เงินเข้าบัญชี โดนตรวจ สอบ Pantip

ใช้บริการบัวหลวงโฟนได้ง่ายๆ เพียงโทร. 1333 สำหรับการโทรจากในประเทศ ครั้งละ 3 บาท เมื่อโทรจากโทรศัพท์พื้นฐาน หรือโทร. (66) 2645 5555 สำหรับการโทรจากต่างประเทศ เพื่อความรวดเร็ว คุณสามารถเลือกบัวหลวงโฟนเมนูลัด เพื่อทำรายการที่ต้องการได้ทันที หลังจากกดเลือกภาษาที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว (ภาษาไทย กด 1) (ภาษาอังกฤษ กด 2) ติดต่อบัวหลวงโฟน โทร. 1333 พร้อมเมนูลัด

บางครั้งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อาจสร้างปัญหาให้เรามากกว่าที่คิด หรือการเป็นคนดีเกินไป อาจนำภัยมาสู่ตัวเองได้เหมือนกัน อย่างเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่อยู่ดีๆ ก็มีคนโอนเงินผิดมาเข้าบัญชีเรา ซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่มีประเด็นอะไร ใครโอนเงินผิดมา เราก็โอนเงินคืนกลับไปให้ แต่จริงๆ แล้ว หากเรากับเจ้าของบัญชีรู้จักกันดี เช่น เป็นเพื่อนสนิท หรือคนในครอบครัว ก็สามารถโอนคืนให้กันได้ไม่ผิดอะไร แต่หากเราไม่รู้จักกับผู้โอน หรืออาจรู้จักกันแค่ผิวเผิน เช่น รู้จักกันจากการซื้อของออนไลน์ การรีบร้อนโอนเงินคืนไปให้ บทสรุปของเรื่องอาจจบไม่สวยอย่างที่คิด

เงินเข้าบัญชี โดนตรวจ สอบ Pantip

เรื่องของเรื่องคือ การโอนเงินผิดนั้น อาจเกิดขึ้นจากความตั้งใจของมิจฉาชีพ เช่น ผู้ที่โอนเงินผิดอาจสั่งซื้อของผิดกฎหมาย จึงเลี่ยงการถูกตรวจสอบเส้นทางโอนเงินด้วยการโอนไปที่บัญชีใครสักคนแทน กรณีนี้หากเราโอนเงินกลับไปให้ ก็อาจเข้าข่ายผู้กระทำความผิดตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีคนที่ไม่รู้จักติดต่อมาว่ามีการโอนเงินผิดเข้ามายังบัญชีของเรา อย่ารีบร้อนขอเลขบัญชีเพื่อโอนเงินคืนให้โดยเด็ดขาด แต่ให้สังเกตว่า ผู้นั้นติดต่อมาเพื่อแจ้งรายละเอียดการโอนเงินผิดให้เราทราบเป็นหลัก หรือติดต่อมาเพื่อขอข้อมูลส่วนตัวจากเรา และเร่งรัดให้เราเป็นผู้โอนเงินกลับไปให้ ซึ่งถ้าเป็นการโอนเงินผิดจริง ผู้ที่จะโทรมาติดต่อเราควรเป็นเจ้าหน้าที่จากธนาคาร และต้องไม่เร่งรัดให้เราโอนเงินคืนกลับไปให้


เมื่อได้รับการติดต่อเรื่องการโอนเงินผิดมาที่บัญชีของเรา สิ่งที่ผู้ติดต่อต้องแจ้งเราคือ ติดต่อมาจากธนาคารไหน มีรายการผิดปกติอะไรเกิดขึ้น เมื่อไหร่ ช่วงเวลาไหน จำนวนเงินเท่าไหร่ และเป็นการทำรายการผ่านช่องทางใด ที่สำคัญเมื่อพูดคุยกันเสร็จแล้ว ให้เราขอชื่อ – สกุล และเบอร์ติดต่อกลับของผู้ที่โทรหาเราไว้ด้วย จากนั้นขอเวลาตรวจสอบก่อนว่ามีการโอนเงินผิดบัญชีมาตามข้อมูลที่ได้รับแจ้งมาจริงหรือไม่

เงินเข้าบัญชี โดนตรวจ สอบ Pantip

หลังจากวางสายแล้ว ให้ตรวจสอบบัญชีของเราก่อนว่ามีเงินโอนเข้ามาตามที่ได้รับแจ้งจริงหรือไม่  หากเรามี Internet Banking หรือ Mobile Banking ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบรายการได้เลย แต่ถ้าไม่มี อาจสอบถามไปยัง Call Center ของธนาคารเพื่อตรวจสอบการโอนเงินให้  หากตรวจสอบแล้วมีการโอนเงินผิดบัญชีจริง ธนาคารจะติดต่อขอให้เรายินยอมให้ธนาคารเป็นผู้ดำเนินการดึงเงินกลับไปยังบัญชีต้นทางให้ โดยเราไม่ต้องโอนด้วยตนเอง ซึ่งธนาคารจะแจ้งผลการทำรายการให้เราเก็บไว้เป็นหลักฐาน แต่หากเราเพิกเฉยไม่ยอมคืนเงิน อาจถูกฟ้องร้องข้อหาฉ้อโกงทรัพย์สินที่ไม่ใช่ของตัวเองโดยเจตนาได้

เนื่องจากปัจจุบันเราทำธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์กันมากขึ้น แม้การทำธุรกรรมทางการเงินแบบนี้จะให้ทั้งความสะดวกและความสบาย แต่ก็แฝงมากับอันตรายและสิ่งที่ต้องระวังด้วย 

