ภาพเวกเตอร์ใช้การคำนวณหลักการใด

ภาพที่เกิดจากบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB  ซึ่งประกอบด้วยสีแดง (Red) สีเขียว (Green)  และสีน้ำเงิน (Blue)  โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel)ซึ่งมาจากคำว่า  Picture  กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี  เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster และแบบ  Vector

หลักการของกราฟิกแบบ  Raster

หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ  Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ  หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสีเหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล (Pixel) ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster  จะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ ดังนั้นการกำหนดพิกเซลจึงควรกำหนดให้เหมาะกับงานที่สร้างคือ ถ้าต้องการใช้งานทั่ว ๆ ไปจะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 100-150 ppi (Pixel/inch)  “จำนวนพิกเซลต่อ 1 ตารางนิ้ว”  ถ้าเป็นงานที่ต้องการความละเอียดน้อยและแฟ้มภาพมีขนาดเล็ก เช่น ภาพสำหรับใช้กับเว็บไซต์จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 72 ppi  และถ้าเป็นแบบงานพิมพ์ เช่น นิตยสาร  โปสเตอร์ขนาดใหญ่  จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ  300-350 เป็นต้น  ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Raster  คือ สามารถแก้ไขปรับแต่งสี ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพกราฟิกแบบRaster คือ  Adobe  PhotoShop, Adobe PhotoShopCS, Paint  เป็นต้น

หลักการของกราฟิกแบบ  Vector

หลักการของกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง  รูปทรง  เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง  แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster  ภาพกราฟิกแบบ Vector  นิยมใช้เพื่องานสถาปัยต์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร  การออกแบบรถยนต์  การสร้างโลโก  การสร้างการ์ตูน เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบ Vector คือ โปรแกรม  Illustrator, CoreDraw, AutoCAD, 3Ds max เป็นต้น  แต่อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลภาพ เช่น จอคอมพิวเตอร์จะเป็นการแสดงผลภาพเป็นแบบ  Raster

ในงานกราฟิก ภาพที่เรานำมาใช้กันมีอยู่สองแบบ นั่นคือ Vector และ Bitmap หรือบางคนอาจจะรู้จักในชื่อ Raster วันนี้เราจึงมาพูดถึงภาพ 2 ประเภทนี้กันค่ะ ว่าภาพแตกต่างกันอย่างไร ข้อดีข้อเสีย และรวมถึงจะนำไปใช้งานแบบไหนได้บ้าง วันนี้เราจะพาทุกคนมาหาคำตอบกันค่ะ

Vector

คือ ภาพชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมใช้สูตรหลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การวาดเส้น หรือวัตถุทรงเลขาคณิต ซึ่งมีความสามารถที่จะย่อ และขยายได้โดยไม่เสียคุณภาพงาน ภาพไม่แตก จึงเหมาะกับงานป้ายโฆษณา หรือโปสเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มากๆ
ข้อดี - ภาพสามารถย่อขยายได้โดยไม่สูญเสียความละเอียด สามารถดัดแปลง และแก้ไขได้กลายอย่าง
ข้อเสีย - มีขนาดไฟล์ที่ใหญ่กว่า Bitmap
ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะจึงจะสามารถเข้าถึงไฟล์ได้ และไฟล์นั้นค่อนข้างหนักมาก

ภาพเวกเตอร์ใช้การคำนวณหลักการใด

Bitmap

คือไฟล์ภาพปกติทั่วไปที่ทุกคนรู้จัก ก็คือ JPEG, BMP, Tiff, PNG เป็นภาพที่ประกอบด้วยจุดสีต่างๆ หรือที่เรียกกันว่า Pixel ถ้าหากเราขยายภาพเกินกว่า 100% ภาพจะแตกเป็นเม็ดๆ ได้ ต่างจากไฟล์ Vector อย่างสิ้นเชิง หากต้องการใช้ไฟล์ Bitmap สำหรับงานพิมพ์ จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความละเอียด 300 dpi หรือมากกว่าเท่านั้น
ข้อดี - นามสกุลไฟล์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และเข้าถึงไฟล์ได้ง่าย
ข้อเสีย - เมื่อย่อขยายภาพประเภทนี้ อาจจะทำให้เกิดการสูญเสียความละเอียดของภาพ 


ทุกคนคงเห็นแล้วว่า ทั้งภาพ Vector & Bitmap เป็นภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาให้รองรับงานที่ต่างกัน เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะกับประเภทของงานที่จะทำ และรู้ถึงข้อจำกัด ข้อดี ข้อเสีย ของทั้งสองไฟล์นี้อย่างชัดเจน และนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ และเหมาะสมมากที่สุดค่ะ