แรงจูงใจที่เกิดจาก เหตุผล มีแรงกระตุ้น คือ

ไม่ใช่ทุกงานที่เราทำทำให้เรามีความสุขเนื่องจากลักษณะซ้ำซากเร่งด่วนความจำเป็นความถี่ระยะเวลาหรือความน่าเบื่อ ไม่ว่าจะเป็นการลากตัวเองไปทำงาน / โรงเรียนทุกเช้าหรือทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์เรามักจะทำงานที่อาจไม่เป็นที่พอใจหรือไม่พอใจเรา โดยปกติแล้วแรงภายนอกหรือแรงจูงใจภายนอกเป็นแรงผลักดันให้เราทำภารกิจดังกล่าวให้สำเร็จ รางวัลเช่นเงินคำชมและชื่อเสียงผลักดันแรงจูงใจของเราอย่างสุดขั้ว

อย่างไรก็ตามแรงจูงใจภายนอกไม่ได้แปลว่าเราไม่เต็มใจที่จะทำอะไรบางอย่าง เราเพียงแค่แสวงหารางวัลภายนอกจากสิ่งนั้น ตัวอย่างเช่นคน ๆ หนึ่งอาจชอบการเขียน แต่พยายามทำเงินให้ได้มากขึ้น

ประเด็นที่น่าสังเกต: การเสนอรางวัลภายนอกสำหรับบางสิ่งที่ให้รางวัลโดยเนื้อแท้แล้วสามารถลดแรงจูงใจหรือที่เรียกว่าผลกระทบที่มากเกินไป

ตัวอย่างแรงจูงใจภายนอก

  • ทำงานพาร์ทไทม์เพื่อสร้างรายได้พิเศษในขณะที่ยังเป็นนักศึกษา
  • เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อชิงรางวัลและรับชื่อเสียง
  • การเข้าชั้นเรียนเป็นประจำไม่ใช่เพราะการบรรยายเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น แต่เพื่อรักษาบันทึกการเข้าเรียน
  • ไปที่สำนักงานในวันที่ขี้เกียจเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดเงินเดือน
  • ทำงานให้เสร็จก่อนเวลาเพื่อรับการยกย่องและการยอมรับ
  • ทำสิ่งที่คุณไม่ชอบเพียงเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดสินของสาธารณชน
  • ทำงานบ้านเพื่อประจบพ่อแม่ก่อนที่จะร้องขอบางสิ่งจากพวกเขา

3 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเพิ่มผลผลิต
ในฐานะที่เป็นสังคมเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัวเพื่อสร้างความพึงพอใจและได้รับ แม้จะมีการเชื่อมโยงกับปัจจัยทางสังคมต่างๆ แต่เรายังคงทำหน้าที่อย่างอิสระในฐานะสิ่งมีชีวิตที่สามารถระบุตัวตนได้ด้วยความชอบและความคิดเห็น

Daniel H. Pink ในหนังสือ Drive: The Surprising Truth About What Motivates Us พูดถึงสถานะการพัฒนาของเศรษฐกิจดิจิทัลและผู้นำสามารถใช้วิธีการจูงใจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เขาเสนอหลักการสามประการในการเพิ่มผลผลิต: ความเป็นอิสระความเชี่ยวชาญ (หรืออีกทางหนึ่งคือความสามารถ) และวัตถุประสงค์ การแยกข้อเสนอของเขาออกจากบริบทในสถานที่ทำงานเพื่อทำให้เป็นสากลฉันจะพูดถึงผลกระทบของแรงจูงใจภายในและภายนอกต่อหลักการทั้งสามนี้

เอกราชหมายถึงปริมาณของความคิดสร้างสรรค์และการควบคุมที่เรายึดถือในการแสดงออกของแต่ละบุคคลโดยไม่มีอิทธิพลจากภายนอก เป็นตัวกำหนดความเป็นอิสระของเราในการตัดสินใจเลือกและตัดสินใจแนวทางการดำเนินการในอนาคต
ความเชี่ยวชาญหรือความสามารถคือความสามารถของเราในการดำเนินงานอย่างสุดความสามารถโดยปราศจากความช่วยเหลือจากภายนอก ระดับความสามารถของเราควบคุมว่าเราจะทำผลงานได้ดีเพียงใดเมื่อได้รับมอบหมายจากบางสิ่ง
มีจุดประสงค์เพื่อกล่าวถึงความปรารถนาภายในตัวบุคคลเพื่อมีส่วนร่วมในการดำรงอยู่ที่มีความหมายของมนุษยชาติมากกว่าตัวตน
ผลผลิตเป็นผลการสะสมจากสามข้อข้างต้นที่แรงจูงใจควบคุม ในส่วนต่อไปนี้เราจะสำรวจผลกระทบที่แตกต่างกันของแรงจูงใจสองประเภทต่อประสิทธิภาพของแต่ละบุคคล: แรงจูงใจภายในและภายนอก

1

แรงจูงใจภายในและภายนอก: มีทางเลือกที่สามหรือไม่?
ในการศึกษาทางจิตวิทยา Richard M. Ryan และ Edward L. Deci พบว่า“ เงื่อนไขที่สนับสนุนความเป็นอิสระและความสามารถได้ช่วยอำนวยความสะดวกในการแสดงออกที่สำคัญนี้ของแนวโน้มการเติบโตของมนุษย์ในขณะที่เงื่อนไขที่ควบคุมพฤติกรรมและขัดขวางการรับรู้สะท้อนกลับทำลายการแสดงออก” กล่าวอีกนัยหนึ่งไม่ว่างานจะมีแรงจูงใจจากภายในหรือจากภายนอกงานนั้นไม่ควรส่งผลเสียต่อความสามารถตามธรรมชาติของเรา

พวกเขายังสรุปว่า“ การควบคุมที่มากเกินไปความท้าทายที่ไม่เหมาะสมและการขาดความเชื่อมโยง…ขัดขวางแนวโน้มที่เกิดขึ้นจริงและแนวโน้มขององค์กรที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและปัจจัยดังกล่าวไม่เพียงส่งผลให้ขาดความคิดริเริ่มและความรับผิดชอบเท่านั้น แต่ยังอยู่ในความทุกข์ด้วย” พูดง่ายๆคือความท้าทายที่ไม่สามารถคาดเดาได้และการปลดปล่อยอารมณ์สามารถลดทอนความสามารถตามธรรมชาติของแต่ละบุคคลและส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน

ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้อย่างปลอดภัยว่าแรงจูงใจเชิงบวกเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพโดยไม่ต้องเหนื่อยกับจิตใจร่างกายหรืออารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียนที่ทำงานหรือในวงสังคมผู้บังคับบัญชาต้องมั่นใจว่างานที่ได้รับมอบหมายจะต้องมีแรงจูงใจในเชิงบวกในลักษณะที่รับประกันความมุ่งมั่นความสนใจและประสิทธิผล ดังนั้นประเภทของแรงจูงใจจึงไม่มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพตราบเท่าที่ไม่ขัดขวางหลักการสามประการของการเพิ่มผลผลิต

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,  คณะศึกษาศาสตร์,  มหาวิทยาลัยบูรพา.

