โครงสร้างองค์กร บริษัท เอกชน

โครงสร้างองค์กร คือ แผนภาพของบริษัท อธิบายถึงหน้าที่ ตำแหน่งในบริษัท ของพนักงานในตำแหน่งต่างๆในองค์กร และ ขั้นตอน วิธีการติดต่อสื่อสาร รวมไปถึงการตัดสินใจ การทำงานร่วมกันในองค์กร (โครงสร้างองค์กร ภาษาอังกฤษ “Organization Structure“)

บทบาทการทำงาน

ถ้าพูดถึง โครงสร้างองค์กร ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ต้องพูดไปถึงการดำเนินงานที่จำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผน รู้หน้าที่ และ มีความรับผิดชอบ ในตำแหน่งหน้าที่ของตัวเองที่ดี เท่ากับว่า การที่จะทำให้โครงสร้างองค์กรดีนั้น องค์ประกอบ 3 ข้อที่ต้องเกี่ยวข้อง คือ ประชากร ประสบการณ์ และ ความสามารถ เพื่อต่อยอดการดำเนินธุรกิจตามกลยุทธ์ในองค์กรได้

และวิธีความสำเร็จของพนักงานในองค์กร สามารถทำได้โดยการใช้หลักการ KPI ที่ย่อมาจากคำว่า Key Performance Indicator แปลว่า ตัวชี้วัดความสำเร็จจากการทำงาน

โครงสร้างองค์กร บริษัท เอกชน

KPI ตัวชี้วัดความสำเร็จ

ตัวชี้วัดความสำเร็จจากการทำงาน ของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะในส่วนของผู้ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาทุกอย่างร่วมกับคนในทีม อ่านต่อ

ความสำคัญของ โครงสร้างองค์กร

ความสำคัญของการจัดโครงสร้างองค์กรให้มีคุณภาพ สามารถส่งผลถึงเป้าหมายของการทำบริษัท นั้นก็คือ รายได้ และ กำไร จึงสามารถตีความได้ว่า การจัดการโครงสร้างองค์กรที่ดี เป็น กุญแจสำคัญ เพราะจะช่วยกำหนดขอบเขตการทำงานของคนในองค์กรได้ และ กำหนดเป้าหมายได้ชัดเจน

ตําแหน่งในบริษัท มีอะไรบ้าง

โครงสร้างองค์กร บริษัท เอกชน

CEO ประธานบริหารสูงสุด

ผู้บริหารระดับที่สูงที่สุดในองค์กร ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องทำหน้าที่ในการตัดสินใจในตัวเลือกต่าง ๆ ที่ดีที่สุดจากนโยบายที่ทางด้านผู้จัดการเสนอมา อ่านต่อ

โครงสร้างองค์กร บริษัท เอกชน

CFO ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน

หน้าที่สำคัญของผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้นั้นจะต้องรับผิดชอบงานทั้งหมดที่เกี่ยวของกับการเงินและการบัญชี อ่านต่อ

โครงสร้างองค์กร บริษัท เอกชน

CTO ประธานดูแลด้านเทคโนโลยี

ผู้ที่คอยควบคุมพนักงานในแผนกให้การจัดการระบบต่าง ๆ ภายในบริษัทอย่างราบรื่น ไม่เกิดการติดขัดปัญหาใด ๆ ในเรื่องของระบบการจัดการเทคโนโลยี คอยแก้ไขปัญหาและสร้างความปลอดภัย อ่านต่อ

โครงสร้างองค์กร บริษัท เอกชน

CIO ประธานเจ้าหน้าที่สารสนเทศ

ผู้มีอำนาจสูงสุดในการดูแลบริหารในส่วนนี้ซึ่งจะมีความสำคัญในเรื่องของการให้บริการแก่ลูกค้าและองค์กรรับผิดชอบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กร อ่านต่อ

โครงสร้างองค์กร บริษัท เอกชน

CMO ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด

ผู้ที่มีอำนาจการตัดสินใจสูงสุดในแผนกของการขายและการให้บริการแก่ลูกค้า ไม่ว่าจะมีปัญหาใดก็ตามจะต้องมีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ลูกค้าพึงพอใจได้ อ่านต่อ

