วิธีการแก้ปัญหาฝุ่น pm 2.5 ในระยะยาว

ฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทยมักจะสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานโดยเฉพาะในช่วงปลายปีถึงต้นปี ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่เกิดขึ้นในฤดูหนาว โดยมวลความกดอากาศสูงที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ส่งผลให้ลมสงบ ฝุ่นละอองถ่ายเทได้ยาก นำมาซึ่งการสะสมของฝุ่นละอองในปริมาณที่สูงรวมถึงฝุ่น PM2.5 ด้วย

ผลที่ตามมาคือภาระต้นทุนด้านสุขภาพ โดยประชาชนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ป้องกันฝุ่น PM2.5 หากปล่อยไว้โดยไม่รีบดำเนินการแก้ไขให้ตรงจุด ปัญหาอาจทวีความรุนแรงมากขึ้นในระยะยาว และส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และคุณภาพสิ่งแวดล้อม

การใช้รถยนต์เป็นหนึ่งในแหล่งกำเนิด PM2.5 ที่สำคัญ โดยเฉพาะในเขตเมืองเนื่องจากเมืองใหญ่โดยเฉพาะกรุงเทพฯ มีปริมาณการใช้รถยนต์สูงและมีสภาพจราจรติดขัด ฝุ่น PM2.5 เป็นหนึ่งในสารมลพิษที่ถูกปล่อยจากท่อไอเสียของรถยนต์หลังจากกระบวนการเผาไหม้ใน ห้องเครื่อง โดยเฉพาะรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลที่มีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ปริมาณของ ฝุ่น PM2.5 ที่ปล่อยออกมาขึ้นกับหลายปัจจัย  เช่น เทคโนโลยีและมาตรฐานการระบาย ไอเสียของรถยนต์ น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ และอายุการใช้งานของรถยนต์ เป็นต้น

สำหรับแนวทางในการควบคุมปริมาณ ฝุ่น PM2.5 ที่เกิดจากยานยนต์นั้น ประเทศไทยนำมาตรฐาน European emission standard (มาตรฐาน Euro) ซึ่งกำหนดโดยสหภาพยุโรปมาใช้ในการกำกับควบคุมสารมลพิษที่เกิดจากรถยนต์ โดยมาตรฐาน Euro แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มาตรฐานการระบายไอเสียของ รถยนต์ และมาตรฐานคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมาตรฐานด้านการระบายไอเสียแบ่งเป็น 6 ระดับ ตั้งแต่มาตรฐาน Euro 1 ถึง Euro 6 ภายใต้มาตรฐานที่สูงขึ้น ปริมาณสารมลพิษที่เกิดจากรถยนต์จะลดลง ซึ่งรวมถึง ฝุ่น PM2.5 ด้วย

ปัจจุบัน ประเทศไทยยังคงใช้มาตรฐานการระบายไอเสียของรถยนต์และมาตรฐานควบคุมคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงที่ระดับ Euro 4 และมีการใช้งานรถยนต์เก่าที่มีมาตรฐานการระบายไอเสียต่ำกว่าระดับ Euro 4 อีกเป็นจำนวนมาก

จากผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอ พบว่า แนวทางแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เกิดจากภาคยานยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ผู้ผลิตยานยนต์และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเน้นการผสมผสานระหว่างมาตรการภาคบังคับกับมาตรการภาคสมัครใจ

ภาครัฐควรยกระดับมาตรฐานการระบายไอเสียและมาตรฐานคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงจาก Euro 4 ไปสู่มาตรฐาน Euro ที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 และสารมลพิษอื่นๆ ที่ปล่อยจากรถยนต์ อย่างไรก็ดี การยกระดับมาตรฐาน Euro สำหรับรถยนต์ใหม่และการยกระดับมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงไม่เพียงพอที่จะทำให้ปริมาณฝุ่น PM2.5 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จำเป็นต้องใช้มาตรการอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะการจัดการปัญหาการใช้รถยนต์เก่าซึ่งปล่อยฝุ่น PM2.5 ในปริมาณที่สูง

