วรรณคดีเรื่องไตรภูมิ พระร่วง ตอน มนุ ส ส ภูมิ สอดคล้อง กับ ทัศนะ ของกวี ใน ข้อ ใด

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ

                 ไตรภูมิพระร่วง คำว่าไตรภูมิ  หมายถึง โลกทั้ง ๓ ได้แก่ กามภูมิ  รูปภูมิ  และอรูปภูมิ ไตรภูมิเดิมเรียกว่า ไตรภูมิกถา หรือ เตภูมิกถา  มีความหมายว่า  เรื่องราวของโลกทั้ง ๓  ส่วนพระร่วง หมายถึง พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์สุโขทัย 

                ผู้แต่ง  พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพระยาลิไทยในสมัยสุโขทัย  ราชวงศ์พระร่วง เป็นพระโอรสในพระยาเลอไทย และเป็นพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

                พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองประชาชนในฐานะธรรมราชา  ทรงยึดมั่นในหลักธรรมของพุทธศาสนา

                ลักษณะคำประพันธ์  เป็นร้อยแก้ว  ประเภทความเรียง แต่ก็มีสัมผัส
คล้องจอง

                เนื้อเรื่องย่อ  ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ  กล่าวถึงกล่าวถึงกำเนิดของมนุษย์ไว้อย่างละเอียดเป็นขั้นตอน  ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งคลอดจากครรภ์มารดา  โดยอธิบายว่าเมื่อแรกปฏิสนธินั้นมนุษย์ที่อยู่ในครรภ์มารดาจะมีขนาดเท่ากลละ หลังจากนั้น ทุก ๆ ๗ วัน ทารกจึงจะมีพัฒนาการ ใน ๗ วันแรก ทารกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นก้อนดังไข่ไก่  จากนั้นจะเกิด “เบญจสาขาหูด” คือ มีมือ ๒ อัน เท้า ๒ อัน และหัวอีก ๑ หัว  ต่อมาจึงมีขนและเล็บ ซึ่งเป็นจำนวนครบ ๓๒ ทารกจะนั่งยอง ๆ กำมือทั้งสอง  คู้คอต่อหัวเข่าอยู่ในครรภ์มารดา ประมาณ ๗-๑๑ เดือน จึงจะคลอดออกมา

                กุมารที่มีอายุ ๖ เดือน อาจไม่รอดได้ หากอายุครรภ์ ๗ เดือน กุมารมักจะมีสุขภาพอ่อนแอ กุมารผู้มาจากนรกเมื่อคลอดออกมาจะส่งเสียงร้องไห้  ส่วนผู้ที่มาจากสวรรค์ เมื่อคลอดออกมาจะหัวเราะ กุมารที่เพิ่งคลอดจะไม่สามารถจำสิ่งจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้  ยกเว้นผู้ที่เป็นปัจเจก                 โพธิเจ้าและผู้ที่เป็นอรหันตาขีณาสพ 

                กำเนิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยากลำบาก ดังนั้นเมื่อมีโอกาสได้ถือกำเนิดอกมาและอยู่รอดปลอดภัยแล้วก็ควรกระทำความดี  เพื่อให้กุศลผลแห่งการทำความดีนั้นติดตัว  ส่งให้ได้ไปเกิดในชาติภพที่ดีหรือบรรลุนิพพาน

                เนื้อเรื่องกล่าวถึงโลกทั้ง ๓ ดังนี้

                 ๑. กามภูมิ   
                     กามภูมิ คือภูมิระดับล่าง มีทั้งสิ้น 11 ภูมิ แบ่งออกเป็น อบายภูมิหรือทุคติภูมิ 4 และ สุคติภูมิ 7 อบายภูมิ คือภูมิชั้นต่ำ มี 4 ชั้น เป็นภูมิของความชั่วช้าต่าง ๆ นรกภูมิ คือภูมิชั้นต่ำที่สุดในอบายภูมิ ที่ยังมีลึกซ้อนกันลงไปอีกถึง 8 ชั้น มหาอเวจีนรก คือชั้นนรกที่ต่ำที่สุด ผู้ที่กระทำบาปอันเป็น อนันตริยกรรม 5 คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป ทำลายหรือยุยงสงฆ์ให้แตกแยกกัน จะไปเกิดในขุมนรกชั้นนี้ ถัดขึ้นมาคือ เดรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ และอสุรกายภูมิ ตามลำดับ สุคติภูมิ คือภูมิชั้นสูงขึ้นมา ได้แก่ภูมิของมนุษย์และภูมิของเทวดาอีก 6 ชั้น (ภูมิเทวดาทั้ง 6 รวมเรียกว่า ฉกามาพจร) ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในกามภูมิ คือยังหลงมัวเมาอยู่ในกามกิเลส          

                 ๒. รูปภูมิ     - พรหมมีรูป ๑๖ ชั้น เรียกว่า “โสฬสพรหม”  ชั้นที่ ๑๖ คือ อกนิฏฐาภูมิ

                 ๓. อรูปภูมิ    - พรหมไม่มีรูป ๔ ชั้น

                ผู้ใดจะเกิดในภูมิใดนั้นอยู่ที่กรรมดีกรรมชั่วที่ตนทำในชาติก่อน ๆ กรรมเป็นต้นเหตุให้อยู่ในกระแสเวียนว่ายตายเกิด เป็นวัฏสงสารไม่มีวันสิ้นสุด จนกว่าจะหาทางหลุดพ้นจากภูมิทั้งสาม ไปสู่โลกุตรภูมิหรือนิพพานจึงจะได้สุขนิรันดร์

