กระบวนการ จัดการ โล จิ สติ ก ส์

ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจมีความรุนแรง เนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้าที่มากขึ้นทำให้องค์กรธุรกิจต้องชิงความได้เปรียบจากคู่แข่งขันด้วยวิธีการต่างๆ การจัดการโลจิสติกส์คือเป้าหมายสำคัญที่ผู้ประกอบการจะนำมาใช้เป็นแนวทางเพื่อหาวิธีลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง รวมทั้งมีการจัดระบบฐานข้อมูลโลจิสติกส์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุน การจัดการโลจิสติกส์จึงมีความสำคัญต่อการดำเนินงานของค์กรธุรกิจเป็นอย่างมาก

การจัดการโลจิสติกส์ หมายถึงอะไร

การจัดการโลจิสติกส์ หมายถึง ระบบบริหารการสั่งซื้อ การจัดลำเลียงสินค้า การเคลื่อนย้ายการจัดเตรียมวัตถุดิบ และการจัดเก็บวัตถุดิบสินค้าระหว่างการผลิต หรือเป็นกระบวนการในการจัดการวางแผน

การจัดลำเลียงสินค้าเพื่อให้มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด โดยเริ่มเกี่ยวข้องตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงมือผู้บริโภค

กิจกรรมสำคัญของโลจิสติกส์

   การขนส่ง ได้แก่ การขนส่งสินค้าระหว่างสถานที่ต่างๆทั้งในและต่างประเทศ

   การสินค้าคงคลัง ได้แก่ การบริหารสินค้าคงคลังเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนหรือกระขายสินค้าออกไปอย่างมีประสิทธิภาพ

   กระบวนการสั่งซื้อ ได้แก่ การบริหารจัดการในเรื่องวัตถุดิบ จัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพและเพียงพอในเวลาที่เหมาะสม

กิจกรรมสนับสนุนตามแนวทางการจัดการโลจิสติกส์ คือกิจกรรมที่สนับสนุนให้งานหลักดำเนินไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่

   การยกขนหรือการหีบห่อสินค้า

การจัดการโลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในโลจิสติกส์พอสมควร เนื่องจากปัจจุบันองค์กรภาคเอกชนประสบปัญหาขาดแคลนบุคคลากรด้านโลจิสติกส์ โดยผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์มีอยู่ไม่มากในตลาดแรงงาน 

เมื่อพูดถึงคำว่าโลจิสติกส์ ในปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยได้ยินคำนี้ คำว่าโลจิสติกส์ได้แทรกเข้ามาสู่ในสังคมของเรามานาน และเป็นที่รู้จักคุ้นหูในสังคมไทยเราเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันโลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญในด้านเศรษฐิกิจ และการพัฒนาประเทศของไทยเป็นอย่างมาก และอีกทั้งยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) อีกด้วย

กระบวนการ จัดการ โล จิ สติ ก ส์

ความหมาย
โลจิสติกส์ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องการขนส่ง แต่เป็นแนวคิด กิจกรรม และกระบวนการทำงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการและการควบคุมการทำงานขององค์กรให้เกิดการเคลื่อนย้ายการจัดเก็บ การรวบรวม และการกระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ หรืออาจรวมถึงการบริการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความ พึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ

กระบวนการกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญของโลจิสติกส์นั้นประกอบไปด้วย
– การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ (Logistics Communications)
– การบริการลูกค้า (Customer Service)
– กระบวนการสั่งซื้อ (Order Processing)
– การคาดการณ์ความต้องการ (Demand Forecasting)
– การจัดซื้อ (Procurement)
– การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
– การบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing และ Storage)
– การบริหารการขนส่ง (Transportation Management)
– การจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆ (Pasts และ Services Support)
– การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า (Plant และ Warehouse Site Selection)
– การเคลื่อนย้ายวัสดุ (Material Handling)
– การบรรจุภัณฑ์และหีบห่อ (Packaging และ Packing)
– โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)
เป็นต้น