การทำธุรกรรมทางการเงินอาจจะทำให้เราต้องถูกดูดเงินจากบัญชี หรือโดนดูดเงินจากบัญชีโดยที่ไม่รู้ตัว อย่างที่เราได้เห็นกันในโดนดูดเงินจากบัญชี pantip ที่ถูกดูดเงินจากบัญชีจากหลายธนาคาร มีทั้งโดนดูดเงินจากบัญชีกสิกร เงินหายจากบัญชีกรุงไทย หรือเงินในบัญชีหายไทยพาณิชย์ โดยสาเหตุหลัก ๆ ของการถูกดูดเงินจากบัญชีก็คือ การกดลิ้งก์ ดาวน์โหลด และติดตั้งโปรแกรมจากมิจฉาชีพ หรือหลงกลบอกข้อมูลให้กับมิจฉาชีพไป สิ่งเหล่านี้ทำให้มิจฉาชีพดูดเงินในบัญชีของเราไปจนหมดได้ 

เงินเข้าบัญชี โดนตรวจ สอบ Pantip

วิธีป้องกันถ้าไม่อยากถูกดูดเงินจากบัญชี

  1. เราต้องเป็นคนช่างสังเกต เมื่อได้รับข้อความ ลิ้งก์ หรือโปรแกรมให้ดาวน์โหลดในขณะทำธุรกรรมทางการเงิน อย่ากดเข้าไปทันที ให้ดูอย่างละเอียดว่ามาจากธนาคารหรือไม่ หากไม่แน่ใจให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ธนาคารโดยตรง
  2.  เมื่อมิจฉาชีพดูดเงินในบัญชีโทรมา ให้ตั้งสติ อย่าหลงเชื่อ และอย่าบอกข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะข้อมูลบัตรเครดิต และข้อมูลบัญชีธนาคาร เพราะอาจจะ

    ให้นำรหัสทั้ง 3 กลุ่มที่ระบบออกให้ไปทำรายการชำระเงิน ณ เครื่อง ATM โดยสามารถใช้ บัตร ATM ของผู้อื่นได้ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นบัตรของผู้เสียภาษีที่ประสงค์จะชำระภาษี แต่มีข้อจำกัด คือต้องทำรายการชำระเงิน ณ เครื่อง ATM ของธนาคารผู้ออกบัตร เช่น ใช้บัตรของธนาคารกรุงไทย จะต้องไปชำระเงิน ณ เครื่อง ATM ของธนาคารกรุงไทยเท่านั้น

    ระวัง แก๊งคอลเซ็นเตอร์!! อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ขอตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษี ส่ง Link เว็บไซต์ปลอม หลอกให้โหลดแอปพลิเคชัน เพื่อเข้าควบคุมเครื่องมือถือ และโอนเงินออกจากบัญชี

    กลโกงมิจฉาชีพ

    1. มิจฉาชีพค้นหาข้อมูล เจ้าของกิจการร้านค้าธงฟ้า จากเว็บไซต์ กระทรวงพาณิชย์
    2. โทรติดต่อเจ้าของกิจการร้านธงฟ้าเป้าหมาย อ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรขอตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษี โดยขอให้ Add LINE เข้ามา
    3. เมื่อเหยื่อ Add LINE แล้ว มิจฉาชีพทำการส่ง Link เว็บไซต์ปลอม h t t p : / / l d g r 3 . c c
    4. มิจฉาชีพขอให้กดติดตั้งโปรแกรมที่อยู่ที่บนหน้าเว็บไซต์ เมื่อติดตั้งโปรแกรมสำเร็จ ระบบจะมีการออกรหัส OTP ส่งมาทางมือถือ
    5. มิจฉาชีพขอให้แจ้งข้อมูลรหัส OTP เพื่อขอตรวจสอบข้อมูล เพื่อเข้าควบคุมมือถือ และกระทำทุจริตโดยการโอนเงินออกจากบัญชีผ่าน Mobile Banking

    แนวทางรับมือเบื้องต้น :
    3 ไม่

    1. ไม่เชื่อ : ไม่หลงเชื่อข้อมูล ให้ติดต่อกลับ Call Center ธนาคารเพื่อยืนยันอีกครั้ง
    2. ไม่บอก : ต้องไม่ให้ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลการทำธุรกรรม Online (OTP) ที่ได้รับผ่าน SMS แก่ผู้อื่น
    3. ไม่โดนหลอก : ห้ามโอนเงินตามคำบอกเด็ดขาด

    3 แจ้ง : แจ้งภายใน 24 ชม เมื่อหลงกลทำตามคำบอกมิจฉาชีพไปแล้ว

    1. แจ้ง Call Center ธนาคารทันที
    2. แจ้ง ตำรวจในพื้นที่ เพื่อแจ้งความดำเนินคดี
    3. แจ้ง สายด่วน ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1155 หรือ 1599 และสายด่วนปปง โทร. 1710

    คำแนะนำ : ข้อควรปฏิบัติ

    • กรมสรรพากรไม่มีนโยบายขอตรวจสอบการชำระภาษี /คืนภาษี ผ่านการดำเนินการทางโทรศัพท์
    • ควรตรวจสอบตัวสะกด Link เว็บไซต์ต่างๆ ว่าถูกต้องตรงตามจริงไหม
    • รหัส OTP (ข้อความรหัสตัวเลข 3-6 ตัว) ที่ถูกส่งมายังมือถือ ไม่ควรแจ้งให้ผู้อื่นทราบ
    • แนะนำติดตั้ง Application ไว้ใช้แจ้งเตือนก่อนรับสายโทรศัพท์ เช่น Who's call

    เงินเข้าบัญชี โดนตรวจ สอบ Pantip