อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ปัจจุบัน

ตำนานน้ำท่วมโลกที่มีอยู่ในแทบทุกชนชาติ ก็เริ่มปรากฎในบันทึกจากกิลเกาเมซเป็นที่แรก (แถวบ้านเราก็มีเหมือนกันนะ ‘ตำนานน้ำเต้าปุง’ ไง)

จริง ๆ ชาวเมโสโปเตเมียก็คงจะชินชากับการเจอน้ำท่วมเป็นปกติอยู่ดี เพราะแม่น้ำไทกริส - ยูเฟรติสคาดเดาฤดูน้ำได้ยาก ประเดี๋ยวก็ท่วมอย่างรุนแรง ประเดี๋ยวก็แล้งขึ้นมาซะอย่างนั้น พระเจ้าของพวกเขาเลยคาดเดาไม่ได้พอ ๆ กับน้ำในแม่น้ำ 2 สายนี้แหล่ะ

นักบวชที่ดีลงานกับพระเจ้าได้ จึง . . . มีอำนาจ ! เพราะช่วยให้ชาวเมืองและโลกนี้สงบสุขได้

ต่อมาประมาณ 1,000 ปี นักบวชจะไม่ได้ผูกขาดอำนาจนี้แต่เพียงผู้เดียวอีกต่อไป เมื่อกษัตริย์ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในทางโลก

การปกครองในทางโลก ฝ่ายอาณาจักร ฝ่ายฆราวาส ซึ่งจะแย่งชิง และรวมทั้งร่วมมือกับฝ่ายศาสนา ศาสนจักร หรือนักบวช ในการปกครอง และจัดระเบียบสังคมของมวลมนุษยชาติต่อมาอีกหลายพันปี จนถึงปัจจุบัน และก็น่าจะตลอดไปในอนาคต

ในสมัยของสุเมเรียน ฝ่ายอาณาจักรสามารถเอาชนะเหนือฝ่ายศาสนจักรได้ด้วยการที่กษัตริย์ไปแต่งงานลับ ๆ กับนักบวชชั้นสูง กษัตริย์จึงขึ้นมามีอำนาจเหนือกว่านักบวช และก็ประกาศตัวเองเป็นนักบวชด้วย เพราะเอ่อ . . . มีนักบวชเป็นเมีย . . . เป็นต้น

ที่เราพอจะรู้เรื่องของชาวเมโสโปเตเมียได้ ก็เพราะว่าพวกเขามีการ “จดบันทึก” จากตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) ซึ่งจริง ๆ ส่วนใหญ่ที่จดบันทึกก็ไม่ใช่เรื่องจำพวกกษัตริย์ไปเอาใครเป็นเมีย หรือใครแต่งงานกับใคร ส่วนใหญ่เป็นเรื่องผลผลิตทางการเกษตรในแต่ละปี หรือรายละเอียดทางการค้า เช่น เอาข้าวสาลีกี่ถุง ไปแลกแพะมากี่ตัว และส่วนใหญ่ของส่วนใหญ่ ตัวอักษรคูนิฟอร์มที่เราเจอก็มีแต่ข้าวสาลี กับแพะอยู่เต็มไปหมด

ตัวอักษรคูนิฟอร์ม อายุราว 3,100 - 2,900 ปีก่อนคริสตกาลตัวอักษรคูนิฟอร์ม อายุราว 3,100 - 2,900 ปีก่อนคริสตกาล

การเขียนทำให้เกิดการอ่าน มันคือการเข้ารหัส และถอดรหัสของมนุษย์ สิ่งที่ตามมาจากการประดิษฐ์ตัวอักษร อย่างแรก คือ ชนชั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะเขียน และอ่านได้ มันถูกสงวนไว้เฉพาะชนชั้นสูงเท่านั้น ทุกวันนี้เราอาจจะเห็นภาษาบางภาษาที่ใช้กับบางชนชั้นเท่านั้น อย่างที่สอง การเขียนทำให้เกิดประวัติศาสตร์ (ประวัติศาสตร์ที่เป็นประวัติศาสตร์จริง ๆ ) และอย่างที่สาม การเขียนทำให้เกิดการจ้างงาน หนังสือสัญญาการค้า ธุรกิจ จดบันทึกผลผลิตต่าง ๆ ล้วนพึ่งพาตัวหนังสือทั้งนั้น

