มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร สรุป

                    2. �ѭ�ҪҴ� �繪Ҵ��͡�Ժҵ �觢�鹨ҡ�Էҹ��鹺�ҹ�� 50 ����ͧ ����ԡ�ت����§���� �繼���觢������ͻ���ҳ�� �.�. 2000 � 2200 ��������� �����¹Ẻ�Ժҵ�Ҵ� ���� �.�. 2453 � 2458 �����Һ��ǧ���͡�����������þѹ���ç���˹�ͧ����ҹ�¡�;����ش����Ѻ��й�� ��ç���������� ����ͧ�ѭ��ʪҴ��֧�������     

เมื่อชูชกเดินทางตามที่อจุตฤาษีแนะนำ เวลาเย็นก็ถึงเขาวงกตใกล้อาศรมพระเวสสันดรก็ดีใจมาก คิดหาโอกาส จะเข้าพบพระเวสสันดร เห็นว่าเวลานี้พระนางมัทรีกลับจากป่า หากไปขอจะไม่สำเร็จ ควรไปเวลาที่พระนางมัทรีเข้าป่าแล้ว ครั้นขอสองกุมารได้ ก็จะรีบกลับก่อนพระนางมัทรีกลับจากป่า คิดแล้วก็หลบเข้าไปนอนในซอกเขาเพื่อหลบภัยจากสัตว์ร้าย คืนนั้นพระนางมัทรีฝันร้าย เป็นลางบอกให้รู้ล่วงหน้าว่า จะพลัดพรากจากพระโอรส พระนางได้เฝ้าทูลถามพระเวสสันดร ขอให้ทรงแก้ฝัน พระเวสสันดรก็ไม่ทรงแก้ ตรัสบ่ายเบี่ยง ว่า มาตระกำลำบากหลับนอนไม่ผาสุกเหมือนอยู่วัง ก็ฝันไปตามสภาพยากไร้ พระนางหาแน่พระทัยไม่ ดังนั้นครั้นรุ่งเช้า เวลาจะเช้าป่าเป็นห่วงพระโอรส จึงได้พาพระลูกเจ้า ทั้งสององค์มาฝากพระเวสสันดร ให้ทรงช่วยดูแล ทั้งกำชับพระโอรสไว้แข็งแรง ไม่ให้ออกนอกบริเวณพระอาศรม จึงได้เข้าป่าแสวงหาผลไม้อันเป็นกิจวัตร ที่ทรงทำอยู่เป็นประจำวัน

ฝ่ายชูชกครั้นเห็นว่า เวลานี้พระนางมัทรีเข้าป่าแล้ว จึงได้เดินทางไปเฝ้าพระเวสสันดรที่อาศรม ทูลขอสองกุมาร พระเวสสันดรก็ประทานให้ แต่ตรัสว่าขอให้รอพระนางมัทรีก่อน ให้ชูชกค้างสัก 1 ราตรีชูชกไม่เห็นด้วย ทูลว่า ถ้ารอพระนางมัทรีก่อน ให้ชูชกเป็นเหตุขัดข้อง พระเวสสันดรรับสั่งว่า เมื่อเอาสองกุมารไปจงเอาไปถวายพระเจ้าสัญชัยราช ณ พระนครสีพี จะได้รับพระราชทานรางวัลมากชูชกค้านว่า ถ้าไปพบพระเจ้าสันชัยราชอาจถูกจับได้ว่า ไปลักพระเจ้าหลานมา กับจะเป็นโทษ องการจะเอาไปใช้เป็นทาสเอง ขณะที่ชูชกทูลขอ สองกุมารอยู่นั้นชาลี กัญหา สองกุมารได้ยินกลัวจะถูกชูชกเอาตัวต่อ จึงพากันหนีไปซ่อนตัวอยู่ในสระน้ำ เอาใบบัวบังศรีษะเสีย

เมื่อชูชกไม่เห็นสองกุมาร ก็ทูลตรัสพ้อพระเวสสันดร จนท้าวเธอต้องเสด็จไปติดตาม ครั้นทราบว่าไปซ่อนอยู่ในสระ ก็ตรัสเรียกขึ้นมา แล้วตรัสปลอบโยนให้หายกลัว และเศร้าโศก พร้อมกับคาดราคาโดยสั่งชาลีกุมารไว้ว่า ถ้าจะไถ่ให้พ้นจากทาส สำหรับชาลีกุมาร ต้องไถ่ด้วยทองหนัก แท่งหนึ่งหมื่นห้าพันตำลึง ส่วนนางกัญหานั้นต้องไถ่ด้วยทาสชายหญิง ช้าง ม้า โค รถ อย่างละร้อย กับทองแท่ง หนัก 5 พันตำลึง แล้วทรงพามามอบให้ชูชก

