ค่าแรง เปลี่ยนยาง บิ๊ ก ไบ ค์

1 เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง 20 - 50 2 เปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้าย 20 - 50 3 เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่อง 30 - 120 4 เปลี่ยนใส้กรองอากาศ 40 - 80 5 เปลี่ยนแบตเตอรี่ 30 - 50 6 ชาร์จแบตเตอรี่ (ชาร์จเกิน 2 ชม. คิดเพิ่ม ชม. ละ 5 บาท) 50 7 เปลี่ยนสายน้ำมัน 50 - 100 8 เปลี่ยนหัวเทียน 60 - 100 9 เปลี่ยนยางนอก - ยางใน (ไม่ใช้เครื่องถอดยาง) 50 - 80 10 เปลี่ยนยางนอก (ใช้เครื่องถอดยาง) 120 - 200 11 เปลี่ยนโซ่สเตอร์ 100 - 150 12 เปลี่ยนสเตอร์ (หลัง) 80 13 ตั้งโซ่ (ตาม cc. รถ) 20 - 80 14 ตัดโซ่ (ตาม cc. รถ) 50 - 100 15 เปลี่ยนผ้าเบรก หน้า/หลัง 50 - 80 16 ล้างทำความสะอาดเบรก 50 - 100 17 เปลี่ยนซิลโช๊คหน้า (ต่อข้าง) 100 - 150 18 เปลี่ยนซิลโช๊คหน้า (แกนโช๊คใหญ่) เกิน 150 cc. 150 - 200 19 เปลี่ยนซิลโช๊ค Upside Down (ไม่รวมค่าบริการ | ค่าน้ำมัน | ค่าซิล) 500-1,000 20 ปรับ - ตั้ง ชุดลูกปืนคอ 100 21 เปลี่ยนลูกปืนคอ / ลูกปืนดุมสเตอร์ 80 - 150 22 เปลี่ยนสายพาน 150 23 เปลี่ยนสายไมล์ / กระปุกไมล์ / คันเร่ง 100 - 200 24 เปลี่ยนสายคลัช 120 - 200 25 เปลี่ยนสายเบรก - ไล่น้ำมัน (หน้า / หลัง) 100 - 200 26 เปลี่ยนขาตั้งคู่ 100 - 150 27 เปลี่ยนขาตั้งข้าง 50 - 100 28 เปลี่ยนล้อ / ขึ้นซี่ลวด (ต่อล้อ) 150 - 200 29 เปลี่ยนลูกปืนคอ 250 - 400 30 เปลี่ยนโช๊คหลัง (ข้าง / คู่) 150 - 300 31 เปลี่ยนโช๊คหน้าคู่ 200 32 เปลี่ยนชุดซ่อมปั้มเบรก บน/ล่าง 120 - 200 33 เปลี่ยนชุดสี 100 - 500 34 ปะยางแทงหนอน (ต่อจุด) 80 35 เปลี่ยนบูทแท่นเครื่อง / บูทสวิงอาร์ม 150 - 300 36 เปลี่ยนหม้อน้ำ 200 37 เปลี่ยนมือเบรก / มือคลัทช์ 50 - 100 38 ถอดประกอบชิ้นส่วนอะไหล่ (เริ่มต้น) 100 39 ทำความสะอาด / ซ่อม / เปลี่ยน / ชุดสายพานทั้งชุด 250 - 300

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมรถจักรยานยนต์ระดับบิ๊กไบค์ หรือสกู๊ตเตอร์คันใหญ่ ตั้งแต่ระดับประมาณ 300 ซีซีขึ้นไป เวลาเปลี่ยนยาง จะต้องทำการถ่วงล้อเหมือนกับรถยนต์ แต่ถ้าหากเป็นรถจักรยานยนต์ทั่วไป ทำไมถึงไม่ต้องถ่วงล้อ วันนี้ทีมงาน MotoWish ก็เลยจะพาไบค์เกอร์ทุกคนมาหาคำตอบ

 

หากพูดถึงบิ๊กไบค์ จะมีขนาดยางของรถใหญ่กว่ารถจักรยานยนต์ทั่วๆ ไป เพื่อทำหน้าที่รองรับพละกำลังอันมหาศาลของเครื่องยนต์ที่กดลงมาสู่พื้น ประกอบกับน้ำหนักของตัวรถที่หนักกว่ารถทั่วไปมาก หากล้อไม่มีความสมดุลก็จะทำให้เกิดแรงเหวี่ยง แรงสั่นสะเทือนขึ้นมายังแฮนด์ ขณะที่เรากำลังใช้ความเร็วสูงๆ อยู่ จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

ค่าแรง เปลี่ยนยาง บิ๊ ก ไบ ค์

แล้วถ้าเราถ่วงล้อ มันจะช่วยอะไรบ้างหละ ?