แต่ว่าเมโสโปเตเมียที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอู่อารยธรรมโลก พร้อมฉายาว่าเป็น ‘ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์’ (Fertile Crescent) จริง ๆ ไม่ได้สมบูรณ์ขนาดนั้น เพราะเมโสโปเตเมียแทบจะขาดแคลนทุกอย่างที่เป็นทรัพยากรพื้นฐาน ก้อนหิน ไม้ โลหะ, เมโสโปเตเมียต้องพึ่งพาผ่านการค้าเท่านั้น  พวกเขาค้าขายกับลุ่มแม่น้ำไนล์ทางตะวันตก และทางตะวันออกไปไกลถึงลุ่มแม่น้ำสินธุในอินเดีย ดึงดูดชนเร่ร่อนทั้งหลายให้เข้ามาแลกเปลี่ยนสินค้าในเมือง

จนกระทั่งอาณาจักรของพวกสุเมเรียนอ่อนแอลง อาจจะเพราะความแห้งแล้ง หรือแม่น้ำเปลี่ยนทิศทาง ในราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ก็มีชนชาติใหม่เข้ามาครอบครองดินแดนนี้ พวกเขาสืบต่ออารยธรรมทั้งหลายจากชาวสุเมเรียน ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ ตัวอักษร การค้า แต่สิ่งใหม่ที่ปรากฏขึ้นคือ พวกเขาให้ชาวเมืองผลิตค้าขายอะไรก็ตามที่แต่ละคนต้องการ แล้วเจ้าเมือง (หรือรัฐ) จะตัดส่วนแบ่งนิดหน่อยมาไว้เป็นของรัฐเอง ทุกวันนี้เรารู้จักสิ่งนี้ว่า ภาษี ! (Taxes)

ภาษีอาจจะเป็นตัวร้ายในสายตามนุษยชาติ แต่จริง ๆ แล้วมันสำคัญมากกับการจัดระเบียบสังคม คุณต้องจ่ายภาษีให้ใคร แปลว่าใครคนนั้นมีอำนาจเหนือคุณ และดินแดนนั้น ๆ และคนที่อยู่บนยอดสูงสุดของการเก็บ และใช้ภาษีนั้นก็พยายามส่งต่ออำนาจนี้ให้กับลูกชาย (หรือลูกสาว) โดยรวม (อย่างกว้าง ๆ ) เราเรียกระบบนี้ว่า ราชาธิปไตย (Monarchy) คนที่โดดเด่นในเมโสโปเตเมียเรื่องนี้คือ พระเจ้าฮัมมูราบีแห่งบาบิโลน (Hammurabi of Babylon : 1792 BC - 1750 BC) ผู้ประกาศใช้ประมวลกฏหมายฮัมมูราบี (Code of Hammurabi) หรือกฎหมายตาต่อตา ฟันต่อฟัน ที่หนังสือประวัติศาสตร์ชอบหยิบมาพูดกันนั่นแหล่ะ

เห็นได้ชัดว่าการจัดระเบียบสังคมย้ายจากนักบวชที่คุยกับพระเจ้า มาเป็นกฎหมายบ้านเมืองที่รับใช้มนุษย์ด้วยกันเอง แต่เดี๋ยวมันก็ย้ายไปย้ายมาระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าแหล่ะ

ร่องรอยเมืองเออร์ในปี ค.ศ. 2006, ปรากฎมหาซิกกูแรตแห่งเออร์อยู่ด้านหลังร่องรอยเมืองเออร์ในปี ค.ศ. 2006, ปรากฎมหาซิกกูแรตแห่งเมืองเออร์อยู่ด้านหลัง

