จํา น. วน ตู้ ATM ใน ประเทศไทย

ตามรายงานล่าสุดของธนาคารประชาชนจีนจากภาพรวมการดำเนินงานของระบบการชำระเงินในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 พบว่าจำนวนเครื่องเอทีเอ็มทั่วประเทศลดลงต่ำกว่า 1 ล้านเครื่อง

ณ สิ้นไตรมาสจำนวนตู้เอทีเอ็มในประเทศอยู่ที่ 986,700 เครื่องลดลง 19,500 เครื่องจากสิ้นไตรมาสก่อนหน้า ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้จำนวนรวมลดลง 27,200 หน่วย

ตู้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลกเปิดตัวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2510 ที่สาขา Barclays Bank ใน Enfield ประเทศอังกฤษ ในปี 1987 ธนาคารแห่งประเทศจีนสาขาจูไห่ได้เปิดตัวตู้เอทีเอ็มเครื่องแรกในประเทศจีน ในเวลานั้นเครื่อง ATM มีมากกว่าหนึ่งตันและการติดตั้งต้องใช้เครน ตู้เอทีเอ็มส่วนใหญ่จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงผล

ในปี 1993 จีนเปิดตัว โครงการบัตรทอง โดยมุ่งเน้นที่การสร้างเครือข่ายบัตรเครดิตทั่วประเทศ หลังจากนั้นความต้องการตู้เอทีเอ็มของธนาคารเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อมาจีนได้พัฒนาเป็นตลาดตู้เอทีเอ็มที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ธนาคารประชาชนจีนเปิดเผยว่า เครื่องเอทีเอ็มของจีนพุ่งแตะระดับสูงสุดที่ 1,110,800 เครื่อง หลังเพิ่มเครื่องใหม่ 150,200 เครื่อง ณ สิ้นปี 2561 ที่ผ่านมา

ดูเพิ่มเติมที่:WeChat Pay Score เปิดตัวบริการจัดส่งทันที

ด้วยความนิยมของการชำระเงินที่ไม่ใช่เงินสดในประเทศจีนโดยเฉพาะการชำระเงินผ่านมือถือจำนวนตู้เอทีเอ็มทั่วประเทศลดลงเป็นครั้งแรกในปี 2562 ลดลง 13,100 เครื่องเป็น 1,097,700 เครื่องในระหว่างปี แนวโน้มขาลงในปี 2563 มีความชัดเจนมากขึ้นโดยลดลง 83,900 หน่วย

อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมโดยทั่วไปเชื่อว่าแม้ว่าตลาดเครื่อง ATM จะหดตัวทุกปี แต่เครื่อง ATM จะไม่หายไปเป็นเวลานาน เงินสดและการชำระเงินมือถือจะมีอยู่ในสถานะของการพึ่งพาซึ่งกันและกันและการพัฒนาร่วมกันเป็นเวลานาน

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้ แน่นอนว่าการจับจ่ายใช้สอยจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ได้เตรียมสำรองธนบัตรชนิดราคาต่าง ๆ เพื่อรองรับความต้องการไว้อย่างเพียงพอ โดยประมาณการว่าธนาคารพาณิชย์จะเบิกจ่ายธนบัตรจาก ธปท. ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนเทศกาลปีใหม่ เป็นมูลค่าสุทธิประมาณ 100,000 ล้านบาท เรามาดูกันว่าธนาคารขนาดใหญ่ในไทยรายได้บ้างที่มีการประกาศสำรองเงินสดสำหรับให้บริการในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 ที่จะถึงนี้

จํา น. วน ตู้ ATM ใน ประเทศไทย

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)

ส่วนทางด้านธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ได้มีการแจ้งเตรียมสำรองเงินสดสำหรับให้บริการในสาขาและเครื่องเอทีเอ็ม เพื่อรองรับการใช้จ่ายช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2565-3 มกราคม 2566 รวมทั้งสิ้น 35,600 ล้านบาท ในจำนวนนี้แบ่งเป็นการสำรองเงินสดผ่านช่องทางสาขา จำนวน 8,700 ล้านบาท โดยเป็นเงินสำรองสำหรับสาขาในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 3,700 ล้านบาท และสาขาในเขตภูมิภาค จำนวน 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ปัจจุบันธนาคารกสิกรไทยมี 824 สาขาทั่วประเทศ

สำหรับการสำรองเงินสดเพื่อเครื่องเอทีเอ็ม (K-ATM) ที่มีอยู่จำนวนกว่า 9,000 เครื่องทั่วประเทศ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 26,900 ล้านบาท แบ่งเป็นการสำรองเพื่อบรรจุเครื่องเอทีเอ็มในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 12,000 ล้านบาท และเอทีเอ็มในเขตภูมิภาค จำนวน 14,900 ล้านบาท

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

ขณะที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) สำรองธนบัตรช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 เพื่อรองรับการใช้บริการของลูกค้าเพิ่มเติมจากภาวะปกติโดยรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 39,000 ล้านบาท โดยเป็นการสำรองเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 5%  เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวดีอย่างต่อเนื่องและภาครัฐเน้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ รวมทั้งการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามามากขึ้น โดยแบ่งเป็นการสำรองธนบัตรผ่านตู้เอทีเอ็ม จำนวน 32,500 ล้านบาท และสาขา จำนวน 6,500 ล้านบาท (ข้อมูลปัจจุบัน ณ. วันที่ 30 พ.ย. 2565 ธนาคารมีสาขาทั้งสิ้น 776 สาขา มีเครื่องเอทีเอ็มรวม 12,451 เครื่อง)