 

  1. ช่วยลดอาการสั่นสะเทือนของล้อไปยังแฮนด์
  2. ช่วยลดแรงเสียดทานต่อแรงกระทำบนพื้นถนน
  3. ช่วยให้การหมุนของล้อรถนั้นมีความสมดุล หน้ายางสัมผัสกับพื้นได้เท่าๆ กัน ทำให้ยางไมเป็นคลื่น

 

ต้องจำไว้ว่ายางและล้อแต่ละเส้นนั้นมีน้ำหนักไม่เท่ากันถึงแม้จะเป็นยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน ผลิตมาพร้อมๆ กันก็ตาม การแก้ด้วยการถ่วงล้อจึงเป็นทางออกที่ดี นอกจากนี้เมื่อมีการถอดล้อออกมาเพื่อทำอะไรกับยาง ก็ควรที่จะมีการถ่วงล้อใหม่อีกครั้งเสมอ

 

ถ้าเป็นรถจักรยานยนต์ทั่วๆ ไป ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องถ่วงล้อ เพราะว่าการออกแบบยางนั้นไม่ได้มีขนาดใหญ่มาก และใช้ความเร็วที่ต่ำ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องถ่วงล้อ แต่ถ้ารถระดับ 150 ขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 300 ซีซี การถ่วงล้อไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพื่อความสบายใจของผู้ขับขี่ เวลาเร่งความเร็งสูงๆ ก็สามารถถ่วงล้อได้เช่นเดียวกัน ไม่มีถูกไม่มีผิด

ขึ้นไป จัดอยู่ในประเภทของรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ ยิ่งเครื่องใหญ่ การดูแลหลังซื้อยิ่งสำคัญ ค่าบำรุงรักษาแพงขึ้นตามระดับ CC ดังนั้นเวลาจะซื้อรถพวกนี้ ไม่ใช่มีเงินดาวน์ และเงินผ่อนที่ต้องคิดเท่านั้น แต่ส่วนของค่าบำรุงรักษาก็ต้องมีพร้อมอยู่ในมือด้วย

รถบิ๊กไบค์ 1 คัน จึงไม่จบแค่ค่าน้ำมัน แต่จะต้องมีค่าใช้จ่ายจิปาถะงอกเพิ่มขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไบเกอร์คนไหนไม่อยากให้รถเสื่อมสภาพไว ก็ต้องยอมควักเงินในกระเป๋าพร้อมจ่ายนั่นแหละ บางครั้งก็มีเหตุสุดวิสัยที่ต้องจ่ายแบบกระทันหันขึ้นมาได้เหมือนกัน

ค่าแรง เปลี่ยนยาง บิ๊ ก ไบ ค์

4 สิ่งต้องเช็ค ค่าบำรุงรักษารถบิ๊กไบค์มีอะไรจำเป็นบ้าง ?

ถ้าเราจะพูดถึงมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ที่มีเครื่องตั้งแต่ 400 CC ขึ้นไป ลองมองดูค่าใช้จ่ายหลังซื้อรถมาแล้ว ใช้หลักการดูง่าย ๆ ก็คือ พอเริ่มเข้าระยะหมดปีแรก จะมีการบำรุงรักษาแบบยิบย่อยเพิ่มขึ้นมาแล้ว ยิ่งในปีหนึ่ง ๆ ใช้งานเยอะมาก การดูแลก็ยิ่งต้องเข้าศูนย์เอาไปให้ช่างเขาตรวจเช็คกันแล้ว โดยหลัก ๆ ที่เหล่าไบเกอร์ต้องทำก็คือ

ราคาตรวจสภาพก็ขึ้นอยู่กับแต่ละค่าย ขึ้นอยู่กับการดูแลของศูนย์ แบรนด์ไทยหรือแบรนด์นอก ถ้าเช็คระยะโดยปกติถ้าเป็น 1-2 ปีแรก ราคาเบา ๆ หน่อย เริ่มตั้งแต่ 5,000 ไปจนถึง 20,000 อันนี้ยังไม่นับกรณีเป็นแบรนด์นำเข้า ราคาก็จะแพงมากขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งที่คนมีบิ๊กไบค์ต้องทำ ไม่งั้นรถพัง มันจะไม่คุ้มกับสิ่งที่ต้องจ่ายมากกว่านี้เช็คระยะรถเพื่อตรวจสอบสภาพ

2.เช็คสภาพผ้าเบรค โซ่ ยางรถ และสเตอร์

ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ไหน เครื่องจะใหญ่แค่ไหน แต่นี่คือส่วนประกอบที่มีอยู่แล้วในรถบิ๊กไบต์ทุกคัน และเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ถ้าเสื่อมก็ต้องรีบเปลี่ยน โดยเฉพาะยางและเบรค ผลัดวันประกันพรุ่งไป ก็จะกลายเป็นเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุตามมา จนต้องจ่ายค่าหมอเพิ่มเข้าไปอีก รวม ๆ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดนี้ ก็กำเงินไปสัก 15,000-20,000 บาท กำลังดี แต่ทั้งนี้ก็อาจมีเกินไปบ้าง อยู่ที่ว่าระหว่างใช้งาน คุณดูแลรักษาขั้นพื้นฐานได้ดีหรือเปล่าด้วย

3.ค่าเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องรถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์พวกนี้ ถ้ายิ่งเครื่องใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้ปริมาณลิตรเยอะอยู่แล้ว ดังนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ที่คุณจะต้องเปลี่ยนทุกครั้งที่ครบรอบ เอาเป็นเริ่มต้นแบบพอไปวัดไปวาก็ราว 500-1,000 ไม่รวมค่าตัวช่าง อย่ามัวตุกติกว่าเดี๋ยวรอก่อนไปเรื่อย ๆ เพราะน้ำมันเครื่องที่สกปรกสะสมมานาน จะสร้างปัญหาให้เครื่องยนต์ส่วนอื่นตามมา ให้รีบไปเปลี่ยนโดยเร็วดีที่สุด

4.เตรียมรับสภาพค่าเสื่อมความเสื่อมของอุปกรณ์

ใช้ไปนาน ๆ สภาพอะไหล่บิ๊กไบค์ก็หย่อนยานเป็นธรรมดา บางส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ ต้องมีให้ได้แก้ไข หรือเปลี่ยนใหม่เพราะเสียหาย จะเอาไปซ่อมกลับมาใช้งานใหม่ก็คงทำไม่ได้แล้ว ที่เจอได้บ่อยก็จะเป็นพวกหลอดไฟขาด แบตเตอรี่ หัวเทียน วาล์วรั่ว สายครัชขาด หรือผ้าเบรกมีปัญหา บางคันไปเกิดอุบัติเหตุมา ก็ต้องเปลี่ยนกันชุดใหญ่ แบบนี้อาจจะต้องเตรียมเงินเฉลี่ยกันราว ๆ เกือบแสนต่อปีได้เลย

ค่าแรง เปลี่ยนยาง บิ๊ ก ไบ ค์

ดูแลรถบิ๊กไบค์อย่างไร ให้จ่ายค่าบำรุงรักษาไม่หนัก ?

คนที่ต้องบำรุงรักษารถบิ๊กไบค์ในแต่ละปี ใช่ว่าจะต้องจ่ายแพงเสมอไป คุณสามารถจ่ายในราคาถูกลงมาได้ด้วยการพยายามรักษาสภาพรถในช่วงของการใช้งาน ตั้งแต่การขับแบบทะนุถนอม ใช้น้ำมันที่เหมาะสมกับตัวเครื่องยนต์ ออกตัวรถไม่กระชาก ไม่จอดตากฝนตากน้ำค้าง หรือจอดกลางแจ้งทั้งวัน หมั่นทำความสะอาดโซ่ สเตอร์ ดูแลยาง ใส่น้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่าง ๆ และล้างรถเพื่อเอาคราบสกปรกออกไปบ้าง เวลาได้ยินเสียงอะไรดังแบบไม่คุ้นหู ก็ต้องหาดูบ้างว่ามีสาเหตุมาจากอะไร จะได้แก้ไขได้ทัน ข้อดีคือแม้จะดูเหมือนจ่ายแพงในการดูแล หรือต้องมาจุกจิกอยู่บ่อย ๆ แต่เทียบกับตอนที่เครื่องเสียเพราะดูแลรถไม่ดีพอ ก็จะกลายเป็นความแพงที่มากขึ้นหลายเท่า มานั่งเสียใจทีหลังก็สายเกินแก้ไปแล้ว