การแสดงพื้นเมือง แบ่ง ได้เป็น กี่ ลักษณะ

การแสดงพื้นเมือง, การแสดงพื้นเมือง หมายถึง, การแสดงพื้นเมือง คือ, การแสดงพื้นเมือง ความหมาย, การแสดงพื้นเมือง คืออะไร

การแสดงพื้นเมือง แบ่ง ได้เป็น กี่ ลักษณะ

การแสดงพื้นเมือง, การแสดงพื้นเมือง หมายถึง, การแสดงพื้นเมือง คือ, การแสดงพื้นเมือง ความหมาย, การแสดงพื้นเมือง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภาค ดังนี้

           การแสดงพี้นเมืองภาคเหนือ รำพื้นบ้านภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง

การแสดงพื้นเมือง แบ่ง ได้เป็น กี่ ลักษณะ

                      คำว่า “ที” หมายถึง “ร่ม” เป็นคำภาษา “ไต” ใช้เรียกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน “ที” ทางภาคเหนือมีลักษณะและรูปทรงแตกต่างกันไปแต่ละจังหวัด “ที” ที่ชาวแม่ฮ่องสอนนิยมใช้มีรูปทรงสวยนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการรำได้ฟ้อนทีเป็นผลงานประดิษฐ์สร้างสรรค์ของวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ จัดแสดงในงานนิทรรศการและการแสดงศิลปวัฒนธรรมของสถานศึกษาในสังกัดกองศิลปศึกษา กรมศิลปากร เพื่อเทิดพระเกียรติเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ การแสดงชุดนี้นำร่มมาใช้ประกอบลีลานาฏศิลป์โดยมีท่าฟ้อนเหนือของเชียงใหม่ผสมกับท่ารำไตของแม่ฮ่องสอน มีการแปแถว และลีลาการใช้ร่มในลักษณะต่าง ๆ ที่งดงาม เช่น การถือร่ม การกางร่ม การหุบร่ม เป็นต้น

          การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง  รำกลองยาวเป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทอง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง 

การแสดงพื้นเมือง แบ่ง ได้เป็น กี่ ลักษณะ

        เป็นการแสดงนาฏศิลป์ที่ใช้กลองยาวหลายใบพร้อมทั้งเครื่องตีที่ใช้ประกอบจังหวะได้แก่ ฉิ่ง กรับ โหม่ง และ ฉาบเคาะจังหวะประกอบเสียงกลองยาวท่าทางร่ายรำจะมีหลายท่า จึงจำเป็นที่ผู้ฝึกหัดให้มีความชำนาญจึงจะแสดงเข้ากับจังหวะได้ดี เชื่อกันว่ารำกลองยาวมีถิ่นกำเนิดมาจากชนบท ต่อมากรมศิลปากรได้นำมาปรับปรุงและประดิษฐ์ท่ารำและจังหวะกลองให้สอดคล้องและกลมกลืน ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  

                   การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน  รำพื้นบ้านเป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือ ภาคตะวนออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งบังไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอนเกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือรำกระทบสาก รำกระเน็บติงต็อง หรือระบำตั๊กแตน ตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลางวงดนตรี ที่ใช้บรรเลง คือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี คือ ซอด้วง ซอด้วง ซอครัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาด เอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน

การแสดงพื้นเมือง แบ่ง ได้เป็น กี่ ลักษณะ


             สมัยก่อนนั้นการประกอบอาหารและการเสาะหาแหล่งอาหารของชาวไทอีสานในความเป็นอยู่แบบพอเพียง ชาวอีสานมักออกแสวงหาอาหารในแหล่งธรรมชาติใกล้ชุมชน เช่น ในท้องนา ป่าชุมชน ป่าทาม รวมไปถึงในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ แม้ว่าปัจจุบันวิถีชีวิตบางอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็ตาม ในบางท้องที่หรือบางชุมชนก็ยังหาอยู่หากินอย่างพอเพียงตามวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมกันอยู่ 