ครั้นชูชกได้สองกุมารแล้ว ก็เอาเถาวัลย์ผูกข้อมือสองกุมารไป เมื่ออิดเอื้อน ร้องไห้ ไม่ด่วนไปตามประสงค์ของแก แกก็ตีด่าตามประสาคนสันดานทราม ถึงกับดาลใจพระเวสสันดร ให้พลุ่ง ด้วยโทสะเกิดโทมนัส น้อยพระทัย คิดจะประหารชูชก เอาพระโอรสคืนมาเสียแต่ก็กลับหักพระทัยด้วยขันติ ไว้ได้ ปล่อยให้ชูชก พาสองกุมารไปตามปรารถนา

             เคราะห์ร้ายมาถึงและในคืนนั้นเอง พระนางมัทรีทรงสุบินร้ายว่า มีบุรุษผิวดำรูปร่างสูงใหญ่นุ่งผ้าย้อมฝาด สองหูทัดดอกไม้แดง มือถือดาบใหญ่ ตรงเข้าจิกพระเกศาแล้วแทงดาบใส่ดวงพระเนตร ควักดวงตาออกไปทั้งสองข้าง จากนั้นกรีดพระอุระควักเอาพระทัยไปทั้งดวง

พระนางร้องลั่นสะดุ้งตื่นบรรทมพระวรกายสั่นสะท้าน รีบไปหาพระเวสสันดรเพื่อจะให้ทำนายฝัน แต่เมื่อเข้าไปในอาศรมพระเวสสันดรก็ตรงตรัสว่า “น้องหญิงจงเล่าความอยู่ที่ข้างนอกเถิด” พระนางมัทรีทรงทูลเล่าพระสุบินนั้นพระทัยสั่น พระเวสสันดรทรงทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้นในรุ่งเช้า แต่ทรงตรัสแก่พระนางว่าเป็นความตรากตรำลำบาก จึงทำให้เกิดธาตุวิปริต ดังนี้

เมื่อรุ่งเช้า พระนางมัทรีมีลางสังหรณ์ไม่ดี ไม่อยากเสด็จเข้าป่า จึงตรัสสั่งพระโอรสและธิดาให้อยู่ใกล้ ๆ เสด็จพ่อ ครั้นพระนางมัทรีไปแล้ว เฒ่าชูชกจึงรีบเข้าไปยังบริเวณอาศรมทันที
เมื่อพระกุมารชาลีเข้าไปถามต้อนรับ ชูชกสังเกตรู้ว่าพระกุมารเป็นเด็กฉลาด จึงทรงร้องตวาดไล่ไปด้วยหวังจะข่มให้กลัวแล้วหนีไป จากนั้นเฒ่าชูชกก็เข้าเฝ้าพระเวสสันดร พยายามอ้างถึงความลำบากยากเข็ญนานาประการ ในการเดินทางฝ่าอันตรายมาถึงป่านี้ เพื่อขอปิยบุตรไปช่วยงานที่บ้าน เนื่องจากตนจนยากไม่มีเงินซื้อทาสได้ พระเวสสันดรทรงตรัสอนุญาต ชาลีกุมารแอบได้ยินจึงพาน้องสาวไปซ่อนที่ใต้ใบบัวข้างสระน้ำ เฒ่าชูชกเห็นเด็กทั้งสองหายไป ก็แกล้งติเตียนตัดพ้อพระเวสสันดรด้วยคำบริภาษว่า
“ไหนล่ะที่พระองค์บริจาคทาน ปากยกให้แต่ไหนละเด็กร้ายทั้งสองคงจะคิดหนีไปแล้ว พระองค์มิได้มีจิตบริจาคทานตามที่ลั่นสัจจะไว้เลย”
เมื่อสดับดังนั้น พระเวสสันดรจึงทรงเสด็จออกตามหาทั่วบริเวณชาลีราชกุมารมิอยากให้พระราชบิดาออกร้องเรียกนานไป จึงจูงน้องออกมา
พระเวสสันดรขอให้กัณหา ชาลี ติดตามเฒ่าชูชกไปเถิด แต่ให้รอร่ำลาพระนางมัทรีก่อน เฒ่าชูชกไม่ยอมฟัง รีบหาเชือกเถาวัลย์มาผูกมัดพระโอรสพระธิดา แล้วเอาหวายเฆี่ยนตีต่อหน้าพระเวสสันดร พลางฉุดกระชากลากไปอย่างโหดเหี้ยม
กัณหา ชาลี ถูกตีรุนแรงก็ร่ำไห้หาพระบิดาพระมารดา
พระเวสสันดรทรงกันแสง แต่ก็ตั้งมั่นในสัจจะที่พระองค์ตั้งจิตไว้
ก่อนไปนั้น ชูชกกล่าวว่า ถ้าจะไถ่ตัวกันหาชาลีได้ต้องให้ ทาส ทาสี ช้าง ม้า โคนม ทองคำ สิ่งละ ๑๐๐ แก่ชูชก
ครั้นเมื่อเฒ่าร้ายนำตัวพระกุมารและกุมารีไปแล้ว ก็ให้เกิดอัศจรรย์ดินฟ้าวิปโยคครืนครัน ฟ้าผ่าน่าสะพรึงกลัวไปทั่วป่าหิมพานต์

