ขั้นตอนการฝึกอบรมพนักงานใหม่

ในการดำเนินการเรื่องการฝึกอบรมนั้น ขั้นตอนของการดำเนินการจะมีดังนี้ คือ

ขั้นตอนการฝึกอบรมพนักงานใหม่

1.  การพิจารณาความต้องการและปัญหาที่ต้องมีการฝึกอบรม ในขั้นนี้ก็คือ การตรวจสอบและพิจารณาให้ทราบถึงความจำเป็นและต้องการที่จะต้องมีการจัดการฝึกอบรมขึ้น ซึ่งอาจเป็นทั้งในแง่ที่ต้องทำ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ ความสามารถ ความชำนาญต่าง ๆ หรือเพื่อแก้ไขปัญหาบางอย่าง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ขณะเดียวกัน ในขณะที่ทำการพิจารณาความต้องการนั้น สิ่งที่ต้องคิดพิจารณาและจัดทำควบคู่กันก็คือ การต้องพิจารณากำหนดมาตรฐานผลงานที่ต้องการและที่จะเป็นเครื่องวัดผลงานที่ประสงค์ จะให้ทำได้ตามที่ต้องการ นั่นก็คือ การต้องมีการวินิจฉัยว่าผลงานที่ควรจะทำได้นั้น คืออะไรและเป็น อย่างไร หรือควรจะต้องทำให้ได้ถึงขนาดไหน

จากการพิจารณาความจำเป็นและต้องการการฝึกอบรม และการพิจารณากำหนดมาตรฐานผลงานที่ต้องการนี้เอง ก็จะนำไปสู่ขั้นตอนต่อไป คือ การกำหนดเป้าหมายของการฝึกอบรม

2.  เป้าหมายของการฝึกอบรม นั่นคือ การเขียนระบุเป้าหมายที่ต้องการจากการฝึกอบรมเพื่อให้ทราบชัดดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อให้มีจุดมุ่งประการต่าง ๆ ที่พึงจะต้องได้จากการฝึกอบรม ซึ่งการดำเนินการจัดการฝึกอบรมต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดหลักสูตร เนื้อหาวิชา ตลอดจนวิธีที่ใช้อบรม ก็ย่อมจะกระทำโดยยึดถือตามเป้าหมายดังกล่าวนี้

3.  การกำหนดเนื้อหาและเรื่องที่จะอบรม หมายถึง การพิจารณาว่า เพื่อที่จะเสริมความรู้ความสามารถให้ได้ผลตามที่ต้องการนั้น จะต้องมีการอบรมเรื่องอะไรบ้าง รวมตลอดถึงการพิจารณาส่วนประกอบ ของเนื้อหาและเรื่องที่จะอบรม ซึ่งถ้ากล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือการจัดหลักสูตรและหัวข้อเรื่องที่จะอบรมนั่นเอง

4.  การกำหนดวิธีที่จะใช้อบรม และสื่อหรือเครื่องมือที่เหมาะสม ในที่นื้ก็คือ การพิจารณาต่อไปว่า เรื่องที่จะอบรมดังกล่าว ถ้าจะให้มีประสิทธิภาพและได้ผลดีนั้น ควรจะใช้วิธีการอบรมแบบใดจึงจะได้ผลดีที่สุด และเหมาะสมกับบุคคลที่จะอบรม และเรื่องที่ต้องการอบรม นอกจากนี้ก็ต้องพิจารณาถึงสื่อ หรือเครื่องมือ (Media)ที่จะใช้อบรมด้วยว่า วิธีการเสนอข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ควรจะใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องมือชนิดไหน จึงจะดีที่สุด ที่จะช่วยให้เกิดการรับรู้และเข้าใจได้ง่าย

5.  การดำเนินการอบรม คือ หลังจากที่ทุกอย่างได้ดำเนินการมาครบถ้วนตามขั้นตอนแล้ว ขั้นสุดท้ายก็ คือ การเริ่มต้นดำเนินการอบรมตามแผนและตามแนวทางต่าง ๆ ที่ได้พิจารณาและกำหนดไว้แล้ว

