ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คํานวณ

คนทำงานมานานหลายปี คงไม่กังวลใจเท่าไรว่าจะคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร แต่สำหรับน้องใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงานไม่นาน หลายคนคงอยากรู้ว่าจะ คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างไรดี และมีอะไรบ้างที่สามารถนำมาหักภาษีได้

บทความนี้ เลยจะมาให้ความรู้และทบทวนความจำกันเสียหน่อยว่าการ คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่คนทำงานต้องรู้ มีอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึง ...

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คํานวณ

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรื่องที่คนทำงานต้องรู้

ทุกๆ ปี คนไทยทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์กำหนดจะต้องยื่นแสดงรายได้และจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับกรมสรรพากร โดยในปีภาษี 2564 (ที่จะยื่นแบบในช่วงต้นปี 2565) จะใช้โครงสร้างภาษีเหมือนที่ปรับใหม่ในปี 2560 ซึ่งมีการเพิ่มค่าลดหย่อนใหม่หลายประเภท คือ

  1. ปรับอัตราภาษีในช่วงอัตราร้อยละ 30 และอัตราร้อยละ 35
  2. เพิ่มวงเงินหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  3. เพิ่มค่าลดหย่อนผู้มีเงินได้เป็น 60,000 บาท ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท รวมทั้งค่าลดหย่อนบุตร ลดหย่อนได้ 30,000 บาทต่อคน และไม่จำกัดคน
  4. กรณีที่สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
  5. กองมรดก ให้หักลดหย่อนเพิ่มเป็น 60,000 บาท

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คํานวณ

บุคคลที่ต้องยื่นภาษี 2564

ในการยื่นภาษีในแต่ละปีนั้น หลายคนมักจะมีความเข้าใจว่า ถ้ามีเงินได้มากกว่าเดือนละ 25,833 บาท หรือมีเงินได้ต่อปีสูงกว่า 300,000 บาท จำเป็นจะต้องยื่นเสียภาษี ซึ่งความเข้าใจนี้ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องเสมอไป เพราะกรมสรรพากรได้กำหนดให้คนที่มีเงินได้แม้มีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ก็ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายได้ ในกรณีต่อไปนี้

  • คนโสด
    • กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท
    • กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
  • สมรสแล้ว
    • กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 220,000 บาท
    • กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร?

แบบยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีด้วยกัน 2 แบบ คือ

  • ภ.ง.ด.90 คือ ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ
  • ภ.ง.ด.91 คือ ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีรายได้ทางอื่น

สำหรับคนที่ต้องการยื่นภาษี สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ตามลิงก์ที่ทางสรรพากรให้ไว้ หรือ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/tax

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คํานวณ

ยื่นภาษีได้ถึงวันที่เท่าไร

ทั้งนี้ การยื่นเสียภาษีในปี 2564 ที่จะยื่นผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร จะต้องยื่นภายในวันที่ 1 ม.ค.65 – 8 เม.ย. 65 ส่วนผู้ที่จะยื่นเอกสารเสียภาษีแบบกระดาษจะสามารถยื่นได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 มี.ค.65 เท่านั้น

รวมเอกสารประกอบการยื่นภาษี

ก่อนยื่นภาษี อย่าลืมตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ให้ครบก่อน เพราะช่วยให้มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น หากต้องมีการตรวจสอบเอกสาร ซึ่งเอกสารประกอบการยื่นภาษี มีหลายรูปแบบ อาทิ

