ข้าวหลามหนองมน ครัวคุณต๋อย

ตั้งแต่เกิดจนโต ‘ข้าวหลาม’ กลายเป็นของหวานที่ปรากฎอยู่ในทุกมื้อ ไม่ว่าจะวันสำคัญ, งานเทศกาล ไปจนถึงของฝากให้แก่คนต่างถิ่น จึงไม่แปลกที่ข้าวหลาม กับคนชลบุรี กลายเป็นของคู่กันไปโดยปริยาย

แต่นอกจากรสหวานหอมมัน ที่ล่อลวงให้เราตักเข้าปากต่อเรื่อย ๆ และกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของกระบอกไม้ไผ่ ที่ช่วยเพิ่มอรรถรสในการกินแล้วนั้น ข้าวหลามยังมีเรื่องที่หลายคนไม่รู้ซ่อนอยู่ !

วันนี้เราจะขอรับบทยอดนักสืบ พาทุกคนไปขุดคุ้ยความลับในกระบอกไม้ไผ่ จากข้าวหลามหนองมนกันเลย ถ้าพร้อมแล้ว ก็ตามไปอ่านโล้ด

1.มาจากวัฒนธรรมการหุงข้าวด้วยไม้ไผ่

ประวัติความเป็นมาของข้าวหลามนั้น ค่อนข้างซับซ้อน แต่มีการสันนิษฐานว่ามาจากวัฒนธรรมของคนไทยภาคเหนือและอีสาน ที่มักจะกินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก รวมไปถึง คนสมัยก่อนนิยมหุงข้าวกับกระบอกไม้ไผ่อยู่แล้ว เพราะจะช่วยชูรสชาติให้ข้าวมีความหอมกว่าปกติ

แต่บางแห่งก็สันนิษฐานว่า มาจากการที่ชาวบ้านต้องเก็บของป่าและล่าสัตว์ แต่ไม่มีอุปกรณ์สำหรับทำอาหาร จึงใช้กระบอกไม้ไผ่มาตัด และใช้เป็นภาชนะในการหุงข้าวแทน ต่อมาจึงดัดแปลงเติมวัตถุดิบเข้าไปในข้าวตามแต่ละภูมิภาค

รวมไปถึงการดัดแปลงเป็นของหวานจากข้าวเหนียว โดยเพิ่มรสชาติด้วยกะทิ น้ำตาล และถั่ว จากนั้นนำไปเผา กลายเป็นข้าวหลาม ของหวานแสนอร่อยในปัจจุบัน

2. สมัยก่อนนิยมกินเฉพาะฤดูหนาว

แม้ปัจจุบัน เราจะสามารถหาซื้อข้าวหลาม และกินได้ในทุกฤดูกาล หรือเอาจริง ๆ ก็กินได้ในทุกมื้อด้วยซ้ำ แต่เชื่อหรือไม่ว่าในอดีต ข้าวหลาม เป็นอาหารที่หากินได้เฉพาะหน้าหนาวเท่านั้น

ย้อนกลับไปสมัยก่อน ชาวบ้านนิยมทำข้าวหลามในช่วงฤดูหนาว โดยจะเตรียมทำข้าวหลามในช่วงเย็น จากนั้นช่วงเช้า ก็นำวัตถุดิบมากรอกใส่กระบอกไม้ไผ่ และเตรียมเผาไฟ ระหว่างที่เผา ก็นั่งล้อมวงเพื่อผิงไฟไปในตัว เป็นการเพิ่มความอบอุ่นในหน้าหนาว แถมยังได้ของหวานอร่อย ๆ กิน

แต่บางแห่งก็สันนิษฐานว่านิยมทำในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว เพราะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าว ทำให้ได้ข้าวใหม่ที่มีความหอม เหมาะแก่การทำข้าวหลาม รวมไปถึงต้นไผ่ที่เกิดในช่วงฤดูฝน จะมีเยื่อบาง ๆ ที่ไม่แก่และไม่แข็งจนเกินไป

3. มีพันธุ์ไผ่ สำหรับทำข้าวหลามโดยเฉพาะ

นอกจากข้าวเหนียว กะทิ และถั่วดำแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ และเป็นหัวใจหลักของการทำข้าวหลาม ก็คือ กระบอกไม้ไผ่ ที่เป็นตัวชี้เป็นชี้ตายเลยว่า ข้าวหลามของคุณ จะมีกลิ่นหอมน่ากินหรือไม่

ด้วยความสำคัญขนาดนี้ ทำให้คนทำข้าวหลาม จำเป็นต้องใช้ไม้ไผ่สำหรับข้าวหลามโดยเฉพาะ อย่าง “ไผ่ข้าวหลาม” หรือชื่อวิทยาศาสตร์อย่าง BAM-BUSA SPP. อยู่ในวงศ์ GRAMI-NEAE เป็นไม้ในตระกูลหญ้า

