พ่อขุนผาเมืองปกครองเมืองใด

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย เสวยราชสมบัติตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึงปีใดไม่ปรากฏ พระนามเดิมคือพ่อขุนบางกลางหาว มีมเหสีคือนางเสือง มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ พระราชธิดา ๒ พระองค์ พระราชโอรสองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ส่วนพระราชโอรสองค์ที่ ๒ และ ๓ คือพ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหงทรงครองราชย์ต่อมาตามลำดับ เดิมพ่อขุนบางกลางหาวทรงเป็นเจ้าเมืองอยู่ที่ใดไม่ปรากฏ แต่ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๒ ทำให้ทราบว่าอยู่ใต้เมืองบางยางลงไป มีผู้เสนอความเห็นว่าพ่อขุนบางกลางหาวน่าจะอยู่แถวกำแพงเพชร

ก่อนราชวงศ์พระร่วงอาณาจักรสุโขทัยมีราชวงศ์พ่อขุนศรีนาวนำถุมครองอยู่ ในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถุมซึ่งเริ่มประมาณ พ.ศ. ๑๗๖๒ อาณาจักรสุโขทัยครอบคลุมถึงเมืองฉอด (ใกล้แม่น้ำเมย) ลำพูน น่าน พิษณุโลก ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยตกอยู่ใต้อำนาจขอมสบาดโขลญลำพง จนกระทั่งพ่อขุนผาเมืองโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถุมทรงร่วมมือกับพ่อขุนบางกลางหาวขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงไป พ่อขุนบางกลางหาวทรงยึดเมืองศรีสัชนาลัยได้และทรงเวนเมืองให้พ่อขุนผาเมือง พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์สุโขทัย พ่อขุนผาเมืองซึ่งเป็นพระชามาดา (ลูกเขย)ของกษัตริย์ขอมทรงยกพระนามศรีอินบดินทราทิตย์ซึ่งพระองค์ได้รับมาจากกษัตริย์ขอมมอบให้แก่พ่อขุนบางกลางหาว แต่พ่อขุนบางกลางหาวทรงใช้พระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ บางทีอาจจะทรงเห็นว่าพระนามเดิมมาจากคำ อินทรปัต + อินทร + อาทิตย์ แสดงว่าอยู่ใต้อินทรปัตซึ่งเป็นเมืองหลวงของขอม (ดังปรากฏในจารึกหลักที่ ๒) ก็เป็นได้

การที่พ่อขุนผาเมืองทรงยกสุโขทัยและอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์ อาจจะทรงเห็นว่าสุโขทัยในขณะนั้นเป็นเมืองเล็กกว่าศรีสัชนาลัย หรืออาจจะเป็นเพราะว่านางเสือง พระมเหสีของพ่อขุนบางกลางหาวเป็นพระภคินี (พี่สาว) ของพ่อขุนผาเมือง พ่อขุนบางกลางหาวจึงทรงมีสิทธิที่จะได้ครองเมืองก่อนพ่อขุนผาเมืองก็เป็นได้

พ่อขุนผาเมืองเป็นเจ้าเมืองราด มีพระอนุชาคือพระยาคำแหงพระรามครองเมืองสระหลวงสองแคว (พิษณุโลก) โอรสของพระยาคำแหงพระราม คือ มหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี เมื่อเป็นฆราวาสมีฝีมือในการสู้รบ ได้ชนช้าชนะหลายครั้ง รู้ศิลปศาสตร์หลายประการ ขณะอายุ ๓๐ ปีมีบุตรแต่เสียชีวิต มหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีจึงออกบวช ได้ไปปลูกต้นโพธิ์ สร้างพิหาร อาวาส และซ่อมแซมพระศรีรัตนมหาธาตุทั้งในและนอกประเทศ เช่น พม่า อินเดีย และลังกา

อนึ่ง เมืองราดตั้งอยู่ที่ใดมีผู้สันนิษฐานไว้ต่างๆ กันสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าเมืองราดน่าจะอยู่ที่เพชรบูรณ์และเมืองลุมคือเมืองหล่มเก่าแต่ผู้เขียน(ประเสริฐ ณ นคร) วางตำแหน่งเมืองราดเมืองสะค้าและเมืองลุมบาจายไว้ที่ลุ่มแม่น้ำน่านด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
จากจารึกหลักที่ ๒ ทำให้ทราบว่าเมืองราดเมืองสะค้าและเมืองลุมบาจายเป็นกลุ่มเมืองที่อยู่ใกล้กันพ่อขุนผาเมืองอยู่เมืองราดและกษัตริย์น่านมีพระนามผานองผากองและผาสุมแต่กษัตริย์เมืองอื่นไม่ใช้"ผา"นำหน้าพระนามเลยพ่อขุนผาเมืองจึงน่าจะเป็นกษัตริย์น่าน(คือเมืองราดนั่นเอง)นอกจากนี้ยังมีพระราชโอรสของกษัตริย์น่านมีพระนามว่าบาจายอาจจะแสดงว่าน่านมีอำนาจเหนือบาจายแบบพระนามกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์แสดงว่ากรุงเทพฯมีอำนาจเหนือราชบุรีนั่นเอง