การศึกษาเรื่องการจูงใจจะไม่สมบูรณ์ ถ้าเราไม่ได้กล่าวถึงเรื่องของสิ่งจูงใจ สิ่งล่อใจ คำว่าสิ่งจูงใจ (Incentive) เป็นองค์ประกอบที่อยู่ภายนอก อาจเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ สิ่งจูงใจเป็นตัวกำหนดทิศทางของพฤติกรรม กล่าวคือ พฤติกรรมที่ได้รับการจูงใจอาจเป็นการกระทำเพื่อมุ่งเข้าหา หรือหนีออกห่างจากสิ่งจูงใจนั้นก็ได้ ดังนั้น ถ้าเป็นสิ่งที่คนเราอยากได้ หรืออยากเข้าใกล้ เรียกว่า สิ่งจูงใจทางบวก (Positive Incentive) เช่น อาหาร ปริญญาบัตร คำสรรเสริญ เป็นต้น สิ่งที่คนเราไม่ต้องการหรืออยากหลีกเลี่ยง เรียกว่า สิ่งจูงใจทางลบ (Negative Incentive) ได้แก่อาหารที่เราไม่ชอบเสียงหนวกหูอากาศเสียคำกล่าวหาการลงโทษ

ประเภทและลักษณะของแรงจูงใจ
แรงจูงใจตรงกับภาษาอังกฤษว่า Motive นักจิตวิทยาใช้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการจำแนกประเภทของแรงจูงใจ ซึ่งมีหลายระบบและหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งในที่นี้จะขอนำมากล่าวเฉพาะมาสโลว์ (Maslow)
ตามแนวคิดของมาสโลว์นี้ เขาเน้นว่า มนุษย์เรามีความต้องการเป็นไปตามลำดับ เมื่อได้รับการสนองตอบในขั้นที่ 1 คนเราจะต้องการขั้นที่ 2 และต่อ ๆ ไปตามลำดับ
มาสโลว์มีความเห็นว่า ความต้องการของมนุษย์แบ่งเป็น 5 ขั้น จากขั้นมูลฐานจนถึงขั้นสูงสุด ซึ่งเรียงได้ตามลำดับ ดังนี้
ความต้องการอันดับแรกของมนุษย์ คือ ความต้องการทางร่างกาย ได้แก่ ต้องการน้ำ อาหาร อากาศพักผ่อน การนอนหลับ (Physiological needs)
ความต้องการขั้นที่ 2 คือ ความต้องการทางด้านความปลอดภัย (Safety needs) คือ ความต้องการความปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
ความต้องการขั้นที่ 3 คือ ความต้องการทางด้านสังคม (Social Needs) ได้แก่ ความต้องการความรัก (Love needs) เช่น ต้องการเพื่อน ต้องการมีคนรักใคร่ขอบพอ ไม่ต้องการอยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย
ความต้องการขั้นที่ 4 คือ ความต้องการด้านศักดิ์ศรี มีหน้ามีตาในสังคม (Esteem needs) ต้องการเป็นหัวหน้า เป็นผู้นำกลุ่ม ต้องการมีชื่อเสียงโด่งดังในสังคม ต้องการได้รับการยกย่องจากบุคคลทั่วไป
ความต้องการขั้นที่ 5 คือ ความต้องการมีสัจจะแห่งตน (Self Actualization) เป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์เพื่อจะทราบว่าตัวเองมีความสามารถที่จะทำสิ่งใดได้บ้างในด้านศักยภาพ (Potential) ของมนุษย์ เกิดมาแล้วสามารถทำงานให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและผู้อื่นมากน้อยเพียงใด
ความต้องการทั้ง 5 ขั้นนี้ เรียงตามลำดับเหมือนขั้นบันใด ความต้องการทางกายเป็นความต้องการขั้นต้นที่สุดที่เป็นพื้นฐานสำหรับความต้องการขั้นต่อไป การพัฒนาด้านจิตใจจะเป็นการพัฒนาระดับความต้องการ คือ เมื่อบุคคลสามารถสนองความต้องการทางกายแล้ว ก็พยายามหาทางสนองความต้องการด้านความปลอดภัยต่อไป เมื่อมีความมั่นคงปลอดภัยพอสมควรก็สนองความต้องการด้านความรักความเป็นเจ้าของ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม ลำดับต่อไปก็เป็นการแสงหาชื่อเสียงเกียรติยศ และต้องการสัจจะแห่งตนในลำดับสูงที่สุด