ความสัมพันธ์
นอกจากคำว่าโลจิสติกส์แล้ว เรายังจะเคยได้ยินคำว่า โซ่อุปทาน หรือซัพพลายเชน (Supply chain)

สำหรับคำว่าโซ่อุปทาน หรือซัพพลายเชน (Supply chain) นั้นเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างองค์กร ทรัพยากร และกิจกรรมต่างๆ ที่ร่วมกันก่อให้เกิดคุณค่าในรูปของสินค้าสำเร็จรูป หรือบริการให้ลูกค้า

จากคำกล่าวของ Michael Hugos ที่อธิบายคำว่าโซ่อุปทานไว้ว่า

“…เนื่องจากความเป็นจริงที่ว่า ไม่มีบริษัทใดที่จะสามารถพัฒนาทักษะทางด้านการจัดการโซ่อุปทานให้สูงขึ้นได้ในทุก ๆ ด้าน ดังนั้น บริษัทจึงต้องมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาและการสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะ นอกจากนี้ยังจะต้องเชื่อมโยงกับบริษัทอื่น ๆ ที่มีทักษะที่เกื้อกูลกันให้สมบูรณ์ได้ อันจะเป็นพลวัตที่กระตุ้นการก่อให้เกิด…ห่วงโซ่อุปทาน” 


โลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทาน
สภาการจัดการลอจิสติกส์ (Council of Logistics Management : CLM) ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าโลจิสติกส์กับโซ่อุปทานสำหรับในธุรกิจซึ่งใช้กันโดยทั่วไป ไว้ดังนี้ :

“โลจิสติกส์ คือ ส่วนหนึ่งของกระบวนการโซ่อุปทานซึ่งจะวางแผน ดำเนินการ และควบคุมการไหลไปข้างหน้าและการไหลย้อนกลับและการจัดเก็บสินค้า การบริการ และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกันระหว่างจุดกำเนิดและจุดบริโภคอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า”


ข้อเท็จจริง
ดังนั้น ข้อเท็จจริงของคำว่าโลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้

ความเข้าใจที่ผิดว่าโลจิสติกส์นั้นครอบคลุมถึงห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain)

ข้อเท็จจริงสลับกัน คือ ห่วงโซ่อุปทานนั้นกว้างใหญ่กว่า ด้วยโครงสร้างจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ คือ วัตถุดิบจนถึงมือลูกค้า แต่โลจิสติกส์ เป็นกิจกรรมในห่วงซุ่ปทาน ที่เราบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อให้ห่วงโซ่อุปทานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของลูกค้านั่นเอง

การจัดการด้านโลจิสติกส์ (Logistics Management) คือ การจัดการในการขนส่งสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมีการวางแผน ควบคุม จัดเก็บข้อมูลสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวของเพื่อให้ไปถึงยังจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบโลจิสติกส์นี้ช่วยให้การบริหารงานด้านธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย


กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์

          กิจกรรมทางด้านการจัดการโลจิสติกส์สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย การบริหารจัดการการผลิต การตลาดและการบริการลูกค้า การจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ การจัดการสินค้าคงคลังและการกระจายสินค้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

กระบวนการ จัดการ โล จิ สติ ก ส์


การเปลี่ยนแปลงของการจัดการโลจิสติกส์

          ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการจัดการโลจิสติกส์ คือความต้องการของมนุษย์และการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ทำให้มนุษย์ต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

กระบวนการ จัดการ โล จิ สติ ก ส์


ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโลจิสติกส์กับศาสตร์อื่น

ความรู้การยศาสตร์ : ออกแบบกระบวนการทำงาน และเครื่องใช้สำนักงานที่เหมาะสมกับสรีระของแรงงาน เพื่อทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่องการหาความคุ้มค่าและจุดคุ้มทุน : ของการสั่งซื้อวัตถุดิบการควบคุมปริมาณวัตถุดิบที่เก็บไว้ไม่ให้มีอยู่มากหรือน้อยจนเกินไป