  • หนังสือรับรองเงินเดือนและการหักภาษี (50 ทวิ) ซึ่งได้รับจากนายจ้าง โดยหนังสือรับรองจะระบุผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย จำนวนเงินได้ทั้งปี (รวมเงินเดือน โบนัสและเงินพิเศษต่าง ๆ) ภาษีที่หักและนำส่งไว้ รวมถึงเงินที่จ่ายเข้า กบข./กสจ./กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • ทะเบียนสมรส กรณีกรมสรรพากรเรียกตรวจ หากใช้สิทธิลดหย่อนภาษีคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้แต่เลือกนำมาคำนวณภาษีพร้อมกัน
  • เอกสารรับรองบุตร หรือสูติบัตรของบุตร กรณีสรรพากรเรียกตรวจ
  • หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบิดา-มารดาของตัวเองได้คนละ 30,000 บาท รวมทั้งบิดา-มารดาของคู่สมรส อีกคนละ 30,000 บาท โดยบิดา-มารดาต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และผู้มีเงินได้เป็นผู้เลี้ยงดูบิดา-มารดา ทั้งนี้บิดา-มารดาต้องมีเงินได้ในปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาท
  • เอกสารชำระค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดา-มารดา ลดหย่อนได้สูงสุดตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยบิดา-มารดาต้องมีเงินได้ในปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาท
  • เอกสารชำระค่าเบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนได้สูงสุดตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิต ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • หนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันชีวิต สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ตามจริง อาทิ
    • เบี้ยประกันชีวิต ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
    • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

ทั้งนี้ เมื่อรวมค่าเบี้ยประกันแบบบำนาญกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี


  • หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • คนพิการ จะต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ และระบุชื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลในบัตรประจำตัวคนพิการ โดยคนพิการต้องมีเงินได้ในปีภาษีไม่เกิน 60,000 บาท
    • คนทุพพลภาพ จะต้องเป็นผู้ทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน มีใบรับรองแพทย์ที่ออกในปีภาษีที่ขอใช้สิทธิหักลดหย่อน และมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย สามารถหักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คํานวณ

  • หลักฐานการเป็นสมาชิกและจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนต่าง ๆ ที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้
  • ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป หรือใบเสร็จรับเงินที่แสดงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากการท่องเที่ยว หรือค่าซื้อสินค้า ในโครงการช้อปช่วยชาติ
  • ใบเสร็จรับเงินบริจาค เพื่อสาธารณกุศลทั่วไป หรือช่วยเหลือน้ำท่วม สามารถหักลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิ แต่หากเป็นเงินสนับสนุนการศึกษา การช่วยเหลือสังคม โรงพยาบาล และเงินบริจาคให้กองทุนยุติธรรม สามารถหักลดหย่อนได้เป็น 2 เท่าของเงินบริจาค
  • ค่าใช้จ่ายฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร นำมาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 60,000 บาท ตามจำนวนที่จ่ายจริงสำหรับการตั้งครรภ์ในแต่ละครั้ง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับค่าใช้จ่ายที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
  • เอกสารเครดิตภาษีเงินปันผล สำหรับคนที่ลงทุนในหุ้น แนะนำให้สมัครสมาชิกที่เว็บไซต์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แล้วดาวน์โหลดเอกสารไปใช้ยื่นสรรพากรโดยที่เราไม่ต้องคำนวณให้ยุ่งยาก
  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย กองทุนรวมต่าง ๆ กรณีที่เราลงทุนในกองทุนรวมที่มีการจ่ายปันผล เงินปันผลที่ได้รับนั้นจะถูกหักภาษี 10%
  • หนังสือหรือเอกสารรับรองเงินได้อื่น ๆ นอกเหนือจากเงินเดือน
  • กรณีเป็นผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ และมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ในปีภาษีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน ได้รับยกเว้นเงินได้ จำนวนเงิน 190,000 บาท
  • กรณีเป็นผู้สูงอายุ มีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ ในปีภาษี ได้รับยกเว้นเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีนั้น

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คํานวณ

หลักคำนวณ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2564

การเสียภาษี จะต้องเสียมาก หรือน้อยแค่ไหนนั้น ต้องนำมาหักค่าลดหย่อนด้วย โดยมีวิธีคำนวณภาษีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 นำรายได้ทั้งปีมาหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว แยกตามประเภทของรายได้ และหักลดหย่อนตามรายการต่าง ๆ เพื่อหารายได้สุทธิ

หากนาย A มีรายได้ทั้งปี 600,000 บาท จะต้องหักค่าใช้จ่ายเบื้องต้นดังนี้

หักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท) = 100,000 บาท จะเหลือรายได้สุทธิ 500,000 บาท

