กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ทั้งหมด

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง หรือ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง งานพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ ทรงพระนิพนธ์ขึ้นคราวตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปทรงนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี คราวเดียวกับที่ทรงพระนิพนธ์กาพย์เห่เรือและกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๖๖ แจกในการกฐินพระราชทานจางวางโท พระยาไพศาลศิลปศาสตร์ ปลัดทูลฉลองกระทรวงศึกษาธิการ ณ วัดกาญจนสิงหาศน์

เมื่อกรมศิลปากรตรวจสอบชำระและพิมพ์เผยแพร่ในพ.ศ. ๒๕๐๕ ธนิต อยู่โพธิ์ กล่าวถึงต้นฉบับเอกสารสมุดไทยเรื่องนี้ว่า

“...เสียดายที่กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดงค้นพบฉบับที่เหลือมาได้ไม่ครบถ้วน ปีบอกไว้ชัดเจนในต้นฉบับ สมุดไทยหมายเลข ๕๕ ว่า มีพระกาพย์ ๒๐๕ บท มีพระโคลงประจำกาพย์ ๒๐๕ บท กับพระโคลง (นำเรื่องและท้ายเรื่อง) ๗ บท แต่เท่าที่พบฉบับในบัดนี้ คงมีกาพย์เพียง ๑๐๘ บท และโคลงประจำกาพย์ ๑๐๔ บท กับโคลงท้ายเรื่องอีก ๕ บท ยังคงค้นไม่พบอีกราวครึ่งเรื่อง เข้าใจว่าตอนต้นเรื่องคงหายไปราวหนึ่งเล่มสมุดไทย...”

ต่อมา ล้อม เพ็งแก้ว ได้พบตัวอย่างกาพย์ห่อโคลง ๘ บท ซึ่งแทรกอยู่ในต้นฉบับเอกสารสมุดไทย แบบเรียนโบราณเรื่อง มณีจินดา และได้เสนอความเห็นว่า กาพย์ห่อโคลงทั้ง ๘ บทนี้น่าจะเป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ และน่าจะรวมอยู่ในเรื่องกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง เพราะสำนวนนั้นคล้ายคลึงกัน ซึ่งในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ได้นำมาพิมพ์รวมไว้ในตอนท้ายเรื่องแล้ว

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงประกอบด้วยคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลง ๑๐๘ บท และโคลงสี่สุภาพลงท้ายจำนวน ๕ บท ส่วนที่เป็นกาพย์ห่อโคลงแต่งด้วยกาพย์ยานี ๑๑ สลับกับโคลงสี่สุภาพบทต่อบท เนื้อความที่ปรากฏในกาพย์และโคลงจะคล้ายคลึงกัน

ด้านเนื้อหา กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงกล่าวถึงขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ตั้งแต่ขึ้นจากท่าเจ้าสนุก เดินทางรอนแรมไปในป่า จนถึงธารทองแดง และตำหนักธารเกษม ซึ่งเป็นตำหนักที่ประทับที่บูรณะในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ระหว่างการเดินทางกวีพรรณนาถึงสัตว์ป่าขนิดต่าง ๆ เช่น ช้าง กระบือ กวาง กระทิง หมี เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว ระมาด โคแดง โคเพลาะ ละมั่ง เลียงผา งูเหลือม ฯลฯ พรรณนาพืชพรรณธรรมชาติ เช่น พุทธชาด เพกา สาเก มะยม ไม้ดอก ไม้ผล และไม้ยืนด้น ฯลฯ ในตอนท้ายเรื่อง กล่าวถึงรายละเอียดผู้แต่ง วัตถุประสงค์การแต่ง และแสดงคุณค่าด้านความไพเราะงดงามของวรรณคดีเรื่องนี้

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 

ผู้แต่ง                          เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์   (เจ้าฟ้ากุ้ง)

