ทรัพยากรธรรมชาติ ของมาเลเซีย

จัดทำโดย นางสาวสมิตา วงศ์เฉลิมสุข เลขที่ 20 ห้อง 39

ทรัพยากรธรรมชาติ ของมาเลเซีย
ทรัพยากรธรรมชาติ ของมาเลเซีย

1. ประเทศไทย

ทรัพยากรธรรมชาติ ของมาเลเซีย

ทรัพยากรธรรมชาติของไทยคือ ข้าว ยางพารา ผักและผลไม้ต่าง เนื้อสัตว์ วัว สุกร เป็ด ไก่ สัตว์น้ำทั้งปลาน้ำจืด หอย  จึงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิต อาหารที่สำคัญของโลก  และเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลกเป็นอันดับที่ 5 โดยมีข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญที่สุดของประเทศ และถือได้ว่าเป็นประเทศซึ่งส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลกด้วยสัดส่วนการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 36 ของโลก
ไทยยังเป็นผู้ผลิตสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักร  อาหาร  สินค้าอุคสาหกรรม พลังงาน

การท่องเที่ยวทำรายได้ให้กับประเทศเป็นสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับสัดส่วนของหลายๆ ประเทศในทวีปเอเชีย (ราว 6% ของจีดีพี) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมายังประเทศไทยด้วยเหตุผลหลายประการ ส่วนใหญ่มาท่องเที่ยวตามชายหาดและพักผ่อน ถึงแม้ว่าจะมีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ตาม โดยแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และจังหวัดเชียงใหม่

2. ประเทศอินโดนีเซีย

ทรัพยากรธรรมชาติ ของมาเลเซีย

– ป่าไม้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ เป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลิตผลจากป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง
– แร่ธาตุ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมทำรายได้ให้กับประเทศมากที่สุด อินโดนีเซียเป็นสมาชิกขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก
– เกษตรกรรม มีการปลูกพืชแบบขั้นบันได พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ข้าว ยาสูบ ข้าวโพด เครื่องเทศ
– ประมง ลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะทำใหอินโดนีเซียสามารถจับสัตว์น้ำได้มาก
– อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ เป็นต้น

3. ประเทศฟิสิปปินส์

ทรัพยากรธรรมชาติ ของมาเลเซีย

– เกษตรกรรม   พืชเศรษฐกิจสำคัญได้แก่ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา และข้าวเจ้า
– ป่าไม้   มีป่าไม้หนาแน่น เป็นรายได้สำคัญ คือ ไม้มะฮอกกานี
– เหมืองแร่  ฟิลิปปินส์ไม่มีแร่ดีบุก แร่ส่งออกสำคัญ คือ เหล็ก โครไมต์ ทองแดง เงิน
– อุตสาหกรรม   ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น โรงงานเยื่อกระดาษ แปรรูปไม้ ปูนซีเมนต์

4. ประเทศมาเลเซีย

ทรัพยากรธรรมชาติ ของมาเลเซีย

   – เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
– การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ
– การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย
– อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)

5. สาธารณรัฐสิงคโปร์

 

ทรัพยากรธรรมชาติ ของมาเลเซีย

การเพาะปลูก ปลูกยางพารา มะพร้าว ผัก ผลไม้ แต่พื้นที่มีจำกัด
อาศัยวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน มีอุตสาหกรรมเบา เช่น ผลิตยางพารา ขนมปัง เครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมหนัก เช่น อู่ต่อเรือ ทำเหล็กกล้า ยางรถยนต์ มีกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและเป็นผู้สร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ด้วย
การค้าขาย เป็นท่าเรือปลอดภาษี ประเทศต่าง ๆ ส่งสินค้าต่าง ๆ มายังสิงคโปร์เพื่อส่งออก และสิงคโปร์ยังรับสินค้าจากยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เพื่อส่งไปขายต่อยังประเทศเพื่อนบ้าน มีท่าเรือน้ำลึก เหมาะในการจอดเรือส่งสินค้า

สิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากเหมือนประเทศอื่น แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี เพราะสิงคโปร์พัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้า โดยเป็นประเทศพ่อค้าคนกลางในการขายสินค้าเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าปลอดภาษี ทำให้สินค้าที่ผ่านทางสิงคโปร์มีราคาถูก ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และยังได้เข้าไปลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชาและพม่า สิงคโปร์มีประชากรน้อยจึงต้องพึงพาแรงงานจากต่างชาติในทุกระดับ สิงค์โปร์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงให้ และมีฐานะทางเศรษฐกิจและการเงินที่มั่งคั่งที่สุดประเทศนึงในโลก

