พระมหาธรรมราชาที่ 1 ผลงานสําคัญ

    ประวัติพระมหาธรรมราชาที่๑ (พญาลิไท)

       พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเลอไท และเป็นพระนัดดาของพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์พระ ร่วง ครองกรุงสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๐ - พ.ศ. ๑๙๑๒ (๑๙๑๔) ก่อนขึ้นครองราชสมบัติทรงดำรงตำแหน่งอุปราช ครองเมืองศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๘๓ - พ.ศ.๑๘๙๐ ใน พ.ศ. ๑๘๙๐ เมื่อพระยางั่วนำถม พระมหากษัตริย์ครองราชสมบัติ ณ กรุงสุโขทัย ได้เสด็จสวรรคตได้เกิดการจราจลชิงราชสมบัติกรุงสุโขทัยขึ้น พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงสามารถยกกองทัพมาปราบปรามศัตรูได้หมดสิ้น และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราช วงศ์พระร่วงเฉลิมพระนามว่า ศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช

        เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ พระเจ้าอู่ทอง ได้ส่งกองทัพจากศรีอยุธยามาโจมตี และยึดเมือง พิษณุโลก (สองแคว) ไว้ได้ ทำให้อาณาจักรสุโขทัยเกิดความไม่มั่นคง และไม่ปลอดภัย เพราะเมืองพิษณุโลกอยู่ใกล้กับสุโขทัยมาก ดังนั้น พระมหาธรรมราชาที่๑ (พระยาลิไท) จึงทรงส่งคณะราชฑูต ไปขอเจริญพระราชไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)และได้ขอเมืองพิษณุโลกคืนจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งก็ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ หลังจากนั้นพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ก็ทรงเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก เป็นเวลา ๗ ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๐๕ - พ.ศ. ๑๙๑๒ เพื่อป้องกันมิให้ทางกรุงศรีอยุธยา ส่งกองทัพไปรุกรานกรุงสุโขทัยและทรงมอบให้พระขนิษฐาองค์หนึ่งของ พระองค์ปกครอง กรุงสุโขทัยแทน
           ในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) เสด็จสวรรคต พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ได้เสด็จกลับไปครองกรุงสุโขทัยดังเดิม

พระราชกรณียกิจ

 พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์มีดังนี้

 ๑. ทรงรวบรวมราชอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และขยายพระราชอำนาจออกไปได้เมืองระหว่างแควจำปาสักกับแม่น้ำปิง จนจดแม่น้ำน่านทาง ทิศเหนือ มาไว้ในราชอาณาจักรสุโขทัย
๒. ด้านศาสนา พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงมีบทบาทสำคัญในการทำนุบำรุงและเผยแพร่พระพุทธศาสนา กล่าวคือ ได้ส่งพระ สงฆ์ออกไปเผยแพร่ พระพุทธศาสนายังที่ต่าง ๆ เช่น ที่เมืองเชียงใหม่ พิษณุโลก อยุธยา และหลวงพระบาง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระเจดีย์เมืองนครชุม (กำแพงเพชร) พ.ศ. ๑๙๐๒ ทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกุฏ ซึ่งอยู่นอกเมืองสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๐๔ โปรดให้สร้างวัด ป่ามะม่วง (สุโขทัย) พระองค์ทรงมีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก ได้ผนวชเป็นสามเณรในพระราชมณเฑียร และผนวชเป็นพระภิกษุที่วัดป่ามะม่วง ในกรุง สุโขทัย ทรงโปรดให้หล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดเท่ากับองค์พระพุทธเจ้า ถวายพระนามว่า พระศรีศากยมุนี ประดิษฐานที่พระวิหารวัดพระ ศรีรัตนมหาธาตุ สุโขทัย
๓. ด้านภาษาและวรรณคดี พระองค์ทรงมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ดังมี หลักฐานปรากฏในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ว่าพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงนิพนธ์ขึ้นใน พ.ศ.๑๘๘๘ ครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช ครองเมืองศรีสัชนาลัย หนังสือไตร ภูมิพระร่วงนี้ ซึ่งเป็นวรรณคดี ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา นับเป็นวรรณคดีไทยชั้นเยี่ยมเล่มแรกของไทย และทรงโปรดเกล้าฯ ให้จารึกเรื่องราวต่าง ๆ ในรัชสมัยของพระองค์ลงในแผ่นศิลา โดยเฉพาะศิลาจารึกกรุงสุโขทัยหลักที่ ๔ ซึ่งมีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในสมัยสุโขทัย และประวัติศาสตร์ เมืองพิษณุโลกเป็นอย่างยิ่งพระราชกรณียกิจขณะทรงประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก

             พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก เป็นเวลา ๗ ปี ได้ทรงสร้างเมืองพิษณุโลก และพระราชวังขึ้น ทางฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำน่าน คือ พระราชวังจันทน์ ทรงสร้างปูชนียสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หล่อพระพุทธชินราช ซึ่งเป็น พระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในประเทศไทย พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำต้นโพธิ์จากลังกามาปลูกไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พิษณุโลก จากพระราชกรณียกิจที่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ได้ทรงกระทำแล้ว นับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่ทรงวางรากฐาน และสร้าง ความเจริญในจังหวัดพิษณุโลกพระราชกรณียกิจ

การศาสนา
พระยาลิไทยทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากนโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนา เป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้ ด้วยทรงดำริว่าการจะขยายอาณาเขตต่อไปเช่นเดียวกับในรัชการพ่อขุนรามคำแหง พระอัยกา ก็จักต้องนำไพร่พลไปล้มตายอีกเป็นอันมาก พระองค์จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะปกครองบ้านเมืองเช่นเดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงปกครองอินเดียให้เจริญได้ด้วยการส่งเสริมพระพุทธศาสนา และสั่งสอนชาวเมืองให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันจะเป็นวิธีรักษาเมืองให้ยั่งยืนอยู่ได้

ทรงสร้างเจดีย์ที่เมืองนครชุม (กำแพงเพชร) ผนวชในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 1905 ที่วัดป่ามะม่วงการที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่าง ๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน แม้แต่พระเจ้ากือนาธรรมิกราชแห่งอาณาจักรล้านนาก็นิมนต์พระสุมณเถระจากสุโขทัยไปเพื่อเผยแพร่ธรรมที่ล้านนา

นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศคือ พระพุทธชินราช ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

พระยาลิไทย ทรงปราดเปรื่องในความรู้ในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก พระองค์ได้ทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่าย "คามวาสี" และฝ่าย "อรัญวาสี" โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นหนักการสั่งสอนราษฎรในเมืองและเน้นการศึกษาพระไตรปิฎก ส่วนฝ่ายอรัญวาสีเน้นให้หนักด้านการวิปัสสนาและประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระศาสนาตลอดพระชนม์ชีพ ราษฎรจึงถวายพระนามว่า "พระมหาธรรมราชา"

พระยาลิไท ได้สร้างและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระธาตุช่อแฮ (วัดพระธาตุช่อแฮพระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๒

นอกจากศาสนาพุทธแล้ว พญาลิไทยยังทรงอุปถัมภ์ศาสนาพราหมณ์ด้วยโดยทรงสร้างเทวรูปขนาดใหญ่หลายองค์ซึ่งยังเหลือปรากฏให้ศึกษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพมหานครและที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดพิษณุโลก

ภาษาและวรรณคดี แก้ไข
ด้านอักษรศาสตร์ทรงพระปรีชาสามารถนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วงที่นับเป็นงานนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ด้วยทรงเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกจึงทรงนิพนธ์ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ประเพณีในพระพุทธศาสนา โลกมนุษย์ สวรรค์ และนรก

นอกจากพระเจ้าลิไทยจะทรงนิพนธ์วรรณคดีเล่มแรกของไทยแล้ว ยังทรงดัดแปลงการเขียนหนังสือไทยที่พ่อขุนรามคำแหงทรงสร้างไว้ โดยกำหนดให้มีสระข้างบน ข้างล่าง ข้างหน้า ข้างหลัง รวมทั้งแก้ไขรูปพยัญชนะให้อ่านเขียนสะดวกขึ้น

การสร้างเมือง
ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม

ทรงสร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวงโดยการย้ายเมืองซึ่งเคยอยู่ที่สองแควซึ่งเดิมอยู่ทางใต้ (วัดจุฬามณีในปัจจุบัน) แต่ยังคงเรียกว่าเมืองสองแควตามเดิม