ตัวอย่างมาตรการจัดการรถยนต์เก่า ได้แก่ การปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ประจำปี การจำกัดอายุการใช้งานของรถยนต์ เป็นต้น โดยทั้งสองมาตรการมีการใช้ในต่างประเทศ

สำหรับภาษีรถยนต์ประจำปี ประเทศในทวีปยุโรป เช่น มอลตา มีการเก็บภาษีรถยนต์ประจำปีสำหรับรถยนต์เก่าในอัตราที่สูงขึ้น เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้รถไม่ใช้รถคันเดิมเป็นเวลานานเกินไป นอกจากนี้ยังมีการ ส่งเสริมการซื้อรถยนต์ใหม่ที่ไม่สร้างมลพิษทางอากาศ เช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) ผ่านการอุดหนุนจากภาครัฐในรูปแบบต่างๆ

อย่างไรก็ดี ภาครัฐต้องพิจารณาผลกระทบของมาตรการข้างต้นที่อาจจะเกิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ อย่างรอบด้าน เพื่อให้ต้นทุนที่เกิดจากการใช้นโยบายมีความสมเหตุสมผลกับการได้มาซึ่งคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น เช่น กำหนดระยะเวลาเปลี่ยนผ่านระหว่างมาตรฐาน Euro ต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ผลิตรถยนต์ โรงกลั่นน้ำมันและผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ มีเวลาเตรียมตัวที่เพียงพอ

นอกจากนี้ ภาครัฐอาจต้องพิจารณามาตรการสนับสนุนหรือชดเชยให้กับเจ้าของรถยนต์เก่า ในกรณีที่มีการใช้มาตรการกำหนดอายุการใช้งานของรถยนต์เก่าอาจทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก อีกทั้งส่วนใหญ่อาจเป็นผู้มีรายได้น้อยที่ต้องนำรถยนต์เก่าออกจากระบบและซื้อรถยนต์ใหม่

สำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในส่วนของผู้บริโภคนั้นอาจช่วยลดปริมาณของฝุ่น PM2.5 ที่เกิดจากยานยนต์ได้ โดยลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะแทน แต่ภาครัฐต้องพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้เป็นตัวเลือกที่ดึงดูดและน่าสนใจ ทั้งในด้านความครอบคลุม ของเส้นทางเดินรถ ราคาที่เหมาะสม รวมถึงบริการเสริมอื่นๆ เช่น ที่จอดรถสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เป็นต้น

จากมาตรการทั้งหมด ภาครัฐควรลำดับ แผนการดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างชัดเจน ตามความเหมาะสม โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะสั้น : เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสภาพรถยนต์และตรวจจับไอเสีย โดยเฉพาะรถยนต์เก่าที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล จัดทำฐานข้อมูลด้านมลพิษอากาศ รวมถึงสื่อสารกับประชาชนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและแนวทางการป้องกัน PM2.5 ที่ ถูกต้อง

ระยะกลาง : บังคับใช้มาตรฐาน Euro ในระดับที่สูงขึ้นทั้งส่วนรถยนต์และส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง ปรับโครงสร้างการเก็บภาษีรถยนต์ประจำปี รวมถึงพิจารณามาตรการที่ส่งเสริมให้มีการนำรถยนต์ที่เก่าออกจากระบบ

ระยะยาว : ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ประเภทที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ควบคู่กับการพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมให้บริการอย่างทั่วถึง

นอกจากการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในภาคยานยนต์แล้ว จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาที่มาจากแหล่งกำเนิดอื่น เช่น การเผาเศษวัสดุทางการเกษตร โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งควรดำเนินการควบคู่กันไปกับมาตรการในภาคยานยนต์ เพื่อให้ผลการแก้ไขปัญหา PM2.5 ในภาพรวมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 ยังคงวนเวียนอยู่อากาศที่เราหายใจในทุก ๆ วัน การป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนอย่างมาก เพราะหากเราละเลยและขาดความระมัดระวังก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้ โดยเฉพาะผู้มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ ผู้สูงอายุ และเด็ก

