เจ้าบ้าน เสียชีวิต ต้องทำอย่างไร

ให้เจ้าบ้านที่มัคนตายเป็นผู้แจ้ง หากไม่มีเจ้าบ้าน ให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง โดยแจ้งที่สำนักทะเบียนที่มีคนตายหรือพบศพ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ ผู้ใดฝ่าฝืน มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

Show
หลักฐานที่ใช้
  1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
  2. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ตายและทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่ (ถ้ามี)
  3. หนังสือรับรองการตายที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีคนตาย
  4. รายงานการชันสูตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานนิติเวช (กรณีตายผิดธรรมชาติหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ)
การแจ้งตายต่างท้องที่

ให้เจ้าบ้านนำมรณบัตรของผู้ตายไปจำหน่ายตายในทะเบียนบ้านที่ผู้ตายมีชื่ออยู่

หลักฐานที่ใช้
  1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
  2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่
  3. มรณบัตร
การแจ้งตายเกินกำหนด

ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง ต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท

หลักฐานที่ใช้
  1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของคนตาย
  3. หนังสือรับรองการตายที่ออกให้โดยโรงบาลหรือสถานพยาบาลที่มีคนตาย
  4. รายงานการชันสูตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานนิติเวช (กรณีตายผิดธรรมชาติหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ)
  5. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่
กรณีเก็บ ฝัง เผา ทำลายหรือเคลื่อนย้ายศพผิดไปจากที่แจ้งไว้เดิม

หากจะเปลี่ยนแปลงการจัดการสพผิดไปจากที่แจ้งไว้เดิม ให้ญาติผู้ตายแจ้งการเปลี่ยนแปลงการจัดการศพ ณ ทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ศพนั้นตั้งอยู่

บางคนอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกรรมสิทธิ์ อำนาจหน้าที่ของเจ้าบ้าน อันถูกปรากฎชื่อในทะเบียนบ้าน ว่าสามารถมีอำนาจเต็มที่ในการบริหารจัดการสมาชิกในบ้าน ซึ่งแท้จริงแล้วกรรมสิทธิ์นั้นเป็นเพียงหน้าที่อันถูกระบุไว้ในพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2538 เท่านั้น

เกาะติดข่าวสาร >> Nation Online

เจ้าบ้าน เสียชีวิต ต้องทำอย่างไร



แยกแยะให้ออกระหว่าง "เจ้าบ้านในทะเบียนบ้านกับเจ้าของบ้าน"
เวลานี้หลายคนเริ่มอาจสงสัยความหมายของคำว่าเจ้าของบ้านกับเจ้าบ้านที่ถูกระบุไว้ในทะเบียนบ้าน นั้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะดูเหมือนบางคนอาจจะเข้าใจผิดกับอำนาจกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ซึ่งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2538 ได้อธิบายบทบาทของทั้ง 2 คำว่าไว้ดังนี้
เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใดก็ตาม โดยในกรณีที่ไม่ปรากฎเจ้าบ้าน ไม่อยู่ ตาย สูญหาย สาบสูญ หรือไม่สามารถปฏิบัติกิจการได้ ให้ถือว่าบุคคลผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเจ้าของบ้าน
เจ้าของบ้าน หรือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย โดยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีอำนาจใช้สอย จำหน่าย จ่ายโอน ได้ดอกผลจากการติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนรวมถึงขัดขวางมิให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบกฎหมาย


ขอบข่ายหน้าที่ เจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน 
เมื่อเข้าใจความหมายของคำว่าเจ้าบ้านแล้ว มารู้บทบาทสิ่งที่คนเป็นเจ้าบ้านต้องทำ ซึ่งถูกบัญญัติไว้ตามพ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ได้ระบุไว้ว่า หากภายในบ้านมีเหตุการเกิดหรือตาย เจ้าบ้านจะต้องแจ้งแก่สำนักทะเบียนทุกครั้ง ในวันเวลาที่กำหนด หากแจ้งเกิดก่อน 30 วัน แจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง และถ้าไม่ปฏิบัติจะต้องเสียค่าปรับ 1,000 บาท รวมไปถึงกรณีย้ายที่อยู่ หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน ทั้งนี้หากเจ้าของบ้านเกิดมีกิจธุระไม่สามารถมาแจ้งด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจให้สมาชิกภายในบ้านเข้ามาแจ้งกับเจ้าหน้าที่ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะระบุว่าบุคคลอันได้รับมอบหมาย เป็นผู้ดูแลบ้านแทนเจ้าบ้าน

เจ้าบ้าน เสียชีวิต ต้องทำอย่างไร



ใครเป็นผู้มีสิทธิ? คัดชื่อคนในทะเบียนบ้านออก 
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า กรรมสิทธิ์ของชื่อเจ้าบ้านอันถูกระบุไว้ในทะเบียนบ้านนั้น จะสามารถทำกิจการใดๆ ได้อย่างเต็มที่ โดยจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับทะเบียนราษฎรเท่านั้น แต่จะไม่มีสิทธิครอบครองบ้าน ดังนั้นหากวันดีคืนดีเกิดไม่พอใจสมาชิกในบ้าน แล้วต้องการไล่ออกจากบ้าน พร้อมคัดชื่อออก กรณีนี้เจ้าบ้านไม่มีสิทธิทำได้ ยกเว้นชื่อเจ้าบ้านเป็นชื่อเดียวกับเจ้าของบ้านเท่านั้น