อาณาจักรบาบิโลนขยายพื้นที่ดินแดนออกไปมีอำนาจเหนือเมืองหลาย ๆ เมืองในเมโสโปเตเมีย ปูทางให้กับการเปลี่ยนแปลงจากเป็นนครรัฐ (City-state) สู่ ‘จักรวรรดิ’ (Empire) เมื่อชาวอัสซีเรีย (Assyrian) เข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้

พวกอัสซีเรียนเป็นเหมือนนักเลง หรือ ‘อันธพาลแห่งเมโสโปเตเมีย’ ก็ว่าได้ พวกเขาโหดร้าย ทารุณ แต่ก็เก่งกาจในการรบ พวกเขาสามารถขยาย ‘จักรวรรดิ’ ออกไปครอบครองดินแดนเมโสโปเตเมียทั้งหมด และออกไปไกลถึงอียิปต์ ซึ่งก็ไกลเกินกว่าที่ระบบถนนจะทำให้พวกเขาปกครองดินแดนต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แผนที่แสดงจักรวรรดิอัสซีเรีย เมื่อ 824 ปีก่อนคริสตกาล และ 671 ปีก่อนคริสตกาล

สิ่งที่ผลักดันให้ชาวอัสซีเรียทำสงครามก็คือ ความเชื่อทางศาสนา พระเจ้าของพวกเขา อัสเชอร์ (Ashur) ซึ่งได้มอบอำนาจผ่านกษัตริย์ของอัสซีเรียในฐานะ สมมุติเทพ ซึ่งมีความเชื่อว่าโลกจะหมุนไปตราบใดที่พวกเขาพิชิตดินแดนต่าง ๆ

อัสเชอร์อาจจะทำให้จักรวรรดิอัสซีเรียแผ่ขยายออกไปกว้างใหญ่อย่างที่โลกโบราณในเวลานั้นไม่เคยพบเห็นมาก่อน แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นง่าย ๆ เมื่อพวกเขาเริ่มแพ้ และแพ้ซ้ำแล้วซ้ำแล้ว โลกของอัสซีเรียนก็ถึงกาลอวสาน (ตามความเชื่อ)

อันที่จริงก็ไม่มีอะไรมาก ชาวแคลเดียน (Chaldean) ก่อกบฏ และเลียนแบบวิธีการรบอันเก่งกาจของพวกอัสซีเรีย จนสามารถเข้ายึดเมืองนิเนเวห์ (Nineveh) เมืองหลวงของอัสซีเรียได้ใน 612 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อศูนย์กลางถูกทำลายจักรวรรดิอัสซีเรียก็แตกออกเป็นเสี่ยง แต่การแพ้และการหดตัวของดินแดนก็เป็นข้อบ่งบอกตามความเชื่อทางศาสนาว่าโลกจะถึงจุดจบ ชาวอัสซีเรียก็ไม่ค่อยอยากจะสู้รบเท่าไร หนีเอาตัวรอดดีกว่า

ปลายทางของอารยธรรมเมโสโปเตเมียอยู่ภายใต้การปกครองของชาวเปอร์เซีย (Persians) ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเมโสโปเตเมีย เราถือว่าพวกเขาเป็นชนต่างชาติที่เข้ามาปกครองเหนือดินแดนนี้ ก่อนที่อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) จะพากองทัพมาซิโดเนียพิชิตพวกเปอร์เซียและไปต่อยังลุ่มแม่น้ำสินธุ หนังสือประวัติศาสตร์ก็ตัดจบเรื่องราวของอารยธรรมเมโสโปเตเมียแต่เพียงเท่านี้

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ก็อาจจะเกิดข้อสงสัยที่ว่า เมโสโปเตเมีย จะนับเป็นประวัติศาสตร์ยุโรปได้อย่างไร เพราะดินแดนแห่งนี้ไม่ได้อยู่ในยุโรปด้วยซ้ำ