ประเภทแรงจูงใจ
ประเภทของแรงจูงใจยังสามารถแบ่งออกอย่างกว้างๆ ได้อีก 3 ประเภท คือ
1. แรงจูงใจทางด้านร่างกาย (Physiological) เป็นแรงจูงใจที่ติดตัวมาแต่กำเนิด มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิต เช่น ความหิว ความกระหายน้ำ ความต้องการทางเพศ
2. แรงจูงใจทั่วไปที่ไม่ใช่การเรียนรู้ หรือแรงจูงใจทั่วไป (Unlearned or General Motives) เป็นแรงจูงใจที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการเรียนรู้และไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เป็นความต้องการส่วนบุคคล เช่น ความต้องการเคลื่อนไหว และทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนความอยากรู้อยากเห็น ความกลัว ความต้องการความรักใคร่เอ็นดู
3. แรงจูงใจทางสังคม (Social Motives) เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ ไม่ใช่ติดตัวมาแต่กำเนิด แต่เกิดขึ้นเพราะการที่บุคคลได้เกี่ยวข้อง กับสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุที่คนเป็นสัตว์สังคม ดังนั้นพฤติกรรมส่วนใหญ่จึงได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมทางสังคม ซึ่งได้แก่ สถาบันต่าง ๆ วัฒนธรรม ค่านิยม ความนึกคิด ความเชื่อถือ ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา เป็นต้น แรงจูงใจทางสังคมได้แก่ ความต้องการให้สังคมยอมรับนั่นเอง
มีผลมาจากแรงขัย 8 อย่าง ได้แก่
1. ความหิว (Hunger drive) เราหิวอาหารเพราะร่างกายขาดอาหาร เกิดการบีบตัว หรือหดตัวของกล้ามเนื้อในกระเพาะอาหาร แต่จากการทดลองตัดกระเพาะอาหารออก ร่างกายก็ยังแสดงอาการหิวอยู่ จากการทดลอง สาเหตุประการสำคัญที่ทำให้เกิดการหิว คือ การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในกระแสโลหิต นอกจากนี้การหิวบางครั้งเราหิวเฉพาะอย่าง เช่น เด็กหิวไอศครีม ไม่หิวข้าว แมวหิวปลาไม่หิวมะเขือ เป็นต้น การหิวเฉพาะอย่างเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ อีกประการหนึ่งในการหิวเฉพาะอย่างเกิดจากร่างกายขาดอาหารประเภทนั้นทำให้เราต้องการอาหารประเภทนั้น ๆ ความหิวนับเป็นแรงขับที่มีอิทธิพลมากต่อพฤติกรรม
ตลอดวัยเด็กและวัยแรกรุ่น ซึ่งร่างกายกำลังเจริญเติบโต จะเห็นว่าเมื่อเด็กหิวจะรู้สึกหงุดหงิด กระสับกระส่ายเกิดความเครียดโมโหง่าย ต่อจากนั้นแรงจูงใจทางสังคมจึงจะเริ่มข้ามามีบทบาท
2. ความกระหาย นักสรีรวิทยาได้แสดงให้เห็นว่า เราไม่สามารถจะหาบรรดาสัตว์โลกใดที่มีแต่ความกระหายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยทั่วไปแล้วเราจะเห็นว่าความต้องการอาหารย่อมติดตามด้วยความต้องการน้ำ ทั้งนี้เพราะอาหารแข็งนั้นต้องเข้าไปในรูปของสารละลายและยิ่งกว่านี้ อาหารตามธรรมชาตินั้นส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำ ดังนั้นความกระหายของน้ำในทะเลทรายนั้นจะไม่สามารถเอาชนะความกระหายได้โดยเพียงแค่ดื่มน้ำเท่านั้น จะต้องมีอาหารกินด้วยจึงจะทำให้ความกระหายหมดไปได้
เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความกระหายนี้ เคยมีผู้เข้าใจว่าเป็นเพราะเมื่อเซลล์ในเยื่อลำคอมีปริมาณน้อยลง จึงทำให้คอแห้งและอยากดื่มน้ำ แต่ความจริงแล้วความกระหายนี้มีสาเหตุจากปริมาณน้ำของเซลล์ในร่างกายลดลง โดยเฉพาะที่ไฮโปธัลลามัส (Hypothalamus) จะมีนิวโรนอยู่กลุ่มหนึ่งซึ่งมีความไวต่อการสูญเสียน้ำของร่างกาย ก็จะส่งกระแสความรู้สึกไปยังสมอง ความกระหายก็จะเกิดขึ้น และภาวะสำคัญที่ทำให้คนต้องการน้ำ คือ ระดับเกลือในกระแสโลหิตด้วย
3. แรงขับทางเพศ (Sex drive) แรงขับทางเพศจะปรากฏให้เห็นได้ชัดในระยะที่มนุษย์ย่างเข้าสู่วัยสุกทางเพศ หรือระยะ Puberty (คำ Puberty มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า Pubertas มีความหมายว่า มีอายุเป็นผู้ใหญ่ แต่ในทางจิตวิทยานั้นได้ใช้ความหมายที่ว่าเป็นระยะที่เด็กมีพัฒนาการเพศเจริญสุดขีด) Feuds มีความเห็นว่า ความต้องการทางเพศเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมผิดปกติต่าง ๆ ถ้าสังคมไม่เปิดโอกาสให้เด็กวัยรุ่นได้ระบายแรงขับด้านนี้ไปในทางที่ถูกที่ควร
4. ความอบอุ่นและหนาว (Warmthsand Cold) ร่างกายคนเราต้องการอุณหภูมิพอเหมาะแก่ร่างกาย ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป เมื่อเกิดมีความร้อนจัดหรือหนาวจัดจะทำให้เกิดแรงจูงใจเสาะแสวงหาสิ่งที่มาทำให้ร่างกายเกิดความอบอุ่นตามต้องการ
5. ความต้องการหลีกเลี่ยงจากความเจ็บปวด (Pain) เพื่อให้ร่างกายดำรงชีวิตอยู่ได้โดยปลอดภัย ถ้าคนเราเกิดความเจ็บปวดก็จะพยายามบำบัดรักษาหรือหาทางป้องกันเพื่อให้ร่างกายปราศจากโรค หรือการสู้รบก็จะหนีไปสู่ที่ซึ่งปลอดภัยกว่า
6. ความต้องการพักผ่อนนอนหลับ (Sleep drive) คนต้องการการหลับพักผ่อนเท่า ๆ กับความต้องการอาหาร ความง่วง ความเหนื่อย เป็นกำลังขับดันอย่างหนึ่งซึ่งจูงใจคนทำพฤติกรรมบางอย่างที่นำไปสู่การพักผ่อนนอนหลับ

7. ความต้องการอากาศ (ออกซิเจน) คนต้องการอากาศสำหรับหายใจ คนที่จมน้ำหรือกำลังอยู่ในที่สำลักวันไฟจะตะเกียกตะกายเพื่อหา (ออกซิเจน) ช่วยในการหายใจ ถ้าคนขาด (ออกซิเจน) ภายใน 3 – 5 นาที จะทำให้เสียชีวิตทันที
8. ความต้องการขับถ่าย (Plimination) การขับถ่ายเอาของโสโครกออกจากร่างกายเป็นสิ่งจำเป็น มิฉะนั้นจะเกิดเป็นพิษภายในร่างกายและทำให้คนไม่สามารถดำรงชีวิตได้
ความต้องการทางกาย ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากแรงขับดังกล่าวข้างต้น นักจิตวิทยาส่วนมากถือว่าแรงขับเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาดุลยภาพของสภาวะภายในร่างกาย ที่เรียกว่า โฮมีโอสเตชีส (Homeostasis) เมื่อร่างกายอยู่ภาวะเสียสมดุลความเครียดก็จะเกิดขึ้นและจะคงอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้รับการลดแรงขับเหล่านั้นให้ความเครียดลดน้อยลงหรือหายไป