เมื่อการอบรมสิ้นสุดลง ผลที่ได้ก็คือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป อันเป็นผลผลิตของการอบรมที่ทำมา ซึ่งการประเมินผลโครงการฝึกอบรมก็คือ การพิจารณาเปรียบเทียบดูว่าพนักงานที่ได้ผ่านการอบรมแล้วสามารถทำงานได้ผลงานในระดับที่เป็นมาตรฐานที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งหากยังมีปัญหาการแก้ไขก็คงจะดำเนินการใน 3 จุด คือ

ก. การทบทวนพิจารณาดูว่า เนื้อหาและเรื่อง หรือหลักสูตรที่ต้องการอบรมเหมาะสมหรือไม่ จะต้องแก้ไขประการใดบ้างหรือเปล่า

ข. การทบทวนว่า วิธีที่ใช้อบรมและสื่อ หรือเครื่องมือที่ใช้ เหมาะสมหรือไม่ ควรแปลงเป็นวิธีใด หรือสื่อชนิดไหนจึงจะได้ผลดีกว่า

ค. หากมิใช่ปัญหา 2 ประการที่กล่าว ในบางครั้ง ปัญหาก็อาจจะอยู่ที่ตัวพนักงานผู้เข้าทำการอบรม ซื่งอาจจะมีปัญหาเรื่องความพร้อมไม่พร้อมในทางจิตวิทยา หรือพื้นฐานการศึกษาต่าง ๆ ด้วย ซึ่งก็อาจจำต้องมีการเสริมหรือแก้ไขในประการอื่นก่อน คือ ต้องทบทวนเกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกหรือ เตรียมคนผู้ที่จะเข้ารับการอบรม ให้มีระดับพร้อมที่จะเข้าร่วมในโครงการอบรมดังกล่าว

    You are here:  
  1. Home
  2. บทความทั้งหมด
  3. อบรมภายในองค์กรต้องมีอะไรบ้าง

ขั้นตอนการฝึกอบรมพนักงานใหม่

 

ขั้นตอนการฝึกอบรมพนักงานใหม่

องค์กรธุรกิจทีตระหนักว่า พนักงานคือทรัพยากรที่สำคัญอย่างหนึ่งในการทำให้การทำงานโดยเฉพาะการให้บริการลูกค้าดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยิ่งเป็นองค์กรที่เป็นของชาติตะวันตกจะให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมพนักงานเป็นอย่างยิ่ง และมีการจัดจ้างให้มีตำแหน่งผู้จัดการฝึกอบรม (Training Manager) ขึ้นมารับผิดชอบการฝึกอบรมโดยเฉพาะ ซึ่งแผนกฝึกอบรมจะแยกย่อยออกมาจากแผนกทรัพยกรบุคคล หรือทรัพยากรมนุษย์แล้วแต่จะเรียกกัน

ถ้าเป็นองค์กรใหญ่มีเงินทุนสูงก็สามารถจ้างผู้จัดการฝึกอบรมที่มีความรู้มีประสบการณ์มาดำเนินการได้เลย แต่สำหรับองค์กรเล็กหน่อย เงินทุนยังไม่มากก็ต้องฝากเรื่องการฝึกอบรมไว้กับผู้จัดการแผนกบุคคล หรือหัวหน้าแผนกแต่ละแผนกเป็นผู้รับผิดชอบกันไป ถ้าไม่มีผู้จัดการฝึกอบรมโดยเฉพาะ ปัญหาที่ตามมาก็คือแล้วจะทำกันอย่างไร ทำแค่ไหน ทำตอนไหน ผมขออนุญาตเรียนแนะนำสำหรับการจัดการอมภายในแบบสามารถทำกันเองได้เลยพร้อมหัวข้อที่จำเป็นและที่ควรจะมี ดังนี้