                คุณค่างานประพันธ์

                ๑. ด้านวรรณศิลป์    Ø เป็นร้อยแก้วที่มีสัมผัสคล้องจองกัน เห็นความงามของภาษา

                                          Ø มีการใช้โวหารภาพพจน์เชิงอุปมา ทำให้เกิดจินตภาพที่ชัดเจน

                ๒.ด้านสังคม          Ø ด้านศาสนา มีการใช้หลักปรัชญาทางพุทธศาสนา
ชี้ให้เห็นถึงวัฏสงสาร คือ การเกิด เพื่อชี้นำให้คนทำความดี

                                          Ø ด้านวิทยาศาสตร์ มีการอธิบายการเกิดของมนุษย์ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น แรกปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดา ทารกจะเป็นกลละ
ซึ่งหมายถึง เซลล์ เป็นต้น

                ๓. ด้านประเพณีและวัฒนธรรม ความคิดความเชื่อที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วง ได้ตกทอดอยู่ในประเพณีและวัฒนธรรมของคนไทยในสังคมปัจจุบัน เช่น การจัดดอกไม้ธูปเทียนใส่มือผู้ตายก่อนปิดฝาโลง เพื่อให้ผู้ตายไปบูชาพระจุฬามณีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

                ความคิดเรื่องแผนภูมิจักรวาล นรก สวรรค์ พรหม และนิพพาน ก่อให้เกิดผลงานด้านจิตรกรรม และสถาปัตยกรรมทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น มิสกวัน ปารุสกวัน จิตรลดา เป็นชื่อสวนของพระอินทร์ ดุสิตเป็นชื่อสวรรค์ชั้นหนึ่งในสวรรค์หกชั้น สอดคล้องกับความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ

                 วิเคราะห์จุดมุ่งหมาย 

                ๑. จุดมุ่งหมายเรื่องไตรภูมิพระร่วง มีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่มีความแน่นอน เพื่อให้มนุษย์เร่งทำบุญหรือกรรมดี ละบาปหรือกรรมชั่ว เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏหรือบรรลุนิพพานที่ประเสริฐกว่าสมบัติหรือความสุขใด ๆ ที่มีในโลกทั้งสาม

                ๒. นิรันดร์สุขแห่งนิพพาน ความสุขที่ได้จากนิพพานเป็นความสุขนิรันดร์ ไม่มีที่สิ้นสุดและไม่มีทางแปรเปลี่ยนเป็นอื่นเลย วิธีปฏิบัติให้บรรลุโลกุตรภูมิหรือนิพพานเริ่มจากการบรรลุมรรคผลขั้นต่าง ๆ สูงขึ้นเรื่อย ๆ  จากพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี และเป็นพระอรหันต์ หลังจากนั้นจึงบรรลุนิพพาน

                กวีได้ตระหนักว่าการบรรลุนิพพานเป็นเรื่องยากของมนุษย์ทั่วไป จึงให้กำลังใจว่า ถ้ายังไม่บรรลุนิพพานก็จะได้เป็นเทพยดาในสวรรค์ หรือมิฉะนั้นก็อาจได้เกิดในยุคพระศรีอาริย์ ซึ่งมีความสุขสบายแบบเดียวกับมนุษย์ในอุตรกุรุทวีป

                ความสุขในอุตรกุรุทวีป ทวีปที่มนุษย์อาศัยอยู่ มี ๔ ทวีป อยู่ ๔ ทิศของเขาพระสุเมรุ มี อุตรกุรุทวีป อยู่ทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ  ชมพูทวีปอยู่ทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ อมรโคยานทวีปอยู่ทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ  บูรพวิเทหทวีปอยู่ทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ

                คนใน ๓ ทวีป ยกเว้นชมพูทวีป  รักษาศีลอยู่เสมอ ขึงมีอายุแน่นอนและอยู่อย่างมีความสุข และคนในอุตรกุรุทวีปจะมีความสุขมากที่สุด คือ จะมีอายุถึง ๑,๐๐๐ ปี เป็นหนุมสาวอยู่เสมอ มีความงดงามมาก ไม่ต้องทำการงานใด ๆ มีกับข้าวและที่นอนเกิดขึ้นตามใจปรารถนา ไม่รู้จักเจ็บป่วย คลอดลูกก็ไม่เจ็บท้อง ไม่ต้องเลี้ยงลูกเอง คนอื่นในสังคมช่วยกันเลี้ยง เมื่อตายก็ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ

                ส่วนชมพูทวีป เป็นทวีปที่เราอาศัยอยู่คนในทวีปนี้มีอายุไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับบุญกรรมที่ทำ ทวีปนี้เป็นที่เกิดของพระพุทธเจ้า พระจักรพรรดิราช พระอรหันต์ คนในทวีปนี้จึงมีโอกาสได้ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม และสร้างสมบุญญาบารมี ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีกว่าเดิม และอาจจะถึงขั้นหลุดพ้นวัฏสงสารไปสู่นิพพานได้

(ข้อมูลจาก  สอางค์ ดำเนินสวัสดื, ๒๕๕๑, สุนทรีญา  สิริสุนทรเจริญ, ๒๕๕๒)