พระนเรศวร ภาค 2 เต็มเรื่อง อวสาน หง สา

Ficha técnica

Título Original

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา


Estado

Estrenada el 18/01/2007


Año

2007


Duración

134 min.


Director

Chatrichalerm Yukol


País

Tailandia


Presupuesto

20.000.000 $


Ingresos

7.900.000 $


Enlaces


PUBLICIDAD

พระนเรศวร ภาค 2 เต็มเรื่อง อวสาน หง สา

บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย

  • บทความนี้เขียนเหมือนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และต้องการเขียนใหม่โดยใช้มุมมองที่เป็นกลาง
  • บทความนี้มีเนื้อหาหรือรูปแบบคล้ายตำรา งานวิจัย ข้อเสนอโครงการ หรือลักษณะอื่นที่ไม่เป็นสารานุกรม
  • บทความนี้ต้องการจัดรูปแบบข้อความ การจัดหน้า การแบ่งหัวข้อ การจัดลิงก์ภายใน และอื่น ๆ
  • บทความนี้ต้องการพิสูจน์อักษร อาจเป็นด้านการใช้ภาษา การสะกด ไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน หรือการแปลจากภาษาอื่น
  • บทความนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา
พระนเรศวร ภาค 2 เต็มเรื่อง อวสาน หง สา
กำกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
บทภาพยนตร์หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์
อำนวยการสร้างหม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา
หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล
คุณากร เศรษฐี
นักแสดงนำ

  • พันโท วันชนะ สวัสดี
  • ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ
  • จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
  • นพชัย ชัยนาม
  • นภัสกร มิตรเอม
  • สรพงษ์ ชาตรี
  • เกรซ มหาดำรงค์กุล
  • พันเอก วินธัย สุวารี
  • เต็มฟ้า กฤษณายุธ
  • นิรุตติ์ ศิริจรรยา
  • รัชนี ศิระเลิศ
  • ปราบต์ปฏล สุวรรณบาง
  • ชลิต เฟื่องอารมย์

ผู้บรรยายมนตรี เจนอักษร
กำกับภาพสตานิสลาฟ ดอร์ซิก
ตัดต่อหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
หม่อมราชวงศ์หญิงปัทมนัดดา ยุคล
ดนตรีประกอบเทิดศักดิ์ จันทร์ปาน
บริษัทผู้สร้าง

พร้อมมิตร โปรดักชั่น

ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
วันฉาย9 เมษายน พ.ศ. 2558
ความยาว95 นาที
ประเทศประเทศไทย
ภาษาภาษาไทย
ภาษาพม่า
ภาษามอญ
ทำเงิน115.11 ล้านบาท[1]
ก่อนหน้านี้ยุทธหัตถี
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา เป็นภาพยนตร์ภาคที่หกซึ่งเป็นภาคสุดท้ายในภาพยนตร์ชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กำหนดฉายในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

เนื้อเรื่อง[แก้]

แม้นยุทธหัตถีจะเป็นมหาศึกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ แต่ก็หาใช่ศึกสุดท้ายที่ทำให้อโยธยามีความ­สุขสงบมาอีกกว่า 200 ปีไม่ หากคือการเริ่มต้นแห่งการรวบรวมบ้านเมืองแ­ละสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับแผ่นดิน