    “ไข่มดแดง” รวมถึงตัวอ่อนของมดแดง ก็ถือได้ว่าเป็นอาหารอีสานที่หารับประทานได้ในช่วงหน้าแล้งเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นอาหารตามฤดูกาลแม้ในปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมในการบริโภคกันอยู่ ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ และสามารถหาได้ง่ายๆในท้องถิ่น ซึ่งกรรมวิธีการหาไข่มดแดงจะต้องมีอุปกรณ์ คือ ไม้ไผ่ยาวผูกปลายด้วยตะกร้า และมีคุใส่น้ำเตรียมไว้ใส่ไข่มดแดงที่แหย่ได้ แล้วใช้เศษผ้ากวนเอาตัวมดแดงแยกออกจากไข่ เพื่อนำไปประกอบอาหารต่อไป 

    ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) ได้ศึกษารูปแบบการแหย่ไข่มดแดงของชาวบ้าน โดย อ.ประชัน คะเนวัน และ อ. ดรรชนี อุบลเลิศ ได้ศึกษาขั้นตอนอย่างละเอียด ก่อนจะนำมาประดิษฐ์เป็นชุดการแสดง “เซิ้งแหย่ไข่มดแดง” ซึ่งมีความสนุกสนานเร้าใจในแบบศิลปการแสดงแบบชาวอีสาน ซึ่งได้แสดงออกถึงการออกไปหาไข่มดแดง ซึ่งได้มาอย่างยากลำบาก ทั้งต้องถูกมดแดงกัดหรือไต่ตามเสื้อผ้า การกวนแยกตัวมดแดงออกจากไข่ ทำให้ชุดการแสดงนี้บอกเล่าวิธีการได้อย่างละเอียด 

               การแสดงพื้นเมืองภาคใต้  โนราเป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่ การีดยาง ปาเตต๊ะ เป็นต้น

การแสดงพื้นเมือง แบ่ง ได้เป็น กี่ ลักษณะ

              องค์ประกอบหลักในการแสดงโนรา คือเครื่องแต่งกาย และเครื่องดนตรีเครื่องแต่งกายประกอบด้วย เทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง เครื่องลูกปัดร้อยด้วยลูกปัดสีเป็นลายมีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำตัวท่อนบนแทนเสื้อ ปีกนกแอ่นหรือปีกเหน่ง ทับทรวงปีกหรือหางหงส์ ผ้านุ่ง สนับเพลา ผ้าห้อยหน้า ผ้าห้อยข้างกำไลต้นแขน-ปลายแขน และเล็บ ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องแต่งกายของโนราใหญ่หรือโนรายืนเครื่อง ส่วนเครื่องแต่งกายของตัวนางหรือนางรำเรียกว่า “เครื่องนาง” ไม่มีกำไลต้นแขนทับทรวง และปีกนกแอ่น

เครื่องดนตรีของโนรา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องตีให้ จังหวะ ประกอบด้วย ทับ (โทนหรือทับโนรา) มี ๒ ใบ เสียง ต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญ ที่สุด เพราะทำหน้าที่คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยน จังหวะทำนองตามผู้รำ กลองทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและ ล้อเสียงทับ ปี่ โหม่ง หรือฆ้องคู่ ฉิ่ง และแตระ

ลักษณะการแสดงพื้นเมืองมีกี่ประเภท

๑. ลักษณะการฟ้อนแบบพื้นเมืองเดิม เป็นการแสดงที่มีอยู่ตามท้องถิ่นทั่วไป เช่น ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นต้น.
การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ.
การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง.
การแสดงพื้นเมืองของอีสาน.
การแสดงพื้นเมืองของใต้.

การแสดงพื้นเมืองภาคกลางมีลักษณะเป็นอย่างไร

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ได้แก่ - รำโทน เป็นการรำ และการร้องของชาวบ้าน โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เป็นการร้อง และการรำไปตามความถนัด ไม่มีแบบแผนหรือท่ารำที่กำหนดแน่นอน

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองมีกี่ภาค

นาฏศิลป์พื้นเมือง แบ่งออกเป็น 4ประเภท คือ • นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ • นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน • นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองมีที่มาอย่างไร

นาฏศิลป์พื้นเมือง เป็นศิลปะด้านการฟ้อนรำาดั้งเดิมของมนุษย์ มีที่มาจากประเพณี วัฒนธรรม การฟ้อนรำาของชาวบ้านพื้นถิ่น ประกอบด้วยการร้องรำา ที่มีลักษณะเรียบง่ายแต่ แสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตนในด้านบทเพลง การแต่งกาย และการเคลื่อนไหวร่างกาย มีบทบาท ศิลปกรรมสาร ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 พ.ศ.2564 97 Page 9 และความสำาคัญ ในด้านการสื่อสาร ...