องค์กร สิ่งแวดล้อม ภาครัฐ มี อะไร บาง

ภาครัฐ และ 5 องค์กรระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม เดินหน้ากำหนดยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และจัดการกลุ่มป่ามรดกโลกทางธรรมชาติ โดยเฉพาะการคุ้มครองและศึกษาวิจัยทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ป่า

พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และองค์กรระหว่างประเทศ 5 หน่วยงาน คือ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) , มูลนิธิฟรีแลนด์ (Freeland) , สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) , องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) และ สมาคมสัตว์วิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการอนุรักษ์และจัดการกลุ่มป่ามรดกโลกทางธรรมชาติ เนื่องจากมรดกโลกทางธรรมชาติของประเทศไทยมีแนวเขตบางส่วนติดต่อกับพื้นที่คุ้มครองของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสัตว์ป่าที่มีเส้นทางการหากินและการย้ายถิ่นฐานอาศัยไปตามความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่า มีการเคลื่อนย้ายไปมาข้ามพรมแดนจำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้ง ให้ทุกภาคีเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และคุ้มครองทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า การบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติและพื้นที่นำเสนอเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติของประเทศไทย การดำเนินงานที่สนับสนุนและสอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ในขอบเขตการทำงาน 6 แนวทาง คือ การป้องกันคุ้มครองและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า // การศึกษาวิจัยทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ป่า การพัฒนา แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิชาการ // การรณรงค์และประชาสัมพันธ์เผยแพร่ และการจัดกิจกรรมร่วมกัน // การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า // การเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะให้บุคลากรและเจ้าหน้าที่ของภาคีโดยผ่านช่องทางต่างๆ และสุดท้าย ความร่วมมืออื่นๆตามที่พระขี่แต่ละฝ่ายตกลงกัน จากนี้จะร่วมกันประชุมกำหนดยุทธศาสตร์วางแผนการดำเนินงานและแผนงานโครงการต่างๆให้บรรลุเป้าหมายของการจัดทำบันทึกดังกล่าว เพื่อนำไปสู่ความอุดมสมบูรณ์และความยั่งยืนของทรัพยากรที่มีคุณค่าอันเป็นสากลในแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

ขณะที่ นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ประเทศไทย มีแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง ประกอบด้วย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกของไทยประกาศขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 ครอบคลุมพื้นที่อนุรักษ์ 3 แห่ง คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง รวมพื้นที่ 6,222  ตารางกิโลเมตร และสุดท้าย กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่  ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งที่ 2 ของไทยเมื่อปี 2548 ครอบคลุมพื้นที่อนุรักษ์ 5 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ รวมพื้นที่ 6,152  ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ถึง 6 จังหวัด ส่วนกลุ่มป่าแก่งกระจาน เป็นพื้นที่คุ้มครองอยู่ระหว่างการนำเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติตั้งแต่ปี 2556 ถึงปัจจุบัน มีพื้นที่คุ้มครอง 4 แห่ง คืออุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี รวมพื้นที่ 4,822 ตารางกิโลเมตร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นของทุกคน ในสังคมการจะช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ จะต้องเป็นการร่วมมือกันหลายๆ ฝ่ายไม่ว่าจะเป็นส่วนบุคคล แต่ละคนที่จะต้องมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว องค์กรภาครัฐที่ต้องเข้ามาขับเคลื่อนเป็นตัวหลักและสนับสนุนฝ่ายต่างๆ อีกทั้งองค์กรที่เป็นเอกชนซึ่งเป็นพลังส่วนหนึ่งในการผลักดันและจัดให้มีกิจกรรมและโครงการต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ที่จะได้นำมาแนะนำให้รู้จักกันมีทั้งหมด 5 แห่งซึ่งน่าสนใจและน่าติดตามทั้งข่าวคราวและกิจกรรมที่เปืดรับให้คนทั่วไปได้ไปร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติด้วยกัน

1.มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย (The Wild Animal Rescue Foundation of Thailand)

