ออกจากงานโดยไม่แจ้งล่วงหน้ามีความผิดไหม

ออกจากงานโดยไม่แจ้งล่วงหน้ามีความผิดไหม


กระทรวงยุติธรรม เสนอกฎหมายน่ารู้ ตอน : “ถูกให้ออกจากงาน ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย”


เงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ และตามกฎหมายลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย ดังนี้
1. ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างกรณีทั่วไป (รวมถึงการเลิกจ้าง เพราะสถานการณ์โควิด - 19)
• หากลูกจ้างทำงานมายังไม่ถึง 120 วัน นายจ้างจะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 120 วัน - 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 1 - 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 3 - 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 6 - 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 240 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 10 - 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน ในอัตราสุดท้าย
• หากลูกจ้างทำงานมาแล้ว 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างการทำงาน 400 วัน ในอัตราสุดท้าย


2. ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า
•ค่าเสียหายนี้เกิดในกรณีหากนายจ้าง "ไล่ออก" ทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า ถือว่า นายจ้างทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน นอกจากจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไป ตามข้อ 1 แล้ว (มาตรา 118) ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้าด้วย ตามมาตรา 17/1 เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างในอัตราที่ลูกจ้างได้รับอยู่อัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนเสมือนหนึ่งว่านายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้เตรียมตัวก่อนออกจากงาน แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้จะคิดอย่างมากที่สุด ไม่เกินค่าจ้างสามเดือน

ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 118 และมาตรา 17/1

เอกสารแนบ

  • กฎหมายน่ารู้ ตอนที่ 289: “ถูกให้ออกจากงาน ลูกจ้างต้องได้รับค่าชดเชย” ดูแล้ว 1898 ครั้ง

ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของกระทรวงยุติธรรม

ท่านคิดว่าข้อมูลข่าวสารนี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย
ท่านมีความเข้าใจในข้อมูลข่าวนี้มากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย
ท่านพึงพอใจในรูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสารมากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ส่งข้อมูล

การลาออกจากงานเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในโลกของการทำงาน แต่เรื่องที่คนส่วนใหญ่มักสงสัยก็คือ เราต้องรู้อะไรบ้างหากจะลาออก? ถ้าจะลาออกจากงาน ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน จริงไหม? จำเป็นที่ต้องรอนายจ้าง “อนุมัติให้ลาออก” ก่อนหรือเปล่า? หรือลาออกแล้วเราจะได้อะไรบ้าง วันนี้ JobThai จึงได้รวบรวมคำตอบมาไว้ให้แล้ว

“ต้องแจ้งลาออกจากงานล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน” จริงไหม?

ที่จริงแล้วกฎหมายไม่ได้กำหนดเอาไว้ว่าการลาออกจากงานต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนลาออกนานแค่ไหน เราจะยื่นจดหมายวันนี้แล้วพรุ่งนี้ไม่มาทำงานเลยก็ได้ แต่การทำแบบนี้จะทำให้เราดูไม่เป็นมืออาชีพ ไม่มีความรับผิดชอบ แถมยังส่งผลกระทบกับงานของคนอื่นด้วย การแจ้งล่วงหน้า 30 วัน จึงเป็นการให้องค์กรเตรียมหาคนใหม่มาทำงานแทน และเราจะได้มีเวลาจัดการงานที่ยังค้างอยู่ หรือเตรียมส่งต่องานไปให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นดูแลนั่นเอง

สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมก็คือ เราต้องแจ้งลาออกโดยการยื่นจดหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเสมอ เพราะการแจ้งออกด้วยคำพูดอย่างเดียวแล้วหายไปเฉย ๆ จะทำให้ไม่มีหลักฐานการลาออกและถ้าขาดงานเกิน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร ก็อาจเป็นเหตุผลให้บริษัทบอกเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ แถมยังส่งผลให้เสียสิทธิต่าง ๆ อย่าง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือสวัสดิการอื่นของบริษัทอีกด้วย

ยื่นจดหมายลาออกจากงานแล้ว แต่นายจ้างไม่อนุมัติ ทำได้ไหม?

นายจ้างไม่สามารถปฏิเสธการลาออกจากงานของเราได้ ถ้ามีการยื่นจดหมายลาออกที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว เราจะไม่มาทำงานตามวันที่แจ้งลาออกเลยก็ได้โดยไม่ต้องรออนุมัติ และนายจ้างเองก็ไม่มีสิทธิมาบังคับไม่ให้เราออกด้วยเช่นกัน

ลาออกจากงานตอนไหนก็ได้ ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้เสมอไป

ถึงจะบอกว่าไม่จำเป็นต้องแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วัน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะแจ้งลาออกจากงานตอนไหนก็ได้ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับสัญญาจ้างงานที่เราทำกับบริษัทว่าเป็นสัญญาแบบไหน ซึ่งมี 2 ประเภท คือ สัญญาแบบไม่มีระยะเวลา และ สัญญาแบบมีกำหนดระยะเวลา