ขั้นตอนที่ 2 นำรายได้ที่เหลือมาหักค่าลดหย่อน จากนั้น ลองสำรวจดูว่าเรามีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง แล้วนำค่าลดหย่อนนั้นมาลบออกจาก 500,000 บาท

เช่น หากปีนี้ นาย A ซึ่งมีภรรยา 1 คน มีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาท ทั้งคู่จดทะเบียนสมรสกันแล้ว แต่ไม่มีบุตร จ่ายประกันสังคมไป 9,000 บาท, มีบิดาอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ต้องเลี้ยงดู 1 คน, ซื้อ LTF ไป 50,000 บาท ก็สามารถนำค่าลดหย่อนทั้งหมดมาหักออกจาก 500,000 บาท ดังนี้

  • หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • หักค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
  • หักค่าประกันสังคม 9,000 บาท
  • หักค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดา 1 คน จำนวน 30,000 บาท
  • หักค่าซื้อ LTF ไป 50,000 บาท

รวมหักไปทั้งหมด 209,000 บาท จนเหลือรายได้สุทธิ 291,000 บาท

ขั้นตอนที่ 3 นำรายได้สุทธิที่ได้ มาเทียบอัตราภาษี ปัจจุบันใช้วิธีเสียภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งอัตราภาษีในปี 2564 เป็นดังนี้

อัตราภาษีแบบขั้นบันได ตามรายได้ที่ได้รับ

  • 0 - 150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี
  • 150,001 - 300,000 บาท อัตราภาษี 5% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดในขั้นนี้คือ 7,500 บาท)
  • 300,001 - 500,000 บาท อัตราภาษี 10% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 20,000 บาท)
  • 500,001 - 750,000 บาท อัตราภาษี 15% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 37,500 บาท)
  • 750,001 - 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 50,000 บาท)
  • 1,000,001 - 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 250,000 บาท)
  • 2,000,001 - 5,000,000 บาท อัตราภาษี 30% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 600,000 บาท)
  • 5,000,000 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%

วิธีคำนวณ: นาย ก. มีรายได้สุทธิอยู่ที่ 290,000 บาท เท่ากับต้องเสียภาษีในอัตราสูงสุดที่ 5% แต่ในจำนวนนี้ 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษี จึงคงเหลือส่วนที่ต้องเสียภาษีอยู่ที่ :

  • (291,000 - 150,000) = 141,000 บาท ที่อัตรา 5%
  • คิดเป็นเงินภาษีที่ต้องเสีย 7,050 บาท

จริง ๆ แล้วการ คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ใช่เรื่องซับซ้อน แถมปัจจุบันยังมีแอปพลิเคชั่นมากมายที่ทำขึ้นเพื่อช่วยคำนวณภาษี ดังนั้น ขอเพียงรู้หลักในการคำนวนและสิทธิ์ที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ ก็สามารถยื่นภาษีทางออนไลน์ได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

อ่านเพิ่มเติม : ยื่นภาษี ปี 2564 สิทธิลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คํานวณ

เนื่องจากในทุกวันนี้ การใช้รถใช้ถนนมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา ดังนั้นนอกจากผู้ใช้รถทุกคนต้องไม่ประมาทและควรระมัดระวังในการขับขี่แล้ว การทำประกันรถยนต์นั้นก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้ท่านเพิ่มความอุ่นใจในการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น ดังนั้นสามารถเข้ามาเปรียบเทียบประกันรถยนต์ได้ทาง www.moneyguru.co.th ต้องการที่จะช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าใช้จ่ายจากการจ่ายเบี้ยประกันด้วยการ ลดราคาเบี้ย 5% พร้อมรับบัตรเติมน้ำมัน 500 บาท  รับมือพิษเศรษฐกิจในเวลานี้

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คํานวณ

ข้อมูลอ้างอิง: กรมสรรพากร

บทความแนะนำ

  • ยื่นภาษีออนไลน์ 64-65 ยืนด้วยตัวเองแบบง่าย
  • สิทธิลดหย่อนภาษี ปี 2564 มีอะไรบ้าง?
  • ภาษีคริปโตคืออะไร มีวิธีคิดอย่างไร