ฝุ่น PM 2.5 (Particulate Matter 2.5) เป็นฝุ่นขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร จัดเป็นมลพิษทางอากาศที่มีมากในปัจจุบัน โดยต้นกำเนิดของฝุ่น PM 2.5 มาจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ อาทิ ไฟป่า การเผาไม้หรือขยะในที่โล่ง โรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนน หรือแม้กระทั่งการสูบบุหรี่ 

การสูดดมฝุ่น PM 2.5 ในระยะสั้นอาจทำให้ไอ จาม น้ำมูกไหล และมีปัญหาในการหายใจ แต่ในระยะยาวอาจส่งผลต่อระบบอวัยวะในร่างกายจนเป็นอันตรายได้ อาทิ ฝุ่น PM 2.5 สะสมอยู่ในปอดหรือกระแสเลือด ปอดทำงานผิดปกติ โรคประจำตัวอย่างโรคระบบทางเดินหายใจหรือโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอาการแย่ลง สตรีมีครรภ์อาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนด และทารกอาจมีพัฒนาการที่ผิดปกติ

วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5 ด้วยตัวเอง

ฝุ่น PM 2.5 และผลกระทบต่อสุขภาพไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ที่แค่ปล่อยไว้เดี๋ยวฝุ่นก็หายไปหรือไม่นานอาการจากการหายใจเอาฝุ่นเข้าไปมาก ๆ ก็จะดีขึ้น เราจึงควรระมัดระวังฝุ่น PM 2.5 เท่าที่ทำได้มากที่สุด โดยหมั่นป้องกันตัวเองจากฝุ่นหรือมลพิษทางอากาศทั้งตอนอยู่ในบ้านและนอกบ้านด้วยวิธีต่าง ๆ เป็นประจำ

รับมือกับฝุ่น PM 2.5 เมื่ออยู่นอกบ้าน

หากจำเป็นต้องออกไปใช้ชีวิต เรียน ทำงาน หรือทำกิจกรรมใด ๆ นอกบ้านในช่วงที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

  • สวมหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานและระบุชัดเจนว่าช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เช่น หน้ากากมาตรฐาน N95 หรือ KF94 จากแหล่งผลิตมาตรฐาน เนื่องจากหน้ากากอนามัยแบบทั่วไปหรือประเภทกันซึม (Surgical Mask) มักไม่สามารถกรองฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ได้ 
  • เลือกไปในสถานที่ที่มีคนน้อย ไม่แออัด และห่างไกลจากถนนที่มีการจราจรคับคั่ง หากต้องอยู่ในบริเวณที่มีฝุ่นละออง ควรจำกัดระยะเวลาการอยู่ภายนอกบ้านหรือการทำกิจกรรมกลางแจ้งให้น้อยลง 
  • หากต้องการออกกำลังกายควรงดกิจกรรมหรือกีฬาประเภทที่ทำให้หายใจแรงหรือเร็วมาก เช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน การเตะฟุตบอล หรือการเล่นแบดมินตัน เพราะอาจทำให้เราหายใจเอาฝุ่นเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น และควรหลีกเลี่ยงการสวมหน้ากาก N95 ขณะออกกำลังกายด้วย เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจน
  • หลีกเลี่ยงถนนหรือบริเวณริมถนนที่มีรถติดหรือสัญจรไปมาอยู่เสมอ เนื่องจากยานพาหนะบางประเภทอาจปล่อยควันดำหรือฝุ่น PM 2.5 ออกมาได้
  • ไม่เผาไม้ ใบไม้ ขยะ หรือกระดาษเงินกระดาษทองในที่โล่งแจ้งแม้จะเป็นขยะหรือกิ่งไม้กองเล็ก ๆ ก็ตาม เนื่องจากการเผาสิ่งของเหล่านี้สามารถสร้างฝุ่นละอองในอากาศให้มากขึ้น 

