ภ งด 94 ปี 2564 ยื่นภายในวันที่

  • บทความ
  • ทันเหตุการณ์
  • เลื่อน!! ยื่นภาษีครึ่งปี 2564 ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุ..
ภ งด 94 ปี 2564 ยื่นภายในวันที่

เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2564 หมวดหมู่ ทันเหตุการณ์ โดย Accounting Center

ภ งด 94 ปี 2564 ยื่นภายในวันที่

ข่าวดี!! กรมสรรพากร ขยายเวลายื่นภาษีกลางปี 2564 ทั้งภ.ง.ด.51 และภ.ง.ด.94

หลังจากลุ้นกันมาซักพัก

วันนี้กระทรวงการคลังได้ประกาศเลื่อนวันสุดท้ายสำหรับการยื่นภาษีครึ่งปี 2564 สำหรับทั้งนิติบุคคล (ภ.ง.ด.51) และ บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.94) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ประชาชนและผู้ประกอบการ  โดยสรุปกำหนดการใหม่ได้ดังนี้

  • ยื่นภาษีครึ่งปีนิติบุคคล ภ.ง.ด.51 วันสุดท้าย ภายในวันที่ 23 กันยายน 2564
  • ยื่นภาษีครึ่งปีบุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94 วันสุดท้าย ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2564

*** เลื่อนเฉพาะการยื่นแบบออนไลน์เท่านั้น ***

ภ งด 94 ปี 2564 ยื่นภายในวันที่

ภ งด 94 ปี 2564 ยื่นภายในวันที่

ภาษีเงินได้ครึ่งปีนิติบุคคล (ภ.ง.ด.51)

สำหรับนิติบุคคล เช่น บริษัท และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.)  สรรพากรขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการฯ และจ่ายชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2564 (ภ.ง.ด.51) ซึ่งเดิมมีกำหนดการยื่นแบบภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ถึงวันที่ 22 กันยายน 2564 เลื่อนออกไปเป็นยื่นภายในวันที่ 23 กันยายน 2564 เฉพาะการยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตเท่านั้น

ภาษีเงินได้ครึ่งปีบุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.94)

สำหรับบุคคลธรรมดา  สรรพากรขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการฯ และจ่ายชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ประจำปีภาษี 2564 (ภ.ง.ด.94) ซึ่งเดิมมีกำหนดการยื่นแบบภายในวันที่ 8 ตุลาคม 2564  เลื่อนออกไปเป็นยื่นภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2564 เฉพาะการยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตเท่านั้น

ที่มา: กรมสรรพากรและข่าวกระทรวงการคลัง

ภ งด 94 ปี 2564 ยื่นภายในวันที่

ถ้าคุณกำลังมองหานักบัญชีให้คำปรึกษาและให้บริการยื่นภาษี

ไม่ต้องปวดหัวกับการตามล่าหานักบัญชีอีกต่อไป

Accounting Center รวบรวมนักบัญชีจากทั่วประกาศมาให้คุณเลือกสรร

ค้นหานักบัญชี สำนักงานบัญชี ได้ง่ายๆ เพียงไปที่ https://accountingcenter.co/accountant

เข้าไปแล้วเลือกจังหวัด/เขตของคุณได้เลย  #ตัวเลือกมากมาย #ง่าย #ลดเวลาตามหา

ภ งด 94 ปี 2564 ยื่นภายในวันที่

ภ งด 94 ปี 2564 ยื่นภายในวันที่

ภ งด 94 ปี 2564 ยื่นภายในวันที่


เผยแพร่ 21 ก.พ. 2565 ,08:35น.