อีกประการหนึ่ง จารึกหลักที่ ๘ กล่าวถึงไพร่พลของพระเจ้าลิไทยว่ามีทั้งชาวสระหลวงสองแควพระบางฯลฯเริ่มตั้งแต่เมืองทางทิศตะวันออกของสุโขทัยแล้วกวาดไปทางใต้ทางทิศตะวันตกทางทิศเหนือจนกลับมาจบที่ทิตะวันออกตามเดิมจารึกหลักอื่นเช่นหลักที่ ๓๘ และจารึกวัด อโสการาม (หลักที่๙๓) ก็ใช้ระบบเดียวกันโดยถือตามพระพุทธศาสนาว่าตะวันออกเป็นทิศหน้าแล้ววนตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากสระหลวงสองแควคือพิษณุโลกไปปากยม(พิจิตร)พระบางไปชากังราวสุพรรณภาวกำแพงเพชรรวม ๓ เมืองที่กำแพงเพชรบางพาน(อำเภอพานกระต่ายกำแพงเพชร)ต่อไปจะถึงราดสะค้า ลุมบาจายซึ่งจะอยู่ระหว่างทิศเหนือกวาดมาทางทิศตะวันออกของสุโขทัยและย่อมจะอยู่เหนือสระหลวงสองแควขึ้นไป จารึกหลักที่ ๑ วางลุมบาจายและสะค้าไว้ระหว่างพิษณุโลกกับเวียงจันทน์

อีกประการหนึ่ง ตอนพ่อขุนผาเมืองยกมาช่วยพ่อขุนบางกลางหาวรบกับขอมสบาดโขลญลำพงที่สุโขทัยถ้าหากพ่อขุนผาเมืองอยู่แถวเพชรบูรณ์คงจะมาช่วยไม่ทันสินชัยกระบวนแสงจากคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากรพบใบลานที่วัดช้างค้ำเมืองน่านกล่าวถึงเหตุการณ์สมัยรัชกาลที่ ๒ ว่า เจ้าผู้ครองน่านขึ้นตามแม่น้ำน่านไปถึงอำเภอท่าปลา (ปัจจุบันคือจังหวัดอุตรดิตถ์) ใกล้ห้วยแม่จริม"เมืองราดเก่าหั้น"แสดงว่าสมัยต้นรัตนโกสินทร์ยังทราบกันดีว่าเมืองราดอยู่บนแม่น้ำน่านใกล้อำเภอท่าปลา

          นี่เป็นเรื่องราวที่ได้จากการค้นคว้าทางวิญญาณ  ซึ่งมีความใกล้เคียงกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์อยู่บ้าง  แม้จะผ่านพ้นมานานนับพันปี  ก็ยังพอมีเค้าเรื่องให้ปรากฏ เช่นเดียวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทุกวันนี้  ยังพากันเคารพบูชาสักการะกันอยู่ตลอดเวลา  สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นก็ได้คุ้มครองป้องกันประเทศเหมือนมีสมมุติเทพ  พระสยามเทวาธิราช  เป็นพลังอำนาจและบารมีของแผ่นดินไทย..ฯ

 

 

อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง    

 

อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง  ตั้งอยู่ที่บริเวณสี่แยกพ่อขุน  จุดตัดทางหลวงหมายเลข  /12  (พิษณุโลก-ชุมแพ)  กับทางหลวงหมายเลย  21  (สระบุรี-หล่มสัก)  อำเภอหล่มสัก  จังหวัดเพชรบูรณ์

อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมืองประดิษฐานอยู่บนพระแท่นอย่างสง่างามในท่าประทับยืน  พระพักตร์มองตรงไปทางทิศตะวันออก  พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ  หันปลายจรดพื้น  อันเป็นพระอิริยาบถในท่าที่หยุดพักการศึกสงคราม

พ่อขุนผาเมือง  ปรากฏชื่อในหลักศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่  2  ( จารึกวัดศรีชุม)