โครงสร้างองค์กร บริษัท เอกชน

COO ประธานฝ่ายปฏิบัติการ

ผู้ดูแลความเรียบร้อยในทุกส่วนในเรื่องของการจัดการและการบริหาร แล้วคอยรายงานความเคลื่อนไหวและบทสรุปให้แก่ CEO ได้อย่างใกล้ชิด อ่านต่อ

ตัวอย่างแผนผัง โครงสร้างองค์กร ตำแหน่งในบริษัท

โครงสร้างองค์กร บริษัท เอกชน
โครงสร้างองค์กรของ : euroports

โครงสร้างองค์กร บริษัท เอกชน
โครงสร้างองค์กรของ : ttbbank

และทั้งหมด คือ โครงสร้างองค์กร ตำแหน่งในบริษัท ซึ่งในแต่ละบริษัทก็จะมีการจัดลำดับและ แผนผังที่แตกต่างออกไปได้ อยู่ที่พื้นฐานวัฒนธรรม ขนาดขององค์กร และ เป้าหมายสูงสุดขององค์กรนั้นเอง

“สภาองค์กรของผู้บริโภค” ชำแหละค่าไฟแพง เปิด 3 สาเหตุรัฐทำโครงสร้างผลิตไฟฟ้าพัง แฝงนโยบายในแผน PDP เพิ่มสัดส่วนให้โรงไฟฟ้าเอกชนผลิตไฟกว่า 65% ลดบทบาท กฟผ. เหลือแค่ 30% กันก๊าซในอ่าวไทยให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อ้างต้องนำเข้าราคาสูง ด้าน “สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร” เผยข้อมูลความต้องการใช้ไฟเกินจริงบิดเบือนตัวเลข เข้าทางต้องเพิ่มกำลังการผลิต สุดท้ายรัฐรับซื้อราคาแพง ผลักภาระให้ประชาชนจ่ายค่าไฟพุ่ง

วันที่ 7 ธันวาคม 2565 นางรสนา โตสิตระกูล อนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวในงาน เสวนาวิชาการ “รัฐผิดพลาด เอื้อทุนใหญ่ ทำค่าไฟแพง ขัดรัฐธรรมนูญ ?” ว่า ในอดีตรัฐบาลมีความพยายามที่จะแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จากรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชน

  • ขั้นตอน เช็กราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2566 ทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
  • บำรุงราษฎร์-เมดพาร์ค ชิงแย่งตัวพยาบาล ทุ่มเงินแสนล็อกตัวหัวกะทิอยู่ยาว
  • งานฉลองสมรส ลูกสาวสุวัจน์ บิ๊กการเมือง-นักธุรกิจชั้นนำ แห่ยินดีคับคั่ง

โครงสร้างองค์กร บริษัท เอกชน

โดยการเป็นรูปแบบเอกชนที่มีนักลงทุนเข้ามาบริหาร ซึ่งท้ายที่สุดก็ไม่สำเร็จ แต่โครงสร้างองค์กรได้มีการปรับเปลี่ยนไปอย่างมาก จากกฎหมายให้ กฟผ. ผลิตไฟฟ้าในสัดส่วน 51% ปัจจุบันเหลือสัดส่วนเพียง 30% เท่านั้น ที่เหลือกว่า 65% เป็นการเปิดช่องให้บริษัทเอกชนตั้งโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าขาย โดยมี กฟผ.เป็นผู้รับซื้อในราคาที่แพงกว่าราคาขาย

จึงกล่าวได้ว่าต้นทุนของค่าไฟฟ้าปัจจุบันมันมีทั้งหมด 3 ส่วนเป็นองค์ประกอบ คือ 1.ราคาเชื้อเพลิง ซึ่งไทยอ้างว่าก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยกำลังหมดลง จำเป็นต้องนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศ ซึ่งราคาผันผวนและแพงมากในปัจจุบัน แต่แท้จริงแล้วนั้นก๊าซในอ่าวไทยยังมีคุณภาพและเพียงพอ แต่ได้กันไว้ให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นหลัก และเปิดทางให้เอกชนผลิตไฟขายด้วยสัญญาค่าพร้อมจ่าย (AP) ราว 25% ซึ่งทำให้แต่ละปีต้องเสียค่าส่วนนี้ 28,000 ล้านบาท