วันดีคืนดี เจ้าบ้านหายตัวหรือตายไป กรรมสิทธิ์เป็นของใคร?
หากเกิดเหตุการณ์เจ้าบ้านที่ปรากฎชื่อในทะเบียนบ้าน ได้เกิดหายตัวหรือตายไปจนระยะเวลาล่วงเลยไปกว่า 180 วัน สามารถไปแจ้งสำนักงานเขตเพื่อแก้ไข โดยสามารถคัดชื่อเจ้าบ้านไปทะเบียนกลางได้ พร้อมคัดชื่อเจ้าบ้านใหม่ จากความเห็นชอบของสมาชิกในบ้าน

เรื่องข้างต้นเขียนโดย อารยา ศิริพยัคฆ์ Content Writer ประจำเว็บไซต์ DDproperty.com
บทความข้างต้นเผยแพร่ครั้งแรกที่ DDproperty.com เว็บไซต์สื่อกลางอสังหาริมทรัพย์ ที่รวบรวม ข่าวอสังหาฯ คู่มือซื้อขาย และ รีวิวโครงการใหม่ ไว้กว่า 10,000 บทความ

  • 21 ธ.ค. 2565

เก๋งเสียหลักหมุนลงร่องกลางถนน เด็ก 2 พร้อมสุนัข 4 ปลอดภัย

  • 21 ธ.ค. 2565

"วาริน สังข์ปล้อง" ต้นแบบ Smart farmer เพิ่มศักยภาพชาวนา สร้างรายได้สู่ชุมชน

  • 21 ธ.ค. 2565

“วาริน สังข์ปล้อง” ปราชญ์นาข้าวคุณภาพดี จากเกษตรกรสู่ผู้แปรรูปผลผลิตข้าว

  • 21 ธ.ค. 2565

ทร.ลงสำรวจ "เรือหลวงสุโขทัย" พรุ่งนี้ เพื่อประเมินก่อนปฏิบัติการกู้เรือ

  • 21 ธ.ค. 2565

"ราชกิจจาฯ" ประกาศ "พัชรินรุจา จันทโรนานนท์" ลาออกที่ปรึกษารมว.อุดมศึกษาฯ

Tagsบ้านกรรมสิทธิ์เจ้าทะเบียนอำนาจเต็มรู้ไว้NEWS

เมื่อเจ้าบ้านเสียชีวิตจะต้องทำอย่างไร

3.2 กรณีเจ้าบ้านตายหรือย้ายออกไปแล้ว ไม่มีเอกสารสิทธิ์มาแสดง ต้องให้ผู้อาศัยในบ้าน ทุกคนแสดงความยินยอมให้ผู้อาศัยคนในคนหนึ่งที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน เป็นเจ้าบ้าน ซึ่งกรณีดังกล่าว เป็นการตั้งเจ้าบ้านเพื่อจุดประสงค์ให้มีผู้เป็นตัวแทนการด าเนินการทางทะเบียนเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้อง กับกรรมสิทธิ์บ้านแต่อย่างใด ซึ่งหากประสงค์จะ ...

แจ้งเปลี่ยนเจ้าบ้าน ที่ไหน

สถานที่ยื่นคำร้อง สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น แห่งใดก็ได้ หลักฐานประกอบการพิจารณา (1) บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ราชการออกให้ซึ่งมีรูปถ่ายและเลขประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง

เปลี่ยนเจ้าบ้านต้องใช้อะไรบ้าง

1. ถ้าเจ้าบ้านคนใหม่ (ผู้จัดการมรดก) ต้องการเป็นเจ้าบ้านเองต้องย้ายเข้าทะเบียนบ้าน แล้วเปลี่ยนตนเองเป็นเจ้าบ้าน เจ้าบ้านคนเดิมเปลี่ยนเป็นผู้อาศัย 2.กรณีไม่เปลี่ยนเจ้าบ้านก็ไม่ต้องทำอะไรเพระาเจ้าบ้านเป็นเพียงคนดูแลบ้าน ไม่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ในบ้าน หลักฐาน - บัตรประชาชนเจ้าบ้านเดิม

เปลี่ยนเจ้าบ้านได้ไหม

๑. กรณีเจ้าบ้านมีความประสงค์จะเปลี่ยนสถานภาพการเป็นเจ้าบ้าน เพื่อดำเนินการแจ้งตามกฎหมาย สามารถทำหนังสือยินยอมให้บุคคลอื่น เป็นเจ้าบ้านได้ โดยแสดงเอกสารดังต่อไปนี้ ต่อนายทะเบียน - เอกสารแสดงการมีสิทธิครอบครองบ้าน ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์