6. บรูไน ดารุสซาลาม

ทรัพยากรธรรมชาติ ของมาเลเซีย

น้ำมันที่เป็นอุตสาหกรรมหลักที่นำเงินเข้าประเทศมากมายแล้ว บรูไนยังมีอุตสาหกรรมอย่างอื่นเช่น การผลิตอาหาร และเครื่องมือเครื่องใช้ การผลิตเสื้อผ้าเพื่อส่งออกไปยัง อเมริกาและ ยุโรป ยังรวมถึงการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ด้านอาหารแปรรูป เครื่องดื่ม เสื้อผ้า สิ่งทอ และ ของตกแต่งจากไม้ วัสดุก่อสร้างต่างๆที่ไม่มีส่วนประกอบของโลหะ

อุตสาหกรรมของบรูไน ประสบปัญหาอยู่บ้างเนื่องจากการขาดแคลนแรงงาน และ ช่างฝีมือมาช่วยในการผลิตสินค้าให้ทันความต้องการของตลาด จำเป็นต้องพึ่งแรงงานจากต่างประเทศเป็นหลักซึ่ง การเปิด ประชาคมอาเซียน นี้จะทำให้บรูไนได้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมไม่มากก็น้อย  แต่ยังไงซะ สินค้าหลักของบรูไนก็ยังเป็นน้ำมันและ ก๊าซธรรมชาติซึ่งสร้างความมั่งคั่งเป็นอย่างมากให้กับพวกเขา ทั้งนี้ทั้งนั้นพวกเขาก็ได้เตรียมปรับตัวในด้านอื่นมากมายอย่างเช่น อุตสาหกรรมป่าไม้ อาหารทะเล  แร่ธาตุต่างๆ รวมไปถึงการเกษตรกรรม เพื่อที่จะสามารถทดแทนน้ำมันที่ลดลงเรื่อยๆในระยะยาว เป็นทางเลือกทางเศรษฐกิจของประเทศในอีกทางนึง บรูไน มีทหาร กรูข่า ประจำการเพื่อดูแลความปลอดภัยของสายการผลิตน้ำมัน เป็นจำนวนหลายพันนายเลยทีเดียว นับว่าเป็นอีกประเทศที่มีแรงขับเคลื่อนในภูมิภาค อาเซียนเป็นอย่างดีกับการพัฒนาต่อเนื่องโดยไม่มีปัญหาด้านเงินทุนและ การจัดการ

7. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ทรัพยากรธรรมชาติ ของมาเลเซีย

เกษตรกรรม
มีผลผลิตได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย (ในปี พ.ศ. 2549 ส่งออกกว่า 116,000 ตัน) การประมง เวียดนามจับปลาได้เป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง ตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์

อุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า ศูนย์กลางอยู่ที่โฮจิมินห์ซิตีและมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้เบียนโฮ การทำเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ เวียดนามเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย

8. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ทรัพยากรธรรมชาติ ของมาเลเซีย

ทรัพยากรสำคัญของลาว ได้แก่ ไม้ ดีบุก ยิบซั่ม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า

9. สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า

ทรัพยากรธรรมชาติ ของมาเลเซีย

เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง แม่น้ำทวาย-มะริด ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ ส่วนเขตฉาน อยู่ติดแม่น้ำโขงปลูกพืชผักจำนวนมาก ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชรและหยกจำนวนมาก การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง และ มะริด และทวาย เป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ของพม่า เป็นประเทศกำลังพัฒนาขั้นต่ำ

10. ราชอาณาจักรกัมพูชา

ทรัพยากรธรรมชาติ ของมาเลเซีย

เกษตรกรรม อยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง รอบทะเลสาบเขมร พืชที่สำคัญคือ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย
การประมง บริเวณรอบทะเลสาบเขมร เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค
การทำป่าไม้ บริเวณเขตภูเขาทางภาคเหนือ โดยล่องมาตามแม่น้ำโขง
การทำเหมืองแร่ ยังไม่ค่อยสำคัญ
อุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว โรงเลื่อย รองเท้า