แรงจูงใจทางสังคม (social Motive or Secondary needs)
แรงจูงใจทางสังคม เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในภายหลัง กล่าวคือ ในขั้นแรกทารกจะยังไม่มีความต้องการทางสังคม แต่เมื่อประสบการณ์มากขึ้นจึงจะเกิดแรงจูงใจทางสังคมขึ้น นับเป็นแรงขับที่สลับซับซ้อน แรงจูงใจทางสังคมอาจแบ่งได้หลายประเภท นักจิตวิทยาแบ่งไว้ไม่เหมือนกัน นักจิตวิทยาบางท่านแบ่งไว้เป็น 6 ประเภท
ก. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive)
ข. แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliation Motive)
ค. แรงจูงใจในการให้สังคมยอมรับ (Social Approval Motive)
ง. แรงจูงใจในตำแหน่งฐานะ (Status Motive)
จ. แรงจูงใจในความปลอดภัย (Security Motive)
ฉ. แรงจูงใจในค่านิยมของสังคม (Social Value Motive)
แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Achievement Motive)
แรงจูงใจนี้คือ แรงจูงใจที่จะทำอะไรขึ้นมาให้ได้ หรือได้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนทำ หลีกเลี่ยงความล้มเหลว ในบางวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมที่เจริญแล้ว บุคคลจะได้รับการสั่งสอนให้พยายามประสบความสำเร็จไม่ในสิ่งใดก็สิ่งหนึ่ง อาจจะเป็นการหาเงินให้ได้มาก ทำงานที่ใช้ความรู้สูง ๆ เป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียง โดยผู้นั้นจะต้องทำงานหนักและอุตสาหะที่จะให้ได้สิ่งนั้นมา ความสำเร็จนับว่าเป็นรางวัลอันสูง พ่อแม่สนับสนุนให้ลูกทำคะแนนดี ๆ ในโรงเรียนแล้วก็เข้ามหาวิทยาลัย และในที่สุดจะได้สามารถอยู่ในวงงานธุรกิจหรือวิชาชีพชั้นสูง แต่ก็มิได้หมายความว่าจะต้องเป็นเช่นนี้ไปทุกวัฒนธรรม
ความรุนแรงของแรงจูงใจที่จะทำอะไรได้สำเร็จนี้ มีส่วนคล้ายกับแรงจูงใจทุติยภูมิอื่น ๆ ตรงที่แต่ละบุคคลมีต่างกันมาก ในบางคนแรงจูงใจที่จะให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนทำมีความรุนแรงมาก ซึ่งเรียกว่ามี ระดับปณิธาน (Level of Aspiration) สูง ขณะที่บางคนอาจจะเรียกได้ว่าต่ำมาก แต่อย่างไรเราก็กล่าวได้ว่าทุกคนมีแรงจูงใจนี้อยู่ระดับหนึ่ง
แรงจูงใจนี้จะรุนแรงเพียงไรนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้นได้เคยประสบความสำเร็จมาแล้วแค่ไหน โดยปกติคนจะไม่ทะเยอทะยานที่จะประสบความสำเร็จในฐานะนักกีฬา นักวิชาการ หรือนักดนตรี เว้นไว้เสียแต่ว่า เขาได้เคยประสบความสำเร็จในเรื่องนั้น ๆ มาบ้างแล้ว ถ้าเขาได้เคยประสบความสำเร็จมาบ้างพอประมาณ จุดมุ่งหมายของเขาก็จะไม่สูงเท่ากับคนที่ได้เคยประสบความสำเร็จมาแล้วอย่างดีเด่น
แต่บางครั้งเราจะได้พบคนไม่น้อยที่มีระดับปณิธานแตกต่างจากระดับของความสามารถ (Level of performance) มาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะเคยเรียนรู้ที่จะตั้งจุดมุ่งหมายไว้สูง เพื่อจะได้รับความเห็นชอบจากพ่อแม่และคนข้างเคียง หรือบางคนที่ปล่อยให้ระดับปณิธานต่ำกว่าวิสัยความสามารถที่จะทำได้ อาจเป็นเพราะบุคคลนั้นได้เรียนรู้ที่จะกลัวความผิดหวัง จนไม่กล้าตั้งจุดมุ่งหมายไว้ให้สูง เพราะกลัวจะไม่ประสบความสำเร็จ
ขณะนี้มีผู้ศึกษาถึงแรงจูงใจที่จะได้ประสบความสำเร็จโดยละเอียด เขาสามารถที่จะวัดได้ถึงแรงจูงใจนี้ และบอกได้ถึงความแตกต่างระหว่างคนที่มีแรงจูงใจที่จะได้ประสบความสำเร็จอย่างมากกับคนที่มีแรงจูงใจนี้น้อยมาก เขาพบว่าจุดเริ่มต้นของแรงจูงใจมาจากการฝึกอบรมที่เด็กได้รับตั้งแต่เด็ก คนที่มีแรงจูงใจในเรื่องนี้สูงโดยทั่วไปมักจะเป็นคนที่ถูกเลี้ยงมาในบ้านที่เน้นถึงความสำคัญของความพึ่งพิงพ่อแม่ มักจะเป็นคนที่ช่วยให้เด็กแก้ปัญหาของตนได้ตั้งแต่เด็ก ๆ
แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliation Motive)
ชิฟเลย์ และเวอรอฟฟ์ (Shipley & Veroff, 1952) กำหนดเกณฑ์ของผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ไว้ว่า จะต้องมีความรู้สึกที่ฝังลึกในจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
1. ความรู้สึกเกี่ยวกับการไม่ยอมรับ (Rejuction) เช่น ความรู้สึกเกรงว่าจะไม่มีผู้อยากคบค้าสมาคม หรือเกรงกลัวการถูกทอดทิ้ง
2. ความรู้สึกเกี่ยวกับความโดดเดี่ยว (Loneliness) เช่น ความรู้สึกว่าตนขาดเพื่อน หรือขาดความสัมพันธ์กับผู้อื่น
3. ความรู้สึกเกี่ยวกับการพลัดพราก (Physical Departure) เป็นความรู้สึกด้านนิเสธต่อการตายจาก ความห่างไกลจากผู้ที่ตนรัก
4. ความรู้สึกด้านนิเสธต่อการแตกแยกทางจิตใจ (Psychic Separation) เช่น การทะลาวิวาท การรบราฆ่าฟัน หรือการไม่ลงรอยกัน
5. ความรู้สึกเกี่ยวกับการไม่ได้ความรักตอบแทน (No receprocal Love) เช่น รู้สึกว่าเรารักเขาข้างเดียว เป็นต้น
6. ความรู้สึกเกี่ยวกับความต้องการชดเชย (Preparation) เช่น มีความรู้สึกเดียวดาย หรือเสียใจหลังจากได้ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป จึงคิดหาวิธีการที่จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อจะรักษาไว้ซึ่งมิตรภาพอันดี
ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์สูงนั้น จะเป็นบุคคลที่ขอบคลุกคลีอยู่กับงานที่เป็นกลุ่ม หรือเป็นทีม จะพยายามเข้าใจและเห็นใจกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน จะไม่ทอดทิ้งเพื่อเอาตัวรอดเมื่อเผชิญกับอุปสรรค หรือความยากลำบาก เมอร์เรย์ ( Murray , 1965) สรุปลักษณะพฤติกรรมของผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ ไว้ว่า
1. มีความคงเส้นคงวาในพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์นั้น ๆ
2. ปฏิบัติต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ
3. พฤติกรรมต่าง ๆ จะตั้งอยู่บนความพยายามที่จะรักษาไว้ซึ่งมิตรภาพและไมตรี
ทั้งแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ดังที่กล่าวมานี้จะมีอยู่ในบุคลิกภาพควบคู่กันตลอดเวลา ซึ่ง โกรส์เบค (Groesbeck, 1066) ได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับบุคคลที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ไว้ว่า
1. ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง และมีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์สูง จะเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ มีความรับผิดชอบ รู้จักใช้ปัญญา ชอบทำงานเป็นกลุ่ม และไม่เป็นคนมีอารมณ์ตึงเครียด
2. เป็นผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงแต่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ต่ำ มักได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีบุคลิกภาพในทางสังคมดี มีจิตใจมั่นคง จึงเหมาะที่จะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างาน แต่เพื่อนวัยเดียวกันจะมีความรู้สึกว่าคนประเภทนี้จะเข้าใจผู้อื่นน้อย
3. ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำ แต่มีแรงจูงใฝ่สัมพันธ์สูง จะเป็นคนที่มีความสัมพันธ์กับคนในกลุ่มได้เป็นอย่างดี สามารถปรับตัวได้ดี รู้จักตนเอง และชอบเลียนแบบผู้อื่น รวมถึงการเป็นคนของพึ่งผู้อื่นเสมอ