ข้อดีคือขนาดแต่ละปล้องจะมีความพอดี เหมาะแก่การนำไปเผาข้าวหลาม รวมไปถึงเยื่อหุ้มที่ไม่ขาดง่าย สามารถห่อหุ้มข้าวไว้ได้เป็นอย่างดี แต่ที่เป็นไฮไลต์ ก็คือเป็นไผ่ที่ทนไฟ สามารถเผาโดยกระบอกไม่แตก จึงเป็นจุดที่ต่างจากไม้ไผ่พันธุ์อื่น ๆ

4. ชาวบ้านหนองมน ก่อนจะขายข้าวหลาม เคยทำนากันมาก่อน

ถ้าพูดถึงข้าวหลาม ชื่อของตลาดหนองมน ก็ต่อต่อท้ายขึ้นมาอย่างขาดไม่ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า ก่อนจะมาขายข้าวหลามกันทุกบ้านแบบนี้ ชาวบ้านหนองมน เค้าเคยทำนากันมาก่อน !

ย้อนกลับไปในสมัยก่อน ชาวบ้านบริเวณนี้มีอาชีพทำนาเป็นหลักตามวิถีชีวิตคนไทย ซึ่งเมื่อหมดหน้านา ชาวบ้านก็นำข้าวที่ได้ไปทำข้าวหลามเป็นของหวานเพื่อประหยัดเงิน โดยนำข้าวเหนียว ไปแลกกับน้ำตาลและมะพร้าวจากหมู่บ้านอื่น ส่วนไม้ไผ่ก็ขึ้นไปตัดเองบนเขา

ต่อมาก็พัฒนาเป็นการค้าขายที่งานประจำปีศาลเจ้าหนองมน และเริ่มรุ่งเรืองขึ้นจากการที่มีถนนสายสุขุมวิทตัดกลางตลาด ทำให้เป็นแลนด์มาร์กสำคัญที่ใครไปใครมาก็ต้องแวะ จนมาถึงปัจจุบัน


เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 4 เรื่องที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับข้าวหลาม ยอมรับเลยว่าเป็นคนชลบุรีแท้ ๆ แต่บางข้อก็ยังแปลกใจเลยด้วยซ้ำ ! ส่วนใครมีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้าวหลามอีก ก็เอามาแชร์ทางเพจกันได้น้า รออ่านอยู่จ้า

ทำ‘ข้าวหลามหนองมนไร้กระบอก กะทิฉ่ำหน้าเยิ้มด้วยหม้อหุงข้าว’ 🪵🍚🏖✨ #ข้าวหลาม #ข้ามหลามไร้กระบอก #ข้าวหลามหม้อหุงข้าว #MasterTomTom #TikTokพากิน #ห้องครัวTikTok #มากกว่า60วิ

♬ original sound - MasterTomTom - MasterTomTom

ร้านหาง่ายเพราะอยู่ริมถนนสุขุมวิทที่ตลาดหนองมน ร้านจะอยู่ฝั่งตรงข้ามธนาคารกสิกรไทย เยื้องกันไปนิดเดียวมีป้ายร้านใหญ่โต เห็นชัด ไม่ต้อง กลัวหลง มาตลาดหนองมน จ.ชลบุรี ไม่กินซุปเปอร์บิ๊ก ที่ร้านเย็นตาโฟกั้งแม่เจริญหนองมนถือว่าผิด

ร้านนี้เปิดมาแล้วเกือบ 50 ปี ซึ่ง เจ๊หนู หรือ คุณ ณัฐธิดา หอมหวล เริ่มจากทำ ข้าวหลาม ขาย ตามมาด้วย ข้าวหลาม ช็อต แล้วต่อด้วยของคาว หลากหลายเมนู ที่ร้านมีเมนูให้เลือกเยอะมากทั้งหอยจ๊อกรรเชียงปู, กั้งกะเพรา, กุ้งราดซอสมะขาม, ขนมจีนน้ำยาปู, ต้มยำปูหม้อไฟ แต่ถ้ามาร้านนี้ ไม่กินซุปเปอร์บิ๊ก ถือว่าผิด ซึ่งใน 1 หม้อไฟ จะมีน้ำซุปถึง 2 ชนิด นั่นคือเย็นตาโฟและต้มยำมันกุ้ง ซึ่งจะมีของทะเลสดๆ เยอะมาก ทั้งกุ้ง, กั้ง, ปลาหมึก และหอยตัวใหญ่ๆ พร้อมเครื่องเคียงอีกเพียบ ใครได้ลองเป็นต้องติดใจ

ครัวคุณต๋อยอร่อยบอกต่อ “ข้าวหลามจิ๋ว” เจ้าแรก สูตรบางคนที กระบอกจิ๋ว แต่รสชาติแจ๋ว อร่อยจนต้องบอกต่อ เหนียวนุ่ม หอม หวาน มัน ทำใหม่วันต่อวัน 

อร่อยบอกต่อมาแว้วว…วันนี้เติมหวานเข้าเส้น ให้หัวใจได้กระชุ่มกระชวยกันสักหน่อย กับเมนูเด็ดของร้านนี้เลย “ข้าวหลามจิ๋ว สูตรบางคนที” ข้าวหลามไซร์จิ๋วแต่รสแจ๋ว แถมราคาเพียงกระบอกละ 20 บ. แจ่มว้าววววมากก!!!!