ความรู้เกษตรศาสตร์ เรื่องการเลือกวัตถุดิบและแหล่งผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพ

ความรู้วิศวกรรมศาสตร์ เรื่องกระบวนการผลิต : นำมาใช้ในการดูแลรักษาและควบคุมเครื่องจักรในกระบวนการผลิตสินค้า ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด

ความรู้เศรษฐศาสตร์ เรื่องการบริหารจัดการ : วางแผนการขนส่งสินค้าให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ความรู้สังคมศาสตร์และจิตวิทยา เรื่องความต้องการของแต่ละวัยแต่ละสังคม : เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตภาวะทางการเงินรสนิยมเพื่อที่จะผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า


ผลกระทบของการใช้การจัดการโลจิสติกส์

ด้านเศรษฐกิจ
ด้านบวก : เริ่มรายได้ให้กับประชาชนเนื่องจากสามารถขายสินค้า และขนส่งสินค้าในพื้นที่ห่างไกลได้ สามารถลดต้นทุนในการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ และการขนส่ง การวางแผนจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้มูลค่าความเสียหายของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผลิตและการขนส่งมีจำนวนลดลง

ด้านลบ : มีการสื่อสารติดต่อในหลายหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์ต้องใช้งบประมาณลงทุนจำนวนมากในการวางโครงสร้างพื้นฐาน

ด้านสังคม
ด้านบวก : ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าได้สะดวกรวดเร็วและเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย ช่วยลดจำนวนอุบัติเหตุในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี เพราะมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน

ด้านลบ : ลดการใช้แรงงานในการผลิตและการขนส่งทำให้เกิดการว่างงาน มีการประสานงานในหลายหน่วยงานซึ่งหลายครั้งก่อให้เกิดความขัดแย้ง

ด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านบวก : เกิดของเสียจากกระบวนการน้อย

ด้านลบ : มีความต้องการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น






อ้างอิง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี(การออกแบบและเทคโนโลยี), พิมพ์ครั้งที่ 1, สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว, ปีที่พิมพ์ 2563

prosoftgps, “Logistics Management เพื่อประโยชน์สูงสุดของการขนส่ง”, https://www.prosoftgps.com/Article/Detail/70852 สืบค้นวันที่ 3 มิ.ย. 63

SURIYA ANJUMOHAN, “Global Logistics Industry: Grappling with Supply Shocks Across Markets Amid COVID-19”, https://ww2.frost.com/frost-perspectives/global-logistics-industry-grappling-with-supply-shocks-across-markets-amid-covid-19/ สืบค้นวันที่ 3 มิ.ย. 63

กระบวนการการจัดการโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง

กระบวนการกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญของโลจิสติกส์นั้นประกอบไปด้วย – การคาดการณ์ความต้องการ (Demand Forecasting) – การจัดซื้อ (Procurement) – การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) – การบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing และ Storage)

การจัดการโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการใด

“ลอจิสติกส์ คือ ส่วนหนึ่งของกระบวนการโซ่อุปทานซึ่งจะวางแผน ดำเนินการ และควบคุมการไหลไปข้างหน้าและการไหลย้อนกลับและการจัดเก็บสินค้า การบริการ และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกันระหว่างจุดกำเนิดและจุดบริโภคอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า”

กระบวนการโลจิสติกส์คืออะไร

การจัดการโลจิสติกส์ คือ กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการและควบคุมประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บ สินค้าและบริการ ตลอดจนข้อมูลต่างๆ จากจุด เริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งานโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค

ประเภทของการจัดการโลจิสติกส์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ประเภทของโลจิสติกส์ โลจิสติกส์เพื่อการขนส่งผู้โดยสาร( Passenger Logistics) โลจิสติกส์เพื่อการผลิต (Manufacturing Logistics) โลจิสติกส์เพื่อการกระจายสินค้า (Distribution Logistics)