โครงงานเทียนหอมไล่ยุง บทคัดย่อ

บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง

บทที่ 5

สรุปผลการทดลอง

1.สรุปผลการทดลอง

          ตะไคร้และมะกรูดถือว่าเป็นพืชสมุนไพรที่หาง่ายตามธรรมชาติหรือในท้องถิ่นชุมชน ซึ่งสรรพคุณของตะไคร้และมะกรูดนั้น ถือว่าใช้ประโยชน์ได้จากทุกส่วนเลย ไม่ว่าจะเป็นใบมะกรูด หัวตะไคร้ และหนึ่งในนั้นคือกลิ่นของมันที่เป็นกลิ่นไม่พึงประสงค์ของยุง เราก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

                วิธีการทำเทียนหอมนั้นมีกรรมวิธีในการทำไม่ซับซ้อนสามารถทำเองได้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช่ทำก็หาง่ายและสามารถนำความรู้ไปต่อยอดการประกอบชีพและสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองได้อีกในเวลาต่อไป

ส่วนประกอบที่สำคัญในการไล่ยุง คือ ตะไคร้และมะกรูด ส่วนประสิทธิภาพในการไล่ยุง ตะไคร้จะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงมากที่สุด มะกรูดก็มีประสิทธิภาพน้อยกว่าตะไคร้

                ประโยชน์ของเทียนหอมก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นที่ช่วยให้ผ่อนคลายและสามารถไล่ยุงได้อีกทั้งยังใช้ประดับตกแต่งบริเวณต่างๆ ให้เเสงสว่างได้ด้วย

                การทำโครงงานครั้งนี้ทำให้รู้จักการนำวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยสร้างสรรค์และสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้

                จากการสำรวจความพึงพอใจของเทียนหอมสมุนไพรกลิ่นตะไคร้และกลิ่นมะกรูด  จากผู้ประเมิน 30 คนปรากฏว่า เทียนหอมกลิ่นตะไคร้ มีจำนวน16คน มากกว่า เทียนหอมกลิ่นมะกรูด มีจำนวน 14คน

บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน

บทที่  4

ผลการดำเนินงาน

1.  ผลการดำเนินงาน

การศึกษาโดยการทดลองทำเทียนหอมไล่ยุงและการศึกษาโดยการสำรวจเกี่ยวกับปัญหาของการเกิดโรคไข้เลือดออกและปริมาณยุงในพื้นที่ต่างๆ  จึงทำให้ได้ผลการดำเนินงานดังนี้

สิ่งที่ได้จากการทดลองทำ   คือ  ได้เทียนหอมตามจำนวนที่ต้องการและมีลักษณะตามแม่พิมพ์ที่ใช้คือ  พวกเราใช้แม่พิมพ์รูปหัวใจและใช้สีแดงและสีเขียว  เพื่อทำให้มีสีสันน่าสนใจที่สามารถไล่ยุงได้ เพราะยุงไม่ชอบสีสัน  จากการสังเกตลักษณะการอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ  ส่วนมากยุงมักจะชอบอยู่ตามที่มืดๆไม่อยู่ตามที่สว่างๆ

 เมื่อนำเทียนหอมไปจุดไฟแล้วไปวางไว้ที่ที่มียุงชอบอยู่มากๆหรือที่ที่ยุงอยู่ชุกชุมมากที่สุด  เช่น  ที่มืดๆ หรือที่ที่มีน้ำขังผลที่ปรากฏ คือ เทียนหอมสมุนไพรสามารถไล่ยุงได้

