เขียง ไม้ ตะ พุ น ดี ไหม

@tonpalm_hp

วิธีแก้เขียงมีรอยแตกร้าว เขียงไม้ตะพุน #เคล็ดลับแม่บ้าน

♬ เสียงต้นฉบับ - TonPalm_HP - TonPalm_HP

เกี่ยวกับไม้ตะพรุน บางคนสงสัยว่าทำไมเขียงไม้ตะพรุนถึงมีราคาสูงซึ่งราคาจะผิดกับไม้มะขามอย่างลิบลับ...

Posted by เขียงไม้ตะพรุน-ตราด banaowyai on Tuesday, July 24, 2018

เขียงไม้ เป็นอุปกรณ์สำคัญมาก สำหรับการทำครัว ที่พ่อครัวแม่ครัวทุกคนจะขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะ ซอย หั่น สับ ตัด ทั้งเนื้อสัตว์ พืชผัก ผลไม้ ต่างก็ต้องทำบนเขียงทั้งหมด เพื่อเป็นฐานที่มั่นคงสำหรับการวางหรือจับวัตถุดิบต่าง ๆ ให้ถนัดมือ รวมถึงป้องกันเชื้อโรคที่อยู่บนพื้นผิวต่าง ๆ

โดยถึงแม้จะมีเขียงแบบพลาสติกอเนกประสงค์ออกมาจำหน่าย แต่ด้วยเนื้อที่บาง ทำให้รู้สึกไม่มั่นคง หลายคนจึงยังคงเลือกที่จะใช้เขียงไม้ต่อไป โดยถึงแม้จะใช้งานได้ทนทาน แต่ก็ควรหมั่นดูแลทำความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อให้ใช้งานได้ยาวนาน และคงสภาพดี SGE จึงขอแนะนำเคล็ดลับการทำความสะอาด และดูแลเขียงไม้ยังไงให้เหมือนใหม่ เพื่อให้เขียงไม้ที่บ้านคุณ อยู่คู่ครัวไปอีกนาน ส่วนจะมีวิธีการยังไง ไปดูกันเลย

สารบัญ

เขียงไม้ ทำจากไม้อะไร

เขียง ไม้ ตะ พุ น ดี ไหม

เขียงไม้ เป็นอุปกรณ์คู่ครัวมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยคนสมัยก่อนจะนำท่อนไม้มาตัดเป็นท่อน ๆ  แล้วนำมาตัดเอาเปลือกไม้ออก ให้เป็นทรงกลม จากนั้น ขัดหน้าผิวให้เรียบ แช่น้ำเกลือทิ้งไว้ 3-4 วัน เพื่อป้องกันเชื้อรา และทำให้ไม่แตกหักง่าย แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง ก็เป็นอันเสร็จ ถือเป็นภูมิปัญญาของคนโบราณ ที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

โดยปกติ ไม้ที่นำมาทำเขียงนั้น ส่วนใหญ่ใช้ไม้มะขาม โดยเขียงไม้จากไม้มะขาม ถือว่าเป็นเขียงไม้ที่มีคุณภาพดีสุด เพราะเนื้อแข็ง ทำให้เวลาใช้มีดหั่นหรือสับลงไปแรง ๆ จะไม่มีเศษไม้ติดปะปนขึ้นมากับทำอาหาร นอกจากนี้ ลำต้นก็ยังมีขนาดกว้าง ทำให้มีพื้นที่เยอะสำหรับการเตรียมวัตถุดิบ ที่สำคัญคือเนื้อไม้มีความสะอาด ไม่มีกลิ่นหรือรสชาติ ทำให้เมื่อนำอาหารมาเตรียมบนเขียงไม้มะขาม จะไม่มีรสชาติที่แตกต่างไปจากเดิม

ข้อดี – ข้อเสียของเขียงไม้

เขียง ไม้ ตะ พุ น ดี ไหม

เนื่องจากปัจจุบัน มีการผลิตเขียงพลาสติก ออกมาจำหน่ายจำนวนมาก เพื่อใช้ทดแทนเขียงไม้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้คนรุ่นใหม่นิยมใช้เขียงพลาสติกเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากมีราคาถูก พกพาสะดวก และดูแลรักษาได้ง่ายกว่า ถึงกระนั้น ก็มีข้อเสียที่ไม่ควรมองข้ามพลาด เช่น มีความเสี่ยงที่วัตถุดิบจะได้รับการปนเปื้อน จากไมโครพลาสติกที่อยู่ในเขียง มีเนื้อที่บางจึงไม่เหมาะกับการหั่นวัตถุดิบที่ชิ้นใหญ่ หรือมีความหนามาก นอกจากนี้ ก็ยังเป็นรอยง่าย ถ้าใช้ไปนาน ๆ อาจจะทำความสะอาดได้ยากขึ้น