ลักษณะคำประพันธ์       กาพย์ห่อโคลง 

                        คำประพันธ์ประเภทกาพย์ห่อโคลง มีลักษณะทางฉันทลักษณ์ดังนี้ ขึ้นต้นด้วยกาพย์ยานี 1 บท แล้วตามด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท ใจความเหมือนกัน กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง นั้นมีกาพย์ยานีและโคลงสี่สุภาพรวม 108 คู่ และโคลงปิดท้ายมี 2 บท

จุดประสงค์ในการแต่ง          เป็นบทชมธรรมชาติ เพื่อความเพลิดเพลินในการเดินทาง

ที่มาของเรื่อง                      หนังสือปริทรรศน์ วรรณคดีไทยของนายตำรา ณ เมืองใต้

เที่ยวเล่นเป็นสุขเกษม                     แสนสิ่งสนุกปลุกใจหวัง

เร่ร่ายผายผาดผัง                                      หัวริกรื่นชื่นชมไพร

               สนุกเกษมเปรมหน้าเหลือบ          ลืมหลัง

แสนสนุกปลุกใจหวัง                                  วิ่งหรี้

เดินร่ายผายผันยัง                                     ชายป่า

หัวร่อรื่นชื้นชี้                                           ส่องนิ้วชวนแล

ถอดคำประพันธ์ได้ว่า           การเที่ยวเล่นในครั้งนี้ช่างมีความสุขสนุกสนาน    เหลือเกินเดินอย่างรวดเร็วเข้าไปในป่า หัวร่อต่อกระซิบกันอย่างสดชื่นรื่นเริงโดยการชี้ชวนให้ชมธรรมชาติต่างๆ

 
คำศัพท์

- ผาดผัง, ผายผัน  หมายถึง เดินอย่างรวดเร็ว

- หรี้ คือ เป็นคำโทโทษของ “รี่” คำโทษคือคำที่ไม่เคยใช้ไม้โท แต่เอา   มาแปลงใช้โดยเปลี่ยนวรรณยุกต์เป็นโท เพื่อให้ได้เสียงโทตามบังคับ, รี่ หมายถึง อาการที่เคลื่อนเข้าไปเรื่อยไม่รีรอ

- สองนิ้ว คือ ชี้นิ้ว

เลียงผาอยู่ภูเขา                      หนวดพรายเพราเขาแปล้ปลาย 

รูปร่างอย่างแพะหมาย                         ขนเหม็นสาบหยาบเหมือนกัน                    

               เลียงผาอยู่พ่างพื้น                ภูเขา

หนวดพู่ดูเพราเขา                                ไปล่ท้าย

รูปร่างอย่างแพะเอา                              มาเปรียบ

ขนเหม็นสาบหยาบร้าย                         กลิ่นกล้าเหมือนกัน

ถอดคำประพันธ์   เลียงผาอยู่บนภูเขา มีรูปร่างคล้ายแพะ มีหนวดงาม ปลายเขาโค้งไปข้างหน้า ขนหยาบและมีกลิ่นเหม็นสาบเช่นเดียวกับแพะ

คำศัพท์

- เพรา , พรายเพรา       หมายถึง  งาม

- แปล้                       หมายถึง   แบนราบ

- ไปล่ท้าย                  หมายถึง  ปลายโค้งไปข้างหน้า         

กระจงกระจิตเตี้ย                  วิ่งเรี่ยเรี่ยน่าเอ็นดู

เหมือนกวางอย่างตาหู                        มีเขี้ยวน้อยสร้อยแนมสอง

               กระจงกระจิดหน้า               เอ็นดู

เดินร่อยเรี่ยงามตรู                             กระจ้อย

เหมือนกวางอย่างตาหู                        ตีนกีบ

มีเคี่ยวขาวน้อยช้อย                           แนบข้างเคียงสอง

ถอดคำประพันธ์  กระจงเป็นสัตว์ที่มีตัวขนาดเล็กมองดูน่ารักน่าเอ็นดู มีตาหูและตีนกีบเหมือนกวาง มีเขี้ยวน้อยสีขาวสองเขี้ยวแต่ไม่มีเขา
 