ทรงเป็นโอรสพ่อขุนนาวนำถุม  ผู้ครองเมืองราด กษัตริย์ขอมยกพระราชธิดาคือพระนางสิงขรเทวีให้อภิเษกสมรสด้วย  พระราชทานนามสถาปนาเป็น  กมรเต็งอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์  และพระราชทานพระขรรค์ไชยศรี  เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์

ต่อมาพระองค์ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาว  ยึดเมืองสุโขทัยคืนจากขอมสมาสโขลญลำพง  ทรงยกพ่อขุนบางกลางหาวเป็นกษัตริย์  พร้อมทั้งยกตำแหน่ง  กมรเต็งอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์  อันเป็นการอภิเษกพระสหายให้เป็นกษัตริย์สุโขทัย

ถึงแม้ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์จะไม่ชี้ชัดว่าเมืองราดอยู่บริเวณใด  แต่ชาวเพชรบูรณ์สำนึกในคุณงามความดีของพ่อขุนผาเมืองที่มีต่อชาวไทย  ทรงเป็นเจ้าเมืองผู้กอบกู้อิสรภาพกรุงสุโขทัยจากขอม  ทรงเสียสละไม่เห็นแก่ลาภยศ  อำนาจ  โดยเสียสละให้พ่อขุนบางกลางหาวพระสหายเป็นกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย  ชาวเพชรบูรณ์จึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง  เพื่อลำลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่  10มิถุนายน  พ.ศ.2518  มอบให้กองหัตถศิลป  กรมศิลปากร  เป็นผู้สร้าง  ต่อมาเมื่อวันที่  9  มีนาคม  พ.ศ.2520  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จทรงไปประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง  ณ  สี่แยกพ่อขุน  ตำบลน้ำชุน  อำเภอหล่มสัก  เมื่อสร้างพระรูปพ่อขุนผาเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ได้อัญเชิญมาประดิษฐานบนพระแท่น  เมื่อวันที่  29  พฤษภาคม  พ.ศ.2527  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ    ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง  เพื่อเป็นศูนย์รวมพลังจิตใจของชาวเพชรบูรณ์  เมื่อวันที่  30  สิงหาคม  พ.ศ.2527

จากหนังสือวัฒนธรรม  พัฒนาการทางประวัติศาสตร์  เอกลักษณ์และภูมิปัญญา  จังหวัดเพชรบูรณ์

อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกพ่อขุนผาเมือง (สี่แยกหล่มสัก) บ้านน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอหล่มสักประมาณ 3 กิโลเมตร พระรูปทำด้วยโลหะ ประดิษฐานในอิริยาบทยืน พระหัตถ์ขวาทรงดาบปักดิน พระหัตถ์ซ้ายชี้ลงพื้น เป็นที่เคารพสักการะของชาวเพชรบูรณ์ และผู้ที่เดินทางผ่านไปมาในเส้นทางดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติพ่อขุนผาเมือง พ่อขุนผาเมือง วีระกษัตริย์ที่ชาวไทยทุกคน โดยเฉพาะชาวจังหวัดเพชรบูรณ์เคารพสักการะ เพื่อระลึกถึงเกียรติคุณความดีวีระกรรมความกล้าหาญ ความเสียสละ

พ่อขุนผาเมืองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาว จากศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) ระบุว่า บรรพบุรุษของพ่อขุนผาเมืองคือ พ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งครอบครองเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย มีโอรสและธิดา 2 องค์ คือ พ่อขุนผาเมือง และนางเสือง ส่วนบรรพบุรุษของขุนบางกลางหาว ทราบแต่เพียงว่าครองเมืองบางยาง

ต่อมาพ่อขุนศรีนาวนำถม จึงยกนางเสืองให้อภิเษกสมรสกับพ่อขุนบางกลางหาว ฉะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างพ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนบางกลางหาวนอกจากจะเป็นเพื่อนสนิทกันแล้วยังเกี่ยวดองเป็นญาติกันอีกด้วย

เมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์แล้ว ขอมสบาดโขลญลำพง เชื่อว่าเป็นขุนนางเขมรที่ถูกส่งมาดูแลศาสนสถานประจำเมืองสุโขทัย เข้ายึดเมืองสุโยทัยแล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ ครั้งนั้นพ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด ซึ่งเป็นโอรสองค์โตของพ่อขุนศรีนาวนำถม ได้ร่วมมือกับพระสหายคือพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยางเข้าตียึดเมืองสุโขทัย และขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพง โดยที่พ่อขุนผาเมืองเป็นทัพหนุนให้พ่อขุนบางกลางหาว แต่เมื่อพ่อขุนบางกลางหาวจะเสียที จึงร้องขอให้พ่อขุนผาเมืองมาช่วยตีกระหนาบขอมสบาดโขลญลำพงจนพ่ายแพ้ไป