ธนาคารกรุงเทพ

ส่วนทางด้าน ธนาคารกรุงเทพ(BBL )เปิดเผยว่า ช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ ระหว่างวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565– วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2566 ทางธนาคารได้ดำเนินการสำรองเงินสดไว้ให้บริการแก่ลูกค้าเพิ่มเติมจากภาวะปกติโดยรวมทั้งสิ้นประมาณ 45,000 ล้านบาท ผ่านช่องทางบริการเอทีเอ็มที่มีเกือบ 10,000 จุดทั่วประเทศ ควบคู่ไปกับบริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารที่พร้อมอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถทำรายการธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง 

เช่น เครื่องบัวหลวงเอทีเอ็ม (ATM) เครื่องบัวหลวงรับฝากเงินสดอัตโนมัติ (CDM) บริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking) และบริการโมบายแบงก์กิ้ง จากธนาคารกรุงเทพ (Bangkok Bank Mobile Banking) บริการบัวหลวงโฟน โทร. 1333 หรือ 0-2645-5555 รวมถึงบริการรับชำระสินค้าและบริการผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR Code) เป็นต้น

นอกจากนี้ ในช่วงวันหยุดดังกล่าวลูกค้ายังคงสามารถใช้บริการทางการเงินของธนาคารกรุงเทพได้ที่สาขาไมโครภายในห้างสรรพสินค้าและจุดชุมชนกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงบริการตัวแทนธนาคารที่รองรับธุรกรรมในการฝาก-ถอนเงินสด ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส ในร้าน 7-Eleven, โลตัส, บริการ [email protected] ของไปรษณีย์ไทย และบริการผ่านตู้บุญเติม (ฝากเงินสด) ซึ่งมีจุดให้บริการรวมกันกว่า 140,000 แห่งทั่วประเทศ 

ดังนั้น ลูกค้าธนาคารจึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถเบิกถอนเงินสดสำหรับใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ ตลอดจนทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างราบรื่น ทั้งนี้ สาขาทั่วประเทศของธนาคารจะเปิดทำการเป็นปกติตั้งแต่วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยสังคมไร้เงินสดเริ่มส่งผล คนใช้บริการสาขาและตู้เอทีเอ็มน้อยลง ส่งผลจำนวนตู้เอทีเอ็ม และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ของแบงก์ในปี 2561 เติบโตลดลง และ “ติดลบ”เป็นครั้งแรกรอบ 35ปี

 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า  ในปี 2561 จำนวนตู้เอทีเอ็มและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 57,554 เครื่อง มีอัตราการเติบโตติดลบ 0.98% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือลดลงจาก 5.17%จากปี2560และเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 35 ปี นับจากการติดตั้งเอทีเอ็มเครื่องแรกในประเทศไทยซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

สะท้อนว่าบทบาทของตู้เอทีเอ็มที่มีต่อธนาคารพาณิชย์เริ่มเปลี่ยนแปลงไป จากในอดีตที่ตู้เอทีเอ็มนับเป็นช่องทางที่สำคัญช่องทางหนึ่งในการสร้างรายได้ค่าธรรมเนียม แต่ในปัจจุบันธนาคารแต่ละแห่งแข่งขันกันพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อการเข้าถึงลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

ส่งผลให้ปริมาณการทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏบนช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และกระทบต่อสัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคารจากการใช้ตู้เอทีเอ็มให้มีสัดส่วนที่เล็กลง ขณะที่ปริมาณการถอนเงินสดผ่านตู้เอทีเอ็มในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2561 ลดลงจากสิ้นปี 2560 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการใช้เงินสดของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มลดลงในอนาคต

ส่งผลให้การประกอบธุรกิจเอทีเอ็มของธนาคารในปัจจุบันเริ่มเกิดความไม่คุ้มค่าจากปริมาณการทำธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็มที่ลดลง ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องทบทวนบทบาทของตู้เอทีเอ็มในปัจจุบันและอนาคต อย่างไรก็ตามหากความต้องการใช้เงินสดลงลงอย่างรวดเร็ว อาจเป็นปัจจัยเร่งให้การประกอบธุรกิจเอทีเอ็มในอนาคตอาจเกิดขึ้นในลักษณะการใช้ตู้เอทีเอ็มร่วมกันระหว่างธนาคารเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อน

ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ทุก ๆ การลดลง5% ของจำนวนตู้เอทีเอ็มที่มีทั่วประเทศในปัจจุบัน จะช่วยลดต้นทุนทั้งหมดในการประกอบธุรกิจเอทีเอ็มให้แก่สถาบันการเงินทั้งระบบได้ 5,220 – 5,880 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 0.03% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)โดยประมาณ  อย่างไรก็ดี ต้นทุนที่จะลดลงยังคงขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้เอทีเอ็มร่วมกันในอนาคตตามกฎระเบียบข้อบังคับของทางการที่จะประกาศใช้ในระยะข้างหน้า และการเจรจาร่วมกันระหว่างธนาคารพาณิชย์และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง