การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือวิธี periodic เมื่อจ่ายค่าขนส่งเข้าร้านจะบันทึกบัญชีอะไร

     การบันทึกรายการเกี่ยวกับสินค้าในสมุดรายวันทั่วไปและการผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภททั่วไป

   วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้า ธุรกิจซื้อขายสินค้าเป็นธุรกิจที่ซื้อสินค้ามาจำหน่าย ขนาดของธุรกิจอาจแบ่งได้เป็นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในธุรกิจขนาดเล็กเจ้าของอาจเป็นผู้ดำเนินการจัดการภายในธุรกิจของตนเอง แต่ถ้าเป็นธุรกิจขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ เจ้าของไม่สามารถจัดการได้เพียงคนเดียว ต้องแบ่งหน้าที่การจัดการเป็นส่วน ๆ ได้แก่ แผนกคลังสินค้า แผนกจัดซื้อ แผนกตรวจรับสินค้า และแผนกบัญชี

 การขายสินค้าจะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การขายเงินสด การขายเงินเชื่อ และการขายผ่อนชำระ เมื่อกิจการขายสินค้าหรือซื้อสินค้าเพื่อจำหน่ายอาจพบว่าสินค้าแตกหักเสียหาย ดังนั้นผู้ซื้อต้องแจ้งให้ผู้ขายทราบ แบ่งเป็น

           1.   ด้านผู้ซื้อ ถ้าผู้ซื้อส่งสินค้าคืนไปยังผู้ขาย เรียกว่า การส่งคืนสินค้า

           2.   ด้านผู้ขาย ถ้ารับคืนสินค้าจากผู้ซื้อ เรียกว่า การรับคืนสินค้า

          เพื่อเป็นการจูงใจการซื้อสินค้า และการจ่ายชำระเงิน จึงมีการกำหนดการให้ส่วนลด โดยที่ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณมาก จะให้ส่วนลดที่เรียกว่า ส่วนลดการค้าแต่ถ้าซื้อแล้วลูกค้าชำระเงินภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้จะได้ส่วนลดที่เรียกว่า ส่วนลดเงินสด

          เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า คือ ข้อตกลงในการขนส่งสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย แบ่งเป็น

          1.   F.O.B Shipping Point  เป็นการส่งมอบสินค้าต้นทาง ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า เรียกว่า ค่าขนส่งเข้า

          2.   F.O.B Destination เป็นการส่งมอบสินค้าปลายทาง ผู้ขายเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งสินค้า เรียกว่า ค่าขนส่งออก)

    การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ แบ่งเป็น ด้านผู้ซื้อ และด้านผู้ขาย

ด้านผู้ซื้อ

ด้านผู้ขาย

1.  การซื้อสินค้า

2.  การจ่ายค่าขนส่งเข้า

3.  การส่งคืนสินค้า

4.  การชำระหนี้ค่าสินค้าได้รับส่วนลดรับ

1.  การขายสินค้า

2.  การจ่ายค่าขนส่งออก

3.  การรับคืนสินค้า

4.  การรับชำระหนี้ค่าสินค้าได้ให้ส่วนลดจ่าย 

               วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ มี 2 วิธี คือ

              1.   วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)

               2.   วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด  (Periodic Inventory Method)

               การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าทั้ง 2 วิธี มีความแตกต่าง จึงมีผลทำให้การปิดบัญชี การจัดทำกระดาษทำการ และงบกำไรขาดทุน มีความแตกต่าง แต่งบดุลจะเหมือนกัน

               สรุปวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ

รายการ

วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง

(Perpetual Inventory Method)

วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด

(Periodic Inventory Method)

รายการด้านการซื้อสินค้า

1) ซื้อสินค้าเป็นเงินสด หรือเงินเชื่อ

เดบิต  สินค้าคงเหลือ                    xx

          เครดิต  เงินสด / เจ้าหนี้การค้า                                         xx

เดบิต  ซื้อ                                    xx

          เครดิต  เงินสด / เจ้าหนี้การค้า                                         xx

2) จ่ายค่าขนส่งเข้า

      2.1 กิจการจ่ายค่าขนส่งเอง

เดบิต  สินค้าคงเหลือ                    xx

          เครดิต  เงินสด                           xx

เดบิต  ค่าขนส่งเข้า                       xx

          เครดิต  เงินสด                           xx

      2.2 ผู้ขายจ่ายค่าขนส่งแทน

            กิจการ

เดบิต  สินค้าคงเหลือ                    xx

          เครดิต  เจ้าหนี้การค้า                 xx

เดบิต  ค่าขนส่งเข้า                       xx

          เครดิต  เจ้าหนี้การค้า                 xx

3) ส่งคืนสินค้า

เดบิต  เงินสด / เจ้าหนี้การค้า        xx

          เครดิต  สินค้าคงเหลือ                xx

เดบิต  เงินสด / เจ้าหนี้การค้า        xx

          เครดิต  ส่งคืน                            xx

4) จ่ายชำระหนี้จากการซื้อเชื่อและ

     ได้รับส่วนลด

เดบิต  เจ้าหนี้การค้า                     xx

          เครดิต  เงินสด                           xx

                      สินค้าคงเหลือ                xx

เดบิต  เจ้าหนี้การค้า                     xx

          เครดิต  เงินสด                           xx

                      ส่วนลดรับ                     xx


            การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าในสมุดรายวันทั่วไป

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการซื้อซื้อขายสินค้ามี 2 วิธี คือ วิธีบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method) และวิธีบันทึกบัญชีแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method) สำหรับกิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% มีวิธีการบันทึกบัญชีดังต่อไปนี้