ป้องกันฝุ่น PM 2.5 เมื่ออยู่ในบ้าน

บางคนอาจคิดว่าแค่อยู่ในบ้านก็ปลอดภัยแล้ว แต่ที่จริงฝุ่น PM 2.5 สามารถเข้ามาในที่อยู่อาศัยของเราได้ จึงควรลดปริมาณฝุ่นละอองภายในบ้านด้วยวิธีต่อไปนี้

  • หากบ้านอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นละอองสูงควรปิดประตูหรือหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่นจากภายนอกเข้ามาในบ้าน 
  • หาอุปกรณ์หรือตัวช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองหรือฟอกอากาศภายในบ้าน อาทิ เครื่องฟอกอากาศ หรือต้นไม้ขนาดย่อม ๆ  
  • หมั่นเช็ดล้างและทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า และเฟอร์นิเจอร์ให้สะอาด ปราศจากฝุ่นอยู่เสมอ หากต้องการใช้เครื่องดูดฝุ่นควรเลือกรุ่นที่มีแผ่นกรอง HEPA (High Efficiency Particulate Air) ซึ่งจะช่วยดักจับฝุ่น ควัน ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ หรือสิ่งแปลกปลอมในอากาศได้ดีกว่าแผ่นกรองทั่วไป 
  • ไม่ควรสูบบุหรี่หรือประกอบอาหารที่ใช้ฟืนหรือถ่าน เพื่อลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอากาศ 

นอกจากนี้ การติดตามรายงานค่าคุณภาพอากาศจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือหรือแหล่งข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษก่อนเริ่มต้นวันหรือก่อนทำกิจกรรมใด ๆ ยังเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เราวางแผนการใช้ชีวิตให้ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 และมลพิษทางอากาศอื่น ๆ อีกด้วย

แม้เราจะมองไม่เห็นฝุ่น PM 2.5 แต่เจ้าฝุ่นชนิดนี้และมลพิษทางอากาศยังอยู่รอบตัวเราในทุกวินาที เราทุกคนจึงควรหาวิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาสุขภาพในระยะสั้นและในระยะยาว หากร่างกายมีอาการผิดปกติในช่วงที่มีค่าฝุ่นสูงควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมทันที

PM 2.5 คืออะไร เกิดจากอะไร และมีแนวทางการแก้ไขอย่างไร

PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยอื่น ๆ ในร่างกายได้ ตัวฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ...

ผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5 อย่างไรบ้าง

สัญญาณบ่งบอกร่างกายกำลังได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ต่อระบบผิวหนัง ทำให้มีปัญหาผื่นคัน ผื่นแพ้, ลมพิษ, ผิวหน้าเหี่ยวแพ้ง่าย และเกิดริ้วรอยบริเวณร่องแก้มมากยิ่งขึ้นด้วย ต่อระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นภูมิแพ้, โรคหืด, โรคถุงลมโป่งพอง, ทำให้เกิดปัญหาโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, มะเร็งปอด ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง

ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 เกิดจากอะไร

PM2.5. อากาศพิษจากปล่องโรงงาน อุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า ไอเสียจากรถยนต์ หรือจากการจราจร การเผาในที่โล่ง และในที่ไม่โล่ง จากข้อมูลโดยกรมควบคุมมลพิษ การ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล หรือ การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ของภาค เผาไหม้น้ำมันดีเซลบวกกับการจราจร เชื้อเพลิงที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเกษตรเพื่อเตรียมการเพาะปลูก

แนวทางการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศวิธีใดที่แก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนที่สุด

แนวทางแก้ไขมลพิษ ทางอากาศ 1) พยายามใช้เครื่องยนต์ที่ไม่ค่อยมีมลพิษ แกไข กระบวนการผลิต และลดมลพิษจากยานพาหนะ 2) ใช้รถขนส่งมวลชน รถเมล์ รถไฟฟ้ารถไฟไตดิน ให้ มากขึ้น 3) ใช้รถยนต์ให้น้อยลง หากเดินไดหรือติดรถเพื่อนๆได ก็ควรจะไปด้วยกัน 4) ช่วยกันสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตร โดย นาวัสดุที่เหลือใช้มาใช้เป็นพลังงาน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