การสร้างแรงจูงใจในการทํางาน คือ

สำหรับพนักงานออฟฟิศแล้ว เมื่อต้องทำงานเดิมๆ ซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน อาจทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่ท้าทายในงานที่ตัวเองกำลังทำ หรือที่เรามักจะเรียกติดปากกันว่า หมดไฟ นั่นเอง

ภาวะหมดไฟนั้น มีผลเป็นอย่างมากต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน หากปล่อยไว้นานๆ เข้าก็อาจส่งผลต่อคุณภาพของชิ้นงาน รวมไปถึงมีอัตราที่จะย้ายงาน หรือลาออกค่อนข้างมาก

มาพบกับ 7 วิธีสร้างแรงบันดาลใจ จุดไฟให้พนักงานบริษัทของคุณมี Passion ที่จะทุ่มเทกับงาน เสริมประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น!

1. จัดอบรมเพิ่มความสามารถ สร้างแรงจูงใจให้พนักงาน

หนึ่งในสิ่งที่ทำให้พนักงานรู้สึกหมดไฟนั้น อาจมาจากเหตุผลที่ว่า ไม่มีอะไรใหม่ให้เรียนรู้ จึงไม่มีความท้าทายในงานที่ตัวเองกำลังทำอยู่

เพราะฉะนั้น มาส่งเสริม และการสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน ใหม่ให้พวกเขาผ่านการอบรม หรือสัมมนา สนับสนุนให้มีทักษะที่เพิ่มขึ้นเพื่อนำมาพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน รวมไปถึงความก้าวหน้าในสายอาชีพของพวกเขา ยกตัวอย่างเช่น

  • การอบรมภายใน หรือภายนอกองค์กร (In-house and Public Training): จัดอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ และทักษะใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสายอาชีพ เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงาน
  • การหมุนเวียนงาน (Job Rotation): การสับเปลี่ยน หรือโยกย้ายตำแหน่งงานของพนักงานนั้น จะช่วยให้พวกเขาได้พัฒนาตนเอง และมีทักษะที่หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเบื่อหน่ายของงานที่ทำอยู่ได้อีกด้วย

การสร้างแรงจูงใจในการทํางาน คือ

2. สร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีในการทำงาน

การสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน สภาวะแวดล้อมโดยรอบของที่ทำงานนั้น ก็มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากที่จะลดความเบื่อหน่าย และสร้างแรงบันดาลในการทำงานของพนักงาน ยกตัวอย่างเช่น

  • อุปกรณ์ที่ตอบโจทย์การทำงาน: อย่างเช่น เก้าอี้เพื่อสุขภาพที่นั่งนานๆ ก็ไม่เมื่อย หรือคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยสร้างความสุขในการทำงานของพนักงานได้อย่างมากเลยทีเดียว
  • การตกแต่งออฟฟิศที่ร่มรื่น: อย่างเช่น การเพิ่มต้นไม้ ก็สามารถทำให้พนักงานสามารถพักสายตาจากการทำงานไปมองบรรยากาศที่ร่มรื่นภายในออฟฟิศได้
  • มุมพักผ่อนหย่อนใจ: จะดีแค่ไหนถ้าทำงานมาเหนื่อยๆ แล้วมีโซฟานุ่มๆ ให้ทิ้งตัวลงไปนั่งเล่นพักผ่อน หรืออาจเสริมด้วยการเพิ่มชั้นหนังสือ หรือเครื่องเล่นเกม ให้พนักงานได้มีมุมที่สามารถผ่อนคลายจากภาระงานที่ตัวเองถือไว้ได้

3. ปรับเวลาทำงานให้มีความยืดหยุ่น

การสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน เพราะพนักงานแต่ละคนมีช่วงเวลาที่ Productive ไม่เหมือนกัน การให้เวลากับพวกเขามากๆ จึงจะช่วยสร้างประสิทธิภาพ และแรงบันดาลที่ดีได้มากกว่า โดยการปรับเวลาการทำงานให้มีความยืดหยุ่น ดังนี้