รายการ

Perpetual Inventory Method

Periodic Inventory Method

1.  ซื้อสินค้า เดบิตสินค้า                             XX
        ภาษีซื้อ                          XX
        เครดิตเงินสด/เจ้าหนี้การค้า  XX
เดบิตซื้อสินค้า                            XX
        ภาษีซื้อ                              XX
        เครดิตเงินสด/เจ้าหนี้การค้า       XX
2.  ค่าขนส่งเข้า เดบิตสินค้า                             XX
        เครดิตเงินสด                       XX
เดบิตค่าขนส่งเข้า                       XX
        เครดิตเงินสด                              XX
3.  ส่งคืนสินค้า เดบิตสินค้า                             XX
        เครดิตสินค้า                         XX
              ภาษีซื้อ                           XX
เดบิตเงินสด                               XX
        เครดิตส่งคืนสินค้า                      XX
              ภาษีซื้อ                                 XX
4.  จ่ายชำระหนี้ และมีส่วนลดรับ เดบิตเจ้าหนี้การค้า                  XX
        เครดิตเงินสด/ธนาคาร          XX
                  สินค้า                         XX
เดบิตเจ้าหนี้การค้า                     XX
         เครดิตเงินสด/ธนาคาร              XX
ส่วนลดรับ                                  XX
5.  ขายสินค้า 
5.1  บันทึกการขาย 

5.2  บันทึกต้นทุนขาย

เดบิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า      XX
        เครดิตขายสินค้า                  XX
ภาษีขาย                              XX
เดบิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า         XX
        เครดิตขายสินค้า                       XX
                   ภาษีขาย                        XX
เดบิตต้นทุนขาย                     XX
        เครดิตสินค้า                        XX

ไม่บันทึกบัญชี

 6.  รับคืน
6.1  บันทึกการรับคืน 

6.2  บันทึกต้นทุนของ 
สินค้าที่รับคืน

เดบิตรับคืนสินค้า                   XX
        ภาษีขาย                         XX
        เครดิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า   XX
เดบิตรับคืนสินค้า                       XX
        ภาษีขาย                             XX
        เครดิตเงินสด/ลูกหนี้การค้า          XX
เดบิตสินค้า                             XX
        เครดิตต้นทุนขาย                 XX

ไม่บันทึกบัญชี

7.  ค่าขนส่งออก เดบิตค่าขนส่งออก                  XX
        เครดิตเงินสด                       XX
เดบิตค่าขนส่งออก                      XX
        เครดิตเงินสด                               XX
8.  รับชำระหนี้ และมีส่วน
ลดจ่าย
เดบิตเงินสด/ธนาคาร              XX
        ส่วนลดจ่าย                    XX
        เครดิตลูกหนี้การค้า              XX
เดบิตเงินสด/ธนาคาร                  XX
        ส่วนลดจ่าย                        XX
        เครดิตลูกหนี้การค้า                    XX
9.  ต้นทุนขาย ดูจากยอดคงเหลือของบัญชีต้นทุนขาย ดูจากการคำนวณดังนี้.- 
สินค้าคงเหลือต้นงวด                         XX
ซื้อสินค้า                                    XX
บวก ค่าขนส่งเข้า                      XX 
                                                   XX
หัก ส่งคืน          XX
ส่วนลดรับ          XX                 XX      XX
สินค้าที่มีไว้เพื่อขาย                             XX
หัก สินค้าคงเหลือปลายงวด               XX
ต้นทุนขาย                                            XX

2554รายการเดบิตเครดิต
ธ.ค. 1 เงินสด
   หุ้นทุนสามัญ
ขายหุ้นทุนสามัญ
400,000
   400,00

นำมาผ่านรายการบัญชีได้ 2 ตารางดังนี้

บัญชีเงินสด
2554รายการจำนวนเงิน2554รายการจำนวนเงิน
ธ.ค. 1 หุ้นทุนสามัญ 400,000
หุ้นทุนสามัญ
2554รายการจำนวนเงิน2554รายการจำนวนเงิน
ธ.ค. 1 เงินสด 400,000

เมื่อมีรายการต่อมาดังนี้

2554รายการเดบิตเครดิต
ธ.ค. 1 เงินสด
   เจ้าหนี้
กู้เงินธนาคาร
300,000
   300,000

ในส่วนของ เงินสด ก็นำมาบันทึกเพิ่มลงในบัญชีเงินสดเดิม

 ส่วนเจ้าหนี้ ก็แยกออกมาเป็นบัญชีใหม่ ชื่อบัญชีเจ้าหนี้

บัญชีเงินสด
2554รายการจำนวนเงิน2554รายการจำนวนเงิน
ธ.ค. 1 หุ้นทุนสามัญ 400,000
ธ.ค. 1 เจ้าหนี้ 300,000
บัญชีเจ้าหนี้
2554รายการจำนวนเงิน2554รายการจำนวนเงิน
ธ.ค. 1 เงินสด 300,000