ในปี พ.ศ. 2135 หลังพ่ายศึกยุทธหัตถี พระเจ้านันทบุเรงระบายพระโทสะที่สูญเสียรา­ชบุตร อุปราชแห่งหงสาโดยสังหารเหล่าแม่ทัพนายกองทั้งสิ้นทั้งปวง และเข้าไปปลงพระชนม์พระนางสุพรรณกัลยาและพ­ระราชโอรสธิดา สมเด็จพระนเรศวรจึงนำทัพชัยหมายแก้แค้นแทน­พระพี่นาง แม้จะได้รับคำทัดทานจากพระมหาเถรและพระมเห­สีมณีจันทร์ ฝ่ายพระเจ้าตองอูปกครองโดยเมงเยสีหตูผู้เป็นน้องเขยพระเจ้านันทบุเรงคิดจะศิโรราบต่ออโยธยาแต่ถูกทัดทานโดยพระมหาเถรเสียมเพรียม ให้ริบตัวพระเจ้านันทบุเรงและยึดอำนาจปกครองแผ่นดินพม่าเสียเอง พระเจ้านันทบุเรงเมื่ออับจนหนทางไร้ญาติมิตรเข้าช่วยเหลือ ตะโดธรรมราชาเจ้าเมืองแปรและพระเจ้านยองยานก่อกบฎ นรธาเมงสอเจ้าเมืองเชียงใหม่เข้ากับอโยธยา จึงยอ­มให้นัดจินหน่องราชบุตรแห่งเจ้าเมืองตองอู­พาพระองค์พร้อมกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนจ­ากหงสาไปไว้ยังตองอูจนหมดสิ้น ครั้นสมเด็จพระนเรศวรเสด็จถึงเมือง หงสาวดีก็กลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว

ศึกครั้งนี้สมเด็จพระนเรศวรจึงต้องยกทัพตา­มต่อตีไปยังตองอู เพื่อหมายสังหารพระเจ้านันทบุเรงให้จงได้ แต่ระหว่างตั้งทัพล้อมเมืองตองอูกองทัพอโยธยาก็ถูกกองทัพยะไข่นำโดยเมงราชาญีดักปล้นสะเบียงและได้จับตัวสมเด็จพระเอกาทศรถไป แต่พระยาชัยบุรีสามารถเข้าไปช่วยพระองค์ได้ เมื่อนัดจินหน่องโอรสในพระเจ้าตองอูเห็นว่าพระเจ้านันทบุเรงเป็นต้นเหตุชักศึกเข้าบ้านจึงอัญเชิญสมเด็จพระนเรศวรให้ลักลอบเข้ามาสังหารพระเจ้านันทบุเรงด้วยตนเองถึงห้องบรรทม แต่ด้วยสังขารของพระเจ้านันทบุเรงทรงเกิดการปลงละที่จะสังหารเสีย ยกทัพกลับอโยธยา ภายหลังพระเจ้านันทบุเรงถูกนัดจินหน่องกับพระนางเมงเกงสอมเหสีเจ้าเมืองตองอูและมารดาของนัดจินหน่องสมคบคิดวางยาพิษลงในเครื่องเสวยถึงแก่การสิ้นพระชนม์ ด้วยพระชนม์มายุ 64 พรรษา

การกลับมาอโยธยาครั้งนี้ทรงเกิดดวงตาเห็นธรรมหมายใจจะออกบรรพชาละทางโลกและสละราชสมบัติให้สมเด็จพระเอกาทศรถ แต่มีภารกิจไปตีเมืองอังวะกำจัดไม่ให้เป็นเสี้ยนหนามแก่ชาวอโยธยาสืบไป ก่อนออกศึกทรงสัญญากับพระนางมณีจันทร์เมื่อเสร็จศึกจะกลับมารับขวัญรวมทั้งโอรสในท้องด้วย

พ.ศ. 2148 ระหว่างนำทัพเข้าตีอังวะสมเด็จพระนเรศวรทรงประชวรและหยุดทัพที่เมืองฝาง ระหว่างนั้นเห็นภาพนิมิตรเป็นมณีจันทร์นึกเสียพระทัยที่ทรงไม่ยอมเชื่อเรื่องตีเมืองอังวะ อีกทั้งสั่งเสียถึงราชโอรสที่อาจมีราชภัยตามมาเนื่องจากการผลัดแผ่นดิน ต่อมาได้สั่งเสียสมเด็จพระเอกาทศรถให้สืบทอดเจตนารมณ์พระองค์ให้เข้าตีอังวะ แม้พระองค์จะสวรรคตแล้วแต่ก็ให้ผูกพระศพกับหลังช้างเข้าประตูเมืองอังวะให้จงได้ ไม่นานพระองค์ก็ถึงแก่สวรรคตด้วยพระชนม์มายุ 50 พรรษา