แรงจูงใจทางสังคม (social Motive or Secondary needs)
แรงจูงใจทางสังคม เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในภายหลัง กล่าวคือ ในขั้นแรกทารกจะยังไม่มีความต้องการทางสังคม แต่เมื่อประสบการณ์มากขึ้นจึงจะเกิดแรงจูงใจทางสังคมขึ้น นับเป็นแรงขับที่สลับซับซ้อน แรงจูงใจทางสังคมอาจแบ่งได้หลายประเภท นักจิตวิทยาแบ่งไว้ไม่เหมือนกัน นักจิตวิทยาบางท่านแบ่งไว้เป็น 6 ประเภท
ก. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motive)
ข. แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliation Motive)
ค. แรงจูงใจในการให้สังคมยอมรับ (Social Approval Motive)
ง. แรงจูงใจในตำแหน่งฐานะ (Status Motive)
จ. แรงจูงใจในความปลอดภัย (Security Motive)
ฉ. แรงจูงใจในค่านิยมของสังคม (Social Value Motive)
แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Achievement Motive)
แรงจูงใจนี้คือ แรงจูงใจที่จะทำอะไรขึ้นมาให้ได้ หรือได้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนทำ หลีกเลี่ยงความล้มเหลว ในบางวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมที่เจริญแล้ว บุคคลจะได้รับการสั่งสอนให้พยายามประสบความสำเร็จไม่ในสิ่งใดก็สิ่งหนึ่ง อาจจะเป็นการหาเงินให้ได้มาก ทำงานที่ใช้ความรู้สูง ๆ เป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียง โดยผู้นั้นจะต้องทำงานหนักและอุตสาหะที่จะให้ได้สิ่งนั้นมา ความสำเร็จนับว่าเป็นรางวัลอันสูง พ่อแม่สนับสนุนให้ลูกทำคะแนนดี ๆ ในโรงเรียนแล้วก็เข้ามหาวิทยาลัย และในที่สุดจะได้สามารถอยู่ในวงงานธุรกิจหรือวิชาชีพชั้นสูง แต่ก็มิได้หมายความว่าจะต้องเป็นเช่นนี้ไปทุกวัฒนธรรม
ความรุนแรงของแรงจูงใจที่จะทำอะไรได้สำเร็จนี้ มีส่วนคล้ายกับแรงจูงใจทุติยภูมิอื่น ๆ ตรงที่แต่ละบุคคลมีต่างกันมาก ในบางคนแรงจูงใจที่จะให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนทำมีความรุนแรงมาก ซึ่งเรียกว่ามี ระดับปณิธาน (Level of Aspiration) สูง ขณะที่บางคนอาจจะเรียกได้ว่าต่ำมาก แต่อย่างไรเราก็กล่าวได้ว่าทุกคนมีแรงจูงใจนี้อยู่ระดับหนึ่ง
แรงจูงใจนี้จะรุนแรงเพียงไรนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้นได้เคยประสบความสำเร็จมาแล้วแค่ไหน โดยปกติคนจะไม่ทะเยอทะยานที่จะประสบความสำเร็จในฐานะนักกีฬา นักวิชาการ หรือนักดนตรี เว้นไว้เสียแต่ว่า เขาได้เคยประสบความสำเร็จในเรื่องนั้น ๆ มาบ้างแล้ว ถ้าเขาได้เคยประสบความสำเร็จมาบ้างพอประมาณ จุดมุ่งหมายของเขาก็จะไม่สูงเท่ากับคนที่ได้เคยประสบความสำเร็จมาแล้วอย่างดีเด่น
แต่บางครั้งเราจะได้พบคนไม่น้อยที่มีระดับปณิธานแตกต่างจากระดับของความสามารถ (Level of performance) มาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะเคยเรียนรู้ที่จะตั้งจุดมุ่งหมายไว้สูง เพื่อจะได้รับความเห็นชอบจากพ่อแม่และคนข้างเคียง หรือบางคนที่ปล่อยให้ระดับปณิธานต่ำกว่าวิสัยความสามารถที่จะทำได้ อาจเป็นเพราะบุคคลนั้นได้เรียนรู้ที่จะกลัวความผิดหวัง จนไม่กล้าตั้งจุดมุ่งหมายไว้ให้สูง เพราะกลัวจะไม่ประสบความสำเร็จ
ขณะนี้มีผู้ศึกษาถึงแรงจูงใจที่จะได้ประสบความสำเร็จโดยละเอียด เขาสามารถที่จะวัดได้ถึงแรงจูงใจนี้ และบอกได้ถึงความแตกต่างระหว่างคนที่มีแรงจูงใจที่จะได้ประสบความสำเร็จอย่างมากกับคนที่มีแรงจูงใจนี้น้อยมาก เขาพบว่าจุดเริ่มต้นของแรงจูงใจมาจากการฝึกอบรมที่เด็กได้รับตั้งแต่เด็ก คนที่มีแรงจูงใจในเรื่องนี้สูงโดยทั่วไปมักจะเป็นคนที่ถูกเลี้ยงมาในบ้านที่เน้นถึงความสำคัญของความพึ่งพิงพ่อแม่ มักจะเป็นคนที่ช่วยให้เด็กแก้ปัญหาของตนได้ตั้งแต่เด็ก ๆ
แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliation Motive)
ชิฟเลย์ และเวอรอฟฟ์ (Shipley & Veroff, 1952) กำหนดเกณฑ์ของผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ไว้ว่า จะต้องมีความรู้สึกที่ฝังลึกในจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
1. ความรู้สึกเกี่ยวกับการไม่ยอมรับ (Rejuction) เช่น ความรู้สึกเกรงว่าจะไม่มีผู้อยากคบค้าสมาคม หรือเกรงกลัวการถูกทอดทิ้ง
2. ความรู้สึกเกี่ยวกับความโดดเดี่ยว (Loneliness) เช่น ความรู้สึกว่าตนขาดเพื่อน หรือขาดความสัมพันธ์กับผู้อื่น
3. ความรู้สึกเกี่ยวกับการพลัดพราก (Physical Departure) เป็นความรู้สึกด้านนิเสธต่อการตายจาก ความห่างไกลจากผู้ที่ตนรัก
4. ความรู้สึกด้านนิเสธต่อการแตกแยกทางจิตใจ (Psychic Separation) เช่น การทะลาวิวาท การรบราฆ่าฟัน หรือการไม่ลงรอยกัน
5. ความรู้สึกเกี่ยวกับการไม่ได้ความรักตอบแทน (No receprocal Love) เช่น รู้สึกว่าเรารักเขาข้างเดียว เป็นต้น
6. ความรู้สึกเกี่ยวกับความต้องการชดเชย (Preparation) เช่น มีความรู้สึกเดียวดาย หรือเสียใจหลังจากได้ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป จึงคิดหาวิธีการที่จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อจะรักษาไว้ซึ่งมิตรภาพอันดี
ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์สูงนั้น จะเป็นบุคคลที่ขอบคลุกคลีอยู่กับงานที่เป็นกลุ่ม หรือเป็นทีม จะพยายามเข้าใจและเห็นใจกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน จะไม่ทอดทิ้งเพื่อเอาตัวรอดเมื่อเผชิญกับอุปสรรค หรือความยากลำบาก เมอร์เรย์ ( Murray , 1965) สรุปลักษณะพฤติกรรมของผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ ไว้ว่า
1. มีความคงเส้นคงวาในพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์นั้น ๆ
2. ปฏิบัติต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ
3. พฤติกรรมต่าง ๆ จะตั้งอยู่บนความพยายามที่จะรักษาไว้ซึ่งมิตรภาพและไมตรี
ทั้งแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ดังที่กล่าวมานี้จะมีอยู่ในบุคลิกภาพควบคู่กันตลอดเวลา ซึ่ง โกรส์เบค (Groesbeck, 1066) ได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับบุคคลที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ไว้ว่า
1. ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง และมีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์สูง จะเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ มีความรับผิดชอบ รู้จักใช้ปัญญา ชอบทำงานเป็นกลุ่ม และไม่เป็นคนมีอารมณ์ตึงเครียด
2. เป็นผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงแต่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ต่ำ มักได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีบุคลิกภาพในทางสังคมดี มีจิตใจมั่นคง จึงเหมาะที่จะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างาน แต่เพื่อนวัยเดียวกันจะมีความรู้สึกว่าคนประเภทนี้จะเข้าใจผู้อื่นน้อย
3. ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่ำ แต่มีแรงจูงใฝ่สัมพันธ์สูง จะเป็นคนที่มีความสัมพันธ์กับคนในกลุ่มได้เป็นอย่างดี สามารถปรับตัวได้ดี รู้จักตนเอง และชอบเลียนแบบผู้อื่น รวมถึงการเป็นคนของพึ่งผู้อื่นเสมอ

