สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะต่างจากสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพหรือไม่อย่างไร

สมรรถภาพทางกาย (Physical  Fitness) หมายถึง ความสามารถของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บุคคลที่มีสมรรถภาพทางกายดีนั้นจะสามารถประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันไดอย่างกระฉับกระเฉง โดยไม่เหนื่อยล้าจนเกินไปและยังมีพลังงานสำรองมากพอสำหรับกิจกรรมนันทนาการหรือกรณีฉุกเฉิน  ในปัจจุบันนักวิชาชีพด้านสุขศึกษาและพลศึกษาไดเห็นพ้องต้องกันว่า สมรรถภาพทางกายสามารถจัดกลุ่มไดเปนสมรรถภาพทางกาย  เพื่อสุขภาพ  (Health - Related  Physical  Fitness)    และหรือสมรรถภาพกลไก (Motor Fitness)  สมรรถภาพเชิงทักษะปฏิบัติ  (Skill -  Related  Physical  Fitness)

Show

สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ  (Health – Related Physical Fitness)

ความสามารถของระบบต่าง ๆ  ในร่างกายประกอบด้วย ความสามารถเชิง   สรีรวิทยาด้านต่าง ๆ  ที่ช่วยป้องกันบุคคลจากโรคที่มีสาเหตุจากภาวะการขาดการออกกำลังกาย นับเป็นปัจจัยหรือตัวบ่งชี้สำคัญของการมีสุขภาพดี  ความสามารถหรือสมรรถนะเหล่านี้สามารถปรับปรุงพัฒนาและคงสภาพได  โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพมีองคประกอบดังนี้

๑.  องคประกอบของร่างกาย  (Body  Composition)  ตามปกติแล้วในร่างกายมนุษยประกอบด้วย  กล้ามเนื้อ  กระดูก  ไขมัน  และส่วนอื่น ๆ  แต่ในส่วนของสมรรถภาพทางกายนั้นหมายถึง  สัดส่วนปริมาณไขมันในร่างกายกับมวลร่างกายที่ปราศจากไขมัน  โดยการวัดออกมาเป็นเปอรเซ็นตไขมัน  (% fat)  ด้วยเครื่อง

๒.  ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด  (Cardio respiratory Endurance)   หมายถึง   สมรรถนะเชิงปฏิบัติของระบบไหลเวียนเลือด (หัวใจ หลอดเลือด) และระบบหายใจในการลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลลกล้ามเนื้อ ทำใหร่างกายสามารถยืนหยัดที่จะทำงานหรือออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่เป็นระยะเวลายาวนานได

๓.  ความอ่อนตัวหรือความยืดหยุ่น  (Flexibility)  หมายถึง พิสัยของการเคลื่อนไหวสูงสุดเท่าที่จะทำไดของข้อต่อหรือกลุ่มข้อต่อ

๔.  ความอดทนของกล้ามเนื้อ   (Muscular Endurance)   หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งหรือกลุ่มกล้ามเนื้อ ในการหดตัวซ้ำ ๆ เพื่อต้านแรงหรือความสามารถในการคงสภาพการหดตัวครั้งเดียวได้เป็นระยะเวลายาวนาน

๕.  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ  (Muscular Strength) หมายถึง ปริมาณสูงสุดของแรงที่กล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งหรือกลุ่มกล้ามเนื้อสามารถออกแรงต้านทานได ในช่วง      การหดตัว ๑ ครั้ง

สมรรถภาพกลไก  (Motor Fitness) หรือ สมรรถภาพเชิงทักษะปฏิบัติ

(Skill – Related Physical Fitness)

ความสามารถของร่างกายที่ช่วยใหบุคคลสามารถประกอบกิจกรรมทางกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นกีฬาไดดีมีองคประกอบ ๖ ด้าน  ดังนี้

๑.  ความคล่อง  (Agility)     หมายถึง   ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางการ

เคลื่อนที่ไดอย่างรวดเร็วและสามารถควบคุมได

๒.  การทรงตัว (Balance)  หมายถึง ความสามารถในการรักษาดุลของร่างกายเอาไวไดทั้งในขณะอยูกับที่และเคลื่อนที่

๓.  การประสานสัมพันธ  (Co-ordination)  หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนไหวไดอย่างราบรื่น กลมกลืน และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเปนการทำงานประสาน     สอดคลองกันระหว่างตา - มือ - เท้า

