พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เท่าใด

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๔๘ พระบรมชนกนาถโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา เมื่อทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นอันสมควรแก่ขัตติยบรมราชกุมารแล้ว เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษาหลังจากโสกันต์แล้วได้ทรงเสด็จไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศอังกฤษ ที่วิทยาลัยอีตัน และต่อมาในพ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่ม้าจากโรงเรียนนายร้อยเมืองวูลิช ประเทศอังกฤษ แล้วเสด็จไปประจำกรมทหารปืนใหญ่ม้าอังกฤษ ณ เมืองออลเดอชอต เพื่อทรงศึกษาหน้าที่นายทหาร แต่เนื่องจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จึงโปรดเกล้าฯให้เสด็จนิวัตประเทศไทย

        พศ. ๒๔๕๘ โปรดเกล้าฯให้ทรงรับราชการตำแหน่งนายทหารคนสนิทของจอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบกและทรงเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการตามลำดับ

       พ.ศ. ๒๔๖๐ ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศเป็นเวลา ๑ พรรษา

       พ.ศ. ๒๔๖๑ พระองค์ทรงขอพระราชทานพระบรมราชาอนุญาตอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์

และในระหว่างปีพ.ศ. ๒๔๖๓-๒๔๖๗ ได้เสด็จไปศึกษาวิชาทหารบกที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกของประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในปี๒๔๖๘ ทรงได้รับการสถาปนาเลื่อนพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาได้ไม่ถึงเดือน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเหล่าเสนาบดีพร้อมกันกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗ พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

*พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคตเมื่อเวลา 01.45 น. ของเช้าวันที่ 26 พฤศจิกายน 2468 แต่ประเพณีไทยถือว่ายังเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน จึงจัดงานวันคล้ายวันสวรรคตในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี

จากบันทึกของ จมื่นมานิตย์นเรศร (เฉลิม เศวตนันทน์) เรื่อง รัชกาลที่ 6 สวรรคต

“รุ่งขึ้นวันที่ 24 เจ้าพระยารามราฆพเข้าไปกราบบังคมทูลขณะที่มีสติดีว่าพระนางเจ้าสุวัทนาจะประสูติวันนี้ก็ทรงกระวนกระวายพระทัย พอทรงได้ยินปืนเที่ยง ทรงดีพระราชหฤทัยจนถึงทรงยิ้มเพราะทรงมีพระราชดำรัสสั่งว่า ถ้าประสูติเจ้าฟ้าชาย ให้มีการยิงปืนถวายคำนับ พอเจ้าพระยารามราฆพกราบทูลว่าไม่ใช่ ก็ทรงนิ่งไปอีกจนบ่าย เจ้าพระยารามราฆพเข้าไปกราบบังคมทูลว่าประสูติแล้วเป็นเจ้าฟ้าหญิง ทรงหลับพระเนตรและรับสั่งด้วยพระสุรเสียงอันแผ่วเบาว่า “ก็ดีเหมือนกัน” แล้วทรงแน่นิ่งอยู่ตลอดมา

วันที่ 25 กลางวันเจ้าคุณพระประยูรวงศ์เชิญสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาบรรทมพระยี่ภู่เข้าไปถวาย ทรงเอื้อมพระหัตถ์คล้ายๆ กับจะทรงจับ แล้วก็ทรงชักกลับ ทุกคนที่อยู่ในที่นั่นสุดจะกลั้นความโศกาดูรได้ เจ้าคุณพระประยูรวงศ์เชิญเจ้าฟ้าพระราชธิดากลับ ตั้งแต่นั้นก็ส่งสลบแน่นิ่ง หายพระราชหฤทัยรวยๆ มีพลตรีพยาวิบูลอายุรเวช นั่งถวายตรวจชีพจรอยู่ตลอดเวลา จนถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 25 พฤศจิกายน 2468* เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในพระมหามณเฑียรในพระมหาบรมมหาราชวัง”

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เท่าใด
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงฉลองพระองค์อย่างอยู่กับบ้าน ประทับฉายพระบรมฉายาลักษณ์พร้อมด้วย ย่าเหล สุนัขทรงเลี้ยง

น้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต และพระกรุณาธิคุณในสมเด็จเจ้าฟ้าหญิง (สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี) พระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้น เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ

      ��кҷ���稾�����خ�������������� �ç��Ъ�ô����ä�ҧ�Թ����âѴ��ͧ ���ջ�С����Ҫ�Ԩ�ҹ�ມ����ҷç��л�Ъ�ô����ä������Ե�繾����ط� �ҵ�����ѹ��� �� ��Ȩԡ�¹ �.�. ���� ������ä� � ��з���觨ѡþ�ôԾ��ҹ ������ѹ��� �� ��Ȩԡ�¹ �.�. ���� ���� � ���ԡ� �� �ҷ� ��Ъ��������繻շ�� �� �ʴ稴�ç�����Ҫ���ѵ��� �� �����

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก เพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน) และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้ว จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ในวันนั้นมีหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน นิสิตนักศึกษา พ่อค้าประชาชนจำนวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ณ วชิราวุธวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวน


ด้านการศึกษา

ในด้านการศึกษา ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งในปัจจุบันคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ทั้งยังทรงสนับสนุนกิจการของโรงเรียนราชวิทยาลัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2440 (ปัจจุบันคือโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์) และในปี พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐาน “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย การเปิดโรงเรียนในเมืองเหนือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชทานนามโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 ซึ่งไม่เป็นเพียงแต่การนำรูปแบบการศึกษาตะวันตกมายังหัวเมืองเหนือเท่านั้น แต่ยังแฝงนัยการเมืองระหว่างประเทศเอาไว้ด้วยเห็นได้จากการเสด็จประพาสมณฑลพายัพทั้งสองครั้งระหว่าง พ.ศ. 2448-2450 พระองค์ได้ทรงสนพระทัยในกิจการโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น โดยพระองค์ทรงบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์ "เที่ยวเมืองพระร่วง" และ "ลิลิตพายัพ" ทั้งนี้ เป้าหมายของการจัดการศึกษายังแฝงประโยชน์ทางการเมืองที่จะให้ชาวท้องถิ่นกลมเกลียวกับไทยอีกด้วย