    

1. สำหรับพนักงานใหม่ (New Staff) ควรจัดหัวข้ออบรมดังนี้ แผนกทรัพยากรบุคคลจะรับผิดชอบในส่วนนี้
            1.1 การปฐมนิเทศ (Orientation) ซึงประกอบด้วย
                  - ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร ลักษณะของธุรกิจ สถานที่ตั้ง การติดต่อสื่อสาร เช่น หมายเลขโทรศัพท์ เว็บไซท์ อีเมล์ ฯลฯ
                  - ผู้บริหาร ชื่อ นามสกุล รูปภาพเพื่อให้พนักงานจำได้
                  - สินค้าและบริการขององค์กร
                  - การประสานงานกันระหว่างแผนกต่างๆ
                  - กฎ ระเบียบและข้อบังคับขององค์กร เช่น การขาด ลา มาสาย แบบฟอร์มที่ต้องใช้
                  - วันเวลา ชั่วโมงการทำงาน วันหยุด วันลา
                  - สวัสดิการต่างๆ เงินที่ต้องถูกหักจากเงินเดือน
                  - เอกสารแบบฟอร์มต่างๆ ที่ต้องใช้
                  - การรักษาความปลอดภัยและสุขอนมัย
                  - การแนะนำตัวกับทีมผู้บริหาร อาจพาไปแนะนำในที่ประชุมผู้บริหาร
                  - พาดูสถานที่ต่างๆ ขององค์กร
                    ฯลฯ

            1.2 การเตรียมเข้าสู่การทำงานในแผนก (Induction) แต่ละแผนกจะเป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้
                  - สภานที่ และส่วนต่าง ของแผนก
                  - ตำแหน่งต่างๆ ความรับผิบชอบ ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา
                  - วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ
                  - กฎระเบียบภายในแผนก
                  - การประสานงานภายในแผนก
                  - เอกสารแบบฟอร์มต่างๆ ที่ต้องใช้
                  - การรักษาความปลอดภัยและสุขอนมัย
                    ฯลฯ

    

2. สำหรับพนักงานทุกคน แบ่งเป็นระดับต่างๆ
            2.1 ระดับผู้จัดการ (Manager)
                  - การเป็นผู้นำ (Leadership)
                  - หลักการจัดการ (Management Skill)
                  - การสื่อสารในระดับการจัดการ (Communication for Managers)
                  - การประเมินผลงานและการให้ Feedback (Performance Appraisal and Giving Feedback)
                  - งานเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลสำหรับผู้จัดการในแผนกต่างๆ (HR for Non HR Managers)
                  - การทำแผนงบประมาณ (Budgeting)
                    ฯลฯ

             2.2 ระดับหัวหน้างาน (Supevisor)
                   - หลักการเป็นหัวหน้างาน (Principle of Supervisor)
                   - การสอนงาน (Train The Trainer)
                   - การจัดตารางการทำงาน (Roster)
                   - การมอบหมายงาน (Work Delegation)
                   - การสื่อสารในระดับหัวหน้างาน (Communication for Supervisors)
                   - การติดตามผลงาน (Work Follow-up)
                   - การประเมินผลงาน (Work Evaluation)
                   - การเป็นผู้นำ (Leadership)
                   - หลัการจัดการ (Management Skill)
                   - การสื่อสารในระดับหัวหน้างาน (Communication for Supervisor)
                     ฯลฯ