๔.  พลังกล้ามเนื้อ  (Power) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งส่วนใดหรือหลาย ๆ ส่วนของร่างกายในการหดตัวเพื่อทำงานดวยความเร็วสูง แรงหรืองานที่ไดเป็นผลรวมของความแข็งแรงและความเร็วที่ใชในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เชน การยืนอยูกับที่ กระโดดไกล การทุ่มน้ำหนัก เป็นต้น

๕.  เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง (Reaction time) หมายถึง ระยะเวลาที่ร่างกายใชในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น แสง เสียง สัมผัส

๖.   ความเร็ว  (Speed)  หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งไดอย่างรวดเร็ว

สมรรถภาพเฉพาะด้านที่สำคัญและต้องการสำหรับนักกีฬาแต่ละประเภท

ประกอบด้วย

1.   พลังระเบิด   (Explosive Power)

2.   กำลังความเร็ว (Power Speed)

3.       การปรับเร่งความเร็ว ( Acceleration  Speed)

4.       ความเร็วสูงสุด ( Maximum  Speed)

5.       ความเร็วอดทน  ( Speed  Endurance)

6.       ความแข็งแรง  ( Strength)

7.       ความอดทน  ( Endurance)

8.       ปฏิกิริยาการเคลื่อนไหว ( Movement   Time)

9.       การประสานงาน ฯ (  Co-ordination)

10.   ความอ่อนตัว   ( Flexibility)

11.   ความคล่องแคล่วว่องไว ( Agility)

12.   ความแม่นยำ ( Accuracy)

13.   การทรงตัว ( Balance)


วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการฝึกซ้อมและแข่งขัน

องค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญ คือ

1. กายวิภาคศาสตร์ 

โครงสร้างของร่างกาย ตำแหน่งอวัยวะ กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ  เอ็น ผังพืด ฯลฯ

2. สรีรวิทยา: หน้าที่การทำงานของระบบ อวัยวะต่างๆ ระบบพลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนไหว
ร่างกาย ผลของการฝึกที่มีต่อร่างกาย อัตราการเต้นของชีพจร ฯลฯ

3. ชีวกลศาสตร์  : แรงที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพ

4. หลักการฝึกซ้อม: รูปแบบวิธีการฝึก ความหนัก ความนาน ความบ่อย เวลาพักระหว่างช่วงการฝึก ขั้นตอนการฝึก ระยะเวลาในการฝึกแต่ละช่วง

5. จิตวิทยาการกีฬา:  การถ่ายทอดและสื่อความหมาย  การสร้างแรงจูงใจ  การฝึกสมาธิ  ฝึกควบคุมอาการตื่นเต้น  ฝึกจิตนาภาพ หรือ การสร้างภาพในใจ ฯลฯ

6. โภชนาการ: ประเภทของอาหารที่ควรรับประทานในแต่ละช่วงเวลาของการฝึกซ้อม พลังงานที่ได้จากอาหารแต่ละประเภท อาหารเสริมและคุณค่าที่มีต่อร่างกาย

7. กีฬาเวชศาสตร์: วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น  การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังการบาดเจ็บ

8. การวิเคราะห์การเคลื่อนไหว ศึกษากลไกการเคลื่อนไหวของร่างกาย  มุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ  ลักษณะแนวแรงที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนไหว

9. การจัดสร้างเครื่องมือและอุปกรณ์การฝึก : เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

องค์ประกอบสำคัญในการวางแผนการฝึกซ้อมกีฬา

§  ระยะเวลาในการฝึกซ้อม

§  ความต้องการเฉพาะด้านของกีฬาประเภทนั้น

§  สมรรถภาพและประสบการณ์ทางด้านกีฬาของผู้เข้ารับการฝึก

§  อายุหรือวุฒิภาวะของผู้เข้ารับการฝึก

§  ความพร้อมด้านสถานที่และอุปกรณ์

§  สภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติ

§  ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและประเพณีทางสังคม

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการฝึก เทคนิคและทักษะกีฬา คือ

1.       ความพร้อมทางด้านร่างกาย  อายุ รูปร่าง สัดส่วนของนักกีฬาที่จะเข้ารับการฝึก มีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดกับชนิดและประเภทกีฬาที่จะทำการฝึก

2.       การจัดรูปแบบและขั้นตอนการฝึก ควรเริ่มจากง่ายไปหายาก จากเบาไปหาหนัก และ จากช้าไปหาเร็ว  ไม่ควรเร่งรัดข้ามขั้นตอนการฝึก

