จ่ายค่า ลิขสิทธิ์ ไปต่างประเทศ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

การทําธุรกรรมระหว่างประเทศ อาจจะมีการจ่ายค่าบริการไปยังต่างประเทศ

  • ค่าบริการใดบ้างที่เข้าข่าย จะต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย หรือ ต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • ตรวจสอบให้ดีจะได้ไม่ผิดต่อกฎหมาย และไม่เสียผลประโยชน์เพราะบางประเทศอาจมีข้อยกเว้น หรือ ลดอัตราภาษี

  • การทําธุรกรรมระหว่างประเทศ อาจจะมีการจ่ายค่าบริการไปยังต่างประเทศ ซึ่งสิ่งที่จะต้องคํานึงถึงก็คือ ค่าบริการเหล่านั้น จะต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย หรือต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

    กรณีนี้ขอกล่าวถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายก่อน จากประสบการณ์ที่เคยเจอ คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า การจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แต่ในความเป็นจริงนั้น จะต้องพิจารณาในรายละเอียดว่า

    • จ่ายไปยังประเทศใด

    • จ่ายค่าบริการประเภทไหน

    วิธีดูการหักภาษี ณ ที่จ่ายสําหรับการจ่ายค่าบริการ ให้ดูที่กฎหมายหลักก่อน คือมาตรา 70 ซึ่งมีใจความว่า

    มาตรา 70

    “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3){4}(5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย

    การเสียภาษีกรณีนี้ กฎหมายให้เสียโดยวิธีหักภาษี คือ

    • ผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวจะต้องหักภาษี จากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามวิธีการ และอัตราดังหัวข้อถัดไป

    • ทั้งนี้ไม่ว่าใครจะเป็นผู้จ่ายเงินได้ก็ตาม ภาษีที่หักไว้ในกรณีนี้เป็นภาษีที่เสียเด็ดขาด จึงเสร็จสิ้นเป็นรายครั้งไป”

    ในการพิจารณาเรื่องภาษีหัก ณ ที่จ่ายในการจ่ายค่าบริการไปยังต่างประเทศนั้น

    1 คือต้องพิจารณาว่า ค่าบริการนั้น จัดเป็นเงินได้ประเภท 40(2) จนถึง (6) หรือไม่ ถ้าหลุดจาก 5 ประเภทนี้แล้ว

    = ไม่ต้อง หัก ณ ที่จ่าย

    2 แต่ถ้าตกอยู่ใน 5 ประเภทนี้ ยังต้อง พิจารณาต่อว่ากิจการของคู่ค้ารายนั้น ตั้งอยู่ในประเทศที่มีการจดอนุสัญญาภาษีซ้อนกับเราหรือไม่

    = ถ้ามี อาจจะได้รับยกเว้น หรือลดอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย

    สําหรับเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็แค่พิจารณาว่าผลของงานบริการนั้นได้ถูกใช้ ในประเทศไทยหรือไม่

    ถ้าคําตอบคือใช่ ก็ต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม

    ตัวอย่าง

    1.การจ่ายค่าโฆษณา

    ถ้าบริษัทในประเทศไทยมีการจ่ายค่าโฆษณาใน Search Engine ให้กับบริษัท G. ในต่างประเทศ เรามาพิจารณาว่า ค่าโฆษณาจัดอยู่ในเงินได้ประเภทใด?

    คําตอบคือ ค่าโฆษณา จัดอยู่ในเงินได้ประเภท 40(8) ซึ่งไม่ได้ถูกระบุอยู่ในมาตรา 70 ดังนั้น การจ่ายค่าโฆษณาดังกล่าวจึงไม่ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย และจึงไม่ต้องพิจารณาต่อว่า คู่ค้านั้นตั้งอยู่ในประเทศใด

    ส่วนในการพิจารณาเกี่ยวกับการนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ให้พิจารณาว่า

    บริการดังกล่าวนั้น ให้บริการในต่างประเทศ แต่มีการส่งผลของการให้บริการมาใช้ในประเทศไทยหรือไม่

    แนววินิจฉัยอันน่ารักของกรมสรรพากรก็คือ

    การโฆษณาบน Search Engine นั้น แน่นอนต้อง มีคนในประเทศไทยเห็น จึงถือว่าเป็นบริการ ในต่างประเทศที่นำผลของการบริการมาใช้ในราชอาณาจักร ดังนั้น

    • บริษัทผู้จ่ายเงินได้นี้ ต้องนําส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของค่าบริการ ในนามของบริษัทในต่างประเทศ ด้วยแบบฟอร์ม ภ.พ.36

    • แต่ในขณะเดียวกันบริษัทผู้จ่ายเงินได้ก็สามารถนําใบเสร็จที่ได้จากกรมสรรพากรมาหักเป็นภาษีซื้อของบริษัทตนเองได้เช่นกัน