แรงจูงใจในความปลอดภัย (Security)
แรงจูงใจนี้ คือ ความรู้สึกว่าสามารถจะดำรงสิ่งที่ตนมีไว้ได้ สามารถมั่นใจได้ว่าตนสามารถจะเป็นไปในอนาคตได้ดีเหมือนในอดีต และในทางตรงกันข้าม Insecurity ก็คือ ความกลัวว่าสิ่งที่มีอยู่จะไม่ยั่งยืน กลัวว่าตนอาจจะสูญเสียสิ่งที่ตนมีอยู่ หรือกลัวว่าตนจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการต่าง ๆ ของตนได้

ในสังคมปัจจุบัน และโดยเฉพาะสังคมที่สลับซับซ้อน บุคคลจะต้องพึ่งพิงเกี่ยวข้องกับคนอื่นและสถานการณ์อื่น ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงปลอดภัยของตน ซึ่งหมายความถึงว่า ความมั่นคงปลอดภัยของตนอาจจะสูญเสียไปโดยไม่ใช่ความผิดของตน หรือไม่ใช่เรื่องที่ตนจะเรียกร้องกลับคืนมาได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ความรู้สึกว่าปลอดภัยและมั่นคงจึงเป็นความต้องการของมนุษย์ แรงจูงใจนี้แต่ละคนมีมากน้อยต่างกันไป บางครั้งเราจะเห็นได้ว่า ความต้องการที่จะรู้สึกได้ว่ามั่นคงมีความสำคัญต่อการทำงานมากกว่า ค่าจ้าง ฐานะ และความต้องการอื่น ๆ
แรงจูงใจในค่านิยมของสังคม (Social Values)
แรงจูงใจในค่านิยมของสังคม (Social Values) สิ่งใดที่บุคคลเห็นว่าดีงามและมีคุณค่า เรากล่าวว่าสิ่งนั้นเป็นค่านิยมของบุคคลนั้น ค่านิยมบางอย่างเป็นเรื่องเฉพาะของตนเสียเป็นส่วนใหญ่ เราเรียกค่านิยมส่วนบุคคล (Personal Value)
ค่านิยมบางอย่างก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น เราเรียกค่านิยมทางสังคม (Social Values) เป็นต้นว่า การปฏิบัติตามกฎหมาย การแต่งตัวอย่างเหมาะสม ความซื่อตรง ความเป็นประชาธิปไตย การเคารพในสิทธิของคนอื่น ค่านิยมทางสังคมดังกล่าว ควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างพลเมืองควบคุมวิถีชีวิตของมนุษย์ ตลอดไปจนถึงรายละเอียดในเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์อีกมาก ค่านิยมในแต่ละบุคคลเกิดขึ้นมาได้อย่างไร มนุษย์เรานับแต่เกิดมาจะต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่นโดยการที่จะตอบสนองความต้องการของตน เพื่อที่จะได้กิน ได้มีเสื้อผ้าที่ไม่เปรอะเปื้อนใส่ ได้อยู่ในภาวะอันสะดวกสบาย โดยปกติแม่จะเป็นบุคคลสำคัญที่จะถ่ายทอดค่านิยมตามแบบของตนให้ลูกอย่างไม่รู้ตัว และลูกก็จะรับไปอย่างไม่รู้ตัว เพื่อให้ความต้องการในเรื่องต่าง ๆ ของตนบรรลุผล
นอกจากค่านิยมที่เด็กจะรับมาทางอ้อมดังกล่าวแล้ว บุคคลยังมีวิธีที่จะรับค่านิยมได้โดยตรงอีก นั่นคือ ทุกคนจะต้องอยู่ในกระบวนการของการศึกษา พ่อแม่และครูจะสอนให้เราทราบอะไรถูก อะไรผิด หลีกเลี่ยงอะไร บุคคลที่ให้การศึกษาก็จะส่งค่านิยมตามแบบตนเองในตัวเด็ก (ค่านิยมตามแบบของพ่อแม่ ก็คือ ผลทางอ้อมของสังคมของพ่อแม่นั้นเอง) ต่อมาเมื่อเด็กโตขึ้นและออกไปติดต่อกับคนนอกบ้านมากขึ้น สังคมก็จะใส่ค่านิยมลงในตัวเด็ก โดยผ่านทางโรงเรียน เพื่อนเล่น หนังสือที่อ่าน ข่าวสารที่รับฟัง ที่ทำงาน ทางสังคมอื่น ๆ อีกมากมาย
แรงจูงใจส่วนบุคคล (Personal Motives)
แรงจูงใจส่วนบุคคล (Personal Motives) แรงจูงใจประเภทนี้หมายถึง แรงจูงใจที่พัฒนาขึ้นในตัวบุคคลซึ่งจะแตกต่างกันไป แรงจูงใจส่วนบุคคลมีรากฐานมาจากความต้องการทางร่างกาย และความต้องการทางสังคมประกอบกัน แต่จะมีความรุนแรงมากน้อยไม่เท่ากัน เช่น ในเรื่องความต้องการสะสมสิ่งของต่าง ๆ นั้น คนบางคนจะแสดงออกในรูปของการออมทรัพย์ บางคนก็สะสมที่ดิน แต่บางคนก็เพียงแต่สะสมของเก่า หรือดวงตราไปรษณียากร เท่านั้น แรงจูงใจส่วนบุคคลที่สำคัญและเห็นได้ชัดเจน คือ
1. การติดยา (Drug addiction) เป็นการใช้ตัวยาอย่างใดอย่างนึ่งเป็นประจำ หากขาดตัวยาชนิดนั้นก็จะมีอาการผิดปกติขึ้น สำหรับรายที่ติดยาอย่างรุนแรงอาจจะถึงกับทำร้ายตนเอง หรือก่ออาชญากรรมขึ้น ๆ คนบางคนใช้ตัวยาบางอย่างจนเคยชิน เพราะมีความประสงค์บางอย่าง เช่น ระงับความเจ็บปวด ระงับความเสียใจ หรือเบื่อหน่าย เป็นต้น ตัวยาบางชนิดไม่ใช่ยาเสพติด แต่คนเราใช้เพื่อช่วยให้เลี่ยงไปจากความจริงชั่วครู่ชั่วยาม แต่ตัวยาบางชนิดเป็นยาเสพติด เนื่องจากทำให้เกิดความต้องการตัวยาชนิดนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ถ้าขาดตัวยาบางชนิดจะรู้สึกไม่สบาย การใช้ยาเสพติดเป็นประจำ นอกจากจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสีระบางอย่างแล้ว ยังก่อให้เกิด ความต้องการเทียม (artifcial need) ขึ้นด้วย เมื่อถึงเวลาก็จะรู้สึกต้องการยาชนิดนั้นทันที