เมื่อขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปแล้ว พ่อขุนผาเมือง จึงอัญเชิญพ่อขุนบางกลางหาวเข้าครองเมืองสุโขทัย โดยสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวครองเมืองสุโขทัย พร้อมมอบพระขรรค์ชัยศรี และพระนามพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมบรมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงที่ครองเมืองสุโขทัยสืบมา เมื่อเสร็จศึกกับขอมสบาดโขลญลำพงแล้ว พ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกกับนางสิงขรมหาเทวี พระราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ขอมที่ครองกรุงยโสธรนครธม

นักประวัติศาสตร์บางท่านให้ข้อสันนิษฐานที่น่าเป็นไปได้ว่าสาเหตุที่พ่อขุนผาเมืองไปยอมปกครองเมืองสุโขทัย อาจเป็นเพราะคนไทยต้องการหลุดพ้นจากอำนาจขอม ประกอบกับพ่อขุนผาเมืองมีฐานะเป็นลูกเขยของกษัตริย์ขอม จึงจำเป็นหลีกทางให้พ่อขุนบางกลางหาวและเหตุผลอีกประการหนึ่งน่าจะเป็นเพราะว่าเมืองราดนั้น อาจจะเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับเขตอิทธิพลขอม พ่อขุนผาเมืองจึงจำเป็นต้องกลับมาเมืองราด เพื่อป้องกันการรุกรานจากขอม หลังจากนั้นเรื่องราวของพ่อขุนผาเมืองก็เลือนไปจากบันทึก ประวัติศาสตร์ข้อสันนิษฐานว่าเมืองราดอยู่ที่ใดนั้น ยังไม่มีหลักฐานและหาข้อสรุปได้ นักวิชาการบางท่านได้ให้ความเห็นว่า เมืองราดน่าจะอยู่บริเวณลุ่มน้ำป่าสัก มากกว่าบริเวณอื่น ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น จากศิลาจารึกหลักที่ 2 ได้ระบุว่าพ่อขุนบางกลางหาวกับพ่อขุนผาเมืองได้ปรึกษาหารือร่วมกันในการเข้าตียึดเมืองสุโขทัย ซึ่งควรที่จะมีการติดต่อสื่อสารกันบ่อย ๆ ฉะนั้นเมืองราดและเมืองบางยางไม่ควรจะอยู่ห่างกันมากนัก และจากข้อความในศิลาจารึกก็ได้ระบุว่า กองทัพของพ่อขุนทั้งสองได้แยกกันเข้าตีเมืองสุโขทัย โดยที่พ่อขุนบางกลางหาวเขาตีทางด้านทิศเหนือ และยึดเมืองศรีสัชนาลัยไว้ได้ ส่วนพ่อขุนผาเมืองบุกเข้าตีทางด้านใต้เมืองสุโขทัย โดยยกผ่านเมืองบางขลง (สันนิษฐานว่าอยู่บริเวณเมืองนครสวรรค์) ก็ยิ่งทำให้น่าเชื่อว่าเมืองราดอยู่บริเวณลุ่มน้ำป่าสัก แต่คงไม่ใช่เมืองศรีเทพ เพราะหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบไม่สอดคล้องกัน

พ่อขุนผาเมือง เป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดผู้หนึ่งในการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย[3] เป็นผู้นำอพยพไพร่พลจากบริเวณลุ่มน้ำคาย เมืองเชียงทอง หรือล้านช้าง หลวงพระบาง นำไพร่พลมาตั้งเมืองใหม่ริมลำน้ำพุง ตั้งแต่บ้านหนองขี้ควาย มาจนถึงบริเวณวัดกู่แก้ว สถาปนาอาณาจักรขึ้นให้เรียกว่าเมืองลุ่ม อาณาจักรแห่งนี้เดิมอยู่ในเขตอิทธิพลของขอม นอกจากนั้นยังปรากฏหลักฐานในนิทานโบราณคดีของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงสันนิษฐานว่า เหตุจะเกิดเมืองหล่มเก่า เห็นจะเป็นด้วยพวกราษฎรที่หลบหนีภัยอันตรายในประเทศล้านช้าง มาตั้งซ่องมั่วสุมกันอยู่ก่อน แต่เป็นที่ดินดีมีน้ำบริบูรณ์เหมาะแก่การทำเรือกสวนไร่นาและเลี้ยงโคกระบือ จึงมีพวกตามมาอยู่มากขึ้นโดยลำดับจนเป็นเมือง แต่เป็นเมืองมาครั้งสุโขทัย มีปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า เมืองลุ่ม ต่อมาภายหลังมาเรียกว่าเมือง หลุ่ม และยังเป็นอีกท่านที่กอบกู้แผ่นดินเอาไว้