              2.3 ระดับพนักงานปฏิบัติการ (Operating Staff) แต่ละธุกริจ แต่ละองค์กร และแต่ละแผนกแนก จะมีส่วนนี้ที่แตกต่างกันออกไป
                   - เนื้อหาตามเนื้องานของ (Job Description) ของ
                          แต่ละแผนก และแต่ละตำหน่ง
                   - มาตรฐานการปฏิบัติงานตาม (Standard Of Procedure -  SOP)
                          มาตรฐานของแต่ละตำแหน่ง และแต่ละงานจะแตกต่างกัน
                   - ภาษาต่างประเทศที่จำเป็น (Foreign Languages ; English, Chinese, Japanese etc.)
                          แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
                                > ภาษาที่ใช้โดยทั่วไป (Generic) เช่นการทักทาย การบอกเวลา ฯลฯ
                                > ภาษาที่ใช้เฉพาะ (Specific) เช่น งานบริการอาหาร งานขายเครื่องประดับ งานอธิบายแบบเฟอร์นิเจอร์ เรียกว่าภาษาที่ใช้เฉพาะในงานของใครของมัน

                   - ทักษะอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน (Other skills ; computer, specific computer program etc.)
                     ฯลฯ

ติดต่อเรา

นัฐพล กลั่นวารี
Nattapol Klanwari

  • Tel (Thailand) 66-081 890 4988
  • Line ID : 081 890 4988
  • Tel (Canada) 1 - 437 775 2478
  • Email :

สุนันทา

  • Tel : 090 917 9523

ติดตามเรา

ขั้นตอนการฝึกอบรมพนักงานใหม่

การอบรมพร้อมกับการสนับสนุน

การอบรมเป็นวิธีการหนึ่งที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้ง ความรู้ ทักษะและทัศนคติ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะได้ผลมากยิ่งขึ้น ถ้าปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องเกื้อหนุนด้วย ปัจจัยที่มีผลมากที่สุดคือผู้บริหารหรือผู้นำที่จะก่อให้เกิดปัจจัยเกื้อหนุนเหล่านั้น


คลิ๊กเพื่อดูหลักสูตรทั้งหมดพร้อมรายละเอียด

สถิติการเข้าชม (Since June 20, 2019)

937543

Today

Yesterday

This Week

Last Week

This Month

Last Month

All days

890

1119

2917

925493

12935

31284

937543


Your IP: 192.18.152.183

2022-10-11 16:44

อบรมพนักงานใหม่ กี่ชม.

ข้อ ๗ หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทํางานสําหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทํางานใหม่ มีระยะเวลาการฝึกอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วย หัวข้อวิชา Page 4 หน้า ๓๔ เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๗๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕

ข้อใดคือขั้นตอนสุดท้ายในการฝึกอบรม

การประเมินผลการฝึกอบรม (Training Evaluation) ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายใน วงจรการฝึกอบรม (Training Cycle) ซึ่งเริ่มจากการวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม (Training Needs Assessment) การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective) การออกแบหลักสูตร (Course Design) และการดำเนินการฝึกอบรม (Training Conduct) ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยย้อนกลับที่สำคัญ ...

อบรมพนักงานมีอะไรบ้าง

หลักสูตรอบรมพนักงานทั่วไป.
1. หลักสูตรการทำงานเป็นทีม (C-01) ... .
2. หลักสูตรพัฒนาตนเองทุกด้าน ด้วยการเปลี่ยนทัศนคติ (C-02) ... .
3. หลักสูตรเปลี่ยนด้วยกัน ไปได้ไกล Change For Success (C-03) ... .
4. หลักสูตรอบรมพัฒนาบุคลิกภาพ Personality development (C-04) ... .
5. หลักสูตรการสื่อสารในองค์กร เพื่อการทำงานที่ดีขึ้น (C-05).

ทำไมต้องอบรมพนักงานใหม่

การฝึกอบรมจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดมาตรฐานที่คาดหวังไว้สำหรับพนักงานใหม่ได้อย่างชัดเจน ให้พวกเขาได้เข้าใจค่านิยมของคุณมากขึ้น และช่วยให้พวกเขาเรียนรู้กระบวนการทำงานของคุณ ซึ่งหมายความว่าพนักงานใหม่จะสามารถรับมือกับอุปสรรคที่คุณจ้างให้พวกเขาเข้ามาจัดการได้อย่างรวดเร็ว