แหล่งกักเก็บปิโตรเลี่ยม ประกอบด้วย

        โดยทั่ว ๆ ไป การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม จะเป็นวิธีการทางอ้อม ทั้งนี้ เพราะว่าแหล่งกักเก็บน้ำมัน ซึ่งมีสิ่งบ่งชี้ให้เห็นบนผิวดินว่ามีน้ำมันกักเก็บอยู่ ปัจจุบันนี้มักจะถูกพัฒนานำขึ้นมาใช้เกือบทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ จำเป็นที่จะต้องอาศัยกรรมวิธีการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมอื่น ๆ ในบริเวณที่นอกเหนือไปจากบริเวณดังกล่าวข้างต้น และที่อาจจะเป็นแหล่งกักเก็บของปิโตรเลียมในบริเวณที่ถูกฝังลึกอยู่ในชั้นหินนับเป็นหลาย ๆ กิโลเมตร

แหล่งกักเก็บปิโตรเลี่ยม ประกอบด้วย
    การเกิดปิโตรเลียม

แหล่งกักเก็บปิโตรเลี่ยม ประกอบด้วย

         ปิโตรเลียม ประกอบด้วยก๊าซธรรมชาติเหลวและน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นของเหลวข้นๆสีดำๆก๊าซธรรมชาติเหลวจะอยู่ชั้นบน ของปิโตรเลียมและเกิดจากการกลั่นตัวตามธรรมชาติของน้ำมันดิบ ปิโตรเลียมเกิดจากซากพืชซากสัตว์ตายทับถมกันภายใต้พื้นพิภพเป็นเวลาล้าน ๆ ปี จนกลายเป็นชั้นหินด้วยความกดดันสูงอัน  เกิดจากการเคลื่อนตัวและหดตัวของชั้นหินและอุณหภูมิใต้พิภพ สารอินทรีย์เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นธาตุไฮโดรเจนและไฮโดรคาร์บอน  จะมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอย่างช้า ๆ แปรสภาพเป็นก๊าซและน้ำมันดิบสะสมและซึมผ่านชั้นหินที่เป็นรูพรุน เช่น ชั้นหินทราย   และชั้นหินปูนไปสู่แอ่งหินที่ต่ำกว่า จากนั้นค่อย ๆ สะสมตัวอยู่ระหว่างชั้นหินที่หนาแน่น ซึ่งไม่สามารถซึมผ่านไปได้อีก โดยปกติปริมาณการสะสมตัวจะมี 5.25 % ของปริมาตรหิน เนื่องจากปิโตรเลียมถูกบีบอัดด้วยชั้นหินต่าง ๆ มันจะพยายามแทรกตัวขึ้นมายังผิวโลกตามรอยแตกของชั้นหิน เว้นแต่ว่ามันจะถูกปิดกั้นด้วยชั้นหินเนื้อแน่น ซึ่งทำให้มันถูกกักไว้ใต้ผิวโลก

        ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของชั้นหินใต้ผิวโลกที่เหมาะสมในการเกิดปิโตรเลียม คือ ชั้นหินรูปโค้งประทุนคว่ำ (anticlinal trap)  โครงสร้างรูปรอยเลื่อนของชั้นหิน (fault trap)   โครงสร้างรูปโดม (domal trap) และโครงสร้างรูปประดับชั้น(stratigraphic trap)

คุณสมบัติของปิโตรเลียม
        ปิโตรเลียม หรือน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ที่สำรวจพบในแต่ละแห่งจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ตามองค์ประกอบของไฮโดรคาร์บอน และสิ่งเจือปนอื่นๆ ที่ผสมอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอินทรียวัตถุ  ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของปิโตรเลียมและสภาพแวดล้อมของแหล่งที่เกิด เช่น ความกดดันและอุณหภูมิใต้พื้นผิวโลก น้ำมันดิบ มีสถานะเป็นของเหลว   โดยทั่วไปมีสีดำหรือสีน้ำตาล มีกลิ่นคล้ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป แต่บางชนิดจะมีกลิ่นของสารผสมอื่นด้วย เช่น  กลิ่นกำมะถัน   และกลิ่นไฮโดรซัลไฟต์ หรือก๊าซไข่เน่า เป็นต้น

        ก๊าซธรรมชาติเหลว มีสถานะเป็นของเหลว ลักษณะคล้ายน้ำมันเบนซิน ซึ่งก๊าซธรรมชาติแต่ละแหล่งจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปเช่นเดียวกับน้ำมันดิบ   ก๊าซธรรมชาติแห้ง มีสถานะเป็นก๊าซ ไม่มีสี และไม่มีกลิ่น
แหล่งกักเก็บปิโตรเลียม
        ปิโตรเลียม จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีปัจจัยต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยหินต้นกำเนิด (Source Rocks) ซึ่งเป็นหินดินดาน (Shale) เมื่อถูกกดทับมากๆ จนเนื้อหินแน่นขึ้นจะบีบให้ปิโตรเลียมหนีขึ้นสู่ด้านบนไปสะสมอยู่ในหินอุ้มปิโตรเลียม (Reservoir Rock) จากปิโตรเลียมในหินอุ้มนี้หากไม่มีสิ่งใดกีดขวางก็จะซึมเล็ดลอดขึ้นสู่พื้นผิวและระเหยหายไปในที่สุด ดังนั้นการเกิดปิโตรเลียมต้องมีหินปิดกั้นปิโตรเลียม (Cap Rock) มาปิดกั้นไว้

        แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมที่เกิดจากโครงสร้างทางธรณีวิทยา (Structural Trap)
เป็นลักษณะโครงสร้างที่เกิดจากการเปลี่ยนรูปของชั้นหิน เช่น การพับ (Folding) หรือการแตก (Faulting) หรือทั้งสองอย่างที่เกิดขึ้นกับหินอุ้มปิโตรเลียม (Reservoir Trap) และหินปิดกั้นปิโตรเลียม (Cap Rock) ที่มักจะสะสมน้ำมันไว้

2. แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมแบบเนื้อหินเปลี่ยนแปลง (Stratigraphic Trap)
โดยอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงของหินอุ้มปิโตรเลียมเสียเอง ซึ่งเกิดขึ้นในลักษณะที่แนวหินอุ้มปิโตรเลียมดันออกไปเป็นแนวขนานเข้าไปแนวหินทึบ ทำให้เกิดเป็นแหล่งกักเก็บ หรืออาจเกิดขึ้นจากหินอุ้มปิโตรเลียมเปลี่ยนสภาพและองค์ประกอบกลายเป็นหินทึบขึ้นมาก และหุ้มส่วนที่เหลือเป็นแหล่งกักเก็บไว้

การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม   

มีขั้นตอนการสำรวจหาและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม ดังนี้

        1.การสำรวจทางธรณีวิทยา
เริ่มด้วยการทำแผนที่ของบริเวณที่สำรวจโดยอาศัยภาพถ่ายทางอากาศ (Aerial Photograph) เพื่อให้ทราบว่าบริเวณใดมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาน่าสนใจควรที่จะทำการสำรวจต่อไปหรือไม่ จากนั้นนักธรณีวิทยาจะเข้าไปทำการสำรวจโดยการตรวจดู เก็บตัวอย่างชนิดของหินและซากพืชซากสัตว์ (Fossils) ซึ่งอยู่ในหิน เพื่อจะได้ทราบอายุ ประวัติความเป็นมาของบริเวณนั้น และวัดแนวทิศทางความเอียงเทของชั้นหินเพื่อคะเนหาแหล่งกักเก็บของปิโตรเลียม

        2.การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์
เป็นขั้นตอนการสำรวจหาโครงสร้างของหินและลักษณะของโครงสร้างที่อยู่ในพื้นผิวโลกโดยอาศัยวิธีการ ดังนี้

1. วิธีวัดค่าสนามแม่เหล็ก (Magnetic Survey)
2. วิธีวัดคลื่นความสั่นสะเทือน (Seismic Survey)
3. วิธีวัดค่าแรงดึงดูดของโลก (Gravity Survey)

        3.การเจาะสำรวจ   การเจาะสำรวจปิโตรเลียมมีขั้นตอนโดยสังเขป ดังนี้
1.ขั้นตอนการเจาะสำรวจ (Exploratory Welt) เป็นการเจาะสำรวจหลุมแรกบนโครงสร้างที่คาดว่าอาจเป็นแหล่งปิโตรเลียมแต่ละแห่ง
2.ขั้นตอนการเจาะหาขอบเขต (Appraisal Welt) เป็นการเจาะสำรวจเพิ่มเติมในโครงสร้างที่เจาะพบร่องรอยของปิโตรเลียมจากหลุมสำรวจฯ เพื่อหาขอบเขตพื้นที่ของโครงสร้างแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมแต่ละแห่งว่าจะมีปิโตรเลียมครอบคลุมเนื้อที่เท่าใด

        4. การพัฒนาแหล่งและผลิตปิโตรเลียม
เมื่อพบโครงสร้างแหล่งปิโตรเลียมแล้ว ก็จะทำการทดสอบการผลิต (Welt Testing) เพื่อศึกษาสภาพการผลิต คำนวณหาปริมาณสำรองและปริมาณที่จะผลิตในแต่ละวัน รวมทั้งปิโตรเลียมที่ค้นพบมาตรวจสอบคุณภาพ และศึกษาหาข้อมูลลักษณะโครงสร้างของแหล่งปิโตรเลียมและชั้นหินเพิ่มเติมให้แน่ชัด เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบแท่นผลิต และวางแผนเพื่อการผลิตต่อไป

แหล่งกักเก็บปิโตรเลี่ยม ประกอบด้วย

แหล่งกักเก็บปิโตรเลี่ยมมีอะไรบ้าง

หินกักเก็บปิโตรเลียม (Reservoir Rocks) เป็นหินที่มีความพรุน และมีความสามารถให้ของเหลวไหลผ่านได้ มีรอยแตก มีโพรง ที่จะให้ปิโตรเลียมกักเก็บได้ เช่น หินทราย หินปูน หรือหินอัคนีที่มีรอยแตก เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม มีอะไรบ้าง

ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากปิโตรเลียม เช่น แก๊ซธรรมชาติ แก๊ซหุงต้ม น้ำมันเบนซิน ดีเซล พลาสติก โฟม และอื่นๆ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการปิโตรเลียม มีประโยชน์และมีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ ต่อการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ได้ ผลกระทบส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นก็ ...

ปัจจัยที่ทําให้เกิดปิโตรเลี่ยม มีอะไรบ้าง

ปิโตรเลียมเกิดจากการทับถมกันของซากพืชซากสัตว์ใต้ทะเลลึก โดยเฉพาะแพลงก์ตอน สัตว์ และสาหร่ายที่เกิดการเน่าเปื่อย ผุพัง และย่อยสลายกลายเป็นอินทรียสารที่สะสมรวมตัวกับตะกอนต่าง ๆ จนเกิดเป็นชั้นตะกอนหนาแน่น ซึ่งจมตัวลงจากแรงกดทับของชั้นการสะสมต่าง ๆ และการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกภายใต้ความร้อนและความดันอันมหาศาลที่เกิด ...

แหล่งกักเก็บปิโตรเลี่ยมแบ่งเป็นกี่ประเภท

ชั้นหินเก็บปิโตรเลียม (Petroleum Trap) สามารถแบ่งย่อยเป็น 2 ชนิดหลัก คือ 1) ชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมแบบโครงสร้างทางธรณีวิทยา (structural trap) คือ ชั้นหินกักเก็บที่เกิดสัมพันธ์กับโครงสร้างทางธรณีวิทยารูปแบบต่างๆ เช่น ชั้นหินคดโค้ง (fold) หรือรอยเลื่อน (fault) เป็นต้น และ 2) ชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมแบบเนื้อหิน ...