2. ระดับความมุ่งหวัง (Level of aspiration) หมายถึง ขอบเขตของความมุ่งหวังที่กำหนดไว้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งไม่เหมือนกัน บางคนจะตั้งระดับความมุ่งหวังที่ค่อนข้างสูง แต่บางคนก็ตั้งระดับความมุ่งหวังไว้ต่ำมาก การตั้งระดับความมุ่งหวังของคนเราจะเปลี่ยนแปลงไปเสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสำเร็จหรือความล้มเหลวของเขาในการทำกิจกรรม เช่น เด็กที่เคยตั้งระดับความมุ่งหวังไว้ว่า จะเข้าเรียนแพทย์ แต่เมื่อผลการเรียนของเขาแสดงว่าเขามีพื้นความรู้น้อยเกินไป เขาอาจจะลดระดับความมุ่งหวังลงมา โดยตั้งระดับความมุ่งหวังไว้ว่า เพียงแค่เป็นทันตแพทย์ก็ได้ แม้ว่าการเรียนทันตแพทย์จะเป็นวิชาชีพที่มีคุณค่าสูงและต้องการความสามารถที่สูงอย่างมากก็ตาม สำหรับเด็กที่เคยตั้งใจไว้ว่าจะเข้าเรียนแพทย์และเปลี่ยนมาเรียนวิชาทันตแพทย์นั้น ระดับความมุ่งหวังของเขาได้ถูกลดลงมาแล้ว ความสำเร็จในการทำกิจกรรมต่าง ๆ จะช่วยให้คนเราตั้งระดับความมุ่งหวังสูงขึ้น เช่น เด็กบางคนอาจตั้งความหวังไว้ว่าจะเรียนให้จบการศึกษาขั้นปริญญาตรีเท่านั้น แต่เมื่อผลการเรียนแสดงว่าเขามีความสามารถดีกว่าที่เคยคิดเอาไว้อย่างมาก เขาก็อาจจะพยายามศึกษาต่อไปจนจบปริญญาเอกก็ได้
โดยทั่วไปแล้ว เราจะตั้งระดับความมุ่งหวังไว้สูงกว่าความสำเร็จเดิมเสมอ แต่จะสูงกว่าเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความท้าทาย เพื่อให้พยายามมากขึ้น และเมื่อทำได้สำเร็จเกิดความพอใจ จากการค้นคว้าเรื่องการตั้งระดับความมุ่งหวังของเด็กที่เรียนอ่อน ปรากฏว่าการตั้งระดับความมุ่งหวังไว้สูง ๆ ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากเหตุผลที่ว่า การทำให้เขาได้รับความเอาใจใส่จากผู้อื่นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสนใจจากพ่อแม่ผู้ปกครอง แต่เด็กบางคนก็ตั้งระดับความมุ่งหวังไว้ต่ำกว่าความสามารถที่แท้จริงของเขามาก ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากการกลัวความผิดหวัง
3. แรงจูงใจเกี่ยวกับความก้าวร้าว (Aggression motive) เป็นแรงจูงที่ ทำให้บุคคลต่อสู้หรือทำอันตรายผู้อื่น ฟรอยด์อธิบายว่า แรงจูงใจนี้เกิดจากคนเก็บกดความไม่พอใจไว้ เกิดจากความคับข้องใจ (frustration) เด็กจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวตั้งแต่อายุยังน้อย ถ้าไม่หาทางแก้ไขจะติดตัวเป็นนิสัย ไม่เป็นที่พึงปรารถนาของผู้อื่น
เรื่องแรงจูงใจของมนุษย์มีความซับซ้อนมาก ยากที่จะศึกษาให้กระจ่างชัดได้ นักจิตวิทยาได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องความยุ่งยากในการศึกษาเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ไว้ดังนี้
1. การแสดงพฤติกรรมเพื่อตอบสนองแรงจูงใจนี้มีความแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมและแตกต่างกันไปตามบุคคลแต่ละวัฒนธรรมย่อมมีแรงจูงใจต่างกัน เช่น คนไทยอาจมีแรงจูงใจมากในเรื่องการมีตำแหน่งใหญ่โตทางราชการ แต่คนอเมริกาใฝ่ฝันที่จะเป็นผู้บริหารกิจการธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะแรงจูงใจได้มาจากการเรียนรู้และประสบการณ์
2. แรงจูงใจอย่างเดียวกัน แต่ละบุคคลอาจแสดงพฤติกรรมออกมาแตกต่างกัน เช่น เวลาโกรธ บางคนก็เก็บไว้ในใจเฉย ๆ บางคนเดินหนีไป บางคนแสดงอาการไม่พอใจออกมาทันที
3. แรงจูงใจที่ไม่เหมือนกัน บางคนแสดงพฤติกรรมออกมาเหมือนกันก็ได้ เช่น อาการยิ้มเหมือนกัน คนหนึ่งยิ้มเพราะความพอใจ อีกคนยิ้มโดยซ่อนความไม่พอใจไว้ก็ได้
4. มีแรงจูงใจหลายอย่างที่บุคคลแสดงออกมาในรูปแฝงหรือปลอมแปลงปิดบัง เช่น เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะดีแต่ชอบขโมย ทั้งนี้อาจไม่ใช่เพราะความอยากได้ แต่อาจต้องการเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ก็ได้ หรือบางคนดีใจแต่แสดงสีหน้าเฉยเมย
5. การแสดงพฤติกรรมอย่างหนึ่งอาจเนื่องมาจากแรงจูงใจหลายอย่างในขณะเดียวกันก็ได้ เช่น นับประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ อาจทำเพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็น ความมีชื่อเสียง ความร่ำรวย ต้องการสร้างคุณประโยชน์ทางวิทยาการไปพร้อม ๆ กันก็ได้