ยังคงอยู่ในช่วงของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งในประเภทของการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยังมีในส่วนของ ภ.ง.ด.94 หรือเรียกกันว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ซึ่งมีกำหนดการยื่นภาษีช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. ของปีที่ได้รับเงินได้

ภ.ง.ด.94 ของปีภาษี 2564 จะเป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. หรือครึ่งปีปฏิทินแรก เกิน 60,000 บาท (120,000 บาทกรณียื่นกับคู่สมรส)  ซึ่งเป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี สำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งก็คือ ผู้เงินได้ประเภทที่ 5 ถึง 8 ตามกฎหมาย โดย

ยื่นภาษีของปี 2564 ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และภาษีทุกประเภท ผ่าน E-FILING

Step by Step ยื่นภาษีออนไลน์บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 / 91

เงินได้ประเภทที่ 5 คือ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้จาก

ภ งด 94 ปี 2564 ยื่นภายในวันที่
  • การให้เช่าทรัพย์สิน
  • การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
  • การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 

เงินได้ประเภทที่ ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

ภ.ง.ด.94 ลดหย่อนได้หรือไม่

วิธี "กรอกค่าลดหย่อน" ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 90/91

ในส่วนของการลดหย่อน สำหรับผู้ที่ยื่นภาษี ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนผู้มีเงินได้ ได้เพียง กึ่งหนึ่ง คือ  15,000 บาท สำหรับกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หักลดหย่อนผู้มีเงินได้ ได้เพียงกึ่งหนึ่ง ตามจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลที่อยู่ในไทย คือ

  • กรณีเป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลอยู่ในไทยเพียงคนเดียว ให้หักลดหย่อนผู้มีเงินได้เพียงคนเดียว  เป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท
  • กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลอยู่ในไทยตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ให้หักลดหย่อนผู้มีเงินได้ ทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท
  • ในส่วนของการลดหย่อนคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ เพียงกึ่งหนึ่ง คือ 15,000 บาท โดยกรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนคู่สมรสได้ไม่ว่าคู่สมรสจะอยู่ในไทยหรือไม่
  • ส่วนกรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ไม่ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะคู่สมรสที่เป็นผู้อยู่ในไทยเท่านั้น

ลดหย่อนบุตรได้ "กึ่งหนึ่ง"

  • บุตรที่ไม่ได้ศึกษาหรือศึกษาอยู่ในต่างประเทศ ให้หักลดหย่อนได้คนละ 7,500 บาท
  • บุตรที่ศึกษาอยู่ในประเทศ ให้หักลดหย่อนได้คนละ 8,500 บาท
  • กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนบุตรทั้งที่อยู่ในไทยและอยู่ต่างประเทศ
  • กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ไม่ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนเฉพาะบุตรที่อยู่ในไทยเท่านั้น โดยให้หักลดหย่อนได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่

หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง

สำหรับส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท หักได้เพียงกึ่งหนึ่ง คือไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 56 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้ได้รับยกเว้นอีก ไม่เกิน 90,000 บาท สำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ตามข้อ 5 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ.2551) แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย

สำหรับคู่สมรสไม่มีเงินได้ แต่ทำประกันชีวิตไว้  ผู้มีเงินได้ไม่สามารถนำเบี้ยประกันของคู่สมรสมาหักลดหย่อน เนื่องจากความเป็นสามีภริยามิได้อยู่ตลอดปีภาษี เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี  จึงจะนำเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้มาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

สิทธิยกเว้นเงินได้ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา  ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท เช่นเดียวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90  ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

แต่สามารถหักลดหย่อนบิดามารดาของผู้มีเงินได้หรือบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้เพียงกึ่งหนึ่ง คือคนละ 15,000 บาท ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

กรณีบิดามารดาถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี (เช่น ตายในเดือนมิถุนายน) ให้บุตรเพียงคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ โดยแนบ แบบ ล.ย.03 และสำเนาใบมรณบัตร พร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94

"ภาษียูทูบเบอร์" สายรีวิว สาย Vlog ต้องรู้

หักลดหย่อนจาก ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) 

ในจำนวนไม่เกินอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่ 1ม.ค. 2551 เป็นต้นไป ตามข้อ 4 และข้อ 6 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ.2551) ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม

ให้หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายไปจริงในระหว่างเดือน ม.ค. ถึง มิ.ย. คือ

  • ส่วนที่จ่ายไปไม่เกิน 10,000 บาท หักลดหย่อนได้เพียงกึ่งหนึ่งคือ   5,000 บาท
  • สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้หักได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 90,000 บาท

ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 264 (พ.ศ.2550) ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 165)(ฉบับที่ 166) และ (ฉบับที่ 167)

