รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบ

ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดทางตะวันตกตามที่กล่าวมาข้างต้น แนวคิดในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กเล็กในระดับอนุบาลนั้น เริ่มแรกของการให้การศึกษากับเด็กเล็กตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ยังเป็นการเลี้ยงดูโดยครอบครัวที่มีลักษณะเป็นครอบครัวใหญ่ เด็ก

จึงได้รับการอบรมสั่งสอนจากทั้งญาติพี่น้องและพ่อแม่ จึงนับเป็นการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ และการเรียนขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้เรียน จนสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1 - 4 ) เด็กที่จะได้รับการศึกษาในระดับปฐมวัยจะเป็นกลุ่มเชื้อพระวงศ์ที่จะเรียน

ในพระบรมมหาราชวังกับราชบัณฑิตหรือกลุ่มเด็กของครอบครัวที่มีฐานะดีจะมีครูมาสอนที่บ้าน ส่วนเด็กที่มาจากครอบครัวบุคคลทั่วไปจะถูกนำไปฝากเรียนที่วัด แต่เด็กผู้หญิงจะยังไม่มีโอกาสได้เรียน

ยกเว้นเด็กที่พ่อแม่ไปฝากไว้ในวังหรือตามบ้านเจ้านายเพื่อฝึกความเป็นกุลสตรีและงานอาชีพ จนมา

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บ้านเมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน เช่น

การคุกคามจากจักรวรรดินิยม การค้าขายกับต่างชาติทำให้มีการเผยแพร่ความรู้วิทยากรต่างๆตามแบบตะวันตก และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก กลับมาเป็นผู้นำในการพัฒนาบ้านเมือง รวมทั้งนักเรียนไทยเดินทางไปศึกษาวิชาการต่างๆ จากต่างประเทศก็ได้นำแนวคิดของทางตะวันตกมาพัฒนาบ้านเมือง ปัจจัยด้านการเลิกทาสและระบบไพร่ทำให้ราษฎรจำนวนมาก

ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพเอง จึงจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อดำรงชีพและเกิดความต้องการเข้ารับราชการเนื่องจากมีการปรับปรุงการปกครองและการบริหารส่วนกลางที่ต้องการข้าราชการไปปฏิบัติงานตามหัวเมืองต่างๆนำไปสู่การปรับปรุงการศึกษาในทุกระดับชั้น แม้แต่การศึกษาปฐมวัยก็เริ่มมีการศึกษาที่

มีระเบียบแบบแผนมากขึ้น ในสมัยเริ่มต้น เรียกว่า "โรงเลี้ยงเด็ก" ในปีพ.ศ.2466 นับเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กแห่งแรกในประเทศไทยโดยดำริของพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งสูญเสียพระธิดาไปตั้งแต่ยังเยาว์ จึงมีพระราชดำริที่จะช่วยเหลือ

เด็กด้อยโอกาส อันได้แก่ เด็กกำพร้า เด็กยากจน และเด็กเร่ร่อนให้ได้เข้ามาได้รับการศึกษาในโรงเลี้ยงเด็ก โรงเลี้ยงเด็กแห่งนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นผู้จัดการคนแรก โดยเนื้อหาที่เรียนเน้นด้านความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เช่น อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น รู้จักรักษาอิริยาบถ หุงข้าว ต้มแกงเป็น ขึ้นต้นไม้เป็น ว่ายน้ำเป็น ปลูกทับกระท่อมที่อยู่เป็น ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์

นอกเหนือจากการก่อตั้งโรงเลี้ยงเด็กแล้ว ได้รับแนวคิดตามแบบตะวันตกของเฟรอเบลและมอนเตสซอรี่ อันนับเป็นแนวความคิดแบบ ตะวันตกแบบแรกที่เข้ามาในประเทศไทยในรัชสมัยนี้ยังมีการจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบโรงเรียน คือ มีการจัดตั้งโรงเรียนราชกุมารและโรงเรียนราชกุมารีสำหรับเชื้อพระวงศ์ นับเป็นสถานศึกษาปฐมวัยแห่งแรกที่เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการอย่างมี

ระบบโดเน้นวิธีการสอนแบบเรียนเล่น เน้นการลงมือทำกิจกรรม ต่อมาหน่วยงานรัฐเริ่มให้ความสำคัญ

