ทํางานไม่มีวันหยุด ผิดกฎหมายไหม

ทํางานไม่มีวันหยุด ผิดกฎหมายไหม
 


3 วันหยุด สิทธิของลูกจ้างที่นายจ้างต้องทราบ 

สิทธิวันหยุดต่างๆของลูกจ้างที่นายจ้างต้องจัดให้ ตามกฎหมายแรงงานกำหนดมีอะไรบ้าง?
วันหยุดประจำสัปดาห์ (มาตรา 28)
- นายจ้างต้องจัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่า 1 วัน โดยต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้า กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้
- ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ ยกเว้น ลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
- กรณีงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร งานอื่นตามที่กฎกระทรวงฯ กำหนด นายจ้างและลูกจ้าง
อาจตกลงกันล่วงหน้า สะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา ไม่เกิน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
วันหยุดตามประเพณี (มาตรา 29)
- นายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้า ปีหนึ่ง ไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ ให้นายจ้างพิจารณากําหนดวันหยุดตามประเพณี จากวันหยุดราชการประจําปี วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียม
ประเพณีแห่งท้องถิ่น
- กรณีที่วันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจําสัปดาห์ของลูกจ้าง ให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณี
ในวันทํางานถัดไป
- กรณีนายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้ เนื่องจากลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนด
ในกฎกระทรวง ให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่าจะ หยุดในวันอื่น ชดเชยหรือนายจ้างจะ จ่าย ค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้
วันหยุดพักผ่อนประจำปี (มาตรา 30)
- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน
- ลูกจ้างซึ่งทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างอาจกําหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปี ให้แก่ลูกจ้าง โดยคํานวณให้ ตามส่วน ก็ได้
- นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า หรือกำหนดตามที่ตกลงกัน ในปีอาจกําหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 6 วันทํางานก็ได้
- นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้ สะสม และ เลื่อน วันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้นรวมเข้ากับปี
ต่อๆไปได้

ที่มา : พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : 3 วันหยุด สิทธิของลูกจ้างที่นายจ้างต้องทราบ

• งานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานประมง งานดับเพลิง หรืองานอื่น ๆ นายจ้างและลูกจ้างต้องตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปเมื่อไดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาไม่เกิน 4 สัปดาห์

วันหยุดตามประเพณี

• ต้องจัดให้มีวันหยุดไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน

• ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี

• นายจ้างพิจารณาวันหยุดตามประเพณีจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนา หรือประเพณีท้องถิ่น

• กรณีที่วันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้ลูกจ้างหยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีในวันทำงานถัดไป

วันหยุดพักผ่อนประจำปี

• ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน

• ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี

• หากลูกจ้างทำงานยังไม่ครบ 1 ปี อาจให้หยุดตามส่วนได้

• ให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างรู้ล่วงหน้าหรือกำหนดตามที่ตกลงกัน

• นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า สะสม หรือเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้

มาตรา 62

ค่าทำงานในวันหยุด

ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีก ไม่น้อยกว่า 1 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน

ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน

มาตรา 63

ค่าล่วงเวลาในวันหยุด

ในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน

มาตรา 64

หากนายจ้างไม่ได้จัดวันหยุดให้ลูกจ้าง หรือจัดให้หยุดน้อยกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา 28, 29, 30ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงาน

 

ผลวิเคราะห์กระแสในโลกออนไลน์

ในช่วงสถานการณ์โควิดนี้ มาดูกระแสบนโลกออนไลน์กันว่ามีการพูดถึงหรือค้นหา “กฎหมายแรงงาน” อย่างไร โดยเราใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า Zanroo Search ใช้ในการค้นหา พบว่ามีการพูดถึงกันมากบนโลกออนไลน์ โดยใช้ค้นหาข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 8 ตุลาคม 2563 ช่วงวันที่มีการพูดถึงเรื่องกฎหมายแรงงานมากที่สุด คือ ช่วงวันที่ 23 กันยายน 2563 โดยส่วนใหญ่พูดถึงผ่านช่องทาง Twitter

ทํางานไม่มีวันหยุด ผิดกฎหมายไหม
โดยมีการพูดถึง “กฎหมายแรงงาน” ทั้งหมด 470 ข้อความ ซึ่งช่องทางที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดคือ Twitter จำนวน 127 ข้อความ

ทํางานไม่มีวันหยุด ผิดกฎหมายไหม
จะเห็นได้ว่า เนื้อหาที่ได้รับความนิยมและผู้คนมีส่วนร่วมมากที่สุด มาจากช่องทาง Youtube โดยเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งมีการเข้าชมมากกว่า 15,362 ครั้ง

ทํางานไม่มีวันหยุด ผิดกฎหมายไหม

นอกจากนั้น เครื่องมือ Zanroo ยังสามารถบอกได้อีกว่า แต่ละ Channel ที่มีการพูดถึง “กฎหมายแรงงาน” นั้น ผู้โพสต์หรือผู้มีส่วนรวม มีความรู้สึกหรือความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจากภาพแสดงได้ว่าผู้คนมีการกดไลค์ คอมเมนต์ และแชร์เป็นส่วนใหญ่ และยังสามารถดูความรู้สึกได้จาก Emoji ได้อีกด้วย

ทํางานไม่มีวันหยุด ผิดกฎหมายไหม

และสุดท้าย โพสต์ที่เกี่ยวข้องจะเป็นของเพจ Bussagorn Sanookka มีทั้งหมด 8 โพสต์ และส่วนของ Influencer นั้น อันดับ 1 คือ Volcelabour ที่ผู้คนมีส่วนร่วมมากถึง 371 ข้อความต่อโพสต์

ทํางานไม่มีวันหยุด ผิดกฎหมายไหม

สุดท้าย ต้องขอขอบคุณสำหรับเครื่องมือ Zanroo Search ที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลและการเปรียบเทียบเพื่อทำการตลาดที่ง่ายขึ้น หากใครที่สนใจสามารถทดลองใช้งานได้ที่ https://www.zanroo.com/

ไม่ทำงานวันหยุดผิดไหม

ข้อมูลจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ระบุว่า นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติ และต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเท่ากับวันทำงาน หากฝ่าฝืนจะดำเนินคดีตามกฎหมาย กรณีให้ลูกจ้างทำงานต้องได้เงินเพิ่มไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของวันปกติ

ทํางานทุกวัน ผิดกฎหมายไหม

การทำงานในงานทั่วๆไป ปกติกฎหมายคุ้มครองแรนงานจะกำหนดให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานวันละ 8 ชม.หรือ สัปดาห์ละไม่เกิน 48 ชม. และในการทำงานสัปดาห์หนึ่งต้องมีวันหยุดประจำสัปดาห์1 วัน หรือทำสัปดาห์ละ 6 วัน โดยจะหยุด1 วันๆ ใดก็ได้

สั่งงานวันหยุด ผิดกฎหมายไหม

ลูกจ้าง 'ตอบไลน์วันหยุด' สามารถเรียกเก็บเงินเจ้านายได้ เพจเฟซบุ๊ก “กฎหมายแรงงาน” เผยข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานและการทำงานวันหยุด พร้อมความรู้ใหม่ ไม่ให้ "ลูกจ้างถูกเอารัดเอาเปรียบ" ทั้งเน้นย้ำ “ทำงานวันละ 13 ชั่วโมง ผิดกฎหมาย

วันแรงงานจำเป็นต้องหยุดไหม

รู้ไหมวันแรงงาน ลูกจ้างต้อง 'ได้หยุด' และ 'ได้เงิน' ด้วยนะ เพราะ มาตรา 29 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดว่า นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติ และต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเท่ากับวันทำงาน