3.       ไม่ควรฝึกเทคนิคทักษะ เมื่อร่างกายนักกีฬามีความเมื่อยล้า  อ่อนเพลีย หรือ หมดแรง

การวิเคราะห์เพื่อจัดเตรียมโปรแกรมการฝึกซ้อมสำหรับนักกีฬา

มีองค์ประกอบสำคัญที่จะต้องพิจารณาเพื่อวางแผน ดังนี้

1.       กิจกรรมการเคลื่อนไหวของประเภทกีฬาที่จะต้องฝึกซ้อมแข่งขัน  มีรูปแบบการเคลื่อนไหวและเทคนิคทักษะที่สำคัญอะไรบ้าง

2.       กล้ามเนื้อและอวัยวะส่วนใดของร่างกายที่ต้องทำหน้าที่ออกแรงเพื่อการเคลื่อนไหวมากที่สุดและรองลงไป

3.       สมรรถภาพทางกายด้านใดที่มีความสำคัญที่สุดและรองลงไป

4.       พลังงานรูปแบบใดที่จำเป็นต้องใช้ในการเคลื่อนไหวมากที่สุดและรองลงไป

5.       เครื่องมือ  อุปกรณ์  วิธีการฝึกแบบใด ที่จะมีส่วนช่วยเสริมให้นักกีฬามีขีดความสามารถและสมรรถภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในเวลาแข่งขัน

องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย

Components  of Fitness

§  ความเร็ว ( Speed)

§  ความแข็งแรง ( Strength)

§  ความอดทน ( Stamina)

§  ความอ่อนตัว ( Supremes)

องค์ประกอบพื้นฐานของสมรรถภาพทางกีฬา

Basic  Component  of Sports  Fitness

§  Cardio – Respiratory  Endurance

§  Muscular  Endurance

§  Muscular  Strength

§  Muscular  Speed

§  Flexibility

สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะแตกต่างกันอย่างไรจงอธิบาย

องค์ประกอบสมรรถภาพทางกาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ซึ่งมี ความส าคัญและจ าเป็นต่อสุขภาพของคนเรา และใช้ในการด าเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ส่วนสมรรถภาพ ทางทักษะมีความส าคัญและจ าเป็นส าหรับนักกีฬา องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพทางกาย เพื่อทักษะ ความคล่องแคล่วว่องไว(Agility)

องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพมีกี่ด้านอะไรบ้าง

สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ (Health-Related Physical Fitness) 1. สัดส่วนร่างกาย (Body Composition) 2. ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต และการหายใจ (Cardiorespiratory Endurance) 3. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) 4. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength) 5. ความอ่อนตัว (Flexibility)

องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ มีอะไรบ้าง

2. องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับทักษะ (Skill-Related Physical Fitness) องค์ประกอบ ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งส าคัญ ส าหรับสมรรถภาพทางกายที่ส่งผลให้นักกีฬาประสบความส าเร็จ ได้แก่ 2.1 ความอดทนของระบบหลอดเลือดและหัวใจ 2.2 ความอดทนและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 2.3 ความอ่อนตัว 2.4 ส่วนประกอบของร่างกาย 2.5 ความคล่องแคล่ว 2.6 การ ...

สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หมายถึงอะไร

สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ (Health – Related Physical Fitness) หมายถึง ความสามารถของ ระบบต่างๆ ในร่างกายประกอบด้วย ความสามารถเชิงสรีรวิทยาด้านต่างๆ ที่ช่วยป้องกันบุคคลจากโรคที่มี สาเหตุจากภาวะการขาดการออกกำลังกาย นับเป็นปัจจัยหรือตัวบ่งชี้สำคัญของการมีสุขภาพดี ความสามารถ หรือสมรรถนะเหล่านี้ สามารถปรับปรุงพัฒนาและคงสภาพ ...

สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะแตกต่างกันอย่างไรจงอธิบาย องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพมีกี่ด้านอะไรบ้าง องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ มีอะไรบ้าง สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หมายถึงอะไร สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ หมายถึง สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ คืออะไร สมรรถภาพทางกายเพื่อทักษะหมายถึง การทดสอบสมรรถภาพทางกาย 6 ด้าน การมีสมรรถภาพทางกายที่ดี ส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง สมรรถภาพทางกลไก เป็นความสามารถของร่างกายในด้านใด สมรรถภาพทางกาย 5 ด้าน สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ประกอบด้วยอะไรบ้าง