การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กศน

๑.โครงการจัดกระบวนเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการการทำน้ำหมักชีวภาพ วันที่ ๒๗ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สถานที่ บ้านโนนตาล หมู่ที่ ๑๙ ตำบลท่าสองคอน  อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม  ๒.หลักการและเหตุผล           โครงการเศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการที่ต้องการสร้างภูมิคุ้มกันให้รับประชาชน ให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนโดยมุ่งให้ทุกภาคส่วนในชุมชนร่วมกันบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพของตนเองที่มีอยู่อย่างมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ การลดต้นทุนและปัจจัยการผลิต พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่มและสร้างโอกาสในการพัฒนาหรือเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนพึ่งพาตนเอง ได้อย่างยั่งยืนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองมหาสารคาม จึงได้จัดทำโครงการจัดการเรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓.วัตถุประสงค์          ๓.๑  เพื่อให้ผู้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบการวางแผนการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน          ๓.๒  เพื่อให้ผู้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้          ๓.๓  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบถึงฐานการเงินของตนเอง๔.เป้าหมาย (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});     เชิงปริมาณ        ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย บ้านโนนตาล หมู่ที่ ๑๙ ตำบลท่าสองคอน                       จำนวน ๘ คน    เชิงคุณภาพ        ร้อยละ ๘๐ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ การวางแผนการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน        ร้อยละ ๘๐ ผู้เข้ารับการอบรมมีอาชีพที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้


โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการ

การทำน้ำหมักจากเศษอาหารในครัวเรือน

วันที่  ๑๑  เดือน  กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๕๖๐

Show

ณ ศาลาประชาคมหมู่บ้าน SML บ้านโนนแต้ หมู่๔ ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

. หลักการและเหตุผล

             โครงการเศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการที่ต้องการสร้างภูมิคุ้มกันให้รับประชาชน ให้เข้มแข็ง

อย่างยั่งยืนโดยมุ่งให้ทุกภาคส่วนในชุมชนร่วมกันบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพของตนเองที่มีอยู่อย่าง

มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ การลดต้นทุนและปัจจัยการผลิต พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ

ในชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่มและสร้างโอกาสในการพัฒนาหรือเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจฐาน

รากให้กับชุมชนพึ่งพาตนเอง ได้อย่างยั่งยืนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองมหาสารคาม จึงได้จัดทำโครงการจัดการเรียนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

. วัตถุประสงค์

          ๑.  เพื่อให้ผู้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบการวางแผนการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

          ๒เพื่อให้ผู้กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

          ๓.  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบถึงฐานการเงินของตนเอง

. เป้าหมาย

        ประชาชน ตำบลท่าสองคอน  เป้า จำนวน    คน  ทำได้ จำนวน ๙ คน

การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กศน

โครงการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฏีใหม่ประจำตำบล

ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐

วันที่ ๒๔  เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

สถานที่ บ้านโนนสวรรค์หมู่ที่ ๑๐ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

๑. หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช รัชกาลที่ ๙ พระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทย เป็นหลักสำคัญที่ทุกภาคส่วนในสังคมได้น้อมนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อความเจริญงอกงามและความมั่นคงยั่งยืน ซึ่ง ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองมหาสารคาม ร่วมกับ กอ.รมน.จังหวัดมหาสารคาม ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนได้ตระหนักรู้และเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้องเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมให้เข้มแข็งยั่งยืนสืบต่อไป

          เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและถ่ายทอดขยายผลไปสู่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฏีใหม่ประจำตำบลขึ้นเพื่อดำเนินงานสนับสนุนแนวทางในการเผยแพร่องค์ความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ รวมทั้งชุมชนในรูปแบบ ชุมชนศึกษา และสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ โดยใช้ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล เป็นศูนย์กลางเผยแพร่ความรู้ในการพัฒนาชุมชน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองมหาสารคามจึงจัดโครงการขยายผลปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฏีใหม่ประจำตำบล สำหรับประชาชนในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม

๒. วัตถุประสงค์

๑.เพื่อให้ประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฏีใหม่ และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ ๙

๒. เพื่อพัฒนาสร้างเครือข่ายเกษตรในพื้นที่ให้มีความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฏีใหม่ การพัฒนาอาชีพต่างๆ โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการเรียนรู้

๓. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่นำความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตและถ่ายทอดขยายผลสู่ประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างกว้างขวาง

๓. กลุ่มเป้าหมาย

ประชาชน  ตำบลท่าสองคอน  เป้า จำนวน ๘ คน ทำได้ จำนวน ๘ คน

การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กศน

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมานานกว่า ๓๐ ปี ที่พระองค์ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนา    บนแนวหลักคิดพึ่งตนเองเพื่อให้เกิดความพอมีพอกิน พอใช้ ของคนส่วนใหญ่ โดยใช้หลักความพอประมาณ การคำนึงถึงการมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชา และการมีคุณธรรมเป็นกรอบในการปฏิบัติและการดำรงชีวิต ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้ สำนักงาน กศน. ได้น้อมนำแนวคิดดังกล่าว กำหนดเป็นยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๙ เป้าประสงค์ ข้อที่ ๓ ชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงและปรัชญา   คิดเป็น

วันที่ ๑๑ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

          จากสาวะสังคมปัจจุบันที่เมไปด้วยกระแสวัตถุ และความฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ จนทำให้คนหลงใหลเดินทางผิดไปตามกระแสนิยมจนกลาย โดยเฉพาะปัญหานี้สินที่ไม่มีวันจบสิ้น ยังไงก็ตามคนไทยต้องมีทางออกซึ่งการดำรงชีวิตให้อยู่รอดภายใต้สังคม ในปัจจุบันแนวทางหนึ่งที่คนไทยควรยึดถือคือ การพึ่งตนเอง  รู้จักการพอประมาณ และไม่ประมาทตามแนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมองเห็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง รู้จักการมีพออยู่พอกิน พอมี พอใช้  คำนึงถึงหลักเหตุผลและการประมาณตนเอง พร้อมกับเตือนสติประชาชนตนเองไม่ให้ประมาท โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินอันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต

         กศน. ตำบลท่าสองคอน  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองมหาสารคาม เห็นความสำคัญ ตระหนักในการดำเนินงานจัดกระบวนการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการทำบัญชีครัวเรือน

          ๑. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำบัญชีรายรับ –รายจ่ายในครัวเรือน

          ๒. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดทักษะ แนวคิด ในการจดบันทึกบัญชีรายรับ –รายจ่ายในครัวเรือน

          ๓. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้ไปถ่ายทอดและส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชน จดบันทึกรายรับ–รายจ่ายในครัวเรือน