ก่อนอื่นต้องพิจารณาว่า อารยธรรมเมโสโปเตเมีย เป็นอารยธรรมแห่งแรกของโลก และได้ส่งผลต่ออารยธรรมที่จะตามมาในอนาคต, ภาษี ภาษา ความเชื่อ การปกครอง ฯลฯ ซึ่งประวัติศาสตร์แบบมียุโรปเป็นศูนย์กลาง (Eurocentrism) ได้พิจารณาแล้วว่า อารยธรรมเมโสโปเตเมียจะส่งอิทธิพลสืบทอดไปยังทวีปยุโรปต่อไป และเมโสโปเตเมียจะทำหน้าที่เป็นประวัติศาสตร์ให้กับชาวยุโรปต่อมาอีกหลายพันปี

เชื่อไหมว่า นักเรียนมัธยมไทย ถูกให้เรียนเรื่อง อารยธรรมเมโสโปเตเมียในแง่ที่ว่า อะไรเป็นความเจริญของเมโสโปเตเมีย, ความเจริญไหนเป็นของชนชาติไหนในเมโสโปเตเมีย (ซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 10 ชนชาติ), หรือแม้แต่สิ่งก่อสร้างไหนสร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์พระองค์ไหน . . . (ซึ่งมีเป็นร้อยสิ่ง)

และบรรดาติวเตอร์สอนเก็งข้อสอบทั้งหลายก็จะตามมาบอกว่า อะไรที่น้อง ๆ ควรจำบ้าง, มีวิธีตัดช้อยส์ทิ้งยังไงบ้าง, อันไหนออกสอบบ่อย

ซึ่งในข้อสอบโอเน็ต ม.6 ปีการศึกษา 2562 มีข้อสอบที่เกี่ยวข้องกับอารยธรรมเมโสโปเตเมียออกสอบทั้งหมด 1 ข้อ ! (และเป็นข้อที่ปนกับเรื่องอื่น)

ส่วนบรรดานิสิตประวัติศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย คุณยังจะไม่ได้สอบเรื่องเมโสโปเตเมียทันทีที่อาจารย์เลกเชอร์เรื่องเมโสโปเตเมียจบ เพราะคุณต้องไปเรียนเรื่องอียิปต์โบราณก่อน . . .

อารยธรรมเมโสโปเตเมียอยู่บริเวณประเทศใดในปัจจุบัน

เมโสโปเตเมียเป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสมัยโบราณ โดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำไทกริส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรทีส (Euphrates) ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในประเทศอิรัก แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนียและเอเชียไมเนอร์มาบรรจบกันเป็นชัฏฏุลอะร็อบแล้วไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย

ปัจจุบันอารยธรรมเมโสโปเตเมียอยู่ภูมิภาคใดในทวีปเอเชีย

เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) อารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ระหว่างแม่น้ำไทกริส และแม่น้ำยูเฟรติส (Tigris–Euphrates river system) ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศอิรักในปัจจุบัน

อารยธรรมเมโสโปเตเมียมีความสำคัญอย่างไร

เมโสโปเตเมียเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง เมโสโปเตเมีย แปลว่า ดินแดนระหว่างแม่น้ำสองสายคือ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีส (ปัจจุบันคือดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศอิรัก) ระหว่างสองฝั่งแม่น้ำทั้งสองสายเป็นพื้นดินที่มีความ อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้กลุ่มชนชาติต่างๆเข้ามาทำมาหากินและสร้างอารยธรรมขึ้น รวม ...

อารยธรรมใดบ้างที่เกิดขึ้นในอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

อารยธรรมชนชาติในเมโสโปเตเมีย.
อมอไรต์ Amorites. ... .
ฮิตไทต์ (Hittites) ... .
นครฮัตตุชาของชาวฮิตไทต์ ... .
มหากาพย์กิลกาเมช.
แคลเดียน ... .
สวนลอยแห่งบาบิโลน ... .
ฮิบรู (Hebrews) ... .