นักแสดง[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่: รายนามนักแสดงจากภาพยนตร์เรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

  • พันโทวันชนะ สวัสดี รับบท สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
  • ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ รับบท มณีจันทร์
  • จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ รับบท พระเจ้านันทบุเรง
  • นพชัย ชัยนาม รับบท พระราชมนู
  • นภัสกร มิตรเอม รับบท พระมหาอุปราชา
  • สรพงศ์ ชาตรี รับบท พระมหาเถรคันฉ่อง
  • เกรซ มหาดำรงค์กุล รับบท สมเด็จพระสุพรรณกัลยา
  • พันเอกวินธัย สุวารี รับบท สมเด็จพระเอกาทศรถ
  • เต็มฟ้า กฤษณายุธ รับบท เม้ยมะนิก
  • นิรุตติ์ ศิริจรรยา รับบท เมงเยสีหตูที่ 2 แห่งตองอู
  • รัชนี ศิระเลิศ รับบท พระนางเมงเกงสอ
  • สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ รับบท มหาเถรเสียมเพียม
  • ปราบต์ปฏล สุวรรณบาง รับบท พระชัยบุรี
  • นาวาอากาศโทจงเจต วัชรานันท์ รับบท นัดจินหน่อง
  • พันโทคมกริช อินทรสุวรรณ รับบท พระศรีถมอรัตน์
  • ครรชิต ขวัญประชา รับบท พระยาพะสิม
  • ไกรลาส เกรียงไกร รับบท พระยาลอ
  • ชลิต เฟื่องอารมย์ รับบท นรธาเมงสอ

นักแสดงรับเชิญ[แก้]

  • อรรถพร สุวรรณ รับบท ขุนรอน
  • จรัสพงษ์ สุรัสวดี รับบท พระเทพอรชุน
  • ฐากูร การทิพย์ รับบท ขุนรามเดชะ
  • สมเดช แก้วลือ รับบท จอลุ
  • รณ ฤทธิชัย รับบท เมงราชาญี
  • พลภัทร เวลส์ช รับบท พระยาจันโต
  • ดาม ดัสกร รับบท สีหรั่น
  • สุรศักดิ์ ชัยอรรถ รับบท นันทจอถิง
  • กฤษณ เศรษฐธำรง รับบท ภะยะกามณี

ข้อแตกต่างระหว่างประวัติศาสตร์กับภาพยนตร์[แก้]