  • เวลาการ เข้า-ออก ที่ยืดหยุ่น: อุปสรรคที่ทำให้หลายๆ คนท้อแท้กับการมาทำงาน นั่นก็คือการเดินทางในช่วงเวลาเร่งด่วนที่แออัด หากสามารถปรับเวลาการเข้า-ออกงานให้มีความยืดหยุ่นได้ จะช่วยลดความอึดอัดใจในการเดินทางมาทำงานได้เป็นอย่างมาก
  • ขยายเวลาพักทานอาหาร: บางทีการพักทานอาหารแค่ 1 ชั่วโมงนั้นก็อาจจะน้อยเกินไป หากลองคำนวณดีๆ กว่าที่ร้านจะทำอาหารเสร็จ กว่าจะเดินทางไป ก็ใช้เวลานานพอสมควรแล้ว เพราะฉะนั้น หากสามารถขยายเวลาในส่วนนี้ให้พวกเขามีเวลาได้พักผ่อนก่อนทำงานบ้าง จะช่วยให้งานออกมามีประสิทธิภาพได้มากขึ้น
  • วันลาหยุดที่สมเหตุสมผล: การให้พนักงานลาหยุดไปท่องเที่ยว หรือใช้เวลาของตัวเอง จะช่วยให้พวกเขาได้เติมพลัง และมีแรงที่จะกลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้น จะต้องไม่ลืมเตรียมวันหยุดพักร้อนให้สมเหตุสมผลกับที่พวกเขาจะได้รับ

การสร้างแรงจูงใจในการทํางาน คือ

4. ให้ความสำคัญกับชิ้นงาน หรือความพยายามมากกว่ากฏระเบียบ

หลายๆ บริษัทนั้นประเมินผลงานด้วยการทำตามระเบียบข้อบังคับ มากกว่าคุณภาพของงาน หรือความพยายามที่พนักงานได้แสดงให้เห็น ซึ่งเป็นการตัดกำลังใจของพนักงานลงเป็นอย่างมาก

มีเสียงจากพนักงานบริษัทจำนวนมากที่บอกว่าบริษัทของพวกเขานั้นมองข้ามความพยายามของพวกเขา และโฟกัสไปที่เรื่องของกฏระเบียบมากจนดูเหมือนการจับผิด เช่น กฏระเบียบในการแต่งตัว กฏระเบียบด้านการใช้โทรศัพท์มือถือในการทำงาน ฯลฯ ซึ่งหลายๆ เรื่องก็ดูเป็นกฏระเบียบเล็กน้อยที่สามารถอนุโลมได้

เพราะฉะนั้น การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานอย่าประเมินโดยมองไปที่กฏระเบียบข้อบังคับเพียงอย่างเดียว หากพวกเขาทำผิดกฏก็สามารถว่ากล่าวตักเตือนได้ แต่อย่าให้มันมาบังความพยายามที่พวกเขาทำ และบริษัทของคุณจะเป็นที่รักของพนักงานมากทีเดียว

5. จัดกิจกรรม หรืองานเลี้ยงสังสรรค์กระชับมิตร

ใครล่ะจะไม่อยากทำงานในที่ที่มีแต่เพื่อนฝูงรายล้อม ในบางครั้งการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานก็อาจสร้างได้จากการเข้าสังคม จึงเป็นเหตุผลที่ควรมีกิจกรรม หรืองานเลี้ยงสังสรรค์ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของเหล่าพนักงานในออฟฟิศเข้าด้วยกัน

การมีเพื่อนที่สามารถสนิทใจกันได้ภายในที่ทำงาน จะทำให้ไม่รู้สึกเหมือนตัวเองต้องทำงานคนเดียว และมีคนคอยหนุนหลัง คอยรับฟัง ช่วยเหลือ และแชร์ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่หมดไฟในการทำงานง่ายๆ

การสร้างแรงจูงใจในการทํางาน คือ

6. รางวัลตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อ

การสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน แน่นอนว่าเงินเดือนนั้น เป็นเหมือนกำลังใจหล่อเลี้ยงตอบแทนความพยายามในการทำงานของพวกเขา จึงสามารถคิดได้ง่ายๆ ว่าถ้ามีรางวัลตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อ พวกเขาก็ย่อมมีแรงบันดาลใจในการทำงาน เช่น การขึ้นเงินเดือนรายปี หรือโบนัสประจำปี

7. สวัสดิการที่สนับสนุนความมั่นคงในชีวิต

ความมั่นคงในชีวิตก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ว่าใครก็อยากมีในอนาคต ซึ่งการสนับสนุนจากบริษัทนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พวกเขามีแรงบันดาลใจในการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น