เรื่องเล่าพ่อขุนผาเมือง

อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง  อ. หล่มสัก  จ. เพชรบูรณ์

พ่อขุนผาเมือง  จึงร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาว  ต่อสู้กับกองทัพขอมจนได้ชัยชนะและอันเชิญให้  พ่อขุนบางกลางหาว  เป็นปฐมกษัตริย์  ทรงพระนามว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ทั้ง ๆ  ที่พ่อขุนผาเมืองนั้นมีสิทธิในการเป็นกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัยอย่างสมบูรณ์

ในครั้งนั้น  “ศรีสรัธา”  ผู้เป็นหลานของ พ่อขุนผาเมือง ได้จารึกข้อความสำคัญนั้นไว้ว่า

“พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเษกพ่อขุนบางกลางหาว  เจ้าเมืองสุโขทัย  ให้ทั้งชื่อคนแก่พระสายเรียกชื่อ

ศรีอินทรบดินทราทิตย์  นามเดิม  กมรเตงอัญผาเมือง  เมื่อก่อนผีฟ้าเจ้าเมืองสรีโสธรปุระให้ลูกสาวชื่อนางสิขรมหาเทวีกับขันไชยศรี  ให้นามเกียรติแก่พ่อขุนผาเมือง”

พ่อขุนผาเมืองเป็นกษัตริย์นักรบรูปงามและเก่งกล้าสามารถเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว  จนเป็นที่ปรารถนาของ นางสิขรมหาเทวี หรือ นางสิงหเทวี พระราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ขอม แห่งเมืองศรีโสธราปุระ (คือ นครธม)  ดังนั้นกษัตริย์ขอมจึงปรารถนาที่จะได้พระองค์ไว้เป็นราชบุตรเขย  จนมีอุบายยกพระราชธิดาให้พร้อมกับแต่งตั้งพระนามถวายเป็นเกียรติยศว่า  กมรเต็งอัญศรีอินทราบดินทราทิตย์  อันมีความนัยว่า พระองค์จะได้รับเกียรติให้มีศักดิ์เป็นเจ้าเมืองเสมอกันเพื่อจะขึ้นปกครองเมืองสุโขทัยสืบต่อพ่อขุนศรีนาวนำถม  คำว่า “กมรเตงอัญ” เป็นคำเรียกตำแหน่งกษัตริย์ขอม  จึงเท่ากับยอมรับว่า  พระราชบุตรเขยผู้นี้เป็นกษัตริย์ของขอมด้วย  โดยมีพระขรรค์ไชยศรีอันเป็นเครื่องหมายการมีอำนาจของขอมในดินแดนที่เป็นกลุ่มของคนไทย

 

 

 

หลักศิลาจารึกหลักที่ 2

เล่าถึงประวัติพ่อขุนผาเมือง

ด้วยอุบายนี้  พ่อขุนผาเมือง  ก็ทำเหมือนไม่รู้เท่าทัน  จึงยินยอมพร้อมใจที่จะเป็นพระราชบุตรเขยของกษัตริย์ขอม  ด้วยมองเห็นช่องทางที่จะเอาชนะอำนาจของขอมได้  แม้ว่าขณะนั้นจะมี  ขอมสบาดโขลญลำพง  คนของขอมเข้ามาเป็นกำลังอยู่ในเมืองสุโขทัยแล้วก็ตาม  และคนไทยในอาณาจักรสุโขทัยก็จะไม่ได้เสียทีถูกขอมกดขี่รังแกอย่างที่เป็นอยู่ต่อไป

ดังนั้น  พ่อขุนผาเมืองจึงได้ชักชวนพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง ผู้เป็นน้องเขยเข้าร่วมกันวางแผนกอบกูอิสรภาพให้แก่คนไทย

แผนการล่อขอมออกจากเมืองสุโขทัย  จึงได้ถูกวางขึ้นโดย พ่อขุนบางกลางหาว นำกำลังเข้าตีเมืองศรีสัชนาลัย และยึดไว้เป็นฐานที่มั่น  ส่วนพ่อขุนผาเมืองนำกำลังไปกวาดต้อนผู้คนแถวเมืองบางขลังที่อยู่ตอนใต้เมืองศรีสัชนาลัยเข้าไปสมทบกันที่เมืองศรีสัชนาลัย