คำศัพท์

- กระจิด                                  หมายถึง เล็กน้อย

- แนม                                      หมายถึง แนบ

- หน้า                                      หมายถึง หน้า เป็นคำโทโทษของ น่า

- กระจ้อย       หมายถึง เล็กน้อย

- เคี่ยว                                      หมายถึง เคี่ยว เป็นคำเอกโทโทษของ เขี้ยว

- ช้อย                                       หมายถึง อ่อนช้อย

ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย          ชะนีอุ่ยอุ้ยร้องหา

ฝูงค่างหว่างพฤกษา                         ค่างโจนไล่ไขว่ปลายยาง

                ฝูงลิงยวบยาบต้น             พวาหนา

ฝูงชะนีมี่กู่หา                                    เปล่าข้าง

ฝูงค่างหว่างพฤกษา                          มาสู่

ครอกแครกไล่ไขว่คว้าง                     โลดเลี้ยวโจนปลิว

ถอดคำประพันธ์  ฝูง ลิงขย่มต้นพวาอยู่ยวบยาบ ฝูงชะนีร้องกู่หาคู่ของมัน ฝูงค่างกระโดดไปมาระหว่างต้นไม้ ฝูงลิงต่างพากันร้องขู่ตะคอกพร้อมทั้งกระโดดไล่ไขว่คว้ากัน

คำศัพท์

- กระจุ้ย         หมายถึง  เล็กๆ

- ยวบยาบ       หมายถึง อาการที่ลิงขย่มต้นไม้ขึ้นลง

- พวา              หมายถึง  ต้นมะม่วง

- ครอกแครก   หมายถึง เสียงขู่ตะคอกของลิง

งูเขียวรัดตุ๊กแก                       ตุ๊กแกแก่คางแข็งขยัน

กัดงูงูยิ่งพัน                                        อ้าปากง่วงล้วงตับกิน

               งูเขียวแลเหลื้อมพ่น               พิษพลัน

ตุ๊กแกคางแข็งขยัน                              คาบไว้

กัดงูงูเร่งพัน                                        ขนดเครียด

ปากอ้างูจึงได้                                      ลากล้วงตับกิน

ถอดคำประพันธ์   งูเขียวตัวเงาเป็นมันแต่ไม่มีพิษถูกตุ๊กแกคาบไว้ ในขณะเดียวกันงูเขียวก็รัดตุ๊กแกจนต้องอ้าปากและเข้าไปล้วงตัยตุ๊กแกเป็นอาหาร

คำศัพท์

- เหลื้อม               หมายถึง เหลื้อม เป็นรูปโทโทษของ เลื่อม หมายถึงเป็น เงามัน

- พันขนดเครียด     หมายถึง รัดให้แน่นมาก

ดูหนูสู่รูงู         งูสุดสู้หนูสู้งู

หนูงูสู้ดูอยู่                  รูปงูทู่หนูมูทู

ดูงูขู่ฝูดฝู้       พรูพรู

หนูสู่รูงูงู                    สุดสู้

งูสู้หนูหนูสู้                 งูอยู่

หนูรู้งูงูรู้                    รูปถู้มูทู

ถอดคำประพันธ์  งู่ขู่หนูฟู่ๆ เพราะหนูจะเข้าไปในรูงู งูจึงสู้กับหนู หนูก็สู้กับงู สัตว์ทั้งสองต่างก็รู้เชิงซึ่งกันและกันโดยทำเสียงขู่ใส่กัน

คำศัพท์

- มูทู                หมายถึง มูทู คือ มู่ทู่ หมายถึง ป้าน , ไม่แหลม (ในที่นี้ลดวรรณยุกต์เอก)