เมื่อพิจารณาจากข้อดี – ข้อเสีย เขียงไม้ จึงอาจถือว่ายังคงมีภาษีที่ดีกว่า เพราะสามารถทดแทนข้อเสีย ของเขียงพลาสติกได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น มีความแข็งแรงทนทาน ไม่เป็นรอยง่าย สามารถหั่นวัตถุดิบที่หนาและหนัก ได้ดีกว่าเขียงพลาสติก และแม้ผ่านการใช้งานมานาน แต่ก็ยังคงสภาพดีอยู่ ที่สำคัญ ถ้าใครอยากตกแต่งครัวให้มีความสวยงาม เขียงไม้ก็ตอบโจทย์ เหมาะกับการแต่งครัวให้มีสีสันแบบ Earth Tone อีกด้วย

การดูแลรักษาเขียงไม้

เขียง ไม้ ตะ พุ น ดี ไหม

ถึงแม้ เขียงไม้ จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าเขียงวัสดุอื่น ๆ แต่ข้อเสียของมันก็มีอยู่เล็กน้อย นั่นคือ ค่อนข้างหนัก ทำให้พกพาได้ไม่สะดวก และหากไม่หมั่นดูแลเก็บรักษาให้ดี อาจทำให้เกิดเชื้อโรคสะสมอยู่ในเขียงไม้ได้ ผู้พ่อครัวแม่ครัวทุกคน จึงควรรู้วิธีในการเก็บและดูแลรักษา เพื่อให้ เขียงไม้ ยังคงสภาพดีและปลอดจากเชื้อโรคเสมอ โดยมีวิธีการคือ

1. เก็บในที่แห้ง ไม่อับชื้น

ควรเก็บเขียงไม้ไว้ในที่แห้ง ไม่อับชื้นเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจเกิดจากความชื้นมาสะสมอยู่บนเขียงไม้ รวมถึงเชื้อราที่อาจเกาะติดอยู่ในเนื้อเขียงไม้ โดยต้องผึ่งลมให้แห้งทุกครั้งก่อนจัดเก็บ

2. ล้างทำความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งาน

ถึงแม้หลังใช้งาน เราจะใช้น้ำยาล้างจานเช็ดคราบมันออกจากเนื้อเขียง จนสะอาดเรียบร้อย แต่นั่นก็ไม่ใช่วิธีการล้างทำความสะอาดที่ถูกต้องเท่าไหร่นัก โดยวิธีการที่ควรทำคือ

ล้างเขียงไม้ด้วยน้ำร้อน โดยการราดลงไปบนเนื้อเขียง ทิ้งไว้ซักครู่แล้วล้างออก จากนั้น นำไปตากแดด หรือ ผึ่งลมให้แห้งในที่อากาศถ่ายเท ก็จะช่วยให้เขียงไม้อยู่ได้นาน

ใช้น้ำส้มสายชูเช็ด ก่อนราดด้วยน้ำร้อน แล้วนำไปผึ่งให้แห้ง ก็จะช่วยลดปัญหาเรื่องกลิ่นและเชื้อราได้

ใช้น้ำมันพืชลูบบาง ๆ ให้ทั่วเขียงไม้ ก่อนนำไปเก็บ จะทำให้พื้นผิวของไม้คงความสวยได้ยาวนานขึ้น

3. แช่น้ำมันหรือน้ำเกลือ ถ้ามีรอยแตก

ถ้าเขียงของคุณเป็นเขียงใหม่ แล้วมีรอยแตก ถ้าไม่อยากให้รอยแตกขยาย จนเขียงแตกเป็นเสี่ยง ๆ ให้นำไปแช่น้ำเกลือ หรือ แช่น้ำมันพืช น้ำมันหมูก็ได้ เสร็จแล้ว แช่ทิ้งไว้ โดยถ้าเป็นน้ำเกลือ ให้แช่นาน 3-4 วัน ถ้าเป็นน้ำมันพืช น้ำมันหมู แช่อย่างน้อย 5 วัน จะช่วยให้รอยแตกผสานเข้าหากันมากขึ้น โดยวิธีการนี้ ยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งาน และป้องกันเชื้อราได้อีกด้วย

เพราะการทำครัวทุกครั้ง ต้องมีการเตรียมวัตถุดิบ ทำให้เขียงไม้ถือเป็นอุปกรณ์คู่ครัวที่จะขาดไปไม่ได้ ซึ่งจะช่วยให้การทำอาหารเป็นไปอย่างคล่องตัว และสะดวกสุด ๆ หากคุณมีเขียงไม้อยู่ที่บ้าน ก็อย่าลืมดูแลรักษาด้วยล่ะ เพื่อให้เขียงไม้คู่ใจนี้ อยู่กับคุณไปอีกนานแสนนาน