ทฤษฎีการจูงใจ
ก่อนที่จะศึกษาทฤษฎีการจูงใจ เราควรทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “ ทฤษฎี ” คำนี้เสียก่อน Winfred F. Hill ให้ความหมายและบทบาทสำคัญของทฤษฎีไว้ดังนี้
1. “ ทฤษฎี ” คือ คำอธิบายที่จัดไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ อย่างมีระเบียบแบบแผนแล้วสำหรับนำไปใช้อธิบายความรู้แขนงใดแขนงหนึ่ง
2. ทฤษฎีย่อมมีบทบาทหรือหน้าที่สำคัญอยู่ 3 ประการคือ
1) ทฤษฎีช่วยให้ค้นพบจุดเริ่มต้นของเรื่องนั้น
2)  ทฤษฎีย่อมกำหนดหลักสำคัญทั่วไปเพื่อใช้ในการปฏิบัติ
3)  ทฤษฎีย่อมกำหนดกฎอันได้แก่ คำแนะนำในการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลตามที่ตนมีความเชื่อถือเมื่อได้ทราบความหมายคำว่า “ ทฤษฎี ” (Theory) แล้ว เราย่อมศึกษาทฤษฎีการจูงใจได้เข้าใจยิ่งขึ้น

ทฤษฎีลดแรงขับ (The drive reduction theory)
นักจิตวิทยาพยายามคิดค้นทฤษฎีเพื่ออธิบายเรื่องการจูงใจ มีทฤษฎีที่สำคัญ ๆ หลายทฤษฎี ทฤษฎีลดแรงขับเป็นความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการ--แรงขับ—สิ่งจูงใจ (The need-drive-incentive theory)
หลักการของทฤษฎีลดแรงขับ
ทฤษฎีนี้ให้ความเห็นว่า ความต้องการภายในร่างกายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดแรงจูงใจ กล่าวคือ ความต้องการก่อให้เกิดความตึงเครียดภายในร่างกาย เรียกว่า เกิดแรงขับ หรือแรงจูงใจ ซึ่งจะผลักดันให้เกิดพฤติกรรมเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย นั่นคือ เป็นการกระทำเพื่อให้ได้รับสิ่งจูงใจ เมื่อได้บรรลุเป้าหมาย หรือได้รับสิ่งจูงใจแล้ว ความต้องการก็ได้รับการตอบสนอง ทำให้แรงขับในเรื่องนั้นหมดไป เพื่อจะได้เห็นความสัมพันธ์ของความต้องการแรงขับและสิ่งจูงใจ

ทฤษฎีการตื่นตัว (Arousal Theory)
ทฤษฎีการตื่นตัว (Affective Arousal Theory) เกิดจากแนวคิดที่ว่า พฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์นั้นเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาสิ่งที่ให้ความพึงพอใจ และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ดังนั้นทฤษฎีนี้จึงให้ความสำคัญแค่เรื่องความรู้สึกด้านจิตใจและอารมณ์ (Affective or Emotion) โดยเชื่อว่า อารมณ์เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะควบคุมพฤติกรรมที่มีการจูงใจ กล่าวคือ ถ้าพฤติกรรมชนิดใดจะนำมาซึ่งอารมณ์ที่พึงพอใจ แรงจูงใจที่จะทำกิจกรรมนั้นก็ย่อมมาก แนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมนั้นก็เกิดขึ้นเรื่อย ๆ
การตื่นตัวที่กล่าวถึงนี้ อาจพิจารณาได้จากภาวะต่าง ๆ ของอินทรีย์ เช่น การเตรียมพร้อมที่จะแสดงอาการตอบสนอง การตื่นเต้น ความเครียด หรือความระมัดระวัง เช่น นาย ก. กำลังมีใจจดจ่อและกังวลใจ นาย ข. เตรียมพร้อม และนาย ค. กำลังนอนหลับ เราก็จะเห็นว่า นาย ก. มีการตื่นตัวสูง นาย ข. มีการตื่นตัวปานกลาง และ นาย ค. มีการตื่นตัวต่ำ
ภาวะการตื่นตัวที่จะช่วยในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจำ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ ฯลฯ นั้น ได้แก่ ภาวการณ์ตื่นตัวในระดับปานกลาง ระดับการตื่นตัวที่สูง หรือต่ำเกินไปจะไม่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
การนำหลักของทฤษฎีนี้ไปใช้ก็คือ การหาวิธีที่จะกระตุ้นหรือจูงใจให้บุคคลตื่นตัวอยู่เสมอ มีความสนใจพร้อมที่จะทำงาน พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือพร้อมที่จะแก้ปัญหา ถ้ามีตำแหน่งเป็นผู้บริหารงานจะต้องรู้จักใช้สิ่งเร้าที่เหมาะสม มีความหมาย มีความแปลกใหม่ และใช้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับภาพทางอารมณ์ของบุคคลที่อยู่ในหน่วยงานของตน

ทฤษฎีการกระตุ้น
(Cue-Stimulus Theory Or Nondrive Theory)
ทฤษฎีการกระตุ้นหรือทฤษฎีที่ไม่ใช่แรงขับนี้ นักจิตวิทยาบางท่านเรียกว่า ทฤษฎีสิ่งเร้า  ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญต่อสิ่งเร้ามากกว่าความต้องการภายในร่างกาย โดยเชื่อว่าสิ่งเร้า (Stimulus) หรือสิ่งจูงใจ (Incentive) จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความต้องการขึ้นมา และผลักดันให้เกิดพฤติกรรมจูงใจขึ้น ตัวอย่างเช่น เราอาจไม่มีความต้องการหรือยังไม่มีความคิดที่จะไปดูภาพยนตร์ แต่มีเพื่อนมาชักชวนทำให้เราอยากไปดู คำชักชวนของเพื่อนเป็นสิ่งเร้าที่มากระตุ้นให้เกิดความต้องการขึ้น และผลักดันให้เกิดพฤติกรรมจูงใจตามมา หรือตัวอย่างเช่น เสียงกริ่งโทรศัพท์ดังขึ้นถี่ ๆ ทำให้เราต้องลุกไปรับโทรศัพท์ เสียงกริ่งเป็นสิ่งเร้า ทั้ง ๆ ที่บางครั้งเราไม่ประสงค์จะลุกไปรับด้วยซ้ำไป แต่ก็จำเป็นต้องรับ อาจจะเป็นนิสัยความเคยชิด หรือเป็นเพราะรำคาญเสียงกริ่งก็ได้ ทฤษฎีนี้จึงเชื่อว่า พฤติกรรมจูงใจบางอย่างอยู่ภายใต้การควบคุมของสิ่งเร้า

ข้อใดเป็นแรงจูงใจที่เกิดจากเหตุผล

2. แรงจูงใจทีเกิดจากเหตุผล (Rational Buying Motives) เป็นแรงจูงใจทีเกิดจากการพินิจพิจารณาของ ผู้ซื้ออย่างมีเหตุมีผล ก่อนการซื้อสินค้าหรือบริการนั้น 3. แรงจูงใจทีเกิดจากอารมณ์ (Emotional Buying Motives) เป็นการเลือกจุดมุ่งหมายตามหลักเกณฑ์ ความรู้สึกส่วนตัวหรือดุลพินิจส่วนตัว

แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีอะไรบ้าง

บุคคลที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จะมีลักษณะพิเศษ คือ มีความรับผิดชอบต่อตนเองสูง และความพยายามทำงานให้ สำเร็จ มีความท้าทายและกล้าเสี่ยง เลือกทำสิ่งที่ยากพอเหมาะกับความต้องการของตนเอง มีความกระตือรือร้น ขยันขันแข็ง ในการกระทำสิ่งแปลกใหม่ ชอบที่จะทำงานท่ามกลางปัญหามากกว่าหนีแล้ววิ่งไปหาโอกาส มีแผนการระยะยาว บวกกับมี ทักษะใน ...

ความสําคัญของการจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง

การสร้างแรงจูงใจช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของพนักงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงทำให้เราเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้ชีวิต คนที่มีแรงจูงใจในการทำงานสูง จะทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หากไม่สำเร็จก็จะหาข้อผิดพลาดเพื่อแก้ไข ซึ่งทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงการทำงาน จนในที่สุดทำให้เจอแนวทางที่เหมาะสมที่แตกต่างไปจากแนวเดิม

การจูงใจมีอะไรบ้าง

สรุปได้ว่าแรงจูงใจ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือแรงกร คือแรงจูงใจทางร่างกายและแรงจูงใจทางสังคม โดย แรงจูงใจทางร่างกายเกิดจากความต้องการที่ได้รับการกระตุ้นจากภายในร่างกาย ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ ส่วนแรงจูงใจทางสังคมจะเกิดหลังจากการเรียนรู้ในสังคม อันเป็นความต้องการอยู่ร่วมกับผู้อื่น