เมื่อกองทัพขอมสบาดโขลญลำพง  ออกจากกรุงสุโขทัยมาชิงเมืองศรีสัชนาลัยคืนนั้น  สองพ่อขุนได้ทำทีว่าได้ร่วมกันรบกอบกู้อิสรภาพอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย  โดยนั่งคอช้างออกตระเวนดูแนวรบ  ครั้นเมื่อกลับเข้าเมืองแล้ว  พ่อขุนผาเมืองก็ลอบยกกำลังเดินทางเข้ายึดเมืองสุโขทัยไว้ได้  แล้วนำกำลังเข้าตีขนาบทั้งสองด้าน  ทั้งกำลังของพ่อขุนบางกลางหาวก็ยกออกจากเมืองศรีสัชนาลัยตีไล่จนกองทัพขอมหนีพ่ายออกไป

สำหรับเส้นทางเดินทัพที่เข้าไปตีกรุงสุโขทัยจากขอมนั้น  จากเมืองบางยาง (คือ อำเภอนครไทย  จังหวัดพิษณุโลก)  เดินทางปางชาติตระการ  ผ่านบ้านดง  บ้านแสนขัน  บ้านนาป่าคาย  บ้านนาลับแลง  บ้านท่าเสา  เข้าทางทุ่งยั้ง  และเข้ายึดเมืองศรีสัชนาลัย  และจึงเดินทางเข้าตีกรุงสุโขทัย  เส้นทางนี้ประมาณเอาสำเนียงภาษาพูดเป็นหนทาง  เพราะมีหมู่บ้านดังกล่าวออกสำเนียงภาษาถิ่นชาวนครไทยหรือชาวบางยาง

เมื่อกองทัพไทยชนะขอมที่เมืองสุโขทัยแล้ว  พ่อขุนผาเมืองก็กลับเมืองราด  โดยถวายพระนามของตนเองและพระขรรค์ไชยศรีให้ “พ่อขุนบางกลางหาว” เป็นกษัตริย์พระนามว่า  พ่อขันศรีอินทรบดินทราทิตย์  หรือพ่อขันศรีอินทราทิตย์  โดยไม่ยอมขึ้นครองเป็นกษัตริย์เสียเอง  การเสียสละครั้งนี้  ขุนผาเมืองได้มองเห็นเหตุการณ์ข้างหน้าว่า  หากตนเองเป็นกษัตริย์แล้ว ก็ย่อมที่จะตกอยู่ในอำนาจขอม  เพราะข้อผูกพันดังกล่าว  และจะเป็นที่หวาดระแวงในกลุ่มคนไทยด้วยกัน  โดยเฉพาะพ่อขุนบางกลางหาวผู้เป็นน้องเขย แลเป็นพระญาติสนิท  นอกจากจะเป็นอุบายให้กษัตริย์ขอมเข้าใจว่าเป็นพระองค์แล้ว  ยังประวิงให้คิดว่า  เมืองสุโขทัยยังมิได้เอาใจออกห่างเพื่อให้โอกาสกษัตริย์องค์ใหม่ฟื้นฟูแผ่นดิน

 

มณทปวัดศรีชุม สุโขทัย

สถานที่ค้นพบหลักศิลาจารึก หลักที่ 2

ดังนั้น  เมื่อ พ่อขุนผาเมือง ถูก พระนางสิขรมหาเทวี  รบเร้าให้พระองค์ยกกองทัพไปชิงเอาเมืองสุโขทัยกลับคืนมาให้ได้  จึงทำให้พระองค์ตกอยู่ในสภาพที่ทำอะไรไม่ถูก  จึงได้หนีออกจากเมืองราดล่องไปตามลำน้ำป่าสัก  พร้อมกับพระชายาเดิม ซึ่งเป็นคนไทย คือ พระนามทวรังค์เทวี แล้วไปพักอยู่ที่เมืองศรีเทพชั่วระยะหนึ่ง จึงเดินทางต่อไปทางเมืองเวียงจันทน์  เมืองไชย  เมืองเชษฐ  เดินทางรอนแรมไปโดยไม่มีจุดหมายปลายทางอยู่เป็นเวลานับปี  ในที่สุดพ่อขุนผาเมืองก็หยุดพักอยู่ที่เมืองละเม็ง  เป็นแหล่งสุดท้าย  ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ  อยู่ทางตอนเหนือของเมืองเชียงแสน  ตัดกังวลหันมาสร้างบุญกุศลโดยบูรณะพระธาตุจอมกิตติ  อันเป็นพระธาตุที่ปู่ของพระองค์ คือ พระเจ้าพังคราช (?)