สัญญาแบบไม่มีระยะเวลา

สัญญาแบบนี้คือสัญญาจ้างของพนักงานทั่วไปหรือที่เราเรียกกันว่า “พนักงานประจำ” จะไม่มีการระบุเอาไว้ว่าต้องทำงานนานแค่ไหน ทั้งเราและนายจ้างมีสิทธิยกเลิกสัญญาได้ทั้งคู่ ถ้าเราเซ็นสัญญาแบบนี้ก็จะสามารถลาออกเมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ

สัญญาแบบมีกำหนดระยะเวลา

กรณีนี้เป็นสัญญาที่กำหนดระยะเวลาทำงานไว้ชัดเจน เช่น สัญญาจ้าง 6 เดือน หรือ สัญญาจ้าง 1 ปี ถ้าทำงานจนครบกำหนดเวลาแล้วเราจะไม่ไปทำงานเลยก็ได้ แต่ถ้าลาออกจากงานก่อนครบกำหนดในสัญญาก็อาจต้องจ่ายค่าเสียหายให้บริษัท ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและรายละเอียดในสัญญาแต่ละฉบับ

แต่ก็จะมีสัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาบางประเภท ที่ระบุไว้ว่านายจ้างและลูกจ้างสามารถยกเลิกสัญญาเมื่อไหร่ก็ได้ ก็จะถือว่าสัญญาแบบนี้เป็นสัญญาที่ไม่กำหนดระยะเวลาเช่นกัน

เช็กสิทธิประกันสังคม ได้ค่าชดเชยอะไรบ้างถ้าลาออกจากงาน

อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คนทำงานอยากรู้ กรณีที่เราลาออกจากงานเองจะไม่ได้ค่าชดเชยอะไรจากบริษัท แต่เราสามารถขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากประกันสังคมได้ ถ้าเราจ่ายประกันสังคมมาแล้วเกิน 6 เดือน (ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน)

เมื่อลาออกจากงานแล้ว อย่าลืมไปขึ้นทะเบียนออนไลน์และรายงานตัวว่างงานที่เว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน ภายใน 30 วันหลังลาออก เพราะถ้าเกินกำหนดแล้วจะไม่สามารถใช้สิทธิย้อนหลังได้ นอกจากนี้ระบบจะนัดรายงานตัวห่างกันทุก 30 วัน ไม่เว้นวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ซึ่งผู้ประกันตนสารมารถดำเนินการผ่านอินเตอร์เน็ตได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องมาที่สำนักงาน โดยสามารถรายงานตัวผ่านโทรศัพท์มือถือทางเว็บไซต์ http://empui.doe.go.th และถ้าทางสำนักจัดหางานมีงานมาแนะนำเราก็ต้องไปสมัครและสัมภาษณ์ด้วย

เงินทดแทนกรณีว่างงานนี้จะได้รับอยู่ที่ 45 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนล่าสุดและจะได้รับไม่เกินปีละ 90 วัน หรือ 3 เดือน ถ้าเงินเดือนเรา 10,000 บาทจะได้เงินทดแทนเฉลี่ยเดือนละ 4,500 บาท โดยที่จะคิดจากฐานเงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาท เท่านั้น หากได้เงินเดือนสูงกว่านี้ก็จะได้รับเงินชดเชยแค่เดือนละ 6,750 บาท (ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 จะกลับมาใช้อัตราเดิมคือ จะได้รับเงินทดแทน 30 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนล่าสุด หรือได้รับเงินทดแทนสูงสุดไม่เกิน 4,500 บาท) นอกจากนี้ถ้าเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ คลอดบุตร ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต เรายังใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือนหลังจากออกลาโดยไม่ต้องจ่ายเงินเข้าประกันสังคมอีกด้วย

(ข้อมูลอัปเดตวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565)

ลาออกแบบรักษากฎหมายก็ดี แต่รักษาความสัมพันธ์ที่มีด้วย

ถึงกฎหมายจะไม่ได้กำหนดเวลาการยื่นลาออกล่วงหน้าและเราก็ไม่ต้องรอให้นายจ้างอนุมัติ แต่โดยมารยาทในการลาออกแล้วเราก็ควรแจ้งล่วงหน้าตามที่บริษัทกำหนดไว้ เพราะนอกจากจะไม่กระทบกับการทำงานของคนอื่นแล้ว ยังเป็นการรักษาน้ำใจระหว่างกันอีกด้วย เพราะไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจได้กลับมาร่วมงานกับคนจากบริษัทเก่าก็ได้

ถ้ายิ่งตำแหน่งเรามีความสำคัญกับบริษัทด้วย หากลาออกไปแบบกะทันหันแล้วทำให้บริษัทเสียหายก็อาจมีการยื่นฟ้องร้องเราได้ คงจะดีกว่าแน่ถ้าเราได้ลาออกอย่างถูกกฎหมายและส่งผลดีต่อทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงานหรือความรู้สึกระหว่างกัน