    ตัวอย่าง

    2 การจ่ายค่า Software

    บริษัทในไทยซื้อ Software บัญชี จากคู่ค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา = Software บัญชี จัดเป็นเงินได้ประเภท 40(3) ค่าสิทธิ

    • ผู้จ่ายเงินได้นี้จึงมีภาระในการหัก ณ ที่จ่าย 15% ตามมาตรา 70

    • แต่ยังจ่ายเลยไม่ได้ ต้องมาดูต่อว่า ประเทศสหรัฐฯ นั้นมีการจดอนุสัญญา ภาษีซ้อนกับประเทศไทยหรือไม่

    ซึ่งในเว็บไซต์ของกรมสรรพากรระบุว่ามีจดกันไว้ ฉะนั้นก็ต้องไปดูต่ออีกว่าในอนุสัญญาภาษีซ้อนที่จดไว้กับประเทศสหรัฐฯ นั้น เขียนเกี่ยวกับเรื่อง Software ไว้อย่างไร

    ปรากฏว่าเขาระบุว่าถ้าจ่ายค่า Software ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายเพียง 5%

    ดังนั้น ในกรณีนี้

    • บริษัทผู้จ่ายเงินได้จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 5%

    จากค่าบริการแล้วนําส่งกรมสรรพากรด้วย ภงด.54

    • แต่ถ้าคู่ค้าของเราอยู่ในประเทศที่ไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย

    ก็จะต้องโดนภาษีหัก ณ ที่จ่ายไป 15% เต็มๆ

    ทีนี้มาดูกันว่าจะต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ก็พิจารณาว่าบริการนั้นได้ถูกนํามาใช้ ในประเทศไทยหรือไม่

    แน่นอน คําตอบคือ Software นั้นถูกนํามาใช้ในประเทศไทย ดังนั้น บริษัทผู้จ่ายเงินได้นี้

    ต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของค่าบริการในนามของบริษัทในต่างประเทศด้วยแบบฟอร์ม ภ.พ.36 แต่ในขณะเดียวกันบริษัทผู้จ่ายเงินได้ก็สามารถนําใบเสร็จที่ได้จากกรมสรรพากรมาหักเป็นภาษีซื้อของบริษัทตนเองได้เช่นกัน เส้นตายของการนําส่งภาษีทั้ง 2 ประเภทนั้น คือภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

    จะเห็นได้ว่าการจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศเป็นเรื่องที่ต้องระวังและเช็คให้ถี่ถ้วนว่ามีภาระภาษีอะไร อย่างใดบ้าง ซึ่งการตีความว่าเงินที่จ่ายนั้นเป็นเงินได้ประเทศใดหรือการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับอนุสัญญาภาษีซ้อน เป็นเรื่องที่ซับซ้อนควรจะต้องปรึกษาคนในวิชาชีพที่มีประสบการณ์ช่วยแนะนําให้จะปลอดภัยกว่า :

    การส่งเงินค่าสิทธิไปต่างประเทศอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่เพราะเหตุใด

    ค่าสิทธินอกจากจะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้แล้ว ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือ ผู้รับค่าสิทธิที่เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้จ่ายค่าสิทธิพร้อมออกใบกำกับภาษีให้ด้วย แต่ถ้าผู้รับค่าสิทธิมิได้เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่า-เพิ่มในประเทศไทย และได้รับเงินค่าสิทธิจาก ...

    การจ่ายเงินได้ค่าลิขสิทธิ์ไปต่างประเทศ จะต้องหัก ณ ที่จ่ายไว้กี่ %

    ค่าสิทธิที่ต้องเสียภาษีเงินได้นั้น หากผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้จ่ายค่าสิทธิมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 แต่อย่างไรก็ดีหากผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มี ...

    ซื้อของตากต่างประเทศมีVATไหม

    การสั่งของจากต่างประเทศต้องเสียภาษีเท่าไหร่ จากที่กล่าวมานี้จึงสามารถใช้สูตรในการคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ในการเสียภาษีเมื่อสั่งของจากต่างประเทศ ได้คือ (สินค้าราคา CIF x อัตราภาษีนำเข้า) + VAT 7% + ค่าดำเนินการ = ภาษีทั้งหมดที่ต้องจ่าย

    ค่าลิขสิทธิ์หัก ณ ที่จ่ายได้ไหม

    จ่ายค่าแห่งลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนั้น กรณีบริษัทฯ ขายโปรแกรมระบบบัญชีสำเร็จรูปดังกล่าวให้แก่ตัวแทน จำหน่าย ไอทีสโตร์ หรือผู้ซื้อรายอื่นซึ่งเป็นนิติบุคคล หรือกรณีตัวแทนจำหน่ายนำโปรแกรมดังกล่าวที่ซื้อ