พระนางสิขรมหาเทวี  พอรู้ว่าพ่อขุนผาเมืองหนีออกจากเมืองราด ก็รู้สึกโกรธแค้นถึงกับขนาดทำการเผาเมืองราด  แล้วออกติดตามพระสวามี ซึ่งพ่อขุนผาเมืองได้รู้ข่าวขณะที่ล่องไปตามลำน้ำป่าสัก แม้จะเข้าใจถึงความรู้สึกของมเหสี แต่ก็ต้องเดินทางต่อไปไม่หวนกลับ  ด้วยมีพวกขอมส่งคนออกรูปติดตามพระองค์เพื่อที่จะส่งข่าวไปยังกษัตริย์ขอม  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีความเป็นห่วงก็ให้คนติดตามร่องรอย  เพื่อปกป้องคุ้มครองพ่อขุนผาเมือง  แต่ก็ไม่มีใครได้พบพานว่าพ่อขุนผาเมืองไปอยู่ที่แห่งใด

เพราะตลอดการเดินทางนั้น  พ่อขุนผาเมืองได้พลางตัวเป็นคนสามัญเดินทางเข้าออกไปในที่ต่าง ๆ  จนถึงพระธาตุจอมกิตติ  แล้วพระองค์ก็เข้าสู่ภูมิในโลกทิพย์  ณ สถานที่สำคัญแห่งนั้น  ความเสียสละเพื่อแผ่นดินและชนชาติไทยนั้น  พระองค์ได้บำเพ็ญบุญญาธิการ  จนได้นิมิตเป็นพระสยามเทวาธิราชคอยปกป้องคุ้มครองแผ่นดินสยามสืบต่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  โดยมีพ่อขุนเม็งราย  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  เป็นผู้ช่วยเหลือในภพของเทพยดา

 

 

อนุสรณ์สถานเมืองราด  อ. หล่มสัก  จ. เพชรบูรณ์

สำหรับประวัติของพ่อขุนผาเมืองนั้น  ได้ข้อมูลมาจาก คุณศรีเพ็ญ  จัตุทะศรี แห่งสำนักค้นคว้าทางวิญญาณ (ซึ่งผู้จัดทำก็ได้ไปดูคุณศรีเพ็ญฯ  ดำเนินการอยู่  โดยอนุสาวรีย์ของพระองค์ได้ประดิษฐานอยู่ที่หน้าแค้มป์สน  ซึ่งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์ไทยแห่งหนึ่ง  ดำเนินการโดยอาจารย์พร รัตนสุวรรณ  ซึ่งท่านเสียชีวิตไปแล้ว) ได้สรุปไว้ดังนี้

พ่อขุนผาเมือง  เป็นเผ่าไทย (ตามสำเนียงที่พูดเสียงคล้ายไทยใหญ่ หรือ ไทยล้านนาโบราณ)  ตัวท่านอพยพมาจาก เวียงสีทวง (เวียงสีทวงเป็นเวียงเก่าในเขตอำเภอเชียงแสน  จังหวัดเชียงราย)  บิดาของท่านชื่อ พะมะ  (สันนิษฐานว่า เป็นท้าวพรหมมหาราช  หรือพ่อขุนศรีนาวนำถมที่จารึกในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง บิดาของท่านรบเก่งมาก  เพราะสมัยนั้นมีแต่รบกัน  เพื่อมิให้อิทธิพลอำนาจขอมข่มเหงกดขี่ บิดาของท่านมีของสำคัญเป็นอาวุธคู่มือ คือ นาคบ่งบาศก์ที่ได้มาจากพวกพญานาค) บิดาของท่านพยายามตั้งตนเป็นใหญ่  รวบรวมเผ่าไทยที่กระจัดกระจายจนสร้างเวียงไชยนารายณ์  ถูกอิทธิพลขอมรุกรานจนไม่สามารถรักษาเวียงไชยนารายณ์ไว้ได้  จึงอพยพลงมาตั้งเวียงสีทวง  ปู่ของท่านชื่อ สะหม่า (สันนิษฐานว่าเป็นพระเจ้าพังคราช) รบไม่เก่ง รบแพ้ขอมอยู่เรื่อย

ชื่อของท่านว่า “ผาเมือง” เป็นลูกของแม่คนรอง  บิดามีหลายแม่  มามีชื่อพ่อขุนผาเมือง เมื่อสร้างเมืองฮาด (เมืองราด) ชาวเมืองจึงขนานนามท่านว่า “พ่อขุนผาเมือง”   ท่านมีน้องชายอีกคนแต่ต่างมารดากัน

ชื่อพระเจ้าไชยสิริ

ตอนเวียงสีทวงถูกพวกขอมหรือเขมรดำตีแตก พ่อขุนผาเมืองจึงอพยพข้ามลำน้ำโขงมาทางเวียงของหลวงพระบางเวียงจันทน์  แล้ววกข้ามฝั่งไทยไปทางวังสะพุง  จังหวัดเลย  ล่องมาตามลำน้ำป่าสักตีนครเดิด  ตีเมืองศรีเทพ  จากพวกขอมและเขมรดำได้  แล้วกลับไปตังเมืองรวมกำลังอยู่ที่เมืองราด