- ฝู้                   หมายถึง ฝู้ เป็นรูปโทโทษของ ฟู่ หมายถึง เสียงดังเช่นนั้น คือ เสียงดังฟู่ เหมือนเสียงงูเวลาขู่

- ถู้                   หมายถึง เป็นรูปโทโทษของ ทู่ หมายถึงไม่แหลม

หัวลิงหมากลางลิง                              ต้นลางลิงแลหูลิง

ลิงไต่กระไดลิง                                              ลิงโลดคว้าประสาลิง

                        หัวลิงหมากเรียกไม้                ลางลิง

ลางลิงหูลิงลิง                                                 หลอกขู้

ลิงไต่กระไดลิง                                               ลิงห่ม

ลิงโลดฉวยผู้ชม                                             ฉีกคว้าประสาลิง

ถอดคำประพันธ์  กวี กล่าวถึงเถาหัวลิง ต้นหมากลิง และลิงบางตัวก็ขึ้นต้นหูลิงทำหน้าหลอกคู่ของมัน บ้างก็ไล่เถากระโดลิงขย่มเล่น บ้างก็กระโดดฉวยชมพู่คว้ามาฉีกเล่นตามภาษาลิง

คำศัพท์

- หัวลิง                                    หมายถึง ไม้เถาชนิดหนึ่ง ผลขนาดส้มจีน มีสันตรงกลางคล้ายหัวลิง

- หมากลางลิง                         หมายถึง ชื่อปาล์มชนิดหนึ่ง

- ลางลิง , กระไดลิง หมายถึง ไม้เถาเนื้อแข็งชนิดหนึ่ง เถาแบนยาว - งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได

- หูลิง                                      หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง

- ขู้                                           หมายถึง ขู้ เป็นคำโทโทษของคำว่า คู่

- ชมผู้                                      หมายถึง ชมผู้ เป็นรูปโทโทษของคำว่า ชมพู่ หมายถึงผลไม้ชนิดหนึ่ง

https://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=353900&chapter=12

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงมีจำนวนกาพย์และโคลงกี่บท

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงประกอบด้วยคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลง ๑๐๘ บท และโคลงสี่สุภาพลงท้ายจำนวนบท ส่วนที่เป็นกาพย์ห่อโคลงแต่งด้วยกาพย์ยานี ๑๑ สลับกับโคลงสี่สุภาพบทต่อบท เนื้อความที่ปรากฏในกาพย์และโคลงจะคล้ายคลึงกัน

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงประกอบด้วยอะไรบ้าง

เนื้อหาของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง เป็นการบรรยายและพรรณนากระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ขบวนช้าง เครื่องสูง สนมนางในผู้ตามเสด็จ กวีบรรยายภาพสัตว์ป่าประเภทต่างๆ ที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน มีสัตว์สี่เท้า เช่น ช้าง กระบือ โค กวาง ทราย หมูป่า สุนัขจิ้งจอก กระทิง หมี เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว โคแดง ละมั่ง อ้น กระแต กระรอก ฯลฯ

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงเป็นชื่อของอะไร

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงเป็นวรรณคดีที่แต่งขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ผู้ทรงพระนิพนธ์คือ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์(เจ้าฟ้ากุ้ง) แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกาพย์ห่อโคลง ในโอกาสที่พระองค์ขบวนเสด็จทางสถลมารคของ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการพระพุทธบาทที่สระบุรีธารทองแดงเป็นลำธารที่เกิดจาก ...

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงแต่งด้วยคำประพันธ์กี่ชนิด อะไรบ้าง

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง นั้นมีกาพย์ยานีและ โคลงสี่สุภาพรวม 108 คู่ และโคลงปิดท้ายมี 2 บท Page 13 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ❖ ลักษณะคําประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง กาพย์ยานี 1 บท แล้วตามด้วย โคลงสี่สุภาพ 1 บท ใจความเหมือนกัน สลับกันไปมา Page 14 ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์ ...