หลายๆ คนมักที่จะมีปัญหาด้านการเก็บออมเงินไว้ แต่หากบริษัทมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่เป็นการออมเงินเอาไว้เผื่ออนาคต จะทำให้พวกเขารู้สึกอุ่นใจที่จะทำงาน โดยรู้ว่ามีเงินทุนหนุนหลังเอาไว้เป็นจำนวนหนึ่งแล้ว

โดยปกติพนักงานประจำจะมีหลักประกันคุ้มครองสุขภาพโดยประกันสังคมอยู่แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ครอบคลุมทุกกรณี รวมไปถึงการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุนั้นเป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งเงินที่พวกเขาต้องจ่ายในแต่ละครั้งก็ไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว

หากมีประกันสุขภาพแบบกลุ่มที่ช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายจากการรักษาตัวที่โรงพยาบาล จะช่วยให้พนักงานเห็นว่าคุณเอาใจใส่ดูแลพวกเขาดีแค่ไหน และรู้สึกปลอดภัย อยากอยู่กับบริษัทของคุณไปอีกนาน

หากคุณคือเจ้าของบริษัทที่กำลังมองหาสวัสดิการเพื่อสุขภาพให้กับพนักงานของคุณ Cigna มีประกันสุขภาพแบบกลุ่มที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรของคุณ

  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • ประกันสุขภาพแบบกลุ่ม

ด้วยประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในประกันสุขภาพที่ยาวนานในหลายประเทศ Cigna พร้อมที่จะให้บริการแก่บริษัท และพนักงานของคุณด้วยมาตรฐานคุณภาพระดับโลก พร้อมมอบความคุ้มครองค่าใช้จ่ายดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล และค่ายา
  • ค่าห้อง ค่าอาหาร
  • ค่ารถพยาบาล
  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • ค่าผ่าตัด
  • ค่าแพทย์

นอกจากนี้ยังมีแผนความคุ้มครองเพิ่มเติมให้คุณเลือกซื้อเพิ่มเติมได้ตามความต้องการขององค์กร

หากคุณสนใจแผนประกันกลุ่มของ Cigna เพื่อความคุ้มครองที่ดียิ่งขึ้นสำหรับพนักงานในองค์กร สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ หรือติดต่อฝ่ายขายองค์กรได้ที่ [email protected]

การสร้างแรงจูงใจในการทํางานมีอะไรบ้าง

แนวทางสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน.
1. ทำให้พนักงานรู้สึกว่าพวกเขาเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของธุรกิจ ... .
2. เปิดประตูห้องทำงานของคุณไว้เสมอ ... .
3. ให้รางวัลแก่คนที่ทำงานหนัก ... .
4. แสดงความภักดีต่อองค์กรเป็นแบบอย่างที่ดีต่อพนักงาน ... .
5. สร้างที่ทำงานให้มีบรรยากาศแบบครอบครัว ... .
6. ทำความรู้จักกับพนักงานให้มากขึ้น.

อะไรคือแรงจูงใจในการทํางาน

กล่าวโดยสรุป “แรงจูงใจในการท างาน”หมายถึง กระบวนการต่างๆทางร่างกายและ จิตใจถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าให้เกิดการแสดงออกทางพฤติกรรม เพื่อที่จะก่อให้เกิดจุดมุ่งหมายและ เป้าหมายที่ต้องการ

ความสําคัญของแรงจูงใจ มีอะไรบ้าง

ความสำคัญของแรงจูงใจก็คือ หากเราต้องการที่จะประสบความสำเร็จ หรือมีเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว แล้วอยากไปให้ถึง แรงจูงใจนี้จะเป็นพลัง หรือเป็นแรงขับเคลื่อนที่จะทำให้เราแสดงออกในพฤติกรรม หนึ่งพฤติกรรมใด หรือหลายพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายนั้นได้

การจูงใจมีความสำคัญต่อองค์การอย่างไร

1. ความสาคัญของการจูงใจต่อองค์การ ช่วยทาให้องค์การได้คนดีมีความสามารถมาทางาน ด้วยกัน หากผู้บริหารมีวิธีการจูงใจที่เหมาะสมทาให้ผู้ร่วมงานอยากอยู่ต่อ น าไปสู่การท าให้คนดีหรือคน ที่ตั้งใจในการทางานทุ่มเทก าลังความสามารถที่ตนมีให้กับองค์การอย่างเต็มที่