 

อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมืองที่ ต. แคมป์สน

อ. เขาค้อ จ. เพชรบูรณ์  สร้างตามคำบอกเล่า

ของคุณศรีเพ็ญ  จัตุทะศรี

น้องชายของท่านคือ พระเจ้าไชยสิริ  อพยพไปทางเมืองแปน (เมืองเก่าในจังหวัดกำแพงเพชร) และตั้งตนเป็นใหญ่ครองเมืองอยู่ในที่นั้น

สำหรับญาติของท่านอีกคนหนึ่ง (ลูกของน้าชาย) เปรียบเหมือนพระสหายที่ถูกคอ คือ อ้ายท่าวได้อพยพมาตั้งมั่นอยู่ทางเมืองวังกวาง (ประวัติศาสตร์เรียกเมืองบางยาง  อยู่ในอำเภอนครไทย  จังหวัดพิษณุโลก)  ตั้งตนเป็นใหญ่  ชาวเมืองขนานนามว่า  พ่อขุนบางกลางหาว

ตอนจะเข้าไปตีเมืองสุโขทัย  เพื่อให้พ้นจากอำนาจเขมรดำ (ขอม) สมัยนั้นยังไม่มีชื่อว่า “สุโขทัย  พ่อขุนผาเมืองตีเมืองเดิด  เมืองแก่งหลวง  เมืองโสโห  และเมืองโรงโหง  จนสามารถชนะเขมรดำ (ขอม) ได้โดยเด็ดขาด แล้วจึงยกให้พ่อขุนบางกลางท่าว เป็นกษัตริย์ครองเมืองรวมอาณาจักรแห่งนั้นขึ้นเป็นอาณาจักรกรุงสุโขทัย”

นี่เป็นเรื่องราวที่ได้จากการค้นคว้าทางวิญญาณ  ซึ่งมีความใกล้เคียงกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์อยู่บ้าง  แม้จะผ่านพ้นมานานนับพันปี  ก็ยังพอมีเค้าเรื่องให้ปรากฏ เช่นเดียวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทุกวันนี้  ยังพากันเคารพบูชาสักการะกันอยู่ตลอดเวลา  สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นก็ได้คุ้มครองป้องกันประเทศเหมือนมีสมมุติเทพ  พระสยามเทวาธิราช  เป็นพลังอำนาจและบารมีของแผ่นดินไทย..ฯ

พระราชกรณียกิจของพ่อขุนผาเมืองคืออะไร

พ่อขุนผาเมืองเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดผู้หนึ่งในการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย เจ้าชายผู้นี้เป็นผู้พิชิตศึกที่สุโขทัยรบชนะขอมสลาดโขลญลำพง และยึดเมืองไว้ได้ก่อนที่พ่อขุนบางกลางหาวจะนำทัพผ่านศรีสัชนาลัยมาถึงสุโขทัย โดยแท้จริงแล้วเมืองสุโขทัยขณะนั้นเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของพ่อขุนผาเมือง แต่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ และต้องร่วมมือ ...

พ่อขุนผาเมืองมีสหายชื่อว่าอะไร

พ่อขุนผาเมืองเป็นพระสหายพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และเป็นโอรสพ่อขุนศรีนาวนำถุม

พ่อขุนผาเมืองยุคไหน

ราชวงศ์สุโขทัยมีประวัติปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) ใจความว่า ผู้ตั้งราชวงศ์มี 2 คน ด้วยกัน คือ พ่อขุนผาเมือง และพ่อขุนบางกลางหาว ได้ช่วยกันตั้งราชวงศ์ขึ้นเมื่อพ.ศ. 1800 พ่อขุนผาเมืองเป็นลูกพ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยในครั้งนั้นเมืองสุโขทัยยังเป็นเมืองประเทศราชของขอมอยู่

พ่อขุนผาเมืองให้ใครขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย

ในบรรดาชาวเพชรบูรณ์ แทบจะไม่มีใครที่ไม่รู้จักพ่อขุนผาเมือง (เจ้าเมืองราด) วีระกษัตริย์ไทยผู้ทรงต่อสู้ทำสงครามกับขอมเพื่อรักษาดินแดนสุโขทัยเอาไว้ร่วมมือกับพ่อขุนบางกลางหาวเมื่อพุทธศักราช 1800 ในเวลาต่อมาได้ทรงสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย และถวายพระนามว่า "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" อนุสาวรีย์แห่งนี้ ...