ผู้มีเงินได้มีเงินบริจาค ต้องคำนวณเพียงกึ่งหนึ่ง

ยกเว้นเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายได้เท่ากับจำนวนเงิน กึ่งหนึ่ง ที่ได้บริจาคจริงในเดือนมกราคมถึงมิถุนายนของปีภาษีนั้นๆ ตามมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่รวมกันต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช่จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว (ก่อนหักเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา)

อย่างไรก็ตาม เงินได้จากการขายที่ดินหักค่าใช้จ่ายเหมาตามจำนวนปีที่ถือครอง คงเหลือเงินได้สุทธิคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ จะ ไม่ได้รับยกเว้นเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก เนื่องจากเป็นการคำนวณภาษีตามมาตรา 48(4) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่การคำนวณภาษีตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ภ งด 94 ปี 2564 ยื่นภายในวันที่

ตัวอย่างวิธีคำนวณภาษี ภ.ง.ด.94 เช่น ถ้ามีเงินได้สุทธิ จำนวนเงิน 750,000 บาท จะมีภาษีที่คำนวณได้   85,000 บาท โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้

0  -  150,000  บาท                                                         ยกเว้น

150,001 -  500,000  บาท   อัตราร้อยละ 10   เท่ากับ         35,000 บาท

500,001 -  750,000 บาท    อัตราร้อยละ 20   เท่ากับ         50,000 บาท

รวมภาษีที่คำนวณได้                                                         85,000 บาท

การผ่อนชำระกรณีต้องจ่ายภาษีเพิ่มเติม

กรณีที่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ภายในกำหนดเวลา ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นชำระภาษีผ่านธนาคาร ยกเว้นธนาคารกรุงไทย และมีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป สามารถผ่อนชำระได้ไม่เกิน 3 งวด เท่าๆ กัน 

  • งวดที่ 1 ชำระพร้อมกับการยื่นแบบภายในวันที่ 30 กันยายน
  • งวดที่ 2 ชำระภายในวันที่ 31 ตุลาคม
  • งวดที่ 3 ชำระภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน

กรณีมิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะผ่อนชำระและต้องชำระภาษีอากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ  ทั้งนี้ การยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถผ่อนชำระได้

ยื่นเกินกำหนด "เจอค่าปรับ"

แต่ถ้า ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เกินกำหนด จะเสียค่าปรับอาญา

  • กรณียื่นเกินกำหนดไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 100 บาท
  • กรณียื่นเกินกำหนด   เกิน  7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 200 บาท
  • เสียเงินเพิ่ม (ถ้ามีเงินภาษีที่ต้องชำระ) อัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนคิดเป็นหนึ่งเดือน
ภ งด 94 ปี 2564 ยื่นภายในวันที่
ภ งด 94 ปี 2564 ยื่นภายในวันที่

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline

ยื่นแบบ ภงด.94 ได้ถึงวันไหน

ใกล้ถึงฤดูกาลยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดาครึ่งปี (.ง.ด. 94) กันแล้ว สำหรับในปีภาษี 2565 มีกำหนดการยื่นแบบชำระภาษีได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 หรือยื่นออนไลน์ได้ที่ www.rd.go.th ถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2565.

ยื่นภาษี ภงด 94 ได้ถึงวันไหน 2565

กรมสรรพากรจะเปิดให้บริการยื่นแบบและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ "เกินกำหนดเวลา" เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2565. 13 กันยายน 2565.

ภงด.94 จําเป็นต้องยื่นไหม

.ง.ด.94 คืออะไร คุณต้องยื่นไหม เป็นบุคคลธรรมดาหรือคนทั่วไปสถานะโสดที่มีรายได้ตั้งแต่ 60000 บาท จะต้องยื่น ภ.ง.ด.94. เป็นบุคคลธรรมดาหรือคนทั่วไปสถานะแต่งงาน ต้องมีรายได้รวมกันตั้งแต่ 120000 บาท จะต้องยื่น ภ.ง.ด.94.

ยื่นภาษีกลางปีได้ถึงวันไหน

คือ การคำนวณภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา​ (บุคคลธรรมดา ผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง หรือห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล) ในช่วงครึ่งแรกของปีปฏิทิน (มกราคม – มิถุนายน) โดยต้องยื่นภายในวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี