ยุคหินใหม่ พบที่จังหวัด ใด

ที่มา: 

ประเพณีไทยดอทคอม http://www.prapayneethai.com

แหล่งโบราณคดีถ้ำฉานเรน

ภาค     ภาคใต้
จังหวัด  ชุมพร

  • สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่เขาฉานเรน ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
  • ประวัติความเป็นมา

แหล่งโบราณคดีถ้ำฉานเรน เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ยุคโบราณแห่งหนึ่งของอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร จากการสำรวจของกรมศิลปากร พบว่าบริเวณนี้มีเศษภาชนะกระจัดกระจายภายในถ้ำและบริเวณเพิงผาเป็นจำนวนมาก ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นที่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหิน ใหม่ เชื้อสายชนเผ่าออสโตรเนเซียน ที่อพยพถิ่นฐานมาจากตอนเหนือของจีน ราว ๓,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา เนื่องจากลักษณะถ้ำและเพิงหินในเทือกเขานี้เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย

  • ลักษณะทั่วไป

แหล่งโบราณคดีถ้ำฉานเรนตั้งอยู่ในภูเขาฉานเรน ระหว่างเขตอำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร และอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง เป็นเทือกเขาไม่มีที่ราบ แต่มีลำน้ำใกล้เคียง ลักษณะของแหล่งโบราณคดีเป็นเพิงผาหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ ๓๐ เมตร ส่วนกว้างที่สุดประมาณ ๑๘ เมตร บริเวณด้านหน้าเพิงผามีลำธารเล็ก ๆ ไหลผ่านพื้นที่เพิงผาอยู่ในระดับเดียวกับพื้นที่ด้านนอก โบราณวัตถุ พบบริเวณเพิงผา และภายในถ้ำ

  • หลักฐานที่พบ

เป็นภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ มีเม็ดทรายปนมาก ลักษณะเป็นการเผาด้วยอุณหภูมิต่ำ ขึ้นรูปด้วยมือ พบทั้งส่วนปาก ส่วนก้น ส่วนตัว ส่วนขา โบราณวัตถุที่พบมากเป็นภาชนะดินเผาประเภทหม้อสามขา และเครื่องมือหินประเภทขวานหินขัด กำหนดอายุอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ราว ๔,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ ปี มาแล้ว

  • เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีถ้ำฉานเรน

เริ่มจากถนนเพชรเกษม ผ่านวิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีชุมพร กลับรถที่จุดกลับรถ จะพบสามแยกวัดเทพนิมิตร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนซอย ขับไปตามทางข้ามสะพานคอนกรีตจะพบสามแยก ซึ่งมีศาลาเอนกประสงค์ เลี้ยวซ้ายขับตรงไปผ่านโรงเรียนสามแยกจำปา ระยะทางจากถนนแยกเพชรเกษมถึงบริเวณเขาฉานเรน ประมาณ ๑๒ - ๑๓ กิโลเมตร

เครื่องปั้นดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ของไทย

เครื่องปั้นดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์พบว่า เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยหินกลาง หรือสังคมล่าสัตว์ ทำขึ้นอย่างเรียบง่ายไม่พิถีพิถันนัก โดยใช้มือปั้นขึ้นรูปอย่างอิสระ จากนั้นได้พัฒนาให้มีความประณีต สวยงามขึ้น โดยใช้แป้นหมุนช่วยในการขึ้นรูป และตกแต่งผิวภาชนะด้วยการขัดผิวให้ มัน ประดับลวดลายด้วยกรรมวิธีต่างๆ และเนื้อ ดินปั้นทำได้บางลง ดังที่พบในสมัยหินใหม่หรือ สังคมเกษตรกรรม และยุคโลหะหรือสังคมเมือง เริ่มแรก

จากการที่เครื่องปั้นดินเผามีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในชีวิตประจำวัน และในพิธีกรรม ดังนั้นจึงพบเศษเครื่องปั้นดินเผา กระจายอยู่ตามแหล่งโบราณคดีเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางชิ้นมีการตกแต่งเขียนลวดลายสวยงาม อันสะท้อนให้เห็นถึงคติความเชื่อ อันเป็นเหตุให้เกิดพิธีกรรมของกลุ่มชนในยุคนั้นๆ ด้วย แหล่งที่พบเครื่องปั้นดินเผาสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมีดังนี้

ยุคหินกลาง

ในยุคหินกลาง เป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปี ถึง ๗,๐๐๐ ปี ในยุคนี้ได้พบเครื่องปั้นดินเผา ที่เก่าที่สุด ที่ถ้ำผี อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีทั้งที่เป็นภาชนะผิวเรียบ และที่มีผิวขัดมัน รวมทั้งมีการตกแต่งผิว ด้วยลายเชือกทาบ อันแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมโฮบิเหียน

ยุคหินใหม่

ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ ๗,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ยุคนี้ได้พบเครื่องปั้นดินเผา ตามแหล่งโบราณคดีในภาคต่างๆ เกือบทุกจังหวัดที่สำคัญ อาทิเช่น จังหวัดกาญจนบุรี ลพบุรี นครศรีธรรมราช กระบี่ และพังงา เป็นต้น

สำหรับที่จังหวัดกาญจนบุรี พบที่หมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง และที่ถ้ำเขาสามเหลี่ยม ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง ที่จังหวัดลพบุรี พบที่บ้านโคกเจริญ ตำบลบัวชุม และที่เนินคลองบำรุง ตำบลหนองยายโต๊ะ อำเภอชัยบาดาล ส่วนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พบที่นพพิตำ อำเภอท่าศาลา และจังหวัดกระบี่ พบที่อำเภออ่าวลึก

เครื่องปั้นดินเผายุคหินใหม่นี้ มีหลายรูปแบบ ล้วนมีความประณีต สวยงาม ด้วยเทคนิคที่ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน แม้ว่าบางแหล่งยังคงขึ้นรูปอิสระด้วยมือสืบต่อมาก็ตาม รูปแบบของภาชนะมีทั้งหม้อก้นกลม หม้อสามขา และพาน ซึ่งล้วนมีเนื้อดินปั้นบางลง เนื้อดินละเอียดขึ้นและมีสี ต่างๆ ทั้งสีดำ สีแดง สีเทา และสีน้ำตาล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะส่วนผสมของดินและการเผา ภาชนะเหล่านี้มีทั้งแบบเรียบและที่มีการตกแต่ง ด้วยลายเชือกทาบ และลายขูดขีด

ยุคโลหะ

ยุคโลหะมีอายุระหว่าง ๕,๖๐๐-๑,๗๐๐ ปี มาแล้ว เครื่องปั้นดินเผาในยุคนี้ มีความสวยงามมาก บางแหล่งแสดงให้เห็นว่า มีการทำอย่างพิถีพิถันอย่างยิ่ง และทำควบคู่ไปกับการผลิตเครื่องใช้โลหะ ที่มีทั้งสำริด ทองแดง และเหล็ก แสดงถึงความเจริญในเรื่องเทคโนโลยี ที่พัฒนาขึ้นอย่างมาก

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในขณะที่การหล่อโลหะทำได้ดี แต่เครื่องปั้นดินเผากลับไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควร มีการตกแต่งแบบเรียบง่าย เช่น ทาน้ำดินสีแดงทั่วไป ไม่เขียนลวดลาย หรือทำขนาดเล็กๆ การตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญ มีพบที่โนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี บ้านปราสาท ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา และบ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

เครื่องปั้นดินเผาดังกล่าว จะมีลักษณะพิเศษ ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น อาทิที่บ้านเชียง จะมีการพัฒนาลวดลายตกแต่งภาชนะต่างๆ ด้วย ซึ่งในระยะแรกภาชนะเป็นสีดำ เขียนลาดลายด้วยวิธีขูดขีดลงไปในเนื้อดินปั้น ในระยะต่อมามีการใช้ดินสีแดงเขียนเป็นลายต่างๆ โดยเฉพาะลายก้านขด และในระยะหลัง ก็มีการตกแต่งน้อยลง เพียงแต่ทาด้วยน้ำดินสีแดงเรียบๆ เท่านั้น สำหรับเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านปราสาท มีรูปแบบที่โดดเด่น คือ หม้อมีเชิง ปากผายบานกว้าง

สมัยหินใหม่พบที่จังหวัดอะไร

สมัยหินใหม่ ขุดพบที่บ้านเก่า ต.จระเข้เผือก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี โดยคณะสำรวจไทย- เดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๕ คณะสำรวจ ได้ขุดพบโครงกระดูกจำนวน ๓๙ โครง ฝังอยู่ พร้อมกับหม้อดินเผาและเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผาที่พบพร้อมกับโครงกระดูก เปรียบเทียบกะโหลกมนุษย์สมัยหินใหม่กับคนไทยปัจจุบัน

หลักฐานในยุคหินใหม่ที่พบในประเทศไทยอยู่ที่ไหน

แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่พบอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในสภาพภูมิประเทศแตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยใน การตั้งถิ่นฐาน เช่น พื้นที่ทำการเกษตร แหล่งวัตถุดิบในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ แหล่งน้ำ เป็นต้น แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ที่ พบส่วนใหญ่อยู่ตาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ดอน ที่ราบสูง ถ้ำเพิงผา และชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ...

ยุคหินใหม่มีอะไร

ยุคหินใหม่ (อังกฤษ: Neolithic หรือ New Stone Age) อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 10,200 − 4,500/2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเป็นช่วงเวลาระหว่างยุคหินกลางกับยุคโลหะซึ่งมนุษย์ในยุคนี้อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน เริ่มรู้จักทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ สามารถเพาะปลูกพืชและเก็บไว้เป็นอาหาร รู้จักทอผ้าและทำเครื่องปั้นดินเผา และเลี้ยงสัตว์ การ ...

เครื่องมือที่สําคัญในยุคหินใหม่คืออะไร

เครื่องมือที่สำคัญคือ ขวานหินด้วยเป็นไม้ และเคียวกินเหล็กไฟ เป็นต้นนอกจากนี้ยังสร้างงาน หัตถกรรมในครัวเรือนอีกหลายอย่างได้แก่ เครื่องปั่นด้าย เครื่องทอผ้าเครื่องจักสานและเครื่องปั้น ดินเผาซึ่งมักทำขึ้นมักทำขึ้นอย่างหยาบ ๆ ไม่มีการตกแต่งลวดลายมากนัก