด และ 2) การหายใจ/การเต้นของหัวใจผิดปกติ สำหรับการให้ความหมายของเครื่องช่วยหายใจตามการรับรู้ของผู้สูงอายุมีดังนี้ 1) เป็นเครื่องแก้อาการเหนื่อย ทำให้หายใจเป็นปกติ 2) เป็นเครื่องช่วยให้การหายใจดีขึ้น/สะดวกขึ้น และ 3) เป็นเครื่องช่วยต่อชีวิต ทำให้รอดพ้นจากความตาย สำหรับการดูแลที่ผู้สูงอายุได้รับที่ทำให้เกิดความสุขสบายและความอบอุ่นใจ คือ 1) การดูแลเอาใจใส่/การเฝ้าระวัง 2) การให้ยาบรรเทาความเจ็บปวด 3) การจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี และ 4) การให้น้ำบรรเทาความกระหาย ส่วนความต้องการการดูแลในขณะที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ คือ 1) อยากให้ญาติอยู่เฝ้า 2) อยากให้ดูดเสมหะเบาๆ 3) ต้องการน้ำแก้กระหาย 4) ไม่ทำอะไรรุนแรงกับผู้ป่วย 5) ช่วยเหลือเรื่องการสื่อสาร และ 6) พยาบาลควรจะปรับปรุงเรื่องการพูดคุย

Downloads

Download data is not yet available.

How to Cite

1.

หัดประกอบ พ, สุริต ป. ประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหออภิบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิ. J Nurs Healthc [Internet]. 2014 Mar. 6 [cited 2022 Dec. 6];31(4):70-9. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/16891

Issue

Section

Academic articles

ใส่ท่อช่วยหายใจจะดีขึ้นไหม

1. แบบท่อช่วยหายใจ แพทย์จะใส่ท่อเข้าสู่หลอดลมผ่านทางปากหรือจมูก ข้อดีของการใช้ท่อช่วยหายใจแบบนี้คือ ให้ลมที่มีแรงดันสูงโดยไม่รั่ว ให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง สามารถดูดเสมหะได้ แต่ผู้ป่วยจะพูดไม่ได้ รับประทานอาหารทางปากไม่ได้ และจะรู้สึกอึดอัด รวมทั้งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ หรือเกิดอันตรายต่อกล่อง ...

ใส่ท่อช่วยหายใจแล้วพูดได้ไหม

ตอบ ผู้ป่วยสามารถพูดได้ แต่ไม่สามารถพูดคุยตามปกติได้นาน หรือเป็นประโยค ยาวๆ เพราะต้องใช้นิ้วมือปิดปากท่อไว้ขณะพูด และต้องเปิดท่อบ้างเพื่อรับอากาศหายใจ หากหมดสาเหตุของโรคแล้ว สามารถหายใจได้ทางจมูก ก็จะพูดได้ตามปกติ ยกเว้นในผู้ป่วยโรคมะเร็งกล่องเสียง ที่มีการตัดกล่องเสียงออก หรือผู้ป่วยที่หลอดลมส่วนบนตีบสนิท

ใส่ท่อช่วยหายใจอยู่ได้กี่วัน

นอกจากนั้นแล้ว การเจาะคอก็มักทำในคนไข้ติดเตียง ที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจนานๆ เกินกว่า 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะการใส่ท่อช่วยหายใจนานเกินไป จะส่งผลทำให้เกิดภาวะพังพืดที่กล่องเสียง หรือ พังพืดใต้เส้นเสียง ทำให้คนไข้หายใจได้ลำบากหลังจากรักษาตัวหายแล้ว เนื่องจากพังพืดไปอุดกั้น ทำให้หายใจไม่สะดวกนั่นเอง

ทำไมต้องสอดท่อ

หากไม่รู้จักการวางท่อในหลอดอาหารจะส่งผลให้การช่วยหายใจล้มเหลวและอาจเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากการขาดออกซิเจนได้ การหายใจไม่ออกผ่านท่อเข้าไปในหลอดอาหารทำให้เกิดการสำรอกซึ่งอาจนำไปสู่การหายใจเข้าไปลดการระบายอากาศในภายหลังโดยบอลลูนวาล์วและหน้ากากและการมองเห็นที่ไม่ชัดเจนในการพยายามใส่ท่อช่วยหายใจ