2.การซื้อไฟ ในส่วนนี้รัฐจะหาแหล่งซื้อไฟจากที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัทเอกชนในราคา 2-3 บาท/หน่วย รวมถึงซื้อไฟจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว ซึ่งเป็นอัตราซื้อที่แพงกว่าราคาขาย

3.นโยบายรัฐ ในแผน PDP จะกำหนดว่าแต่ละปีต้องมีการผลิตไฟฟ้าเท่าไร จากโรงไฟฟ้าเอกชนกี่โรง จาก กฟผ.เท่าไร จากพลังงานหมุนเวียน ลม แสงอาทิตย์ หรืออื่น ๆ แล้วเปิดประมูลกำหนดการรับซื้อไฟ ตามอัตราส่วน ราคาต่าง ๆ แล้วแต่ประเภท ซึ่งนี่ทำให้เป็นการเปิดช่องเอื้อนายทุน ที่เป็นโรงไฟฟ้าเอกชนเข้ามามีสัดส่วนการผลิตที่สูงกว่ารัฐ

โครงสร้างองค์กร บริษัท เอกชน

ในองค์ประกอบของค่าไฟดังกล่าว จึงส่งผลให้ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) สูงขึ้น แล้วเก็บค่าไฟแพงกับประชาชน

นายชาลี เจริญลาภนพรัตน์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ในแต่ละปีจะมีการเปิดเผยข้อมูลและสถิติความต้องการใช้ไฟในประเทศ ซึ่งรัฐจะประเมินตัวเลขออกมาว่ามีความต้องการใช้ไฟสูงขึ้นทุกปี ทั้งจากสังคมเมือง ภาคการผลิต อุตสาหกรรม ซึ่งมักเป็นตัวเลขที่เกินจริง จากนั้นในแผน PDP ก็จะกำหนดให้ต้องเพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งความต้องการใช้ไฟขณะนี้อยู่ราว 32,000 เมกะวัตต์ ขณะที่ไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมอยู่ที่ 50,500 เมกะวัตต์ เกินกว่าความต้องการ 53-54%

Advertisement

นายประสาท มีแต้ม ประธานอนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า ค่า Ft ที่ปรับขึ้นทุก 1 สตางค์/หน่วย คิดเป็นเงิน 2,000 ล้านบาท ดังนั้น งวด ก.ย.-ธ.ค. 2565 ที่ปรับขึ้น 93 สตางค์/หน่วย ส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายของประเทศสูงถึง 800,000 ล้านบาท เป็นราคาค่าไฟที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์

นายปรีชา กรปรีชา รองประธานสหภาพด้านยุทธศาสตร์แผนงานและวิชาการ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวยอมรับว่า ปัจจุบันไทยมีสำรองไฟฟ้าสูงถึง 54% หากรัฐยังไม่ยับยั้งให้เอกชนผลิตไฟฟ้าเพิ่ม ประชาชนจะยังต้องจ่ายค่าไฟแพงแบบนี้เรื่อยไป

นายพงษ์ดิษฐ พจนา อดีตรองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) และนายบรรเจิด สิงคะเนติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวในทางเดียวกันว่า ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 56 พูดถึงเรื่องการบริหารจัดการสาธารณูปโภคพื้นฐานกิจการไฟฟ้า ระบุว่ารัฐมีสิทธิ์ในการผลิตไฟฟ้า และห้ามแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และให้ กฟผ.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจต้องมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 51% ซึ่งปัจจุบัน กฟผ.ผลิตเพียง 32% เท่านั้น และมีความพยายามแปรรูป กฟผ. จึงถือว่าปัจจุบันรัฐทำผิดกฎหมาย