อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว

เรื่องของการหารายได้เสริม วันนี้ eveleighmarket.com มีงานประดิษฐ์เป็นโคมไฟจากกะลามะพร้าวมาแนะนำ เพื่อให้คนที่มีฝีมือ และมีไอเดียนำไปประดิษฐ์เป็นชิ้นงานขาย เป็นการหารายได้เสริมจากวัสดุเหลือใช้ที่น่าสนใจค่ะ

โคมไฟจากกะลามะพร้าว

โคมไฟจากกะลามะพร้าว


อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว

 
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโคมไฟ
 1. กะลามะพร้าว
 2. หลอดไฟ สายไฟ ปลั๊กไฟ
 3. เทปพันสายไฟ
 4. ไม้อัดเหลือใช้ คอโคมไฟไม่ใช้แล้ว
 5. เครื่องยิงกาว
 6. สีไม้โอ๊ก

เครื่องมือและอุปกรณ์
1. เลื่อยฉลุ
2. สว่านเจาะ
3. กระดาษทรายหยาบ
4. กระดาษทรายละเอียด
5. ดินสอ / วงเวียน

   
อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว


 ขั้นตอนในการทำ
1. นำกะลามะพร้าว 1 ลูกผ่ากลางกะลาแบ่งเป็น 2 ส่วนขนาดไม่เท่ากันให้ส่วนหนึ่งเล็ก กว่าอีกส่วนหนึ่งประมาณ 1 ซ.ม
 2. นำกะลาส่วนที่เล็กเจาะรูตรงกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว แล้วขัดกะลาให้ มันแล้วทาด้วยสีไม้โอ๊ก
 3. นำกะลาส่วนที่ใหญ่กว่าเจาะรูตรงกลางประมาณ 2 นิ้ว และเจาะรูด้านข้างขนาดเส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ. ม เพื่อติดสวิสซ์ไฟ
4. นำคอโคมไฟที่ไม่ใช้แล้วมาติดกับกะลาด้านที่ใหญ่โดยติดกาวให้แน่น
5. นำสายไฟติดปลั๊กไฟให้เรียบร้อยแล้วสอดเข้ารูเพื่อติดสวิสซ์ไฟแล้วนำไม้อัดมาปิด ฐานกะลาให้เรียบร้อย 
6.นำกะลาส่วนที่เล็กมาติดกับคอโคมไฟด้านบนและสอดสายไฟจากฐานกะลาขึ้นมาให้ เรียบร้อย
7. ตรวจความเรียบร้อยของโคมไฟ



จุดประสงค์
1.เพื่อเป็นสิ่งของที่ประดิษฐ์ตกแต่งบ้านเรือน
2.เพื่อนำวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์
3.เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
4.เพื่อหารายได้สำหรับบุคคลที่อยากหางานทำที่บ้าน
5.เพื่อเป็นการออกแบบที่ใหม่ของผลิตภัณฑ์โคมไฟที่ใช้ในบ้าน

เขียนโดย Unknown ที่04:03

อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

โครงงานเรื่องโคมไฟกะลา วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขั้นตอนในการทำโคมไฟกะลาเพื่อให้เกิดประสบการณ์ในการทำโคมไฟกะลา เพื่อนำสิ่งของเหลือใช้มาทำให้เกิดมูลค่า เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพื่อก่อให้เกิดรายได้จากการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดประสบการณ์ด้านการขาย ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาขั้นตอนการทำโคมไฟกะลา เสนอโครงงาน ออกแบบผลิตภัณฑ์ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ลงมือปฏิบัติงาน ผู้จัดทำโครงงานได้รับความรู้และประสบผลสำเร็จดังนี้ รู้จักขั้นตอนในการทำโคมไฟกะลา มีประสบการณ์ในการทำผลิตภัณฑ์โคมไฟกะลาได้ สามารถนำสิ่งของเหลือใช้มาทำให้เกิดมูลค่า ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีรายได้เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน




















กิตติกรรมประกาศ


            การจัดทำโครงการครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาและช่วยเหลือในการตรวจสอบ และให้คำแนะนำในการจัดทำโครงการโคมไฟกะลาในครั้งนี้เป็นอย่างดียิ่งจาก อาจารย์ที่ปรึกษา ที่กรุณาเสียสละเวลาให้คำแนะนำ ตรวจ แก้ไขข้อบกพร่องด้วยความเอาใจใส่ ผู้จัดทำโครงงานรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของอาจารย์และขอขอบคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ด้วย และขอขอบพระคุณครูอาจารย์ ครอบครัวและเพื่อนๆที่ให้ความอนุเคราะห์และอำนวยความสะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้จัดทำโครงงานขอขอบพระคุณผู้มีอุปการคุณดังกล่าวไว้ ณ โอกาสนี้เป็นอย่างยิ่ง





