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
นับแต่พระยาลิไทยได้ครองราชย์มา 2 ปี พระเจ้าอู่ทองผู้ครองกรุงศรีอยุธยา ได้ให้ขุนหลวงพระงั่วยกทัพมาตีเมืองชัยนาท หัวเมืองชั้นในของกรุงสุโขทัยด้วยขณะนั้นกรุงสุโขทัยอ่อนแอจากทุพภิกขภัย ข้าวกล้าในนาเสียหาย ชาวเมืองอดอยาก

ต่อมาพระยาลิไทยได้ส่งทูตไปเจรจาให้กรุงศรีอยุธยาคืนเมืองชัยนาทแต่โดยดี และจะยินยอมให้เป็นประเทศอิสระและมีไมตรีกันเช่นเดียวกับขอมที่ครองเมืองลพบุรี กรุงศรีอยุธยาเห็นควรด้วยเกรงว่าขอมจะร่วมมือกับกรุงสุโขทัยจัดทัพกระหนาบมาตี กรุงศรีอยุธยาจึงคืนเมืองชัยนาทให้พระยาลิไทย

หลังจากสัมพันธไมตรีระหว่าง 2 กรุงดำเนินมาได้ราว 10 ปี เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคต ไมตรีระหว่างกรุงสุโขทัยกับกรุงศรีอยุธยาก็เริ่มตึงเครียดขึ้น และเมื่อขุนหลวงพระงั่ว (พระบรมราชาธิราช) ได้ราชสมบัติครองกรุงศรีอยุธยา ก็ได้กรีธาทัพไปตีกรุงสุโขทัย สงครามระหว่าง 2 กรุงดำเนินไปถึง 6 ปีเศษ ขุนหลวงพระงั่วก็ไม่อาจเอาชัยทัพพระยาลิไทย กรุงสุโขทัยได้


ที่มา : http://www.prapucha36.com/article/8/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%91-%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97




พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) มีบทบาทสำคัญในด้านการส่งเสริมคุณธรรมอย่างไร

๒. ด้านศาสนา พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ทรงมีบทบาทสำคัญในการทำนุบำรุงและเผยแพร่พระพุทธศาสนา กล่าวคือ ได้ส่งพระ สงฆ์ออกไปเผยแพร่ พระพุทธศาสนายังที่ต่าง ๆ เช่น ที่เมืองเชียงใหม่ พิษณุโลก อยุธยา และหลวงพระบาง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระเจดีย์เมืองนครชุม (กำแพงเพชร) พ.ศ. ๑๙๐๒ ทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกุฏ ซึ่ง ...

หลักธรรมใดที่พระมหาธรรมราชาที่หนึ่ง(ลิไทย)นำมาใช้ในการปกครอง

หลักการของระบอบธรรมราชาธิปไตย คือ ความเชื่อว่าพระราชอำนาจของกษัตริยจะต้องถูกกำกับด้วยหลักธรรมะประชาชนจึงจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อสิ้นพระชนม์ก็จะได้ไปสู่สวรรค์จึงเรียกว่าสวรรคต ธรรมสำคัญที่กำกับพระราชจริยวัตร คือ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ และมีหลักการปกครองปรากฏในไตรภูมิพระร่วง ที่พระมหาจักรพรรดิ ...

พระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงปกครองในรูปแบบใด

การปกครองที่อาศัยพระพุทธศาสนานี้เรียกว่าการปกครองแบบธรรมราชา พระมหากษัตริย์จะทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม การปกครองแบบธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนประทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย การปกครองแบบกระจายอำนาจ

พระมหาธรรมราชา มีอะไรบ้าง

ธรรมราชา” หรือพระมหากษัตริย์ผู้ทำให้ประชาชนสุขใจโดยธรรม เน้นปกครองโดยอาศัย “ธรรมะ” หรือความดีใน 3 ระดับ คือ ประการแรก พระมหากษัตริย์และผู้ปกครองต้องประพฤติธรรม อาทิทศพิธราชธรรม ฯลฯ ประการที่สอง พระมหากษัตริย์ต้องชักนำให้ราษฎรประพฤติธรรม และประการ ที่สาม การเอาชนะประเทศต่างๆ ต้องชนะด้วย “ธรรม” หรือ “ธรรมวิชัย” ไม่ใช่ ...