  • พระยาพะสิมไม่ได้ถูกประหารชีวิตหลังสงครามยุทธหัตถี เพราะถูกอโยธยาจับตัวไปตั้งแต่ศึกพระอุปราชาครั้งที่ 1แล้ว[2]
  • แท้จริงแล้วสงครามไทย-พม่า หลังศึกยุทธหัตถีจนถึงสมเด็จพระนเรศวรสวรรคตมีด้วยกัน 5 ครั้ง[3][4]
  1. ไทยตีเมืองทวายและตะนาวศรี ในปี พ.ศ. 2136[3]
  2. ไทยได้หัวเมืองมอญ ในปี พ.ศ. 2137 ในครั้งนี้ ไทยตีได้เมาะตะมะและเมาะลำเลิง (ซึ่งเมืองเมาะลำเลิง ในภาพยนตร์เรียกว่า เมาะละแหม่ง)[4]
  3. สมเด็จพระนเรศวรตีเมืองหงสาวดีครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2138 ในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรทรงล้อมเมืองหงสาวดีอยู่ถึง 4 เดือน ก็ยังตีเมืองไม่ได้ เมื่อทรงทราบว่า กองทัพพระเจ้าอังวะ พระเจ้าตองอู พระเจ้าแปร ได้ยกกองทัพลงมาช่วยพระเจ้าหงสาวดีถึงสามเมือง เห็นว่าข้าศึกมีกำลังมากนัก จึงถอยทัพกลับคืนพระนคร[3][4]
  4. สมเด็จพระนเรศวรตีเมืองหงสาวดีครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2142 ในครั้งนี้ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรไปถึงเมืองหงสาวดีก็พบว่าเมืองถูกเผาไปแล้วโดยพวกยะไข่ และพระเจ้าตองอูก็นำตัวพระเจ้านันทบุเรงไปไว้ที่เมืองตองอู สมเด็จพระนเรศวรจึงยกทัพตามขึ้นไปล้อมเมืองตองอูอยู่ 2 เดือน แต่ตีไม่ได้ รวมทั้งขาดแคลนเสบียงอาหารเนื่องจากทางขนส่งเสบียงอาหารเป็นทางไกล อีกทั้งกองโจรยะไข่ได้ตีตัดการขนส่งเสบียง ประกอบกับล่วงเข้าต้นฤดูฝน จึงทรงยกทัพกลับพระนคร[3]
  5. สมเด็จพระนเรศวรยกไปตีเมืองอังวะ ในปี พ.ศ. 2148 ในครั้งนี้ ยังไม่ทันจะได้ตีเมืองอังวะ สมเด็จพระนเรศวรก็ประชวรและเสด็จสวรรคตเสียก่อน กองทัพไทยจึงต้องเลิกกลับคืนพระนคร[4]
  • สมเด็จพระนเรศวรไม่ได้ลอบเข้าเมืองตองอูเพื่อหมายจะสังหารพระเจ้านันทบุเรงตามที่ปรากฏในภาพยนตร์[3][4]
  • ในประวัติศาสตร์จริง สมเด็จพระนเรศวรยกทัพกลับจากเมืองตองอูเพราะขาดเสบียงและในขณะนั้นกำลังล่วงเข้าต้นฤดูฝน[3]
  • ถึงแม้ในภาพยนตร์จะมีคำสั่งเสียจากสมเด็จพระนเรศวรให้สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จไปตีเมืองอังวะ แต่ในประวัติศาสตร์จริงสมเด็จพระเอกาทศรถก็ไม่ได้ได้ไปตีอังวะ แต่ให้ถอยทัพกลับคืนพระนคร[4]
  • เม้ยมะนิก เป็นเพียงตัวละครสมมุติที่แต่งขึ้นเพื่ออุปโลกให้เป็นพระชายามอญของสมเด็จพระเอกาทศรถ
พระนเรศวร ภาค 2 เต็มเรื่อง อวสาน หง สา

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

อ้างอิง[แก้]

  1. รายได้หนังประจำสัปดาห์ 14 - 20 พ.ค. 2558
  2. "ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หน้า 1".
  3. ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หน้า 3".
  4. ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 "เรื่องไทยรบพม่าครั้งกรุงเก่า - วิกิซอร์ซ".[ลิงก์เสีย]

ผลงานโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล

กำกับภาพยนตร์

มันมากับความมืด (2514) • เขาชื่อกานต์ (2516) • เทพธิดาโรงแรม (2517) • ความรักครั้งสุดท้าย (2517) • ผมไม่อยากเป็นพันโท (2518) • นางแบบมหาภัย (2518) • เทวดาเดินดิน (2519) • รักคุณเข้าแล้ว (2520) • ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (2520) • กาม (2521) • อุกาฟ้าเหลือง (2523) • ถ้าเธอยังมีรัก (2524) • มือปืน (2526) • อิสรภาพของทองพูน โคกโพ (2527) • ครูสมศรี (2529) • คนเลี้ยงช้าง (2533) • น้องเมีย (2533) • มือปืน 2 สาละวิน (2536) • เฮโรอีน (2537) • เสียดาย (2537) • เสียดาย 2 (2539) • กล่อง (2541) • สุริโยไท (2544) • ความรักครั้งสุดท้าย (2546) • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (องค์ประกันหงสา • ประกาศอิสรภาพ • ยุทธนาวี • ศึกนันทบุเรง • ยุทธหัตถี • อวสานหงสา) (2550-2558) พันท้ายนรสิงห์ (2558-2559)

พระนเรศวร ภาค 2 เต็มเรื่อง อวสาน หง สา

อำนวยการสร้าง

คืนบาป พรหมพิราม (2546) • โหมโรง (2547)