ภาพลายเส้นทิวทัศน์ธรรมชาติ

ที่ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์ขึ้นจากความประทับใจในทัศนียภาพทางสถาปัตยกรรมและวัตถุต่างๆ เมื่อครั้งที่ได้เดินทางไปยังเมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาในเรื่องของแรงบันดาลใจ แนวคิด กระบวนการสร้างสรรค์ การสื่อความหมาย และคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ของภาพวาดเส้น ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่าภาพวาดเส้นชุดนี้เป็นการใช้รหัสเชิงสุนทรียะเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญในการสร้างภาพแทนความหมายที่สื่อถึงร่องรอยทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมและวัตถุแห่งความศรัทธา และภาพสะท้อนวิถีชีวิตร่วมสมัยของเมืองมะนิลา ภาพแต่ละภาพใช้เส้นตรงและเส้นโค้งที่ประกอบขึ้นเป็นรูปสัญญะอันนำไปสู่ความหมายที่แตกต่างไปจากหน่วยย่อยของลายเส้นที่มีหน้าที่เพียงทัศนธาตุหนึ่ง ภาพวาดเส้นแต่ละภาพได้มีการกำกับความหมายตรงด้วยข้อความที่เขียนขึ้นเป็นตัวอักษรประกอบด้วย ในขณะที่ตัวของภาพวาดเส้นเองก็มิได้สื่อถึงเรื่องของช่วงเวลา แต่จะถูกกำกับความหมายเรื่องเวลาด้วยตัวเลขและตัวอักษรที่เขียนขึ้นประกอบในบริเวณของตัวภาพ

คำสำคัญ: การสื่อความหมาย, ภาพวาดเส้น


Abstract

This research presents the production process and interpretive drawings of "Manila 2014". The researchers created the impression in the architectural scenery and objects. When traveling to Manila, Philippines. The purpose of this research is to study the matter of inspiration, concept, creativity, interpretation and aesthetics values of drawings. Results from the study showed that this line drawings aesthetic code used to create the image that conveys the meaning of historical traces, architecture and objects of faith and reflections on contemporary life style of the city of Manila. Each image straight lines and curves that make up a sign which will lead to significant differences between the subunits of the lines have a visual element. The drawings have the meaning of a text written letters contain. While the drawings did not reflect a matter of moments. But the time is marked with numbers and letters written in the assembly area of the image.

Keyword: interpretative, drawing


บทนำ

เมื่อกล่าวถึงภาพวาดที่ใช้สีเดียวหรือใช้สีเอกรงค์ (Monochromes) นับเป็นช่องทางการสื่อสารที่มีขึ้นมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ภาพวาดบนผนังถ้ำ เป็นต้น ผลงานภาพวาดสีเดียวหรือสีเอกรงค์นี้เรียกว่า “ภาพวาดเส้น” (Drawing) หรือ “ภาพลายเส้น” ก็ได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดรูปในการวาดเส้น ก็คือ เส้น (Line) (น. ณ ปากน้ำ 2543: 33) ภาพวาดเส้นถือเป็นการแสดงออกทางศิลปะในรูปแบบ 2 มิติขั้นพื้นฐาน และยังสามารถสื่อถึงเนื้อหาอันเกิดจากแรงบันดาลใจและความประทับใจของผู้สร้างสรรค์ให้ถ่ายทอดออกมาได้ตรงและชัดเจนอย่างที่สุด 

ภาพวาดเส้นหรือภาพลายเส้นจึงเป็นผลที่เกิดจากกระบวนการสร้างสรรค์ที่เป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ปรากฏเป็นร่องรอยของการกระทำนั้นบนพื้นที่ว่างบนวัตถุหนึ่งๆ ซึ่งร่องรอยดังกล่าวอาจจะประกอบไปด้วย จุด (dot) เส้น (line) สี (color) รูปร่าง (shape) รูปทรง (form) หรือพื้นผิว (texture) ล้วนไม่ได้เกิดขึ้นจากความบังเอิญ หากแต่เกิดขึ้นจากเจตจำนงของผู้สร้างสรรค์ที่ทำการบันทึกสภาวะของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นลงไปบนพื้นที่ว่างนั้น โดยที่ความเป็นจริงนั้นก็ไม่ใช่แค่เพียงความจริงในทางกายภาพของวัตถุเท่านั้น หากแต่รวมไปถึงสภาวะความเป็นจริงของอารมณ์ความรู้สึก (emotion) หรือแม้แต่กระบวนความคิด (conceptual) ของผู้สร้างสรรค์ด้วย ดังที่นอร์แมน ไบร์สัน (Norman Bryson) ได้เขียนเอาไว้ว่า จิตรกร(ผู้ผลิตงานสร้างสรรค์) เป็นผู้พินิจด้วยการจ้องมองและสร้างรูปทรงซึ่งเป็นการสื่อสารด้วยลายเส้นในจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งจากการสังเกตอย่างสมบูรณ์ตามทัศนะจนเกิดเป็นจุดสนใจที่กระตุ้นผู้ดูกระหายที่จะจ้องมองซ้ำอีกครั้ง(Norman Bryson, Michael Ann Holly and Keith Moxey. Visual theory: painting and interpretation. Cambridge: Polity Press, 1991.

ความหมายของการวาดเส้นภาพทิวทัศน์

ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง การวาดภาพที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศที่พบเห็นโดยทั่วไป หรือที่เรียกกันว่า ภาพวิว (View) ซึ่งอาจเป็นภูมิประเทศที่มีแต่สิ่งที่เป็นธรรมชาติล้วนๆ หรือมีสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์สร้างขึ้นประกอบด้วยก็ได้ หรือเรียกว่า “ภาพภูมิทัศน์” การวาดเส้นภาพทิวทัศน์นั้น ผู้วาดจะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ ในหลักของทัศนมิติ (Perspective) หรือ ทัศนียภาพ ให้ดีก่อนจึงจะสามารถถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างถูกต้อง [28]

 การแบ่งภาพทิวทัศน์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

1. ภาพทิวทัศน์บก (Landscape) เป็นการเขียนภาพภูมิประเทศที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมบนบกเป็นส่วนใหญ่ เช่น ต้นไม้ ภูเขา ท้องนา ป่าไม้ ห้วยหนอง คลองบึง น้าตก ฯลฯ เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศแสงเงา และเรื่องราวต่างๆ ในธรรมชาติ โดยการวาดอาจมีภาพคนหรือภาพสัตว์ประกอบ เพราะจะทาให้ภาพดูมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น
2. ภาพทิวทัศน์ทะเล (Seascape) เป็นการเขียนภาพที่มีบรรยากาศเกี่ยวกับทะเล เช่น หาดทราย เรือประมง โขดหิน น้าทะเล และบรรยากาศทางทะเลต่างๆ รวมทั้งภาพคน สัตว์ บ้านเรือน และต้นไม้ที่ประกอบอยู่ด้วย
3. ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง (Structural Landscape) เป็นภาพเขียนที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ตึกอาคาร บ้านเรือน วัด ศาลา โบสถ์ วิหาร รวมทั้งภาพคน ภาพสัตว์ และต้นไม้ที่ประกอบอยู่ในภาพด้วย

 หลักการวาดเส้นภาพทิวทัศน์ โดยอาศัยทัศนมิติหรือทัศนียภาพ (Perspective)

การวาดภาพตามหลักทัศนมิติหรือทัศนียภาพ (Perspective) เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่สาคัญมาก เพราะจะทาให้ภาพมีมิติในเรื่องของความลึก ระยะ ใกล้-ไกล ปรากฏอยู่ในภาพ โดยมีหลักในการวาด คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตาจะมีขนาดใหญ่ สิ่งที่อยู่ไกลตาจะมีขนาดเล็ก โดยการวาดเส้นภาพทิวทัศน์ ตามหลักทัศนมิติหรือทัศนียภาพ (Perspective) นั้น มี 3 แบบคือ
1. แบบจุดรวมสายตา (Vanishing Point) จุดเดียว (One Point Perspective) มีแนวเส้นระดับ ด้านหน้าขนานกับเส้นระดับตา (Horizon Line หรือ Eye Level) ส่วนด้านลึกจะไปรวมกันที่จุดรวมสายตา (VP) ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นระดับตา (HL)
2. แบบจุดรวมสายตา 2 จุด (Two Point Perspective) คือภาพ Perspective) ที่มีเส้นแนวระดับ
ทั้งด้านหน้าและด้านข้างไปรวมตรงจุดรวมสายตา (VP. 1และ VP. 2) ซึ่งอยู่ด้านซ้ายและขวา
3. แบบรวมจุดสายตา 3 จุด (Three Point Perspective) คือ ภาพ Perspective ที่คล้ายกับ
แบบจุดรวมสายตา 2 จุด แต่เพิ่มการมองจุดรวมสายตาจากจุดที่ 3 (VP. 3) ตรงตามแนวดิ่ง จุดรวมสายตาที่ 3 (VP. 3) ดูภาพได้เมื่ออยู่ทั้งด้านบนและด้านล่างของเส้น ระดับตา (HL)

ขั้นตอนการวาดเส้นภาพทิวทัศน์

อันดับแรก คือ ต้องเลือกสถานที่ซึ่งผู้วาดรู้สึกมีความประทับใจในสิ่งที่ตาเห็น ดังนั้นก่อนวาดภาพทิวทัศน์ควรเลือกทัศนียภาพที่ผู้วาดชอบ รู้สึกได้ว่าเมื่อวาดเสร็จออกมาภาพจะสวยงาม เพราะความชอบจะสร้างแรงบันดาลใจเป็นพลังที่ทาให้ผู้วาดมีความสุขและสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ดี

อันดับสอง คือ ใช้สายตามอง คิด และวิเคราะห์รายละเอียดของภาพทิวทัศน์ที่จะวาด ว่ามีรูปร่าง สัดส่วน ลักษณะผิว แสง สี และช่องว่าง ว่ามีลักษณะเช่นไร ภาพที่เหมาะแก่การวาดควรจะมีรายละเอียดที่ชัดเจน เมื่อวิเคราะห์แล้วจึงฝึกวาดแบบร่างก่อนหลายๆ ครั้ง เพื่อให้เกิดความแม่นยา
อันดับสาม คือ เลือกมุมมองและจัดภาพ การเลือกมุมมองของภาพสาคัญมาก ซึ่งสามารถ หามุมที่ดีได้โดยสร้างกรอบ สนามภาพ ด้วยกระดาษแข็งตัดช่องสี่เหลี่ยมตรงกลาง กว้าง 2 นิ้ว x ยาว 3 นิ้ว เพื่อนาแทนกล้องถ่ายรูป และหลักง่ายๆ ที่ภายในกรอบสนามภาพควรมีคือ จุดสนใจ เอกภาพ และดุลยภาพ
1) จุดสนใจหรือจุดเด่น ที่เป็นจุดที่สร้างความสนใจสะดุดตา และควรมีเพียงจุดเดียวทั้งภาพและ
เนื้อหาที่สื่อออกมา ไม่ควรวางจุดเด่นไว้ตรงกลางเพราะส่งผลทาให้ภาพดูตันๆ เฉยๆ นิ่งๆ ไม่มีชีวิตชีวามากนัก
2) เอกภาพ คือ การจัดภาพให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กลมกลืนและสัมพันธ์กัน เพื่อป้องกันความ
สับสน
3) ดุลยภาพหรือสมดุล คือ การจัดภาพให้ถ่วงดุลกันพอดี เช่น - ซ้ายขวาเท่ากัน คือ องค์ประกอบในภาพซ้ายขวาเหมือนกัน แต่ภาพจะดูธรรมดา ไม่น่าสนใจมากนัก - ซ้ายขวาไม่เท่ากัน คือ องค์ประกอบในภาพซ้ายขวาไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากัน ซึ่งจะทาให้ภาพดูน่าสนใจมากกว่าแบบแรก
5.5 มุมมองในการวาดเส้นภาพทิวทัศน์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. มุมมองเหนือระดับสายตา หรือตามดมอง หมายถึง มุมที่อยู่สูงกว่าระดับสายตาของผู้วาด
2. มุมมองระดับสายตา หมายถึง มุมที่อยู่ระดับเดียวกับสายตาของผู้วาด
3. มุมระดับต่ากว่าสายตา หมายถึง มุมที่อยู่ต่ากว่าสายตาของผู้วาด
5.6 หลักการแบ่งระยะการวาดเส้นภาพทิวทัศน์ จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะหน้า (Fore Ground) หมายถึง สิ่งที่อยู่ใกล้สุดของภาพ
2. ระยะกลาง (Middle Ground) หมายถึง สิ่งที่อยู่ไกลกว่าระยะหน้า ต้องเขียนขนาดของสิ่งต่างๆ ให้เล็กลง
3. ระยะหลัง (Back Ground) หมายถึง สิ่งที่อยู่ไกลสุดของภาพ ต้องเขียนให้ความเด่นชัดของแสงเงาน้อยลงกว่าระยะกลางอีก [29]