กับการศึกษากับคนทั่วไป นอกเหนือจากเชื้อพระวงศ์ จึงเริ่มมีแนวคิดแบ่งระดับการศึกษาแบบทรงเจดีย์โดได้เพิ่มการสอนในระดับมูลศึกษาอันเป็นหลักฐานเบื้องต้นของการศึกษา ในระดับสามัญศึกษาเป็นระดับก่อนประถมศึกษาที่มีพระสงฆ์เป็นผู้สอนเน้นการอ่านออกเขียนได้ และจริยธรรม ซึ่งนับว่า

ตั้งแต่นั้นมาแนวคิดทางตะวันตกก็เริ่มเข้ามามีผลต่อการศึกษาไทย อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่า ความคาดหวังสำหรับเด็กโลกสมัยปี 2000 จะดูต่างไปจากโลกของเด็กในยุคก่อนๆ เช่น มีหลาคนคิดว่าในช่วง 7 ปี แรกของชีวิตเด็กนั้นเราควรจะต้องสอนเด็กตลอดเวลาให้รู้จักตัวหนังสือ ควรที่จะสามารถอ่านออกเขียนได้ มีแนวคิดว่าควรมีทักษะคณิตศาสตร์ หรือรู้จักใช้เทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทันกับกระแสโลก ในขณะเดียวกัน การเรียนการสอนแบบเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง อันเป็นแนวคิดจากจอห์น ดิวอี้ ผู้มีบทบาทสำคัญ ในการเผยแพร่เรื่องนี้ ที่เน้นในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กแบบองค์รวม มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรอีกครั้งในปี พ.ศ.2533 แนวคิดในเรื่องนี้ก็ยังคงอยู่เช่นเดิม จนประมาณปี พ.ศ.2538 เมื่อเริ่มมีการปฏิรูปทางการเมืองขึ้น วงการการศึกษาก็ได้มีการเคลื่อนไหวให้มี

การปฏิรูปการศึกษาขึ้นอีกครั้ง ซึ่งส่งผลทำให้มีพระราชบัญญัติการศึกษาเกิดขึ้น โดยเฉพาะที่กำหนดในมาตรา 22 ที่ให้ครูจัดการเรียนการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการเรียนรู้ที่ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ของแต่ละคน เปลี่ยนแนวจากการเรียนการสอนแบบ

บรรยาย มาเป็นการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยใช้วิธีการสอนแบบโครงการ กระตุ้นให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยครูทำหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษา และคอยเพิ่มเติมในส่วนที่เด็กยังขาดหรือต้องการความช่วยเหลือ

รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบ

🤗 เพราะการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นส่วนสำคัญในการสร้างผู้ใหญ่ และประชากรที่มีประสิทธิภาพในอนาคต👏

🌷 ยกระดับคุณภาพปัญญาปฐมวัย ผ่านออกแบบการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับระบบโรงเรียนปกติที่เป็นระบบและมีทิศทางที่ชัดเจนกับ↩
✨ 7 รูปแบบจัดการศึกษาปฐมวัย✨

รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบ


❣ แบบนีโอ-ฮิวแมนนิสต์
👉ทำให้เด็กเก่ง ฉลาด แข็งแรง มีความคิดด้านบวก มีน้ำใจ และมีความสุขเช่น ได้เรียนรู้จากคุณพ่อ คุณแม่ คุณครูที่อารมณ์ดี ยิ้มแย้ม และเป็นมิตร จะทำเกิดการพัฒนาเซลล์ประสานประสาทจะเกิดในช่วงเด็กเล็กๆพัฒนามากขึ้น

รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบ


❣ แบบพหุปัญญา
👉เด็กๆ แต่ละคนมีความแตกต่างในความฉลาดแต่ละด้านมากน้อยต่างกันหากพ่อแม่และครูเข้าใจจะสามารถกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ให้เหมาะกับเด็กทุกคนตามความสนใจ ทำให้รักในการเรียนรู้ การทำงาน และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข

รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบ


❣ แบบวอลดอร์ฟ
👉การจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับอายุและความสามารถตามวัยของเด็ก ให้เกิดความสมดุลกัน เกณฑ์อายุในระดับอนุบาล เด็กๆ รับรู้ด้วยสัมผัสรู้ที่ผิวกาย สัมผัสรู้พลังชีวิต สัมผัสรู้การเคลื่อนไหว สัมผัสรู้ความสมดุล จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เมื่อครูนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้เด็ก

รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบ


❣ แบบเรกจิโอ เอมิเลีย
👉เด็กทุกคนมีความสามารถภายในตัวเองติดตัวมาแล้ว ทุกคนดึงศักยภาพที่อยู่ภายในตัวของเด็กให้ออกมาให้ได้อย่างเต็มที และเด็กทุกคนสามาเรียนรู้ไปด้วยกันได้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในรูปแบบของตน

รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบ

❣ แบบโครงการ
👉ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่เด็กในงานและกิจกรรมที่ทำ ได้เรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ส่งเสริมให้เด็กมีวิธีการทำงานอย่างมีแบบแผนสามารถนำรูปแบบการสืบค้นความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง

รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบ


❣ แบบไฮสโคป
การสอนจึงมุ่งจำเพาะไปที่พัฒนาเด็ก ใจเด็ก และอนาคตเด็กกระบวนการและวิธีการสนับสนุนการเรียนรู้เปิดกว้างมีการวางแผน การปฏิบัติ และการทบทวนเมื่อทำกิจกรรมแล้วเด็กสามารถที่คิดกิจกรรมอื่นต่อเนื่องได้ตามความสนใจ ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ครูกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมให้มากที่สุด

รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบ

❣ แบบมอนเตสเซอรี่
👉คำนึงถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ของเด็กและยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ จัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า รู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง

💟 ขอบคุณข่าวความรู้ดี ๆ จากสำนักข่าว : คมชัดลึกออนไลน์
ข่าว”พัฒนา”เด็กปฐมวัย”คืนทุน7เท่าสร้างชาติ-ลดเหลื่อมล้ำประเทศ” คณะการศึกษาปฐมวัย ม.หอการค้าไทย
=========================================
‼️ตัวช่วยจดบันทึกที่ #ครูอนุบาล ต้องมี ‼️
บันทึกครบ ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องร่างเอง #รัฐกุล นำมาให้คุณแล้ว ….
👉 เอกสารประเมินพัฒนาการ การศึกษาปฐมวัย 👈
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย
=========================================
#สอบถาม #สั่งซื้อ
📲 m.me/rathakun11/
📲 Linee ID: @rathakun11
หรือ คลิ๊ก https://line.me/R/ti/p/%40rathakun11
☎️ 081-6257458 , 0896911094
หจก.รัฐกุล “ผู้ช่วยที่ดีที่สุดของคุณครูอนุบาล”
.
#เอกสารประเมินพัฒนาการเด็ก #บัญชีเรียกชื่อ #แบบบันทึกผลการประเมินพัฒนาการ #สื่อการเรียนการสอน #ปฐมวัย

รูปแบบการศึกษาปฐมวัย มีกี่รูปแบบ

7 รูปแบบจัดการศึกษาปฐมวัย ที่ครูอนุบาลไม่รู้ไม่ได้แล้ว.
❣ แบบนีโอ-ฮิวแมนนิสต์ ... .
❣ แบบพหุปัญญา ... .
❣ แบบวอลดอร์ฟ ... .
❣ แบบเรกจิโอ เอมิเลีย ... .
❣ แบบโครงการ ... .
❣ แบบไฮสโคป ... .
❣ แบบมอนเตสเซอรี่.

การจัดการศึกษาปฐมวัยมีรูปแบบเป็นอย่างไร

การจัดการศึกษาปฐมวัย คือเป็นการจัดในสถานะของการอบรมเลี้ยงดู และให้ การศึกษาแก่เด็กทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ตามวัยและ ความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต และอยู่ในสังคมได้อย่างมี ความสุข ทั้งนี้ในการจัดการศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัยต้องอาศัยแนวคิดและหลักการ เป็น แนวทางในการ ...

องค์ประกอบของการจัดการศึกษาปฐมวัยมีอะไรบ้าง

1. องค์ประกอบการจัดการศึกษาปฐมวัยยุคการศึกษายุค 4.0 ของสถานศึกษา สังกัดส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการบริหารงานวิชาการ 2) ด้านการบริหารบุคลากร 3) ด้านการจัดประสบการณ์ 4) ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและ 5) ด้านการมีส่วนร่วม

การ จัดการ ศึกษาปฐมวัยใน ประเทศไทย มี กี่ แบบ

จากนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ระยะยาว พ.ศ. 2550-2559 ได้ให้ความหมายของเด็กปฐมวัยว่า “เด็กปฐมวัย” คือ เด็กตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงอายุ 5 ปี 11 เดือน 29 วัน หรือต่ำกว่า 6 ปี การจัดการการศึกษานั้นได้แบ่งเป็น 3 รูป แบบคือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยการจัดการศึกษาปฐมวัย ต้องเน้น ...