เป็นมูลนิธิที่ช่วยชีวิตสัตว์ป่ามีกิจกรรม รณรงค์ ต่อต้าน และการป้องกันการล่าสัตว์ป่ารวมถึงการทารุนสัตว์ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือสัตว์ป่าทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ป่าที่มีสภาพพิการหรือต้องถูกทารุณ ทางมูลนิธิจะช่วยเหลือและนำให้มามีชีวิตใกล้เคียงกับธรรมชาตากที่สุด ในพื้นที่ศูนย์ของมูลนิธิฯ และทางมูลนิธิยังจัดหาความช่วยเหลือ มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญทั้งในประเทศไทยเอง และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เน้นการฝึกสัตว์ป่าและลูกสัตว์ป่าให้ช่วยเหลือตัวเองได้ จากนั้นก็จะนำกลับคืนสู่ป่า มีกิจกรรมอบรมและให้ความรู้แก่ประชาชนรวมถึงผู้สนใจ ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 จากเดิมเป็นศูนย์พิทักษ์สัตว์ป่า สนับสนุนและแนะนำช่วยเหลือจากสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านเกี่ยวกับสัตว์ป่า อีกทั้งยังมีอาสาสมัครมาจากทั่วโลก มูลนิธิได้รับอนุญาตให้ดำเนินการในฐานะ มูลนิธิ ตั้งแต่วันที่(Phone number hidden)กุมภาพันธ์ 2535 ในนาม มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย

2. มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมป์

มูลนิธินี้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2526 ผู้บุกเบิกงานมูลนิธิคือ นายแพทย์ บุญส่ง เลขะกุล จุดประสงค์ของมูลนิธิคือช่วยเหลือสัตว์ป่าโดยไม่ขัดกับกฎหมาย รับให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์ป่า รณรงค์ เผยแพร่ข้อมูลและประสานงานกับองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฟื้นฟูสภาพป่าและนำสัตว์คืนสู่ป่า และยังสร้างเครือข่ายที่เป็นตัวแทน กระบอกเสียงเพื่อทำงานของมูลนิธิทั่วประเทศไทย

3. มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

จัดตั้งวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2529 ประธานในขณะนั้นคือ พลเอกชุมพล โลหะชาละ เริ่มจากการจัดมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือเยาวชนที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานเขาใหญ่และโดยรอบที่ด้อยโอกาส ต่อมาจึงขยายขอบข่ายงานของมูลนิธิมาช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของเขาใหญ่ มีกิจกรรมต่างๆ ในช่วงต่างๆ ตลอดปี โดยเฉพาะการจัดหหาส่งเสริมสวัสดิการให้เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับการคุ้มครองดูแลป่าเขาใหญ่ เจ้าหน้าที่ที่คอยปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับป่าเขสาใหญ๋ ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

4. มูลนิธิเพื่อนช้าง

ที่มูลนิธินี้มีโรงพยาบาลช้างแห่งแรกของโลกตั้งอยู่ เพื่อรักษาช้างโดยสัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านช้างโดยเฉพาะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยมีภารกิจเพื่อช่วยเหลือช้างที่บาดเจ็บ ถูกทำร้าย ช้างพิการชราต่างๆ กิจกรรมหลักที่คนทั่วไปมีส่วนร่วมได้คือการบริจาคเงินเพื่อการใช้จ่ายของมูลนิธิ

5. สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย

เป็นองค์กรเอกชนที่มีการดำเนินงานมานานกว่า 20 ปีเริ่มจากก่อตั้งเป็นชมรมดูนกจากกลุ่มผู้รักนกและธรรมชาติ ซึ่งมีกิจกรรมปลูกฝังให้คนรักนกและได้เห็น เรียนรู้ถึงนกที่สวยงามเมื่ออยู่ในธรรมชาติ จัดกิจกรรมดูนกและอนุรักษ์ธรรมชาติต่างๆ ตลอดทั้งปี

องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง

1.มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย (The Wild Animal Rescue Foundation of Thailand) ... .
2. มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมป์ ... .
3. มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ... .
4. มูลนิธิเพื่อนช้าง ... .
5. สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย.

หน่วยงานทางสิ่งแวดล้อมของรัฐมีอะไรบ้าง

หน่วยงานในสังกัด.
สำนักงานรัฐมนตรี.
สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรมป่าไม้.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.
กรมควบคุมมลพิษ.
กรมทรัพยากรธรณี.
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.

WWFมีหน้าที่อะไร

WWF ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องดูแลรักษาธรรมชาติและทรัพยากรสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการในการวางแผน การจัดการ และตัดสินใจ โดยเน้นการทำงานเพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม

องค์กรใดที่เป็นองค์กรที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจากต่างประเทศ

United Nations Environment Programme. UNEP เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้องค์การสหประชาชาติ ทำหน้าที่กำหนดวาระด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก ส่งเสริมการดำเนินการที่สอดคล้องกันของมิติด้านสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นผู้สนับสนุนที่มีความน่าเชื่อถือด้านสิ่งแวดล้อมในระดับโลก