สารบัญ


บทคัดย่อ                                                                                                                                    ก

กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                       ข

สารบัญ                                                                                                                                      ค

บทที่ 1 บทนำ                                                                                                                              1

ความเป็นมาของโครงการ                                                                                     1

วัตถุประสงค์ในการทำโครงการ                                                                                         1

ขอบเขตของโครงการ                                                                                                       1

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ                                                                                          2

วิธีการดำเนินการ                                                                                                2

บทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

โคมไฟ                                                                                                                          3

มะพร้าว                                                                                                                        4

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานตามโครงการ

วิธีการดำเนินงาน                                                                                                            6

วัสดุ/อุปกรณ์ในการทำโคมไฟกะลา                                                                                    7

ขั้นตอนการทำโคมไฟกะลา                                                                                               8

บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน

บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

สรุปผลการดำเนินงาน                                                                                                      17

อภิปรายผลการดำเนินงาน                                                                                                17

ข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม




 บทที่ 1

บทนำ


ความเป็นมาของโครงการ

โคมไฟ เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับอ่านหนังสือ แต่ปัจจุบันคนไทยนิยมบางคนนำโคมไฟมาเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน ซึ่งโคมไฟจะมีรูปที่แต่งต่างกันออกไปตามแต่วัสดุที่นำมาประดิษฐ์ การผลิตโคมไฟสามารถใช้วัสดุได้หลายชนิด เช่น พลาสติก เหล็ก หรืออะลูมิเนียม ซึ่งมักจะมีราคาแพง แต่ความเป็นจริงแล้วโคมไฟสามารถผลิตจากวัสดุอย่างอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็น กะลามะพร้าว ไม้หรือส่วนประกอบของต้นไม้ เช่น รากไม้ กิ่งไม้ เป็นต้น

เมื่อกล่าวถึงกะลามะพร้าว ซึ่งเป็นส่วนประกอบของมะพร้าว สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นโคมไฟได้ จึงเกิดประกายในการนำกะลามะพร้าวซึ่งมีความสวยงามในด้านความเป็นมันวาวของตัวมันเองมาใช้ประโยชน์ตรงนี้ โดยการนำความสวยงามในตัวขัดมันของกะลามะพร้าว มาขับแสงไฟให้เกิดความสวยงามมาประดิษฐ์เป็นโคมไฟสวยงาม มาใช้ประโยชน์ตามต้องการได้

ดังนั้นการทำโคมไฟก็เป็นงานที่สร้างอาชีพให้กับผู้ที่จุดประกายในด้านนี้ และ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ประดิษฐ์โคมไฟจากกะลามะพร้าวมาจำหน่ายให้กับผู้ที่รักการประดิษฐ์สิ่งของจากธรรมชาติ


วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อศึกษาขั้นตอนในการทำโคมไฟกะลา

2. เพื่อให้เกิดประสบการณ์ในการทำโคมไฟกะลา

3. เพื่อนำสิ่งของเหลือใช้มาทำให้เกิดมูลค่า

4. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

5. เพื่อก่อให้เกิดรายได้จากการดำเนินงาน

6. เพื่อให้เกิดประสบการณ์ด้านการขาย




ขอบเขตของโครงการ

การทำโคมไฟกะลา เป็นการพัฒนา มุ่งสร้างผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เพื่อสร้างจุดเด่น และเพิ่มมูลค่าของโคมไฟกะลาให้มีราคาสูงขึ้น


ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

1. รู้จักขั้นตอนในการทำโคมไฟกะลา

2. มีประสบการณ์ในการทำผลิตภัณฑ์โคมไฟกะลาได้

3. สามารถนำสิ่งของเหลือใช้มาทำให้เกิดมูลค่า

4. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

5. มีรายได้เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน


วิธีการดำเนินการ

1. ศึกษาขั้นตอนการทำโคมไฟกะลา

2. เสนอโครงการวิชาชีพ

3. ออกแบบผลิตภัณฑ์

4. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์

5. ลงมือปฏิบัติงาน

8. จัดทำรายงานโครงการ








บทที่ 2

เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง


จากการศึกษา การทำโคมไฟกะลา ผู้จัดทำโครงการได้ศึกษาข้อมูลเอกสารและทฤษฎี

ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. โคมไฟ

2. มะพร้าว


โคมไฟ

อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว



นับแต่สมัยโบราณ ยามค่ำคืน ไม่มีแสงสว่างจากไฟฟ้า มีเพียงแต่แสงดาว แสงจันทร์ และคบเพลิง ซึ่งจากคบเพลิงไม้ ก็ได้นำไปสู่โคมไฟ เพื่อใช้เป็นแสงสว่างยามค่ำคืน โคมไฟถูกสร้างขึ้น น่าจะรับอิทธิพลมาจากประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันโคมไฟที่ได้รับความนิยม อันดับต้นๆ เลยก็คือ โคมไฟไม้สัก ซึ่งมีความสวยงาม คงทน แข็งแรง แต่มีความคลาสสิกในตัวของโคมเอง


ลักษณะของดวงโคมไฟ

1. ดวงโคมไฟเพดานเป็นดวงโคมไฟที่ติดเหนือศีรษะ บริเวณฝ้าเพดาน หรือห้องลงมาจากเพดาน เช่น โคมไฟห้อยเพดานหรือไฟช่อระย้า ที่มีรูปแบบต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย ทั้งที่ทำจากแก้ว พลาสติก โลหะ หรือเซรามิค มีทั้งแบบโคมไฟธรรมดา ราคาไม่แพงไปจนถึงโคม ไหแชนเดอเลียร์ ที่ประกอบไปด้วยหลอดไฟเล็ก ๆ มากมาย สวยงาม ให้แสงสว่างและความร้อนมาก กินไฟมาก ราคาแพง ไฟติดเพดาน มีทั้งแบบดวงโคมที่ยึดติดกับฝ้าเพดาน ประกอบไปด้วยที่ครอบ หรือโป๊ะทำจากแก้ว หรือพลาสติกคลุมหลอดไฟเพื่อช่วยในการกระจายแสง เช่น โคมไฟโป๊ะกลมสำหรับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หรือโคมไฟซาลาเปาสำหรับหลอดไส้ เป็นต้น และแบบที่ติดตั้งโดยเจาะฝ้าเพดานฝังซ่อนดวงโคมไว้ภายใน ที่เราเรียกกันว่า ไฟดาวน์ไลท์ (Down light) ซึ่งให้แสงสว่างได้ดี สามารถเลือกใช้ชนิดของหลอดไห ลักษณะของแสงที่ส่องลงมา และทิศทางการส่องของสำแสงได้หลายแบบเป็นได้ทั้งไฟพื้นฐานและไฟสร้างบรรยากาศ

2. ดวงโคมไฟผนังเป็นชนิดที่ใช้ยึดติดกับผนัง มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบเช่นกัน การกระจายแสงส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับลักษณะของโป๊ะ มีทั้งแบบให้แสงส่องออกมาตรง ๆ หรือแบบสะท้อนเข้าผนังเพื่อสร้างบรรยากาศให้กับห้อง เป็นต้น

3. ดวงโคมไฟตั้งพื้น ตั้งโต๊ะ เป็นดวงโคมไฟแบบลอยตัวที่ช่วยในการให้แสงสว่างตามจุดต่าง ๆ เป็นพิเศษ เช่น ในบริเวณที่นั่งอ่านหนังสือโต๊ะทำงาน หรือโต๊ะหัวเตียง และยังใช้เป็นของประกอบการตกแต่งในห้องชุดร่วมกับชุดเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ อีกด้วย เช่น ชุดรับแขก ชุดทานอาหาร เป็นต้น มีรูปแบบและวัสดุให้เลือกมากมายหลายหลายลักษณ์โคมไฟจากกะลามะพร้าว มีลักษณ์เดียวกับโคมไฟตั้งพื้น ตั้งโต๊ะแต่สามารถออกแบบได้หลายแบบสีสันสามารถทำได้หลายสีแต่ที่นิยมคือสีเนื้อไม้


มะพร้าว

อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว


มะพร้าว พืชพรรณที่พบเห็นได้ทั่วไป ตามพื้นที่ชายทะเลทุกแห่งในประเทศไทย มะพร้าวเป็นพืชที่มีความผูกพันกับ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านาน คุณสมบัติที่ดีของมะพร้าว คือส่วนต่างๆ ของมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลากหลาย ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ก้าน ผล กะลา รก มะพร้าว กาบมะพร้าว รากมะพร้าว

มะพร้าวเป็นพืชที่นิยมบริโภคในประเทศไทย เป็นอย่างมาก นิยมนำมาทำอาหาร ทั้งคาวหวาน

นอกจากนั้น ยังสามารถนำมาทำอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้น