โครงงานเทียนหอมไล่ยุง บทคัดย่อ

โครงงานเทียนหอมไล่ยุง บทคัดย่อ

โครงงานเทียนหอมไล่ยุง บทคัดย่อ

โครงงานเทียนหอมไล่ยุง บทคัดย่อ

บทที่3 วัสดุ – อุปกรณ์ วิธีการดำเนินงาน

บทที่3

วัสดุ – อุปกรณ์ วิธีการดำเนินงาน

1.วิธีการดำเนินงาน

ลำดับ

การดำเนินการ

เวลาปฏิบัติ

ผู้ปฏิบัติ

1

คิดชื่อเรื่อง

1 มิ.ย. 2558

กลุ่มผู้จัดทำ

2

สืบค้นข้อมูลเทียนหอม

9 มิ.ย. 2558

กลุ่มผู้จัดทำ

3

จัดหาอุปกรณ์

23 มิ.ย.2558

กลุ่มผู้จัดทำ

4

เริ่มทำเทียนหอม

14 ก.ค. 2558

กลุ่มผู้จัดทำ

5

ตรวจสอบงาน

9 ก.ย. 2558

กลุ่มผู้จัดทำ

6

สรุปผลงาน

8 ต.ค. 2558

กลุ่มผู้จัดทำ

7

จัดทำรูปเล่ม

9 ต.ค. 2558

กลุ่มผู้จัดทำ

8

รายงานส่งคุณครู

12 ต.ค. 2558

กลุ่มผู้จัดทำ

2. วัสดุอุปกรณ์

            -น้ำมันหอมระเหยกลิ่นตะไคร้
                -พาราฟีน
                -สีเทียน
                -ไส้เทียน
                -เเม่พิมพ์
                -อุปกรณ์ในการตั้งไฟ เช่น เตาแก๊ส
                -หม้อ

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

                ในการทำโครงงานเรื่อง เทียนหอมสมุนไพร ได้ทำการสำรวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประกอบการดำเนินการตามลำดับ ดังนี้

1.ความหมายของสมุนไพร

2. สาระสำคัญ

3. หลักเบื้องต้นในการใช้สมุนไพร

4. ข้อดีของการใช้สมุนไพร

5. ข้อเสียของการใช้สมุนไพร

6. สมุนไพรที่ใช้ทำ

7. ส่วนประกอบอื่นๆ

8. งานวิจัย

9.สถิติ

1.ความหมายของสมุนไพร

                สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่วกระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า เครื่องเทศ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 1

บทนำ

  1.   ความสำคัญและที่มาของปัญหา

                     ยุงเป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย เป็นต้น จึงได้มีผู้คิดค้นสิ่งที่สามารถช่วยในการกำจัดและป้องกัน เช่น ครีมทางกันยุง ยาฉีดกันยุง เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคเมื่อใช้ในปริมาณที่มากเกินไปอันเนื่องมาจากสิ่งเหล่านี้อาจจะมีสารเคมีเป็นส่วนผสมอยู่ ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการแพ้ได้ในเวลาต่อมา คณะผู้จัดทำจึงได้มองเห็นปัญหานี้และได้คิดหาวิธีแนวทางแก้ไขจึงได้มีการทำโครงงานเรื่อง เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง เพื่อเป็นการป้องกันยุงอันนำไปสู่โรคภัยได้

การทำเทียนหอมในปัจจุบันนิยมใช้กลิ่นของหัวน้ำหอมต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้จัดทำโครงงานนี้เห็นความสำคัญของการใช้กลิ่นของพืชสมุนไพรแทนการใช้น้ำหอมต่างๆจึงเรียกว่าการทำเทียนหอมสมุนไพร โดยได้ใช้สมุนไพร เพื่อให้เกิดเป็นเทียมหอมกลิ่นสมุนไพรที่ได้นำมาทำนั้นกลิ่นมีประโยชน์มากมายเช่น กลิ่นสมุนไพรไล่ยุงให้กลิ่นที่รู้สึกสดชื่นสร้างอารมณ์มีชีวิตชีวา

โดยที่ผู้จัดทำมีวัตถุประสงค์ที่จะนำพืชสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงและต้องการทดลองว่า เทียนหอมสมุนไพรมีประโยชน์อย่างไร