* ทางร้านคิดค้นและพัฒนาสูตรข้าวหลามจนได้รสชาติที่อร่อยลงตัว เหนียวนุ่ม หอม หวาน มัน เป็นเอกลักษณ์แบบฉบับบางคนที

* คัดสรรวัตุดิบคุณภาพดี เลือกข้าวเหนียวพันธุ์ดี ใช้กะทิคั้นสด ไม่ใส่สารกันเสีย ที่สำคัญทำใหม่วันต่อวัน เผาด้วยถ่านเพื่อให้ข้าวหลามมีกลิ่นหอม  

* มีข้าวหลามจิ๋ว 2 แบบคือ ข้าวหลามจิ๋วข้าวเหนียวขาว และข้าวหลามจิ๋วข้าวเหนียวดำไส้ถั่วดำลูกเดือย อร่อยจนได้ 10 คะแนนเต็มไปเลยจ้า

* นอกจากนี้ยังมีเมนู ข้าวเหนียวปิ้งน้ำดอกอัญชันไส้กล้วย / ไส้เผือก / ขนมใส่ไส้ / ข้าวต้มมัด ไว้ให้คุณได้เลือกฟินเพิ่ม รับรองอร่อยแน่นอน เพราะกินมาแล้วจ้า555

เจอร้าน “ข้าวหลามจิ๋ว สูตรบางคนที” ที่ไหนเข้าไปอุดหนุนกันได้เลยจ้า ครัวคุณต๋อยการันตีว่าอร่อยชัวร์ รับรองไม่ผิดหวังแน่นอน ซื้อกินถูกปาก…ซื้อฝากถูกใจจ้า

ข้าวหลามหนองมนใช้ไผ่ชนิดไหน

ไม้ไผ่ที่ใช้ทำข้าวหลามมี 3 ชนิด คือ ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ป่า และไผ่สีสุก โดยข้าวหลามหนองมนจะใช้ไม้ไผ่ป่า แต่เดิมเป็นไม้จากเขาบ่อยาง ปัจจุบันเริ่มหมดลงแล้ว จึงต้องจึงต้องสั่งซื้อไม้ไผ่มาจากที่อื่นแทน อย่างบ้านพี่วงศ์ก็จะสั่งไม้มาจากกาญจนบุรี และทางภาคเหนือ ซึ่งไม้ไผ่ที่ได้มา มีทั้งไม้แก่ ไม้สดหรือไม้อ่อน หากจะอร่อยและมีเยื่อ ...

ข้าวหลามทำมาจากอะไร

ประวัติความเป็นมาของข้าวหลามนั้น ค่อนข้างซับซ้อน แต่มีการสันนิษฐานว่ามาจากวัฒนธรรมของคนไทยภาคเหนือและอีสาน ที่มักจะกินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก รวมไปถึง คนสมัยก่อนนิยมหุงข้าวกับกระบอกไม้ไผ่อยู่แล้ว เพราะจะช่วยชูรสชาติให้ข้าวมีความหอมกว่าปกติ

ข้าวหลามเก็บไว้ได้กี่วัน

ต้องเรียนชี้แจงนะคะ ข้าวหลามทำใหม่ทุกวัน มีโอกาสเสียน้อยมากค่ะ ปกติจะเก็บได้ 2 วัน แต่ก็อาจเสียได้ ถ้าเก็บรักษาไม่ดีเท่าที่ควร ช่วงนี้อากาศร้อนมาก อาจจะตากแดดนานเกินไป ก็มีโอกาสเสียได้ค่ะ

ไส้ข้าวหลามมีอะไรบ้าง

ข้าวหลาม คือของทานเล่นอย่างหนึ่งของคนไทย ที่มีส่วนประกอบหลักๆ คือ ข้าวเหนียว กะทิ ถั่วแดง เผือก ซึ่งวัตถุดิบต่างๆ ถูกอัดแน่นและปรุงมาใน Packaging สุดเท่ข้ามกาลเวลา นั่นก็คือ “กระบอกไม้ไผ่” ข้าวหลามมีรสชาติที่ หวาน มัน เข้มข้น และมีกลิ่นที่หอมชวนรับประทาน จุดพีคอยู่ที่ตัวไส้ ซึ่งเราจะได้รับรสชาติความเข้มข้นไปแบบเต็มๆ ...