มะพร้าวขูดแห้ง น้ำตาลมะพร้าว และอุตสาหกรรมอื่นๆ เกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของมะพร้าว เช่น

เส้นใย ฯลฯ

ปัจจุบันคนไทยนิยมทานยอดมะพร้าวเป็นอาหารมากขึ้น เนื่องจากยอดมะพร้าวนำมาทำเป็น

อาหารมากขึ้น เนื่องจากยอดมะพร้าวนำมาทำเป็นอาหาร ย า ผัด แกง ฯลฯ โดยเฉพาะต้มยำกุ้ง

ยอดมะพร้าว เป็นเมนูยอดนิยม ซึ่งยอดมะพร้าวเป็นอาหารชนิดหนึ่ง ที่ปลอดสารพิษ และเพิ่ม

เส้นใยอาหารได้ดี

สถาบันศิลปะและวัฒนธรรมฯ เห็นคุณค่าของมะพร้าวที่มีต่อวิถีชีวิตมนุษย์มายืนยาว จึง

นำเสนอมะพร้าว รวมทั้งรวบรวมงานฝีมือต่างๆ ที่ใช้มะพร้าวเป็นองค์ประกอบ
















บทที่ 3

วิธีการดำเนินงานตามโครงการ


จากการที่ผู้จัดทำโครงการได้ศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลในการทำโคมไฟกะลา ได้มีขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน ตามรายละเอียดในหัวข้อดังต่อไปนี้

1. วิธีการดำเนินงาน

2. วัสดุ/อุปกรณ์ในการทำโคมไฟกะลา

3. ขั้นตอนการทำโคมไฟกะลา

วิธีการดำเนินงาน

1. ขั้นเตรียมการ

1.1 ศึกษาข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องและวิธีการทำโคมไฟกะลา

1.2 เสนอโครงการวิชาชีพ

2. ขั้นตอนการดำเนินงาน

2.1 ออกแบบผลิตภัณฑ์

2.2 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์

2.3 ลงมือปฏิบัติงาน


วัสดุ / อุปกรณ์ในการทำโคมไฟกะลา

อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว


1. กะลามะพร้าว

2. รากไม้

3. หลอดไฟ

4. สายไฟ

5. สวิตซ์+ปลั๊กไฟ

6. แลคเกอร์ (สำหรับเคลือบเงา)

6. กระดาษทราย

7. กาวตราช้าง

8. เลื่อยฉลุ

9. สว่านเจาะ

10. เครื่องขัดไม้ (ลูกหมู) หรือหินเจีย

11. บุ้งขัดไม้

12. ตะปู

13. ดินสอ / วงเวียน

14. เทปพันสายไฟ


ขั้นตอนการทำโคมไฟกะลา

1. นำผลมะพร้าวมาปลอกเปลือก แล้วนามาเจาะรู เพื่อนำและเนื้อ มะพร้าวออก

อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว







2. นำลูกมะพร้าวมาขัดผิวให้เรียบด้วยกระดาษทราย

อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว


3. กะลามะพร้าวที่ได้จากข้อ 2. มาเจาะตามรูปแบบที่เราต้องการ


อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว


4. นำส่วนประกอบทุกชิ้น มาประกอบเป็นโคมไฟ จะได้ โคมไฟกะลามะพร้าว

อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว


อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว
อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว


3

5. นำแลกเกอร์มาพ่นเพื่อให้เกิดความสวยงาม

อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว


6. นำสายไฟติดปลั๊กไฟให้เรียบร้อยแล้วสอดเข้ารูเพื่อติดสวิตซ์ไฟ แล้วนำไม้อัดมาปิดฐานกะลาให้เรียบร้อย

                

อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว


7.นำกะลาส่วนที่เล็กมาติดกับคอโคมไฟด้านบนและสอดสายไฟจากฐานกะลาขึ้นมาให้เรียบร้อยแล้วเราก็จะได้โคมไฟกะลาที่สวยงาม

อุปกรณ์ โคมไฟจากกะลามะพร้าว

  












บทที่ 4

ผลการดำเนินงาน


จากการศึกษาในขั้นตอนการทำโคมไฟกะลามะพร้าว เป็นขั้นตอนในการฝึกอาชีพเพื่อเสริมรายได้เพิ่มของเเต่ละครอบครัว  เเละเป็นรายได้พิเศษเเก่นักศึกษาในช่วงต่างๆของการเรียน  กะลามะพร้าวเป็นวัสดุที่มีตามท้องถิ่นในจังหวัดตาก