๑. ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ ไม่ผลีผลามเข้าไปขอรอจนพระมัทรีเข้าป่าจึงเข้าเฝ้าเพื่อขอสองกุมาร เป็นเหตุให้ชูชกประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนา ดังภาษิตโบราณว่า “ช้า ๆ จะได้พร้าเล่มงาม ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง” ช้าเป็นการนานเป็นคุณ ผู้รู้จักโอกาส มีมารยาท กล้าหาญ ใจเย็น เป็นสำเร็จ
๒. พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกัน แต่เป็นห่วงไม่เท่ากัน ห่วงหญิงมากกว่าห่วงชาย เพราะท่านเปรียบไว้ว่า “ลูกหญิงเหมือนข้าวสาร ลูกชายเหมือนข้าวเปลือก”
๓. สติ เตสัง นิวารณัง สติเป็นเครื่องป้องกันอันตรายทั้งปวงได้ ขันติ สาหสวารณา ขันติป้องกันความหุนหันพลันแล่นได้ เป็นเหตุให้พระเวสสันดรไม่ประหารชูชกด้วยพระขรรค์ เมื่อถูกชูชกประณาม
๔. วิสัยหญิงนั้น แม้จะมากอยู่ด้วยเมตตากรุณา ชอบปลดเปลื้องทุกข์แก่ผู้อื่นก็จริงอยู่ แต่เว้นอย่างเดียว ที่ผู้หญิงนั้นไม่มีวันจะสละสิ่งนั้น คือ “ลูก”

กัณฑ์กุมารมีสาระสำคัญอย่างไรบ้าง

กัณฑ์กุมาร: ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ รู้จักโอกาส รู้ความควรไม่ควร จะเป็นผู้ประสบ ความสำเร็จในสิ่งที่ตนเองปรารถนา กัณฑ์มัทรี: ไม่มีความรักใดยิ่งใหญ่เท่าความรักของพ่อแม่ กัณฑ์สักกบรรพ: การทำความดี แม้ไม่มีใครเห็น แต่เทวดาอารักษ์ย่อมรู้ย่อมเห็น

กัณฑ์กุมารกล่าวถึงเรื่องใด

กัณฑ์ที่๘ กุมาร ๑๐๑ พระคาถา กล่าวถึงชูชกผู้ผจญความล าบาก เดินทางไปขอสองกุมารจาก พระเวสสันดร ขณะที่พระนางมัทรีเข้าป่าหาผลไม้ด้วยความห่วงใยจึงสั่งเสีย กุมารทั้งสองให้ระวังเนื้อระวังตัว ดังนั้น พระกัณหาชาลีจึงพากันเดินลงไป

จุดมุ่งหมายในการแต่งมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี คืออะไร

เป็นร่ายยาว วิธีแต่งยกคาถาภาษาบาลีขึ้นเป็นหลัก แล้วแปลแต่งเป็นภาษาไทยด้วยร่ายยาว ภาษาบาลีที่ยกมานั้นจะยกมาเป็นตอน ๆ สั้นบ้าง ยาวบ้างตามลักษณะเรื่อง แล้วแปลเป็นภาษาไทยอีกทีหนึ่ง จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อที่จะนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาสอนประชาชน

สองกุมารจึงเปรียบเหมือนสิ่งใด

“พระบรมราชฤษีเธอจึงคาดค่าสองกุมารเหมือนนายโคบาลอันสันทัดคาดค่าโค” “เธอก็หล่อหลั่งอุทวารีลงในมือพราหมณ์ ตั้งพระทัยไว้ให้งามดั่งดวงแก้ว แล้วก็ออกพระอุทานวาจาอันแจ่มใสว่า ว่าพราหมณ์เอ่ย ลูกทั้งสองของเรานี้นี่ เรารักดั่งดวงใจนัยนเนตร”