ฎีกา อายุความ เช่าซื้อ รถยนต์

บันทึกข้อตกลงชำระค่าเสียหายโดยมีการลดค่าเสียหายและกำหนดจำนวนเงินที่จะต้องผ่อนชำระและระยะเวลาชำระเสร็จรวมทั้งกำหนดอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่แตกต่างกับข้อตกลงและจำนวนค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อเดิม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่คู่สัญญา ระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่หนังสือรับสภาพหนี้ มีผลให้หนี้เดิมตามสัญญาเช่าซื้อระงับไปและก่อให้เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความมีกำหนดอายุความ 10 ปี ทั้งนี้ ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด

จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์คืนออกประมูลขายได้เงินน้อยกว่าข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อ โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงชำระค่าเสียหายดังกล่าว จำนวน 284,007 บาท โดยมีการลดค่าเสียหายเหลือเพียง 170,000 บาท และกำหนดจำนวนเงินที่จะต้องผ่อนชำระและระยะเวลาชำระเสร็จรวมทั้งกำหนดอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่แตกต่างกับข้อตกลงและจำนวนค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อเดิม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่หนังสือรับสภาพหนี้ มีผลให้หนี้เดิมตามสัญญาเช่าซื้อระงับไปและก่อให้เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว

ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่าหากชำระไม่ผิดนัดในยอดเงิน 170,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องส่วนที่เหลืออีกต่อไป หากผิดสัญญาตกลงยินยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีในจำนวนเงิน284,007 บาท และยินยอมเสียดอกเบี้ยในยอดเงินจำนวนดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญานั้น ข้อตกลงให้ชำระค่าเสียหายทั้งหมดจำนวน 284,007 บาท ในส่วนที่เกิน 170,000 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญา มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงได้

แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา แต่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมดังกล่าว จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน ความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นความรับผิดในหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมมิให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามสัญญาและตามกฎหมายสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วยจึงไม่ต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว

หนี้ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 อันเป็นหนี้ประธานได้ระงับไปแล้ว ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 อันเป็นหนี้อุปกรณ์จึงระงับไปด้วย โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นหาได้ไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ทั้งนี้ ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความวันที่ 10 ตุลาคม 2539 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 29 กันยายน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและติดตามยึดรถยนต์คืนได้ในสภาพชำรุดนำออกประมูลขายได้เงิน 65,420.56 บาท ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 284,007 บาท พร้อมดอกเบี้ยตกลงชำระค่าเสียหายเป็นงวด งวดละเดือน เดือนละไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน 410,975 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 284,007 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม และฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกิน 2 ปี นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน 63,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 29 กันยายน 2542 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 180,000 พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2539 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง เรียกค่าขาดราคา 150,000 บาท และค่าขาดประโยชน์ 110,000 บาท (รวม 260,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันฟ้อง)

ศาลชั้นต้น พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระ 33,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับถัดจากวันฟ้อง ให้ร่วมกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าที่โจทก์ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าขาดราคา 72,000 บาท ค่าขาดประโยชน์ 33,000 บาท (รวม 105,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับถัดจากวันฟ้อง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ) ซึ่งประเด็นค่าขาดประโยชน์ยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3

ฎีกา อายุความ เช่าซื้อ รถยนต์

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับอนุญาตฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดราคาแก่โจทก์หรือไม่ โดยจำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์มีหนังสือเอกสารหมาย จ.7 แจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้รับหนังสือดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ก่อนครบกำหนดเวลาในหนังสือบอกกล่าว สัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่เลิกกัน การที่จำเลยที่ 1 นำรถไปส่งมอบคืนและโจทก์รับมอบโดยมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงเป็นเรื่องสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยาย ทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธิหน้าที่ใด ๆ ตามสัญญาต่อกันอีก โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาข้อ 13 และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจให้ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2555 ข้อ 4 (5) ก. และ ข. โจทก์มิได้ขายรถยนต์ตามสภาพที่รับมาจากจำเลยที่ 1 นั้น

ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า การที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 14 เป็นต้นมา 3 งวดติดกัน โจทก์จึงมีหนังสือบอกกล่าวเอกสารหมาย จ.7 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ทวงถามให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างรวม 6 งวด ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากพ้นกำหนดแล้วไม่ชำระให้ถือเอาหนังสือฉบับนี้เป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อทันที ซึ่งแม้พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาปรากฏเหตุขัดข้องที่ส่งหนังสือบอกกล่าวทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะเหตุว่าจำเลยที่ 1 ไม่มารับภายในกำหนดตามซองจดหมายและใบตอบรับในประเทศเอกสารหมาย จ.8 แต่กรณีดังกล่าวสัญญาเช่าซื้อข้อ 17 วรรคสาม ให้ถือว่าได้มีการส่งหนังสือบอกกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 โดยชอบแล้ว โดยเนื้อความในหนังสือบอกกล่าวข้างต้นเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 10 (ก) ที่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจให้ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2555 เอกสารหมาย จ.15 ข้อ 4 กำหนดให้สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อสัญญานี้ด้วย ด้วยข้อสัญญาดังกล่าวมีผลให้โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อก่อนครบกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวได้ กลับกันจำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างตามที่บอกกล่าวภายใน 30 วัน เพื่อมิให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญา แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าวันที่ 31 มีนาคม 2558 จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ไม่รอให้ล่วงพ้นกำหนดเวลา 30 วัน โดยไม่มีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งอย่างอื่น ตามหนังสือแสดงเจตนาคืนรถเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 พฤติการณ์เท่ากับจำเลยที่ 1 ยอมรับว่า อย่างไรเสียก็จะไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเป็นแน่ และไม่ประสงค์ที่จะชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเพื่อให้สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันต่อไป ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถดำเนินการได้เนื่องจากไม่มีข้อสัญญาห้ามมิให้ผู้เช่าซื้อกระทำการเช่นนั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาเพราะเหตุที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อรับทราบโดยชอบแล้ว โดยที่โจทก์หาจำต้องโต้แย้งคัดค้านการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแต่อย่างใดไม่ ทั้งการส่งมอบรถยนต์คืนเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 ที่กำหนดให้สิทธิจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อในเวลาใด ๆ เสียก็ได้ ด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีให้แก่โจทก์ดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกาและที่โจทก์แก้ฎีกา เนื่องจากข้อ 12 ดังกล่าวกำหนดว่าจำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญาอยู่ในเวลานั้นทันทีด้วย และถือไม่ได้ว่าเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายดังที่ฎีกา

ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาทำนองว่า โจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 13 และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาฯ ข้อ 4 (5) ก. และ ข. นั้น แม้สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 13 กำหนดว่า โจทก์จะมีหนังสือแจ้งชื่อผู้ทำการขาย วัน เวลา สถานที่ที่ทำการขาย ราคาที่ขายได้ และรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายเพียงเท่าที่ได้ใช้จ่ายไปจริงโดยประหยัดตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร รวมทั้งจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญา ในกรณีการขายโดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาดที่เหมาะสมให้จำเลยที่ 1 ทราบภายใน 15 นับแต่วันที่ทำการขาย แต่สัญญาข้อ 13 ดังกล่าว ตลอดจนประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาฯ ข้อ 4 (5) ข. หาได้กำหนดว่า หากโจทก์ไม่แจ้งรายละเอียดต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ให้ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นอันหลุดพ้นความรับผิดในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาแต่อย่างใดไม่ ทั้งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาฯ ข้อ 4 (5) ก. กำหนดว่า ก่อนขายให้บุคคลอื่น ผู้ให้เช่าซื้อต้องแจ้งล่วงหน้าให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันทราบ เป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิซื้อได้ตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ ประกาศฉบับดังกล่าวหาได้กำหนดว่า ก่อนนำรถยนต์ออกขายให้บุคคลอื่น ผู้ให้เช่าซื้อต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อทราบชื่อผู้ทำการขาย วัน เวลา สถานที่ที่ทำการขายก่อนแต่อย่างใดไม่ ส่วนที่สัญญาข้อ 13 กำหนดด้วยว่า โจทก์จะนำรถยนต์ตามสภาพที่รับคืนออกขายให้แก่บุคคลอื่น แต่ระยะทางการใช้งานตามที่ระบุในหนังสือแสดงเจตนาคืนรถเอกสารหมายเลข จ.10 กับ รายงานการประมูลและบันทึกการขายรถยึดเอกสารหมาย จ.14 แสดงให้เห็นว่ามีการใช้งานรถยนต์คันที่เช่าซื้อภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบคืนแก่โจทก์แล้วนั้น เนื่องจากโดยปกติรถยนต์สามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วยการขับ เมื่อจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนโจทก์ก็มีความจำเป็นที่โจทก์จะต้องนำไปเก็บรักษารวมถึงนำออกขายซึ่งจะต้องมีการเคลื่อนย้ายด้วยการขับไปยังที่ต่าง ๆ และเมื่อพิจารณาถึงระยะทางที่ระบุในเอกสารหมาย จ.10 กับ จ.14 เปรียบเทียบกันแล้ว จะเห็นได้ว่าในวันที่นำออกขายรถยนต์คันดังกล่าวมีระยะทางการใช้งานเพิ่มขึ้นอีกเพียง 52 กิโลเมตร ซึ่งนายสะอาด สุวรรณศิริ ผู้รับมอบอำนาจช่วงโจทก์ก็เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 1 ว่า ระยะทางที่แตกต่างกันน่าจะเป็นช่วงที่มีการเคลื่อนย้ายรถไปเก็บหรือนำไปประมูลขาย กรณีจึงยังไม่พอรับฟังได้ว่าโจทก์นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปใช้ดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกา

ส่วนหนังสือแสดงเจตนาคืนรถและตรวจสภาพรับรถเอกสารหมาย จ.10 ระบุถึงสภาพตัวถังรถเพียงว่า มีรอยขีดข่วนรอบคัน บังโคลนมีรอยขีดข่วนลึก แต่รายงานการประมูลและบันทึกการขายรถยึดเอกสารหมาย จ.14 กลับระบุว่า สภาพรถกระจกหน้าแตก กันชนหน้าซ้ายครูด ไฟเลี้ยวกระจกมองข้างซ้ายแตก กระบะซ้ายครูด กระบะขวาบุบ กันชนท้ายบุบ ขูดขีดรอบคัน นั้น แม้หากรับฟังว่าเกิดความเสียหายแก่รถยนต์คันดังกล่าวเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์คืนแก่โจทก์แล้ว แต่ความเสียหายตามที่ระบุในเอกสารหมาย จ.14 ที่เพิ่มขึ้นนี้ เห็นได้ว่าเป็นเพียงรอยครูด รอยบุบ กระจกหน้าและไฟเลี้ยวกระจกมองข้างซ้ายแตก เป็นความเสียหายในส่วนสภาพภายนอกของรถยนต์เพียงเล็กน้อยและไม่มีผลกับโครงสร้างหลักของรถยนต์ตลอดจนเครื่องยนต์ที่จะส่งผลกระทบต่อการขับขี่อันจะเป็นเหตุให้ราคาของรถยนต์ต้องลดน้อยถอยลงไปอย่างมาก ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์นำรถยนต์คันดังกล่าวออกประมูลได้ในราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงิน 535,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นว่า รถยนต์ยี่ห้อและรุ่นเดียวกันนี้ซึ่งมีสภาพ อายุการใช้งาน ตลอดจนระยะทางการใช้งานที่ใกล้เคียงกันมีราคาซื้อขายในท้องตลาดเท่าใด จำเลยที่ 1 เพียงแต่อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความลอย ๆ ว่า ต้องขายได้มากกว่า 535,000 บาท ประกอบกับศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็วินิจฉัยปรับลดค่าขาดราคาลงจากที่โจทก์เรียกร้องมา 150,000 บาท คงให้จำเลยที่ 1 รับผิดเพียง 72,000 บาท ดังที่ได้วินิจฉัยมา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระค่าขาดราคาตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 13 วรรคหนึ่ง เป็นเงิน 72,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

สัญญาเช่าซื้อรถยนต์มีอายุความกี่ปี

รถระหว่างผิดสัญญาเช่าซื้อ มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. ม.164 ไม่ใช่ 1 ปีฐานละเมิด เจ้าของเรียกรถคืนเป็นการใช้สิทธิติดตามถ้ารถคืนไม่ได้ให้ ใช้ราคา มีอายุความ 10 ปี ลูกหนี้ชำระหนี้ไม่พอปลดเปลื้องหนี้หลายราย เจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงิน

หนี้ส่วนต่างรถมอไซอายุความกี่ปี

ประเด็นอายุความ ในการฟ้องร้องลูกหนี้ ก็จะเหลือเพียงแค่ 6 เดือน และ 2 ปี เท่านั้น สามารถตัดประเด็นในเรื่อง อายุความ 10 ปี พร้อมกับคดีอาญา ออกไปได้เลยครับ...

คดีส่วนต่างรถยนต์อายุความกี่ปี

อายุความกรณีผู้เช่าซื้อผิดสัญญาไม่จ่ายค่างวดรถยนต์และผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตายต้องฟ้องเรียกค่าขาดราคาหรือราคาส่วนต่างที่นำรถออกขายอายุความ 10 ปีนับแต่สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง กรณีผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตายต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่รู้ถึงความตายหรือภายใน 10 ปีนับแต่ผู้เช่าซื้อตาย(แม้ไม่รู้ว่าผู้เช่าซื้อตาย)

สัญญาเช่าซื้อสินค้ามีอายุความกี่ปี

กฎหมายว่าด้วยการเช่าซื้อ ไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยตรง แต่ค่าเช่าซื้อก็เป็นค่าเช่าในการใช้ทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนั้น หากผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นพ่อค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์(เครื่องรับโทรทัศน์) ที่ค้างชำระอยู่ จึงต้องฟ้องเสียภายในอายุความ 2 ปี ไม่ใช่10 ปี